เรื่องนี้ นราวดี (เพ็ญศรี เคียงศิริ) เขียนขึ้นโดยอาศัยเรื่องจริงจากชีวิตตัวเอง
แล้วตีพิมพ์ใน กุลสตรี ปี 2512
ดังนั้นมันก็ควรจะอยู่ในช่วง 2490 แต่ต้องก่อน 2500 แน่นอน
มันไม่ใช่ปัจจุบันอย่างเวอร์ชั่นล่าสุด
ที่ผ่านมา มีละครไทยหลายเรื่อง ที่ปรับบทประพันธ์ชั้นครูในยุคอดีตมาเป็นยุคปัจจุบัน
บางเรื่องสามารถทำได้ แต่บางเรื่อง...ไม่สามารถจริงๆ
นางอาย ก็เป็นหนึ่งในกรณีหลังครับ
ผมขอยกตัวอย่าง
กรณีการปรับวรรณกรรมเก่าขึ้นหิ้ง
ให้เป็นละครสมัยปัจจุบัน (ตามเวลาสร้าง)
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการละครไทย
มันเคยมีมาแล้วครับ
เมื่อปี 2538
ค่ายทีวีธันเดอร์ นำเอาหัสนิยายอมตะของ ป. อินทรปาลิต เรื่อง พล นิกร กิมหงวน มาทำ
แต่ปรับบทเป็นยุคปัจจุบันไปเสีย
ชื่อว่า "พล นิกร กิมหงวน ยุคโลกาภิวัตน์" ออกอากาศทางช่อง 3
รู้อยู่ว่าอยากแหวกขนบ แต่ดูๆ ไปแล้วมันไม่ใช่
รุ่นปี 38 ตัวที่เป็นพระยาหรือได้รับบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่ (ท่านเจ้าคุณ/เจ้าคุณ) น่าจะถึงแก่กรรมไปหมดแล้วครับ
เพราะมีหลักฐานปรากฎว่า ตั้งแต่รัชกาลที่ 8 ไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่สามัญชนอีกแล้ว
ซ้ำร้าย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังมีการเรียกคืนบรรดาศักดิ์อีก
ทุกคนจะถูกเรียกว่า นาย/นาง หมด อย่างนี้เป็นต้น
ใครที่อ่านหัสนิยายเรื่องนี้มาจะรู้ดีว่า
ป. อินทรปาลิต ท่านไม่ได้เขียนขึ้นมาแค่เรื่องครอบครัว ความรัก หรือตลกโปกฮาเท่านั้น
มันยังมีเรื่องของสังคม การเมือง ยุคสมัย หรือกระแสนิยมในเวลานั้น ติดมาด้วยอย่างแยกไม่ออก
นั่นจึงเป็นบทเรียนมาสู่
พล นิกร กิมหงวน เดอะมิวสิคัล ซีซั่นหนึ่งและสองที่ผ่านมา
ซึ่งทำออกมาในรูปแบบละครพีเรียดตามบทประพันธ์ ซ้ำยังให้ความรู้เกี่ยวกับยุคสมัยนั้นได้ดียิ่ง
หวังว่าบทเรียนคราวนั้น คงจะทำให้คนละครฉุกคิดขึ้นมาได้
ว่าเรากำลังทำอะไร...ไม่ซื่อตรงต่อบทประพันธ์
ที่นักเขียนรุ่นพ่อแม่ ฝีมือระดับครูบาอาจารย์ ได้รังสรรค์ไว้อย่างงดงาม เช่นที่เกิดขึ้นนี้
ดูละคร นางอาย แล้วรู้สึก "อาย" แทนคนเขียน
แล้วตีพิมพ์ใน กุลสตรี ปี 2512
ดังนั้นมันก็ควรจะอยู่ในช่วง 2490 แต่ต้องก่อน 2500 แน่นอน
มันไม่ใช่ปัจจุบันอย่างเวอร์ชั่นล่าสุด
ที่ผ่านมา มีละครไทยหลายเรื่อง ที่ปรับบทประพันธ์ชั้นครูในยุคอดีตมาเป็นยุคปัจจุบัน
บางเรื่องสามารถทำได้ แต่บางเรื่อง...ไม่สามารถจริงๆ
นางอาย ก็เป็นหนึ่งในกรณีหลังครับ
ผมขอยกตัวอย่าง
กรณีการปรับวรรณกรรมเก่าขึ้นหิ้ง
ให้เป็นละครสมัยปัจจุบัน (ตามเวลาสร้าง)
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการละครไทย
มันเคยมีมาแล้วครับ
เมื่อปี 2538
ค่ายทีวีธันเดอร์ นำเอาหัสนิยายอมตะของ ป. อินทรปาลิต เรื่อง พล นิกร กิมหงวน มาทำ
แต่ปรับบทเป็นยุคปัจจุบันไปเสีย
ชื่อว่า "พล นิกร กิมหงวน ยุคโลกาภิวัตน์" ออกอากาศทางช่อง 3
รู้อยู่ว่าอยากแหวกขนบ แต่ดูๆ ไปแล้วมันไม่ใช่
รุ่นปี 38 ตัวที่เป็นพระยาหรือได้รับบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่ (ท่านเจ้าคุณ/เจ้าคุณ) น่าจะถึงแก่กรรมไปหมดแล้วครับ
เพราะมีหลักฐานปรากฎว่า ตั้งแต่รัชกาลที่ 8 ไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่สามัญชนอีกแล้ว
ซ้ำร้าย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังมีการเรียกคืนบรรดาศักดิ์อีก
ทุกคนจะถูกเรียกว่า นาย/นาง หมด อย่างนี้เป็นต้น
ใครที่อ่านหัสนิยายเรื่องนี้มาจะรู้ดีว่า
ป. อินทรปาลิต ท่านไม่ได้เขียนขึ้นมาแค่เรื่องครอบครัว ความรัก หรือตลกโปกฮาเท่านั้น
มันยังมีเรื่องของสังคม การเมือง ยุคสมัย หรือกระแสนิยมในเวลานั้น ติดมาด้วยอย่างแยกไม่ออก
นั่นจึงเป็นบทเรียนมาสู่
พล นิกร กิมหงวน เดอะมิวสิคัล ซีซั่นหนึ่งและสองที่ผ่านมา
ซึ่งทำออกมาในรูปแบบละครพีเรียดตามบทประพันธ์ ซ้ำยังให้ความรู้เกี่ยวกับยุคสมัยนั้นได้ดียิ่ง
หวังว่าบทเรียนคราวนั้น คงจะทำให้คนละครฉุกคิดขึ้นมาได้
ว่าเรากำลังทำอะไร...ไม่ซื่อตรงต่อบทประพันธ์
ที่นักเขียนรุ่นพ่อแม่ ฝีมือระดับครูบาอาจารย์ ได้รังสรรค์ไว้อย่างงดงาม เช่นที่เกิดขึ้นนี้