อาจจะช้าไปสักหน่อย แต่ขออนุญาติลงบทความที่เขียนไว้ในเพจตัวเองมาลงนะครับ เป็นเพจข่าวรีวิวเกม เมะ มังงะ
https://www.facebook.com/MAGzseen/
อย่างที่เค้าว่ากัน ต้นตำรับย่อมเข้าใจในสิ่งที่เขาสร้าง ถึงอย่างนั้น Shin-Godzilla ก็ทำให้ประหลาดใจไม่น้อย เพราะใครจะไปนึกว่า Hideaki Anno ผู้กำเนิดความสิ้นหวังในโลกอนิเมจาก Evangelion จะสร้างภาพยนตร์ที่ปลุกความหวัง ผนวกแนวคิดชาตินิยมให้กับชาวญี่ปุ่นได้ขนาดนี้
คร่าว ๆ Shin-Godzilla เป็นเรื่องราวของสัตว์ประหลาดที่กำเนิดขึ้นจากการดูดซึมกากกัมมันตรังสีที่อยู่ใต้ทะเลลึกอยู่เป็นเวลาหลายสิบปี จากนั้นได้ขึ้นมาบนบกและวิวัฒนการแบบฉับพลันจนกลายเป็น Godzilla (Gojira) อย่างที่เห็นกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตัวภาพยนตร์โฟกัสกลับไม่ใช่ตัว Godzilla หากแต่เป็นการรับมือของมนุษย์ที่เราจะได้เห็นความร่วมมือ และความขัดแย้งในทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น ดังนั้นหากต้องการดูฉากแอคชั่นยาว ๆ นี่ไม่ใช่หนังสำหรับคุณ เพราะส่วนใหญ่ที่จะได้เห็นคือการ คุย ๆ ๆ การเมือง ๆ ๆ หาทางรับมือ ตบด้วยดรามานิด ๆ ถึงจะไม่มีตัว Gojira โผล่มามากมาย แต่ทุกฉากการพูดคุยจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ Gojira เสมอเรื่องจึงไม่หลุดจากความเป็นหนังก็อดซิลลา
Hideaki Anno กับ Shinji Higuchi คู่ที่ร่วมงานกันเสมอมา
สิ่งที่เห็นได้ชัดใน Shin-godzilla คือความรู้สึกของมนุษย์ที่ต้องยอมรับคุณ Anno และ Higuchi ว่ามีความคุ้นเคยกับการถ่ายทอดบรรยากาศความตึงเครียดผ่านทางสีหน้า ดังนั้นเวลาที่ตัวละครต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง กล้องมักจะซูมใบหน้าจนเต็มจอเสมอเพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมในการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้งานกำกับของ Anno ยังทำให้เราย้อนนึกถึงงานเก่าอย่าง Evangelion อยู่หลายอย่าง ทั้งตัวหนังสือใหญ่ ๆ พาดบนหน้าจอ การถ่ายภาพบรรยากาศที่หยุดนิ่ง ซาวด์แทร็ค (อันนี้ชัด) รวมถึงการนำรถถัง ยุทโธปกรณ์ มาเรียงเป็นระเบียบก่อนพังทิ้งยังทำให้รู้สึก Satisfied ได้เสมอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฉากที่ทำเอาขนตุดลุกที่สุดคือฉากยิงบีมของ Gojira มีซาวด์ประกอบที่ให้ความรู้สึกว่าโลกนี้จบสิ้นแน่ ๆ แต่ตัว Gojira ไม่ได้ปล่อยบีมได้ตลอดนะ มีคูลดาวน์ยาวที่ทำให้รู้สึกว่ามันก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขีดจำกัดเหมือนกัน
ฉากนี้ดูยิ่งใหญ่มาก แต่ฉากแบบนี้ไม่ได้มีเยอะนะ
ระบบวัฒนธรรมองค์กรของญี่ปุ่นก็ถูกนำเสนอเช่นกัน เราจะได้เห็นวิธีการรับมือกับสัตว์ประหลาดด้วยมุมมองของชาวญี่ปุ่น คนอายุน้อยมักไม่ได้รับความเชื่อถือ และจะเห็นเลยว่านายกรัฐมนตรีต้องรับความกดดันในการตัดสินใจมากขนาดไหน (แม้นายกในเรื่องส่วนใหญ่จะพูดแค่คำว่า “เข้าใจแล้ว” ก็ตาม) ระบบโยนการตัดสินใจก็ให้ความรู้สึกกดดันได้มากทีเดียว
สุดท้าย ตามพาดหัว Shin-Godzilla เป็นชาวท่าแซะที่แซะอเมริกาเสียจนถึงกึ๋น อย่างการกดดันประเทศอื่น ๆ ให้ทำตาม และยิงนู๊ค ให้มันจบ ๆ (เหมือนแซะภาคฮอลลีวูด) แต่เขาก็มองประเทศอื่นดีนะ ให้ความร่วมมือแต่ก็ต้องมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดูเรียลดี สำคัญที่สุด Shin-Godzilla เป็นหนังปลุกกระแสชาตินิยม ให้ญี่ปุ่นก้าวเดินด้วยตัวเองบ้าง ส่วนตัวขนาดไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นยังถูกพาให้รู้สึกฮึกเหิมไปด้วยเลย เป็นอะไรที่ทำให้ประหลาดใจมากเพราะรู้กันว่า Anno ทำ Evangelion มาด้วยการแสดงความสิ้นหวังขนาดไหน แต่นั่นก็ทำให้เขาพาเราลงไปเห็นความสิ้นหวังได้ก่อนที่จะฉุดเราขึ้นมาและรู้สึกว่าความหวังนั้นมีค่ามากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน
ป.ล.จากนี้ก็รอดูปฏิกิริยาของชาวอเมริกาที่มีต่อหนังเรื่องนี้กัน แต่เค้าคงชอบแหละคนเราชอบแซะรัฐบาลกันจะตาย เนอะ แต่ไม่รู้แนวหนังแบบนี้เค้าจะชอบกันรึเปล่า
ป.ล.2 อย่าพาเด็กเล็กไปดูจะดีกว่านะ เค้าจะดูไม่รู้เรื่องแล้วจะเดือดร้อนคนอื่นเอา รอบที่ดูไปก็ทีนึงแล้ว
ใครสนใจอ่านรีวิวและข่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับ Manga Anime Game ติดตามได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/MAGzseen/
Shin-Godzilla หมัดฮุกเข้าหน้าอเมริกันชน ปลุกความหวังชาวญี่ปุ่น ฝากอย่าพาเด็กเล็กเข้าไปดู
อย่างที่เค้าว่ากัน ต้นตำรับย่อมเข้าใจในสิ่งที่เขาสร้าง ถึงอย่างนั้น Shin-Godzilla ก็ทำให้ประหลาดใจไม่น้อย เพราะใครจะไปนึกว่า Hideaki Anno ผู้กำเนิดความสิ้นหวังในโลกอนิเมจาก Evangelion จะสร้างภาพยนตร์ที่ปลุกความหวัง ผนวกแนวคิดชาตินิยมให้กับชาวญี่ปุ่นได้ขนาดนี้
คร่าว ๆ Shin-Godzilla เป็นเรื่องราวของสัตว์ประหลาดที่กำเนิดขึ้นจากการดูดซึมกากกัมมันตรังสีที่อยู่ใต้ทะเลลึกอยู่เป็นเวลาหลายสิบปี จากนั้นได้ขึ้นมาบนบกและวิวัฒนการแบบฉับพลันจนกลายเป็น Godzilla (Gojira) อย่างที่เห็นกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตัวภาพยนตร์โฟกัสกลับไม่ใช่ตัว Godzilla หากแต่เป็นการรับมือของมนุษย์ที่เราจะได้เห็นความร่วมมือ และความขัดแย้งในทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น ดังนั้นหากต้องการดูฉากแอคชั่นยาว ๆ นี่ไม่ใช่หนังสำหรับคุณ เพราะส่วนใหญ่ที่จะได้เห็นคือการ คุย ๆ ๆ การเมือง ๆ ๆ หาทางรับมือ ตบด้วยดรามานิด ๆ ถึงจะไม่มีตัว Gojira โผล่มามากมาย แต่ทุกฉากการพูดคุยจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ Gojira เสมอเรื่องจึงไม่หลุดจากความเป็นหนังก็อดซิลลา
สิ่งที่เห็นได้ชัดใน Shin-godzilla คือความรู้สึกของมนุษย์ที่ต้องยอมรับคุณ Anno และ Higuchi ว่ามีความคุ้นเคยกับการถ่ายทอดบรรยากาศความตึงเครียดผ่านทางสีหน้า ดังนั้นเวลาที่ตัวละครต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง กล้องมักจะซูมใบหน้าจนเต็มจอเสมอเพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมในการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้งานกำกับของ Anno ยังทำให้เราย้อนนึกถึงงานเก่าอย่าง Evangelion อยู่หลายอย่าง ทั้งตัวหนังสือใหญ่ ๆ พาดบนหน้าจอ การถ่ายภาพบรรยากาศที่หยุดนิ่ง ซาวด์แทร็ค (อันนี้ชัด) รวมถึงการนำรถถัง ยุทโธปกรณ์ มาเรียงเป็นระเบียบก่อนพังทิ้งยังทำให้รู้สึก Satisfied ได้เสมอ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ระบบวัฒนธรรมองค์กรของญี่ปุ่นก็ถูกนำเสนอเช่นกัน เราจะได้เห็นวิธีการรับมือกับสัตว์ประหลาดด้วยมุมมองของชาวญี่ปุ่น คนอายุน้อยมักไม่ได้รับความเชื่อถือ และจะเห็นเลยว่านายกรัฐมนตรีต้องรับความกดดันในการตัดสินใจมากขนาดไหน (แม้นายกในเรื่องส่วนใหญ่จะพูดแค่คำว่า “เข้าใจแล้ว” ก็ตาม) ระบบโยนการตัดสินใจก็ให้ความรู้สึกกดดันได้มากทีเดียว
สุดท้าย ตามพาดหัว Shin-Godzilla เป็นชาวท่าแซะที่แซะอเมริกาเสียจนถึงกึ๋น อย่างการกดดันประเทศอื่น ๆ ให้ทำตาม และยิงนู๊ค ให้มันจบ ๆ (เหมือนแซะภาคฮอลลีวูด) แต่เขาก็มองประเทศอื่นดีนะ ให้ความร่วมมือแต่ก็ต้องมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดูเรียลดี สำคัญที่สุด Shin-Godzilla เป็นหนังปลุกกระแสชาตินิยม ให้ญี่ปุ่นก้าวเดินด้วยตัวเองบ้าง ส่วนตัวขนาดไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นยังถูกพาให้รู้สึกฮึกเหิมไปด้วยเลย เป็นอะไรที่ทำให้ประหลาดใจมากเพราะรู้กันว่า Anno ทำ Evangelion มาด้วยการแสดงความสิ้นหวังขนาดไหน แต่นั่นก็ทำให้เขาพาเราลงไปเห็นความสิ้นหวังได้ก่อนที่จะฉุดเราขึ้นมาและรู้สึกว่าความหวังนั้นมีค่ามากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน
ป.ล.จากนี้ก็รอดูปฏิกิริยาของชาวอเมริกาที่มีต่อหนังเรื่องนี้กัน แต่เค้าคงชอบแหละคนเราชอบแซะรัฐบาลกันจะตาย เนอะ แต่ไม่รู้แนวหนังแบบนี้เค้าจะชอบกันรึเปล่า
ป.ล.2 อย่าพาเด็กเล็กไปดูจะดีกว่านะ เค้าจะดูไม่รู้เรื่องแล้วจะเดือดร้อนคนอื่นเอา รอบที่ดูไปก็ทีนึงแล้ว
ใครสนใจอ่านรีวิวและข่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับ Manga Anime Game ติดตามได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/MAGzseen/