นับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคตอย่างกะทันหัน
ในท่ามกลางความทุกข์โศกสลดทั้งแผ่นดิน รัฐสภาได้เปิดประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนในช่วงค่ำคืนนั้น
พร้อมกับลงมติเห็นชอบตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่
ขณะนั้น หลายฝ่ายต่างวิตกกังวลกันว่า สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยศักดิ์ในเวลานั้น) อาจไม่ทรงยินยอม
จนเมื่อเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ตลอดถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รวมถึงนายกรัฐมนตรีและคณะนายกรัฐมนตรี
ได้เข้าเฝ้าฯกราบบังคมทูลว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบังลังก์นั้น
สมเด็จพระราชชนนีจึงได้ตรัสถามพระราชโอรสต่อหน้าที่ประชุมทั้งมวลว่า “รับไหมลูก”
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชมีรับสั่งสั้น ๆ เพียงว่า “รับ”
“ความทุกข์ของประชาชนนั้น รอไม่ได้” 7 ทศวรรษ เอกอัครราชาแห่งแผ่นดิน
นับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคตอย่างกะทันหัน
ในท่ามกลางความทุกข์โศกสลดทั้งแผ่นดิน รัฐสภาได้เปิดประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนในช่วงค่ำคืนนั้น
พร้อมกับลงมติเห็นชอบตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่
ขณะนั้น หลายฝ่ายต่างวิตกกังวลกันว่า สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยศักดิ์ในเวลานั้น) อาจไม่ทรงยินยอม
จนเมื่อเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ตลอดถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รวมถึงนายกรัฐมนตรีและคณะนายกรัฐมนตรี
ได้เข้าเฝ้าฯกราบบังคมทูลว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบังลังก์นั้น
สมเด็จพระราชชนนีจึงได้ตรัสถามพระราชโอรสต่อหน้าที่ประชุมทั้งมวลว่า “รับไหมลูก”
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชมีรับสั่งสั้น ๆ เพียงว่า “รับ”