มนุษย์เงินเดือนคะ จะส่งประกันสังคมมาตรา39 มีผลกระทบกับเงินบำนาญนะรู้ยัง?

เอาข้อมูลสำหรับมนุษย์เงินเดือน จะที่ออกมาเป็นนายตัวเอง มาแชร์ให้ฟังค่ะ
สำหรับท่านทำงานมานาน มีเงินเดือนเกิน 15,000 บาท
กำลังคิดจะลาออกจากบริษัท แล้วอยากจะใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อ

คุณรู้หรือไม่ ว่ามันมีผลกับเงินบำนาญในอนาคตของคุณ?

ถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน และส่งประกันสังคมมานานกว่า 180 เดือน (15ปี)
แล้วลาออกจากบริษัท + ไม่ทำงานบริษัทต่อ(เป็นนายตัวเอง) + ไม่ย้ายตัวเองเข้ามาตรา 39 ของประกันสังคม

" คุณจะได้บำนาญมากกว่าการที่คุณย้ายตัวเองไปเข้ามาตรา 39"

มาดูว่าประกันสังคมเขาคิดบำนาญยังไง

เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลัง คือสิ่งสำคัญที่ประกันสังคมจะเอามาคิดเงินบำนาญค่ะ
หากคุณมีเงินเดือนที่มากกว่า หรือเท่ากับ  15,000 บาท

เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลัง =  15,000 บาท
** ประกันสังคมจะเอาฐานเงินเดือนนี้มาคำนวณ % เพื่อให้บำนาญกับคุณ
------------------------------------------------------------------------------------------------

แต่หากคุณลาออกจากงาน และย้ายไปใช้สิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 39 ต่อ
ฐานเงินเดือนจะเปลี่ยนไปอย่างนี้ค่ะ

ประกันสังคมมองว่าผู้ประกันตนใมาตรา 39 จัดเป็นผู้มีเงินเดือน เดือนละ 4,800 บาท
และการคิดฐานเงินเดือนจาก 60 เดือน ย้อนหลัง จะนับรวมเงินเดือนที่เดือนละ 4,800 บาท
จากมาตรา 39 มารวมด้วย

ดังนั้น   หากคุณส่งประกันสังคมมาตรา 39 มาแล้ว 2 ปี (24 เดือน)
ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลัง = 10,920 บาท
(คิดจาก 15,000 บาท = 36 เดือน / 4,800 บาท = 24 เดือน  เอามาเฉลี่ยกัน)

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณส่งประกันสังคมมาตรา 39 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี (60 เดือน)
ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลัง = 4,800 บาท

ฐานเงินเดือนต่ำเตี้ย เรี่ยดิน เลยใช่ไหมล่ะคะ

อย่างไรก็ดีมีข้อคิด 2 แบบ คือ
ฐานเงินเดือนการคิดบำนาญน้อยลงก็จริง  แต่อย่างน้อยคุณก็สบายใจที่ได้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ที่คุณคิดว่า
สบายใจกว่า ไปใช้บัตรทอง (30 บาท)

หรืออีกแบบ คือ  ฐานเงินเดือนน้อยลง รับไม่ได้ ขอไปใช้สิทธิ์บัตรทอง (30 บาท) ดีกว่า
ฐานเงินเดือนการคิดเงินบำนาญจะได้ไม่ลดลง

เราคิดว่าอย่างน้อยเรื่องแบบนี้ คุณก็ควรจะรู้ และศึกษาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจค่ะ
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ชาวพันทิปบ้าง ไม่มากก็น้อยนะคะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่