"จากสามก๊กสู่เซนโกคุ" หนึ่งเหตุการณ์หลากมุมมอง หลายความหมาย

หากจะพูดถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ทั่วโลก ที่คนไทยรู้จักดี ผมเชื่อว่า ช่วงสามก๊ก เป็นช่วงเวลาที่จะรู้กันได้ดี ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา ตำนานต่างๆ ชีวประวัติ ตัวละครที่กลายเป็นเทพเจ้า เป็นต้น

ส่งผลให้สามก๊กเป็นช่วงเวลาที่ดังที่สุดเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อลองถามถึงมุมมองต่อสามก๊ก เชื่อว่าหลายคนมีการตัดสินอย่างชัดเจนว่า เล่าปี เป็นพระเอก โจโฉ เป็นฝ่ายร้าย ซึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สังคมนำเสนอแต่รูปแบบด้านนี้มาโดยตลอด (นับจากที่มีการแปลในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็ขอเดาว่าเป็นมุมมองด้านนี้มาโดยตลอด) แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป การอ่านสามก๊ก ถ้าใครได้ลองอ่านจริงๆ จังๆ ย่อมที่จะเกิดความรู้สึกว่า เล่าปี่ เป็นคนดีจริงหรือ แล้ว โจโฉ โหดร้ายจริงหรือเปล่า

โดยมีหลายท่านในวงการงานเขียน ได้นำเสนอมุมมองใหม่ๆ ต่อการมองประวัติศาสตร์ช่วงเวลาสามก๊ก เช่น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่นำเสนอภาพของความเป็นผู้นำของโจโฉ ในชุด สามก๊กฉบับนายทุน ตอน "โจโฉ นายกตลอดกาล" หรือ เล่าชวนหัว ที่นำเสนอภาพลักษณ์ที่ต่างไปจากที่เรารู้จักกันดี

ทั้งนี้ สามก๊กที่คนไทยรู้จักกัน จะนำมาจากฉบับ หลอกว้านตง (การเขียนของหลอกว้านตง อาจกล่าวได้ว่า เขียนยกย่องเล่าปี่มาก เพราะนำตัวเองเข้าไปเป็นตัวละคร เนื่องจากตัวเองเป็นกุนซือของก๊กเล็กๆ ก๊กหนึ่งในสมัยปลายราชวงศ์หยวน และถูกตีแตกไป กล่าวคือนำตัวเองไปเป็นขงเบ้งนั้นเอง) จึงไม่แปลกที่จะมีความชัดเจนในการแต่งให้มีพระเอก ฝ่ายร้ายชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาบทของเรื่องดีๆ จะพบว่า เล่าปี่ไม่ได้ถูกนำเสนอแบบดีพร้อมทุกด้าน และโจโฉเองก็ไม่ได้มีแต่บทร้ายสุดขั้ว เช่นเดียวกัน

ซึ่งสามก๊กได้มีการนำเสนอในมุมมองต่างๆ มากมาย ผ่านการตีความของแต่ละบุคคล [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เช่น หงสาจอมราชันย์ ที่เล่าปี่ในเรื่องมีภาพลักษณ์ไม่ดีพร้อมทุกด้าน หรือ จอมราชันย์อหังการ ที่นำเสนอ โจโฉแบบเป็นพระเอกสุดขีด

และอีกช่วงเวลาเหตุการณ์หนึ่งที่สายคอการ์ตูนญี่ปุ่นจะรู้จักดี คือ ช่วงเวลาสงครามเซนโกคุ โดยมีตัวละครที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง โอดะ โนบุนากะ, โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ เป็นต้น ซึ่งช่วงเวลานี้ ส่วนใหญ่จะมอบตำแหน่งมารร้ายให้แก่ โอดะ โนบุนากะ ตามที่หลายคนรู้จักกันดี
ซึ่งขอนำเสนอ การ์ตูน 2 เรื่องที่ตัวเอกเป็นพ่อครัว อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่มุมมองต่างกัน และน่าสนใจ
เรื่องแรก "ซามูไร ซุปเปอร์กุ๊ก" ของสำนักพิมพ์บุรพัฒน์

เรื่องสอง "ยอดเชฟของโนบุนางะ" ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์


เรื่องซามูไรซุปเปอร์กุ๊ก
มุมมองต่อเคนเนียว และสำนักสงฆ์ฮิเออัน เป็นไปในมุมที่ดีอย่างมาก บอกถึงการที่พระสามารถฉันเนื้อสัตว์ ดื่มสุรา มีเมีย ได้ในมุมที่ว่า เป็นสิ่งไม่จำเป็นต้องเคร่ง การมีอยู่ของพระนักรบเป็นเพื่อปกป้องประชาชน และ โอดะ โนบุนางะ ที่มีความโหดร้ายอย่างไม่มีมิติอื่น
แต่
เรื่องยอดเชฟของโนบุนางะ
มุมมองต่อเคนเนียว กลับตรงกันข้าม มีความชั่วร้าย แผนการร้าย การลอบสังหาร การพยายามยึดครองแผ่นดิน การชิงอำนาจอย่างชัดเจน โดยในเรื่อง ได้มีประโยคตรงข้ามกับเรื่องแรก "พระทุศีลที่หลงในอบายมุขแปดเปื้อนสุรานารี" และนำเสนอ โอดะ โนบุนางะ ในมิติอื่นนอกจากความโหดร้าย

ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกใจในการมองประวัติศาสตร์ จากการติดตามเพจประวัติศาสตร์ไทย จะพบเห็นว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินขาวเป็นขาว ดำเป็นดำ ถ้าเป็นคนที่ร้ายต้องไม่มีดี ถ้าเป็นคนดีต้องไม่ทำเรื่องร้าย จนทำให้การมองประวัติศาสตร์ผิดเพี้ยนไป ไม่ยอมรับความดีต่อคนที่เราไม่ชอบ และพยายามปกปิดความไม่ดีต่อคนที่เราชอบ (โดยเฉพาะช่วงเดือนมิถุนายน มุมมองต่อคณะราษฏร์ เป็นอย่างไร?)
ไม่ถึงขั้นให้เปลี่ยนความเชื่อทั้งหมดครับ แต่ในมุมมองของผม อยากให้คิดในมุมที่กว้างขึ้นกว่าเดิมในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ

อีกข้อ เวลาศึกษาประวัติศาสตร์ จะพบว่าหลายคนชอบนำเอาบรรทัดฐานปัจจุบันไปตัดสินคนในอดีต ซึ่งมันไม่ควรอย่างยิ่ง (เช่น การมีเมียหลายคน การใช้กำลังเข้าตัดสิน) ครับ

ใครมีข้อเสนออะไรมาร่วมถกกันได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่