ไหนๆป๋าก็โดนคาร่าหลอกถามแท็คติกไปหมดละ ผมช่วยขายละกัน
http://spielverlagerung.com เขียนบทความเกเก้นเพลสซิ่งไว้หลายบทความตั้งแต่ 2014 ผมจับเขย่าๆรวมกันมาเล่าใหม่ครับ
เพลสซิ่งไม่ใช่ของใหม่ แมตท์ที่มักโดนเอามาอ้างอิงบ่อยๆ คือการไล่ล่าของทัพนักเตะดัชท์ ภายใต้การนำของไรนุช มิเชล ในปี 1974 และเทคนิคนี้ได้รับการขัดเกลาจนเข้าที่จากอาริโก้ ซาคคี่ ในช่วงปี 80-90 ซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ว่ายุคนั้นอิตาลีอุดเหนียวมากๆ ปี 79-80 ประตูเฉลี่ยของอิตาลีอยู่ที่ 1.9 ลูกต่อเกม (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.7 หรือมากกว่า) ในยุคนั้นทุกทีมเล่นแมนมาร์กกิ้ง และใส่กองหลังลงไปเยอะๆ
ซาคคี่ตัดสินใจปรับเปลี่ยน โดยการเล่น 4-4-2 โซนมาร์ค สลับกับการเพลสซิ่ง ในแดนฝ่ายตรงข้าม ทันทีที่เสียบอล นักเตะทั้งหมดจะทำการล่าถอยแทยงเข้าหาบอล(ดูรูป) เพื่อรักษารูปขบวน หลังจากนั้นจะสลับกันเข้าเพรสซิ่ง/ล่าถอยเป็นชุดๆ จนกว่าจะแย่งบอลได้
1. ถอยแทยงทันทีเพื่อรักษารูปทรงแนวรับ
2. ผู้เล่นที่อยู่ใกล้เริ่มเข้าแย่งบอล
3. ผู้เล่นที่เหลือเริ่มบีบพื้นที่ให้เข้ามุม
ซาคคี่บอกว่า การเพลสซิ่งมีทั้งจริง(เพื่อแย่งบอล) และหลอก (เพื่อล่าถอยไปจัดรูปขบวน) การสลับรูปแบบทั้งสองโดยที่อีกฝ่ายอ่านไม่ออก เป็นหัวใจของความสำเร็จ
แนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อมาในช่วงปี 2000 โดยผู้จัดการทีมสามคน จนเกิดเป็นเกเก้นเพลสซิ่งยุคใหม่
แนวคิดแรก คือ
Access-oriented counter pressing ของจุ๊ป ไฮน์เกส
ทันทีที่เสียบอล ผู้เล่นที่ใกล้ที่สุด 1-2 คน จะเข้าประกบผู้ครองบอลฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นในรัศมีรอบๆ จะเริ่มประกบผู้เล่นฝ่ายครองบอล แบบ 1-1 ในยุทธวิธีแบบนี้ ผู้ครองบอลจะมีแรงกดดันพอประมาณ โดยไฮน์เกส มีเจตนา เพื่อบีบให้เกิดการส่งบอลกลับหลัง คนส่งบอลนั้น ส่งบอลได้ไม่ยาก แต่คนรับบอลทุกคนโดนประกบแน่น และรับบอลได้ยาก
แนวคิดที่สอง คือ
Passing lane-oriented counter pressing ของเป๊ป กวาดิโอล่า
ในรูปแบบของเป๊บ เส้นทางส่งบอลจะถูกปิด โดยเปิดช่องว่างบางมุมเองไว้ นี่จะสร้างภาพลวงว่าเส้นทางที่เปิดว่างนั้นปลอดภัย ในขณะที่แท้จริงๆแล้ว ช่องนั้นๆ มีผู้เล่นรอจะตัดบอล หรือเป็นเส้นทางที่โดนคำนวณไว้แต่ต้น เพื่อเข้าเพลสต่อไป ในรูปแบบนี้ ต้องการผู้เล่นที่มีความรวดเร็ว และชาญฉลาดในการยืนตำแหน่ง เจตนาของเป๊ป คือบังคับให้จ่ายบอลได้ยาก ประวิงเวลา และบังคับให้โยนยาว
แนวคิดสุดท้ายคือ
Leeway-oriented counter pressing ของ คล็อป
แนวคิดนี้เรียกได้อีกอย่างว่าทำลายพื้นที่ และเป็นเกเก้นแบบเดียวในสามแบบ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในเกมรุก จากภาพจะเห็นว่าจะมีหนึ่งคนเข้าประชิด คนที่เหลือจะไล่บีบพื้นที่ทั้งหมด รอบๆในทันที หากเขาจ่ายบอลสวนออกมา ก็มีโอกาสสูงที่จะโดนตัด แต่หากไม่จ่ายบอล วงล้อมก็จะบีบแคบลงไปอีก
แนวคิดของคล็อปคือ ในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามตัดบอลได้ มีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง
1. เสียรูปทรง เพราะพุ่งตัวออกมาตัดบอล
2. เสียจังหวะ อาจจะเพราะปั๊มบอล หรือ สไลด์ตัว
3. เสียความรับรู้สภาพรอบข้าง เพราะสมาธิอยู่ที่บอล
การเพลสที่เหมาะสมในเวลานี้ พร้อมๆกับการทำลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จะบีบให้บอลที่ออกมา อยู่ในตำแหน่งที่ "เล่นยาก" และถ้าตัดบอลได้ ก็อยู่ใกล้ประตูฝ่ายตรงข้ามมาก พร้อมจะเข้าโจมตีทันที
ข้อเสียล่ะ? เกเก้นแบบคล็อป กินแรงมากที่สุด วิ่งเยอะที่สุด และถ้าซวยเพลสไม่จน โครงสร้างทีมตัวเองก็เสียหายมากที่สุด ที่เป็นคำตอบว่าทำไมตอนเสียประตู คล้อปด่ากองหน้า/มิดฟิลด์ครับ = =a เพราะคอนเซปต์ป๋า มีแต่เกเก้นแล้วเค้าตาย หรือพลาดแล้วตัวเองตาย
จบครับ
https://www.pastemagazine.com/articles/2015/12/what-is-the-gegenpress-and-how-does-it-work.html
http://www.martiperarnau.com/tactica/differences-between-sacchis-klopps-and-guardiolas-counterpressing-concepts/
http://spielverlagerung.com/2014/07/07/counterpressing-variations/
http://spielverlagerung.com/2014/10/07/counter-or-gegenpressing/
เกเก้นเพลสซิ่ง เรื่องเก่าเล่าใหม่
http://spielverlagerung.com เขียนบทความเกเก้นเพลสซิ่งไว้หลายบทความตั้งแต่ 2014 ผมจับเขย่าๆรวมกันมาเล่าใหม่ครับ
เพลสซิ่งไม่ใช่ของใหม่ แมตท์ที่มักโดนเอามาอ้างอิงบ่อยๆ คือการไล่ล่าของทัพนักเตะดัชท์ ภายใต้การนำของไรนุช มิเชล ในปี 1974 และเทคนิคนี้ได้รับการขัดเกลาจนเข้าที่จากอาริโก้ ซาคคี่ ในช่วงปี 80-90 ซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ว่ายุคนั้นอิตาลีอุดเหนียวมากๆ ปี 79-80 ประตูเฉลี่ยของอิตาลีอยู่ที่ 1.9 ลูกต่อเกม (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.7 หรือมากกว่า) ในยุคนั้นทุกทีมเล่นแมนมาร์กกิ้ง และใส่กองหลังลงไปเยอะๆ
ซาคคี่ตัดสินใจปรับเปลี่ยน โดยการเล่น 4-4-2 โซนมาร์ค สลับกับการเพลสซิ่ง ในแดนฝ่ายตรงข้าม ทันทีที่เสียบอล นักเตะทั้งหมดจะทำการล่าถอยแทยงเข้าหาบอล(ดูรูป) เพื่อรักษารูปขบวน หลังจากนั้นจะสลับกันเข้าเพรสซิ่ง/ล่าถอยเป็นชุดๆ จนกว่าจะแย่งบอลได้
1. ถอยแทยงทันทีเพื่อรักษารูปทรงแนวรับ
2. ผู้เล่นที่อยู่ใกล้เริ่มเข้าแย่งบอล
3. ผู้เล่นที่เหลือเริ่มบีบพื้นที่ให้เข้ามุม
ซาคคี่บอกว่า การเพลสซิ่งมีทั้งจริง(เพื่อแย่งบอล) และหลอก (เพื่อล่าถอยไปจัดรูปขบวน) การสลับรูปแบบทั้งสองโดยที่อีกฝ่ายอ่านไม่ออก เป็นหัวใจของความสำเร็จ
แนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อมาในช่วงปี 2000 โดยผู้จัดการทีมสามคน จนเกิดเป็นเกเก้นเพลสซิ่งยุคใหม่
แนวคิดแรก คือ Access-oriented counter pressing ของจุ๊ป ไฮน์เกส
ทันทีที่เสียบอล ผู้เล่นที่ใกล้ที่สุด 1-2 คน จะเข้าประกบผู้ครองบอลฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นในรัศมีรอบๆ จะเริ่มประกบผู้เล่นฝ่ายครองบอล แบบ 1-1 ในยุทธวิธีแบบนี้ ผู้ครองบอลจะมีแรงกดดันพอประมาณ โดยไฮน์เกส มีเจตนา เพื่อบีบให้เกิดการส่งบอลกลับหลัง คนส่งบอลนั้น ส่งบอลได้ไม่ยาก แต่คนรับบอลทุกคนโดนประกบแน่น และรับบอลได้ยาก
แนวคิดที่สอง คือ Passing lane-oriented counter pressing ของเป๊ป กวาดิโอล่า
ในรูปแบบของเป๊บ เส้นทางส่งบอลจะถูกปิด โดยเปิดช่องว่างบางมุมเองไว้ นี่จะสร้างภาพลวงว่าเส้นทางที่เปิดว่างนั้นปลอดภัย ในขณะที่แท้จริงๆแล้ว ช่องนั้นๆ มีผู้เล่นรอจะตัดบอล หรือเป็นเส้นทางที่โดนคำนวณไว้แต่ต้น เพื่อเข้าเพลสต่อไป ในรูปแบบนี้ ต้องการผู้เล่นที่มีความรวดเร็ว และชาญฉลาดในการยืนตำแหน่ง เจตนาของเป๊ป คือบังคับให้จ่ายบอลได้ยาก ประวิงเวลา และบังคับให้โยนยาว
แนวคิดสุดท้ายคือ Leeway-oriented counter pressing ของ คล็อป
แนวคิดนี้เรียกได้อีกอย่างว่าทำลายพื้นที่ และเป็นเกเก้นแบบเดียวในสามแบบ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในเกมรุก จากภาพจะเห็นว่าจะมีหนึ่งคนเข้าประชิด คนที่เหลือจะไล่บีบพื้นที่ทั้งหมด รอบๆในทันที หากเขาจ่ายบอลสวนออกมา ก็มีโอกาสสูงที่จะโดนตัด แต่หากไม่จ่ายบอล วงล้อมก็จะบีบแคบลงไปอีก
แนวคิดของคล็อปคือ ในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามตัดบอลได้ มีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง
1. เสียรูปทรง เพราะพุ่งตัวออกมาตัดบอล
2. เสียจังหวะ อาจจะเพราะปั๊มบอล หรือ สไลด์ตัว
3. เสียความรับรู้สภาพรอบข้าง เพราะสมาธิอยู่ที่บอล
การเพลสที่เหมาะสมในเวลานี้ พร้อมๆกับการทำลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จะบีบให้บอลที่ออกมา อยู่ในตำแหน่งที่ "เล่นยาก" และถ้าตัดบอลได้ ก็อยู่ใกล้ประตูฝ่ายตรงข้ามมาก พร้อมจะเข้าโจมตีทันที
ข้อเสียล่ะ? เกเก้นแบบคล็อป กินแรงมากที่สุด วิ่งเยอะที่สุด และถ้าซวยเพลสไม่จน โครงสร้างทีมตัวเองก็เสียหายมากที่สุด ที่เป็นคำตอบว่าทำไมตอนเสียประตู คล้อปด่ากองหน้า/มิดฟิลด์ครับ = =a เพราะคอนเซปต์ป๋า มีแต่เกเก้นแล้วเค้าตาย หรือพลาดแล้วตัวเองตาย
จบครับ
https://www.pastemagazine.com/articles/2015/12/what-is-the-gegenpress-and-how-does-it-work.html
http://www.martiperarnau.com/tactica/differences-between-sacchis-klopps-and-guardiolas-counterpressing-concepts/
http://spielverlagerung.com/2014/07/07/counterpressing-variations/
http://spielverlagerung.com/2014/10/07/counter-or-gegenpressing/