ก่อนที่จะอธิบายเรื่องเลี้ยงปลาขออธิบายเรื่องการออสโมซิส( Osmosis) ก่อนการออสโมซิสเป็นกระบวนการแพร่โมเลกุลของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำมาก (สารละลายความเข้มข้นต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย (สารละลายความเข้มข้นสูง) กระจายจนกว่าโมเลกุลของน้ำจะเท่ากัน เป็นกระบวนการทางกายภาพที่ตัวทำละลายจะเคลื่อนที่โดยอาศัยพลังงานความร้อน ผ่านเยื่อเลือกผ่าน (ซึ่งตัวทำละลายจะผ่านเยื่อเลือกผ่านได้ แต่สารละลายจะไม่สามารถผ่านเยื่อเลือกผ่านได้
ในปลาทะเลก็เกี่ยวข้องกับออสโมซิสเหมือนกัน ปลาทะเลอาศัยอยู่ในน้ำเค็มซึ่งมีเกลือละลายอยู่ทำให้น้ำทะเลมีความเค็มหรือมีความเข้มข้นมากกว่าตัวของปลาทะเล ดังนั้นเมื่อปลาทะเลต้องอยู่ในน้ำเค็มทำให้น้ำภายในร่างกายของปลาไหลออกจากตัวปลาไปยังน้ำทะเลนอกตัวตลอดเวลาทำให้ตัวปลาเหี่ยวลงไม่มีระบบช่วยเหลือใดๆ แต่ธรรมชาติของปลาทะเลสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำเค็มได้ ปลาทะเลจึงพยายามรักษาน้ำภายในตัวไว้โดยพยายามกินน้ำทะเลเข้าไปมากๆและขับถ่ายของเสียที่มีความเข็มข้นสูงเพราะพยายามกินน้ำทะเลเข้าไปมากจึงต้องกำจัดเกลือออกจากร่างกายและสามารถกำจัดเกลือทางเหงือกอีกด้วย
มีปลาทะเลบางกลุ่มพวกปลาฉลามปลากระเบนมีระบบการรักษาสมดุลของร่างกายต่างจากปลาทะเลทั่วไปที่กินน้ำมากๆและฉี่น้อยๆโดยการปรับให้ความเข้มข้นของร่างกายเท่ากับความเข้มข้นของน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของน้ำในตัวปลากับน้ำทะเลทำให้ไม่เกิดแรงดันออสโมซิสให้น้ำไหลเข้าหรือไหลออกจากตัวปลา แล้วปลาปรับความเข้มข้นร่างกายให้เท่ากับน้ำทะเลอย่างไร ปลาพวกนี้มีวิวัฒนาการเก็บรักษาสารประกอบพวกยูเรียไว้ในเลือดทำให้ความเข้มข้นของร่างกายใกล้เคียงกับน้ำทะเล หากมีใครเคยนำฉลามหรือกระเบนไปทำอาหารเมื่อผ่าตัวปลาออกมาจะพบว่ามีกลิ่นคล้ายกับฉี่ (กลิ่นยูเรีย) คนเราเลยไม่นิยมนำมาทำอาหารกันสดๆ ต้องเอาไปผ่านกรรมวิธี หรือตากแห้งก่อน เช่น หูฉลาม ปลากระเบนหวาน ฯลฯ
ดังนั้น ถ้าเราเอาปลาทะเลไปใส่ลงในน้ำจืดจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวปลาบ้าง ดังที่อธิบายข้างต้นปลาทะเลมีกลไกรักษาน้ำในร่างกายและพยายามกำจัดเกลือออก ถ้าเราเอาปลาทะเลไปใส่ในน้ำจืด (มีความเข็มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นในตัวปลา) จะทำให้น้ำจากภายนอกตัวปลาไหล (ออสโมซิส) เข้าไปในร่างกายของตัวปลาทำให้ปลาบวมน้ำ เซลล์ร่างกายหลายส่วนบวมน้ำจนแตกเสียหายทำงานไม่ได้และทำให้ปลาตายในที่สุด
แล้วถ้าเราเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็จะเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในตัวปลาเหมือนกันแต่ตรงกันข้ามกับปลาทะเล คือน้ำในตัวปลาไหลออกนอกตัวและเซลล์ร่างกายเหี่ยวจนเสียสมดุลและตายในที่สุด
โดยปกติแล้วปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในน้ำซึ่งมีความเข้มข้นน้อยกว่าในร่างกายของปลาทำให้น้ำในตัวปลาจะไหล (ออสโมซิส) เข้าร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นปลาน้ำจืดจะแก้ไขโดยพยายามฉี่ออกมากๆ (กำจัดน้ำออกจากตัว) และไตจะดูดซึมเกลือแร่กลับเข้าร่างกาย รวมถึงที่เหงือกด้วย
แล้วมีปลาอะไรไหมที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล คำตอบคือมี เป็นพวกปลาสองน้ำ (diadromous) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.ปลาที่อยู่ในทะเลแล้วเข้ามาวางไข่ในน้ำจืด (anadromous fish) ได้แก่พวกปลาแซลมอน
2. ปลาที่อยู่ในน้ำจืดแล้วเข้ามาวางไข่ในทะเล (catadromous fish) ได้แก่ปลาตูหนา
แต่บางครั้งเราอาจจะพบปลาน้ำเค็มในน้ำจืดในสภาพนี้ได้บ้าง
ในปลาทั้งสองชนิดเมื่ออพยพเข้าไปอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงหรือต่ำกว่าที่เคยอยู่ก็จะสามารถปรับตัวโดยสามารถกำจัดเกลือส่วนเกินในน้ำเค็มและรักษาเกลือแร่ในน้ำจืดได้ นอกจากนี้มีปลาอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถอยู่ในน้ำที่มีความเค็มในช่วงกว้างได้ เช่นปลากะพงขาว
ปลากระพงขาว ในน้ำจืด และน้ำเค็ม
ปลากระพงขาวในน้ำมะนาว
เนื่องจากผมเกิดความสงสัยก็เลยไปสืบค้นใน google มาแล้วเห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาคัดลอกแบ่งปันกันอ่านเป็นความรู้นะครับ
เครดิต :
http://phuketaquarium.org/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87/
สาเหตุที่ "ปลาน้ำจืด" ไม่สามารถเลี้ยงในทะเล และ "ปลาทะเล" ไม่สามารถเลี้ยงในน้ำจืดได้
ในปลาทะเลก็เกี่ยวข้องกับออสโมซิสเหมือนกัน ปลาทะเลอาศัยอยู่ในน้ำเค็มซึ่งมีเกลือละลายอยู่ทำให้น้ำทะเลมีความเค็มหรือมีความเข้มข้นมากกว่าตัวของปลาทะเล ดังนั้นเมื่อปลาทะเลต้องอยู่ในน้ำเค็มทำให้น้ำภายในร่างกายของปลาไหลออกจากตัวปลาไปยังน้ำทะเลนอกตัวตลอดเวลาทำให้ตัวปลาเหี่ยวลงไม่มีระบบช่วยเหลือใดๆ แต่ธรรมชาติของปลาทะเลสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำเค็มได้ ปลาทะเลจึงพยายามรักษาน้ำภายในตัวไว้โดยพยายามกินน้ำทะเลเข้าไปมากๆและขับถ่ายของเสียที่มีความเข็มข้นสูงเพราะพยายามกินน้ำทะเลเข้าไปมากจึงต้องกำจัดเกลือออกจากร่างกายและสามารถกำจัดเกลือทางเหงือกอีกด้วย
มีปลาทะเลบางกลุ่มพวกปลาฉลามปลากระเบนมีระบบการรักษาสมดุลของร่างกายต่างจากปลาทะเลทั่วไปที่กินน้ำมากๆและฉี่น้อยๆโดยการปรับให้ความเข้มข้นของร่างกายเท่ากับความเข้มข้นของน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของน้ำในตัวปลากับน้ำทะเลทำให้ไม่เกิดแรงดันออสโมซิสให้น้ำไหลเข้าหรือไหลออกจากตัวปลา แล้วปลาปรับความเข้มข้นร่างกายให้เท่ากับน้ำทะเลอย่างไร ปลาพวกนี้มีวิวัฒนาการเก็บรักษาสารประกอบพวกยูเรียไว้ในเลือดทำให้ความเข้มข้นของร่างกายใกล้เคียงกับน้ำทะเล หากมีใครเคยนำฉลามหรือกระเบนไปทำอาหารเมื่อผ่าตัวปลาออกมาจะพบว่ามีกลิ่นคล้ายกับฉี่ (กลิ่นยูเรีย) คนเราเลยไม่นิยมนำมาทำอาหารกันสดๆ ต้องเอาไปผ่านกรรมวิธี หรือตากแห้งก่อน เช่น หูฉลาม ปลากระเบนหวาน ฯลฯ
ดังนั้น ถ้าเราเอาปลาทะเลไปใส่ลงในน้ำจืดจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวปลาบ้าง ดังที่อธิบายข้างต้นปลาทะเลมีกลไกรักษาน้ำในร่างกายและพยายามกำจัดเกลือออก ถ้าเราเอาปลาทะเลไปใส่ในน้ำจืด (มีความเข็มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นในตัวปลา) จะทำให้น้ำจากภายนอกตัวปลาไหล (ออสโมซิส) เข้าไปในร่างกายของตัวปลาทำให้ปลาบวมน้ำ เซลล์ร่างกายหลายส่วนบวมน้ำจนแตกเสียหายทำงานไม่ได้และทำให้ปลาตายในที่สุด
แล้วถ้าเราเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็จะเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในตัวปลาเหมือนกันแต่ตรงกันข้ามกับปลาทะเล คือน้ำในตัวปลาไหลออกนอกตัวและเซลล์ร่างกายเหี่ยวจนเสียสมดุลและตายในที่สุด
โดยปกติแล้วปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในน้ำซึ่งมีความเข้มข้นน้อยกว่าในร่างกายของปลาทำให้น้ำในตัวปลาจะไหล (ออสโมซิส) เข้าร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นปลาน้ำจืดจะแก้ไขโดยพยายามฉี่ออกมากๆ (กำจัดน้ำออกจากตัว) และไตจะดูดซึมเกลือแร่กลับเข้าร่างกาย รวมถึงที่เหงือกด้วย
แล้วมีปลาอะไรไหมที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล คำตอบคือมี เป็นพวกปลาสองน้ำ (diadromous) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.ปลาที่อยู่ในทะเลแล้วเข้ามาวางไข่ในน้ำจืด (anadromous fish) ได้แก่พวกปลาแซลมอน
2. ปลาที่อยู่ในน้ำจืดแล้วเข้ามาวางไข่ในทะเล (catadromous fish) ได้แก่ปลาตูหนา
แต่บางครั้งเราอาจจะพบปลาน้ำเค็มในน้ำจืดในสภาพนี้ได้บ้าง
ในปลาทั้งสองชนิดเมื่ออพยพเข้าไปอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงหรือต่ำกว่าที่เคยอยู่ก็จะสามารถปรับตัวโดยสามารถกำจัดเกลือส่วนเกินในน้ำเค็มและรักษาเกลือแร่ในน้ำจืดได้ นอกจากนี้มีปลาอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถอยู่ในน้ำที่มีความเค็มในช่วงกว้างได้ เช่นปลากะพงขาว
ปลากระพงขาว ในน้ำจืด และน้ำเค็ม
ปลากระพงขาวในน้ำมะนาว
เนื่องจากผมเกิดความสงสัยก็เลยไปสืบค้นใน google มาแล้วเห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาคัดลอกแบ่งปันกันอ่านเป็นความรู้นะครับ
เครดิต : http://phuketaquarium.org/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87/