ผมสงสัย เรื่อง พ.ร.บ.สังเวชนียสถาน เห็นหลายคนเทียบกับ พ.ร.บ. ฮัจย์
เรื่องฮัจย์มุสลิม ต้องการไปฮัจย์เยอะมาาาก เพราะเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติของอิสลาม แต่โควต้าจากซาอุฯมีนิดเดียว
ในเมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทานตามโมเดลเศรษฐศาสตร์ ความยากลำบากจึงเกิดขึ้น
- เทศกาลฮัจญ์ 1 ปีมีช่วงเวลาเดียว จำนวนวันเวลาในการประกอบพิธีมีแค่จำกัดประมาณ 1 เดือน
- ได้สิทธิไปแค่นิดเดียวตามโควต้าของรัฐบาลซาอุฯ คือประมาณแค่ 10,000 จึงต้องมีการจัดลำดับคิว
- มีความความเสี่ยงในการประกอบพิธีที่นครเมกกะห์ เพราะจำนวนเข้าร่วมจากทั่วโลกมากมายมหาศาล พร้อมกัน
ดังนั้น สุขภาพร่างกาย โรคติดต่อ อุบัติเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องมีเรื่องประสานงานรักษาพยาบาล
- ที่พัก ที่อยู่ อาหาร ในนครเมกกะห์ ต่างแย่งกันจองในเทศกาลฮัจญ์ ถ้าได้คิวไป แต่จองที่พักไม่ได้ หรือที่พักที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ถูกสุขลักษณะ
- การเดินทาง การขอวีซ่า ผู้ให้บริการได้มาตรฐาน ราคาเป็นธรรมฟันหัวคิวหรือไม่ เพราะไปฮัจย์ต่อคนค่าใช้จ่ายสูง หัวละประมาณ 1.5-2แสนบาท
ฯลฯ
พ.ร.บ. ฮัจย์ (พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์) ในเนื้อหามีการแต่งตั้งผู้แทน ตั้งคณะกรรมการ และอำนวยความสะดวก ในเรื่องเหล่านี้
**ไม่เห็นจะมีเรื่องเงินเรื่องทอง
- เรื่องเงิน มุสลิมที่ไปต้องออกเงินเอง เพราะเรื่องนี้ถ้าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ถือว่า ฮัจย์นั้นไม่สมบูรณ์
- มีแต่ทุนสำรองจ่ายค่าที่พักล่วงหน้าไปก่อนเพราะแย่งกันจองจากทั่วโลก ดังนั้นก็แค่เพื่ออำนวยความสะดวก สุดท้ายก็ต้องใช้หักจากค่าใช้จ่ายที่ไปอยู่ดี
แล้วการไปสังเวชนียสถานมีความยากลำบากเหมือนฮัจย์อย่างไร ทั้งการจัดการ ทั้งโควต้า ช่วงเวลาไป ทั้งสภาพความเป็นอยู่ อันนี้อยากทราบจริง ๆ ครับ
สงสัยเรื่อง พ.ร.บ. สังเวชนียสถาน เปรียบเทียบ พ.ร.บ. ฮัจญ์
เรื่องฮัจย์มุสลิม ต้องการไปฮัจย์เยอะมาาาก เพราะเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติของอิสลาม แต่โควต้าจากซาอุฯมีนิดเดียว
ในเมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทานตามโมเดลเศรษฐศาสตร์ ความยากลำบากจึงเกิดขึ้น
- เทศกาลฮัจญ์ 1 ปีมีช่วงเวลาเดียว จำนวนวันเวลาในการประกอบพิธีมีแค่จำกัดประมาณ 1 เดือน
- ได้สิทธิไปแค่นิดเดียวตามโควต้าของรัฐบาลซาอุฯ คือประมาณแค่ 10,000 จึงต้องมีการจัดลำดับคิว
- มีความความเสี่ยงในการประกอบพิธีที่นครเมกกะห์ เพราะจำนวนเข้าร่วมจากทั่วโลกมากมายมหาศาล พร้อมกัน
ดังนั้น สุขภาพร่างกาย โรคติดต่อ อุบัติเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องมีเรื่องประสานงานรักษาพยาบาล
- ที่พัก ที่อยู่ อาหาร ในนครเมกกะห์ ต่างแย่งกันจองในเทศกาลฮัจญ์ ถ้าได้คิวไป แต่จองที่พักไม่ได้ หรือที่พักที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ถูกสุขลักษณะ
- การเดินทาง การขอวีซ่า ผู้ให้บริการได้มาตรฐาน ราคาเป็นธรรมฟันหัวคิวหรือไม่ เพราะไปฮัจย์ต่อคนค่าใช้จ่ายสูง หัวละประมาณ 1.5-2แสนบาท
ฯลฯ
พ.ร.บ. ฮัจย์ (พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์) ในเนื้อหามีการแต่งตั้งผู้แทน ตั้งคณะกรรมการ และอำนวยความสะดวก ในเรื่องเหล่านี้
**ไม่เห็นจะมีเรื่องเงินเรื่องทอง
- เรื่องเงิน มุสลิมที่ไปต้องออกเงินเอง เพราะเรื่องนี้ถ้าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ถือว่า ฮัจย์นั้นไม่สมบูรณ์
- มีแต่ทุนสำรองจ่ายค่าที่พักล่วงหน้าไปก่อนเพราะแย่งกันจองจากทั่วโลก ดังนั้นก็แค่เพื่ออำนวยความสะดวก สุดท้ายก็ต้องใช้หักจากค่าใช้จ่ายที่ไปอยู่ดี
แล้วการไปสังเวชนียสถานมีความยากลำบากเหมือนฮัจย์อย่างไร ทั้งการจัดการ ทั้งโควต้า ช่วงเวลาไป ทั้งสภาพความเป็นอยู่ อันนี้อยากทราบจริง ๆ ครับ