น้ำฝนไหลเข้าถังบำบัดมากๆ มีผลเสียมั้ยครับ

สวัสดีครับ ผมรบกวนถามเรื่อง ถังบำบัดหน่อยครับ

น้ำที่เข้าถังบำบัดที่บ้าน จะเป็นน้ำที่ใช้จากทั้งบ้านคือห้องน้ำ 2 ห้อง, น้ำซักผ้า และน้ำออกจากถังดักไขมันในห้องครัว ซึ่งทั้งหมดจะมารวมที่บ่อพัก(ตามรูป กรอบสีแดง) ก่อนเข้าถังบำบัด

ซึ่งตรงบ่อพักนี้แหละ มันไปตรงกับท่อน้ำทิ้งของน้ำฝนตรงชายคาบ้าน(ตามรูป น้ำจะไหลตามเส้นปะสีน้ำเงิน) ดังนั้นเวลาฝนตก ก็ไหลลงบ่อพักนี้ไปด้วย ก่อนที่ทั้งหมดจะไหลลงบ่อบำบัด



พอดีน้ำฝนที่ลงตรงนี้ปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ผมจึงอยากทราบว่า การที่มีน้ำฝนไหลเข้าลงไปลงถังบำบัดด้วยแบบนี้ มันจะทำให้อายุการใช้งานของถังเสื่อมลงไปเร็วมั้ย หรือมีผลเสียอะไรมั้ยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คำเเนะนำ



- ควรเเยกส่วนท่อนํ้าฝน ลงท่อท่อระบายนํ้าในบ้านหลังทางทอขาออกของถังบำบัดนํ้าเสีย ตามความคิดเห็นที่ 3 ถูกต้องเเล้วครับ




ส่วนที่ถามว่า  "ถ้าถังบำบัดเต็ม จะเป็นผลเสียอย่างไรบ้างครับ เพราะผมเข้าใจว่าการทำงานของมันคือน้ำใหม่เข้ามา ก็จะดันน้ำเก่าออกไป คือ นํ้าในถังบำบัดนํ้าเสียที่ใช้มันน่าจะเต็มอยู่ตลอดเวลารึเปล่าครับ ? "



คำตอบ... ถูกต้องตามที่คุณ จขกท.คิดไว้ครับ นํ้าในถังบำบัดนํ้าเสีย เวลาใช้งานจริงนํ้าจะเต็มตลอดทั้งฝั่ง ทั้งส่วนเกรอะ เเละ ส่วนบำบัดฯ ดังนั้นการที่นํ้าฝนที่คุณบอกว่ามีปริมาณเยอะไหลรวมไปลงถังบำบัดนํ้าเสียด้วย.....เเบบนี้ไม่ดีครับ



เพราะนํ้าฝนที่ไหลลงไปเยอะๆจะทำให้ในส่วนบําบัดฯ ในส่วนตัวจุลินทรีย์/เเบคทีเรีย ที่ช่วยในการบำบัดฯมีปริมาณอัตราส่วนน้อยลง ทำให้บางเวลานํ้าเสียที่ผ่านการบำบัดฯออกมาหลังจากช่วงฝนตก คุณ จขกท.อาจจะเจอปัญหาเรื่อง....กลิ่น ลอยขึ้นมาเตะติดจมูกจากบ่อพักท่อระบายนํ้านอกบ้าน คุณ จขกท.ต้องรอให้จนกว่าเเบคทีเรียมีการเพิ่มปริมาณขึ้นมาจนมีอัตราส่วนที่ทำการบำบัดฯได้ดีอีกครั้งครับ


เเละ


ช่วงฝนตกหนัก นํ้าฝนที่มีปริมาณเยอะๆ จะพากากของเสียในส่วนบําบัด เเละ กากเเขวนลอยในส่วนเกรอะ เอ่อข้ามช่องในถังมาได้เเล้ว เผลอๆยังมีบางส่วนไปติดค้างอยู่ตามใต้ท้องท่อระบายนํ้า เเละ ก้นบ่อพักระบายนํ้า ( ผมเคยเจอเคสชักโครก ทำการกดฟลัชทิ้งไม่สะดวกเหมือนเดิม ตรวจสอบสุดท้ายพบว่ามีกากอึ ไปเกาะติดปิดรูท่ออากาศในถังบำบัดฯ เพราะสองสามวันก่อนฝนตกหนักนํ้าท่วมถนนหน้าบ้าน นํ้าฝนในบ้านเลยเอ่อล้นย้อนเข้ามาทางยันถึงถังบำบัดนํ้าเสีย ผมต้องเอาโบว์เวอร์ เเละ งูเหล็กทะลวงจนไม่มีอะไรติดค้างในท่ออากาศ  ถึงจะใช้งานได้ดีเหมือนเดิม )


สรุป.....เเนะนำทำตามความคิดเห็นที่ 3 ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่