คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แนวความคิดทางปรัชญาทั่วไป ลักษณะของปรัชญา มีลักษณะ ๓ ประการ
๑ ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์
๒ ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน และ
๓ ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
ซึ่งจะได้อธิบายในแต่ละลักษณะ ดังนี้
.....................
๑. ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์
เนื่องจากปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์รู้คิด แต่บางครั้งความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการหาความรู้ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น มนุษย์สมัยแรกเริ่มอยากรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ไว้กินนานๆ โดยไม่บูดเน่า แต่บางครั้งความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็มิได้เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้ เช่น ธาเลส บิดาแห่งปรัชญา(กรีก) อยากรู้อยากเห็นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในฐานะเป็นสัตว์รู้คิดจึงทำให้เกิดการซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด จนทำให้เกิดปรัชญาขึ้นมา
ปรัชญาจะซักถามทุกอย่างที่จะซักได้ เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เดส์การ์ตส (Descartes ) นักปรัชญาชาวผรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการชี้ให้เห็นลักษณะวิพากษ์ของปรัชญา สำหรับ ฮูม (David Hume) การวิพากษ์วิจารณ์ของเขาได้ท้าทายวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิธีการอุปนัย (induction) ถ้าวิธีการนั้นเชื่อถือไม่ได้ วิทยาศาสตร์ก็มีไม่ได้ และฮูมเป็นผู้วิจารณ์ความถูกต้องของวิธีการอันนี้
โดยทั่วไปเราเชื่อว่า สิ่งที่เราเห็น และจับต้องได้เท่านั้นที่เป็นจริง แต่ เพลโต (Plato) ได้วิพากษ์ความเชื่ออันนี้ เขาไม่มีเครื่องมืออันใดนอกจากเหตุผล แต่การนั้นก็มีผู้อ่านจำนวนไม่น้อยที่อ่านทรรศนะของเพลโตแล้วเริ่มสงสัยความเชื่อเดิมของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือว่า โลกแห่งมโนคติ (World of Idea) ของเพลโตเป็นจริงกว่า
เนื่องจากปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ และในการวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อ และความรู้สึกดั่งเดิมของผู้อ่าน ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้อ่านจะต้องมารับความเชื่อใหม่ อาจจะยังคงไว้ซึ่งความเชื่อเดิมแต่ในลักษณะที่รัดกุมยิ่งขึ้น
๒. ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน
ถ้าเรากล่าวว่าปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานระหว่างปัญหาที่สอง หมายความว่า มติหรือทรรศนะที่เรามีต่อปัญหาที่หนึ่งนั้น ส่งผลกระทบกับปัญหาเรื่องอื่นๆ มากกว่าปัญหาที่สอง สมมุติเราถามปัญหาที่สองว่า คนเราควรแสวงหาอะไรให้ชีวิต ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐาน เพราะทรรศนะที่เรามีต่อปัญหานี้ จะเป็นตัวกำหนดการศึกษาของเรา แต่ปัญหานี้ยังมีลักษณะพื้นฐานน้อยกว่าปัญหาที่หนึ่ง เช่น ปัญหาว่าจิต หรือวิญญาณของมนุษย์มีหรือไม่
ปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานกว่า ก็เพราะว่ามติที่มีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกำหนดมติของปัญหาที่สอง และยังเป็นตัวกำหนดเรื่องอื่นด้วย เช่น อิสรภาพของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และสิ่งไร้ชีวิต และปัญหาเรื่องความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น สมมุติเราเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณมีอยู่จริง และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากร่างกาย
ความเห็นของเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตก็จะออกมาในรูป ปัญญานิยม หรือ วิมุตินิยม หลักศีลธรรมของเราก็จะลักษณะเหมือนของ ค้านท์ (Immanuel Kant) ทฤษฎีความรู้ของเราจะเป็นแบบ เหตุผลนิยม (Rationalism) ถ้าเราไม่เห็นด้วยอย่างนี้เท่ากับความเห็นของเราขัดแย้งกันเอง
ปัญหาเรื่องความจงใจ หรือ เจตจำนงเสรี (free will) ก็เป็นปัญหาพื้นฐานทรรศนะของเรา เกี่ยวกับปัญหานี้จะโยงไปถึงทรรศนะของเราเกี่ยวกับศีลธรรม กฎหมาย การลงโทษ การให้รางวัล ตลอดจนปัญหาสังคม เช่น ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี เราก็ต้องเห็นว่ามนุษย์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเขาเอง เราไม่ควรสรรเสริญหรือประฌามเขา อาชญากรเป็นคนพิการทางจิต มากกว่าที่จะเป็นคนเลว จึงควรส่งเขาไปโรงพยาบาลโรคจิต แทนที่จะส่งเขาเข้าคุกตะราง ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาสังคม เราก็ต้องแก้ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น แต่ถ้าเราคิดว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี ทรรศนะดังกล่าวก็ต้องไปอีกทางหนึ่ง
๓. ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
การโต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานนั้น เราไม่สามารถจะตัดสินให้เด็ดขาดลงไปได้ ว่าฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาสำคัญ ทั้งนี้ เพราะว่าทรรศนะที่เรามีต่อปัญหาเหล่านี้จะเป็นฐานที่ทำให้ทรรศนะของเราในเรื่องโลก มนุษย์สังคม และความหมายของชีวิตเป็นไปในอีกแนวหนึ่ง
เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทรรศนะใดถูก ทรรศนะใดผิด เราจึงจำต้องยึดอันใดอันหนึ่งด้วยความเชื่อ ความเชื่อของคนๆ หนึ่งนั้นมีมากมายหลายเรื่อง เช่น ศีลธรรม ค่าของชีวิต อุดมการทางการเมือง ศาสนา ศิลปะ ฯลฯ ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บางทีเราพิสูจน์ไม่ได้
เราจำต้องเชื่อ ตอนนี้ ปรัชญาจะเข้ามามีส่วน คือ ปรัชญาจะช่วยทำให้ความเชื่อของเราเป็นระบบ กล่าวคือ ช่วยทำให้เชื่อในเรื่องต่างๆ ของเรา สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และความเชื่อของเราจะกลมกลืนกันได้ก็ต่อเมื่อมีหลักบางหลักเป็นจุดร่วมกันนั้น คือเราจะต้องมี ทรรศนะ เป็นพื้นฐานรองรับความเชื่อเหล่านั้น วิชาปรัชญาพยายามที่จะให้พื้นฐานอันนี้แก่เรา นั่นก็หมายความว่า ปรัชญาช่วยให้เราแสวงหาโลกทัศน์
โลกทัศน์ คือ ความเชื่ออันเป็นระบบในวิถีชีวิตของคนๆ หนึ่ง เขาอาจพูด คิดทำอะไรต่ออะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลายหลากนี้จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของทรรศนะพื้นฐานอันเดียวกัน ทรรศนะพื้นฐานนี้แหละ คือ โลกทัศน์ของคนๆ นั้น ทุกคนมีโลกทัศน์ ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่ก็ตาม ปรัชญาจะช่วยให้เราเห็นโลกทัศน์ของเราชัดขึ้น ทั้งนี้ก็โดยการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และการถกเถียงปัญหาอันเป็นพื้นฐาน
โลกทัศน์ เป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิตแต่ละคน และเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคมมนุษย์ด้วย ถ้าเราเห็นเรือลำหนึ่งกำลังแล่นอยู่ในทะเล ปัจจัยที่อธิบายการแล่นของเรือลำนี้มีสองอย่าง คือ
๑. เครื่องยนต์ทำให้แล่นไปได้
๒. จุดหมายปลายทางที่เรือลำนั้นจะแล่นไป
ถ้าไม่มีสองอย่างนี้พร้อมกัน การแล่นของเรือก็คงไม่เกิดขึ้น ชีวิตมนษย์ก็เช่นกัน ในการเดินทางของนาวาชีวิตความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ แต่สิ่งที่กำหนดทิศทาง คือ โลกทัศน์ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ทางความรู้ เป็นแรงผลักดันให้เคลื่อนไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใดที่ไม่มีโลกทัศน์
............................
แนวคิดปรัชญาตะวันตก (ยุคโบราณ)
๑. โซคราตีส (Socrates)
โซคราตีส สนใจในปัญหา ๒ ประการ คือ เรื่องทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยากับจริยศาสตร์หรือมาตรฐานการกระทำของบุคคลว่าอย่างไรดี อย่างไรชั่ว อย่างไรถูก อย่างไรผิด โซคราตีสจึงไม่ได้มุ่งสร้างระบบปรัชญาแต่ต้องการให้มนุษย์รักความจริง และคุณธรรม จึงมุ่งจะสร้างวิธีถูกต้อง ในการสร้างความรู้มากกว่าในทางทฤษฎี โซคราตีส เห็นว่า "ความรู้เป็นธรรม" เพราะฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้รักในความจริง ความรู้กับคุณธรรมตามทัศนะของ โซคราตีส จึงเป็นอันเดียวกัน คุณธรรมที่แท้จริงมีเพียงหนึ่งส่วนความดีอื่นๆ มากมายเป็นเพียงรูปแบบของคุณธรรมที่แท้จริง ซึ่งมีเพียงหนึ่งนั้น
๒. เพลโต (Plato) เป็นศิษย์ของโซคราตีส และเป็นผู้สร้างระบบปรัชญาไว้ดังนี้ คือ
- อภิปรัชญา รวมทั้งฟิสิกส์ และจิตวิทยา เพลโตเป็นนักปรัชญาประเภทจิตนิยม โดยแบ่งโลกออกเป็น ๒ ชนิด คือ โลกเท่าที่ปรากฏทางประสาทสัมผัสหรือโลกที่สามารถมองเห็นได้ กับโลกแห่งความคิด หรือโลกในอุดมคติอันเป็นรูปแบบ หรือแม่พิมพ์ของโลกที่ปรากฏฉะนั้น โดยอาศัยทฤษฎีนี้ทุกสิ่งย่อมมี ๒ ชนิด คือ สิ่งที่ปรากฏรูปแบบหรือแม่พิมพ์ของสิ่งนั้น สิ่งที่ปรากฏ เช่น มนุษย์อาจจะเกิดขึ้น และสลายทั่วไปได้โดยธรรมชาติ แต่รูปแบบหรือแม่พิมพ์ของมนุษย์จะคงอยู่นิรันดร
พระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่ผู้สร้างอย่างแท้จริง เป็นเพียงผู้ออกแบบจัดโลก และสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบเท่านั้น โลกที่ปรากฏ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และวิญญาณ โลกซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างโลกที่ปรากฏกับโลกแห่งความคิด
- ตรรกวิทยา รวมทั้งญาณวิทยาหรือทฤษฎีแห่งความรู้ ความรู้ทางตรรกวิทยาเป็นความรู้ที่มีเหตุมีผล พ้นจากสิ่งเฉพาะ ไปสู่สิ่งสากล เพราะสามารถรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เข้าเป็นความคิดเดียวกัน และแบ่งความคิดออกเป็นชนิดต่างๆ คือ ประกอบด้วย การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ ความคิดที่แจ่มแจ้งแน่ชัด และลงรอยกับตัวเองได้
- จริยศาสตร์ รวมทั้งการเมือง การปกครอง เพลโตเห็นว่า "คุณธรรมเป็นความดีสูงสุด" รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม และความสุขในเรื่องสังคม อุดมคติหรืออุดมรัฐ เพลโตเห็นว่าควรมี นักปรัชญาปกครองประเทศ หรือรัฐ ความสมบูรณ์ หรือ ความผาสุกจึงเกิดมีได้
๓. อริสโตเติล (Aristotle)
เป็นนักปรัชญาสัจนิยม และเป็นศิษย์เพลโต ปรัชญาของท่านอริสโตเติลมี ๒ ระดับ คืออภิปรัชญา จัดเป็นอันดับที่หนึ่ง วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จัดเป็นอันดับที่สอง อริสโตเติลจึงเป็นทั้งนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ ของอริสโตเติล สรุปได้ ๓ สาขา คือ
- อภิปรัชญา อริสโตเติลเห็นว่าเนื้อสารเป็นรูปธรรม วัตถุต่างๆ เป็นเนื้อสารที่แท้จริง เราจะรู้ได้จากรูปลักษณะต่างๆ ของวัตถุที่ปรากฎ เพราะเนื้อสารเป็นรูปของมันที่ปรากฎนี้เอง เราจึงสามารถรู้วัตถุได้
- ตรรกวิทยา อริสโตเติลได้สร้างตรรกวิทยาสมบูรณ์เป็นคนแรก โดยความหมายของตรรกวิทยาว่า ตรรกวิทยา คือ การวิเคราะห์รูปแบบ และเนื้อหาของความคิด เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมบูรณ์
- จริยศาสตร์ อริสโตเติลเห็นว่า ความดีสูงสุด คือ ความสุข คุณธรรมจะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดทั้ง ๒ หรือ ที่เรียกว่า "ทางสายกลาง" คือ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
..........................
ความหมายของจริยศาสตร์ (เพิ่ม)
จริยศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เป็นหลักการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นคำศัพท์ที่ได้มาจากคำว่า จริยะ+ศาสตร์ แปลตามตัวอักษรว่า ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติ หรือศาสตร์แห่งความประพฤติ จริยศาสตร์ มีความหมายเช่นเดียวกันกับคำว่า "ศีลธรรม" หากจะมีเนื้อหาที่ต่างกันบ้างก็คงเนื่องจากศีลธรรมมีความจำกัดขอบเขตอยู่กับข้อปฏิบัติ แต่จริยศาสตร์มีความหมายกว้างกว่าทั้งหลักการ และวิธีการ เพราะทั้งสองมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต
อีกประการหนึ่ง จริยศาสตร์ เป็นศัพท์ แปลความหมายมาจากคำว่า Ethics ซึ่งมาจากคุณศัพท์ภาษากรีก เรียกว่า Ethica และเป็นนาม ได้แก่ Ethos หมายถึง ขนบธรรมเนียมจารีตนิสัยหรือความประพฤติ และบางทีใช้คำว่า "Moral Philosophy" คำว่า Moral ได้มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า Mores หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือข้อปฏิบัติโดยตรง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสังคมนั้นๆ ด้วย
ความหมายของจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ในความหมายทั่วไป หมายถึง ศาสตร์แห่งขนบธรรมเนียม หรือความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ทั่วไป เป็นศาสตร์ที่บอกให้เราทราบลักษณะที่ถูกหรือผิดของพฤติกรรมทั่วไป กำหนดกฏเกณฑ์ หรือการประเมินคุณค่าแห่งชีวิตตามเงื่อนไขทางพฤติกรรมของมนุษย์
ตามหนังสือ A. Manual of Ethics, Machenzic ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้ว่า "จริยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมของมนุษย์ ว่าสิ่งไหนชอบธรรมหรือถูกต้อง เป็นศาสตร์ที่กำหนดถึงอุดมการณ์ของชีวิตมนุษย์"
๑ ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์
๒ ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน และ
๓ ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
ซึ่งจะได้อธิบายในแต่ละลักษณะ ดังนี้
.....................
๑. ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์
เนื่องจากปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์รู้คิด แต่บางครั้งความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการหาความรู้ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น มนุษย์สมัยแรกเริ่มอยากรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ไว้กินนานๆ โดยไม่บูดเน่า แต่บางครั้งความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็มิได้เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้ เช่น ธาเลส บิดาแห่งปรัชญา(กรีก) อยากรู้อยากเห็นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในฐานะเป็นสัตว์รู้คิดจึงทำให้เกิดการซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด จนทำให้เกิดปรัชญาขึ้นมา
ปรัชญาจะซักถามทุกอย่างที่จะซักได้ เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เดส์การ์ตส (Descartes ) นักปรัชญาชาวผรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการชี้ให้เห็นลักษณะวิพากษ์ของปรัชญา สำหรับ ฮูม (David Hume) การวิพากษ์วิจารณ์ของเขาได้ท้าทายวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิธีการอุปนัย (induction) ถ้าวิธีการนั้นเชื่อถือไม่ได้ วิทยาศาสตร์ก็มีไม่ได้ และฮูมเป็นผู้วิจารณ์ความถูกต้องของวิธีการอันนี้
โดยทั่วไปเราเชื่อว่า สิ่งที่เราเห็น และจับต้องได้เท่านั้นที่เป็นจริง แต่ เพลโต (Plato) ได้วิพากษ์ความเชื่ออันนี้ เขาไม่มีเครื่องมืออันใดนอกจากเหตุผล แต่การนั้นก็มีผู้อ่านจำนวนไม่น้อยที่อ่านทรรศนะของเพลโตแล้วเริ่มสงสัยความเชื่อเดิมของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือว่า โลกแห่งมโนคติ (World of Idea) ของเพลโตเป็นจริงกว่า
เนื่องจากปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ และในการวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อ และความรู้สึกดั่งเดิมของผู้อ่าน ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้อ่านจะต้องมารับความเชื่อใหม่ อาจจะยังคงไว้ซึ่งความเชื่อเดิมแต่ในลักษณะที่รัดกุมยิ่งขึ้น
๒. ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน
ถ้าเรากล่าวว่าปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานระหว่างปัญหาที่สอง หมายความว่า มติหรือทรรศนะที่เรามีต่อปัญหาที่หนึ่งนั้น ส่งผลกระทบกับปัญหาเรื่องอื่นๆ มากกว่าปัญหาที่สอง สมมุติเราถามปัญหาที่สองว่า คนเราควรแสวงหาอะไรให้ชีวิต ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐาน เพราะทรรศนะที่เรามีต่อปัญหานี้ จะเป็นตัวกำหนดการศึกษาของเรา แต่ปัญหานี้ยังมีลักษณะพื้นฐานน้อยกว่าปัญหาที่หนึ่ง เช่น ปัญหาว่าจิต หรือวิญญาณของมนุษย์มีหรือไม่
ปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานกว่า ก็เพราะว่ามติที่มีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกำหนดมติของปัญหาที่สอง และยังเป็นตัวกำหนดเรื่องอื่นด้วย เช่น อิสรภาพของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และสิ่งไร้ชีวิต และปัญหาเรื่องความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น สมมุติเราเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณมีอยู่จริง และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากร่างกาย
ความเห็นของเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตก็จะออกมาในรูป ปัญญานิยม หรือ วิมุตินิยม หลักศีลธรรมของเราก็จะลักษณะเหมือนของ ค้านท์ (Immanuel Kant) ทฤษฎีความรู้ของเราจะเป็นแบบ เหตุผลนิยม (Rationalism) ถ้าเราไม่เห็นด้วยอย่างนี้เท่ากับความเห็นของเราขัดแย้งกันเอง
ปัญหาเรื่องความจงใจ หรือ เจตจำนงเสรี (free will) ก็เป็นปัญหาพื้นฐานทรรศนะของเรา เกี่ยวกับปัญหานี้จะโยงไปถึงทรรศนะของเราเกี่ยวกับศีลธรรม กฎหมาย การลงโทษ การให้รางวัล ตลอดจนปัญหาสังคม เช่น ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี เราก็ต้องเห็นว่ามนุษย์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเขาเอง เราไม่ควรสรรเสริญหรือประฌามเขา อาชญากรเป็นคนพิการทางจิต มากกว่าที่จะเป็นคนเลว จึงควรส่งเขาไปโรงพยาบาลโรคจิต แทนที่จะส่งเขาเข้าคุกตะราง ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาสังคม เราก็ต้องแก้ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น แต่ถ้าเราคิดว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี ทรรศนะดังกล่าวก็ต้องไปอีกทางหนึ่ง
๓. ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
การโต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานนั้น เราไม่สามารถจะตัดสินให้เด็ดขาดลงไปได้ ว่าฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาสำคัญ ทั้งนี้ เพราะว่าทรรศนะที่เรามีต่อปัญหาเหล่านี้จะเป็นฐานที่ทำให้ทรรศนะของเราในเรื่องโลก มนุษย์สังคม และความหมายของชีวิตเป็นไปในอีกแนวหนึ่ง
เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทรรศนะใดถูก ทรรศนะใดผิด เราจึงจำต้องยึดอันใดอันหนึ่งด้วยความเชื่อ ความเชื่อของคนๆ หนึ่งนั้นมีมากมายหลายเรื่อง เช่น ศีลธรรม ค่าของชีวิต อุดมการทางการเมือง ศาสนา ศิลปะ ฯลฯ ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บางทีเราพิสูจน์ไม่ได้
เราจำต้องเชื่อ ตอนนี้ ปรัชญาจะเข้ามามีส่วน คือ ปรัชญาจะช่วยทำให้ความเชื่อของเราเป็นระบบ กล่าวคือ ช่วยทำให้เชื่อในเรื่องต่างๆ ของเรา สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และความเชื่อของเราจะกลมกลืนกันได้ก็ต่อเมื่อมีหลักบางหลักเป็นจุดร่วมกันนั้น คือเราจะต้องมี ทรรศนะ เป็นพื้นฐานรองรับความเชื่อเหล่านั้น วิชาปรัชญาพยายามที่จะให้พื้นฐานอันนี้แก่เรา นั่นก็หมายความว่า ปรัชญาช่วยให้เราแสวงหาโลกทัศน์
โลกทัศน์ คือ ความเชื่ออันเป็นระบบในวิถีชีวิตของคนๆ หนึ่ง เขาอาจพูด คิดทำอะไรต่ออะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลายหลากนี้จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของทรรศนะพื้นฐานอันเดียวกัน ทรรศนะพื้นฐานนี้แหละ คือ โลกทัศน์ของคนๆ นั้น ทุกคนมีโลกทัศน์ ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่ก็ตาม ปรัชญาจะช่วยให้เราเห็นโลกทัศน์ของเราชัดขึ้น ทั้งนี้ก็โดยการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และการถกเถียงปัญหาอันเป็นพื้นฐาน
โลกทัศน์ เป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิตแต่ละคน และเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคมมนุษย์ด้วย ถ้าเราเห็นเรือลำหนึ่งกำลังแล่นอยู่ในทะเล ปัจจัยที่อธิบายการแล่นของเรือลำนี้มีสองอย่าง คือ
๑. เครื่องยนต์ทำให้แล่นไปได้
๒. จุดหมายปลายทางที่เรือลำนั้นจะแล่นไป
ถ้าไม่มีสองอย่างนี้พร้อมกัน การแล่นของเรือก็คงไม่เกิดขึ้น ชีวิตมนษย์ก็เช่นกัน ในการเดินทางของนาวาชีวิตความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ แต่สิ่งที่กำหนดทิศทาง คือ โลกทัศน์ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ทางความรู้ เป็นแรงผลักดันให้เคลื่อนไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใดที่ไม่มีโลกทัศน์
............................
แนวคิดปรัชญาตะวันตก (ยุคโบราณ)
๑. โซคราตีส (Socrates)
โซคราตีส สนใจในปัญหา ๒ ประการ คือ เรื่องทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยากับจริยศาสตร์หรือมาตรฐานการกระทำของบุคคลว่าอย่างไรดี อย่างไรชั่ว อย่างไรถูก อย่างไรผิด โซคราตีสจึงไม่ได้มุ่งสร้างระบบปรัชญาแต่ต้องการให้มนุษย์รักความจริง และคุณธรรม จึงมุ่งจะสร้างวิธีถูกต้อง ในการสร้างความรู้มากกว่าในทางทฤษฎี โซคราตีส เห็นว่า "ความรู้เป็นธรรม" เพราะฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้รักในความจริง ความรู้กับคุณธรรมตามทัศนะของ โซคราตีส จึงเป็นอันเดียวกัน คุณธรรมที่แท้จริงมีเพียงหนึ่งส่วนความดีอื่นๆ มากมายเป็นเพียงรูปแบบของคุณธรรมที่แท้จริง ซึ่งมีเพียงหนึ่งนั้น
๒. เพลโต (Plato) เป็นศิษย์ของโซคราตีส และเป็นผู้สร้างระบบปรัชญาไว้ดังนี้ คือ
- อภิปรัชญา รวมทั้งฟิสิกส์ และจิตวิทยา เพลโตเป็นนักปรัชญาประเภทจิตนิยม โดยแบ่งโลกออกเป็น ๒ ชนิด คือ โลกเท่าที่ปรากฏทางประสาทสัมผัสหรือโลกที่สามารถมองเห็นได้ กับโลกแห่งความคิด หรือโลกในอุดมคติอันเป็นรูปแบบ หรือแม่พิมพ์ของโลกที่ปรากฏฉะนั้น โดยอาศัยทฤษฎีนี้ทุกสิ่งย่อมมี ๒ ชนิด คือ สิ่งที่ปรากฏรูปแบบหรือแม่พิมพ์ของสิ่งนั้น สิ่งที่ปรากฏ เช่น มนุษย์อาจจะเกิดขึ้น และสลายทั่วไปได้โดยธรรมชาติ แต่รูปแบบหรือแม่พิมพ์ของมนุษย์จะคงอยู่นิรันดร
พระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่ผู้สร้างอย่างแท้จริง เป็นเพียงผู้ออกแบบจัดโลก และสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบเท่านั้น โลกที่ปรากฏ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และวิญญาณ โลกซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างโลกที่ปรากฏกับโลกแห่งความคิด
- ตรรกวิทยา รวมทั้งญาณวิทยาหรือทฤษฎีแห่งความรู้ ความรู้ทางตรรกวิทยาเป็นความรู้ที่มีเหตุมีผล พ้นจากสิ่งเฉพาะ ไปสู่สิ่งสากล เพราะสามารถรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เข้าเป็นความคิดเดียวกัน และแบ่งความคิดออกเป็นชนิดต่างๆ คือ ประกอบด้วย การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ ความคิดที่แจ่มแจ้งแน่ชัด และลงรอยกับตัวเองได้
- จริยศาสตร์ รวมทั้งการเมือง การปกครอง เพลโตเห็นว่า "คุณธรรมเป็นความดีสูงสุด" รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม และความสุขในเรื่องสังคม อุดมคติหรืออุดมรัฐ เพลโตเห็นว่าควรมี นักปรัชญาปกครองประเทศ หรือรัฐ ความสมบูรณ์ หรือ ความผาสุกจึงเกิดมีได้
๓. อริสโตเติล (Aristotle)
เป็นนักปรัชญาสัจนิยม และเป็นศิษย์เพลโต ปรัชญาของท่านอริสโตเติลมี ๒ ระดับ คืออภิปรัชญา จัดเป็นอันดับที่หนึ่ง วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จัดเป็นอันดับที่สอง อริสโตเติลจึงเป็นทั้งนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ ของอริสโตเติล สรุปได้ ๓ สาขา คือ
- อภิปรัชญา อริสโตเติลเห็นว่าเนื้อสารเป็นรูปธรรม วัตถุต่างๆ เป็นเนื้อสารที่แท้จริง เราจะรู้ได้จากรูปลักษณะต่างๆ ของวัตถุที่ปรากฎ เพราะเนื้อสารเป็นรูปของมันที่ปรากฎนี้เอง เราจึงสามารถรู้วัตถุได้
- ตรรกวิทยา อริสโตเติลได้สร้างตรรกวิทยาสมบูรณ์เป็นคนแรก โดยความหมายของตรรกวิทยาว่า ตรรกวิทยา คือ การวิเคราะห์รูปแบบ และเนื้อหาของความคิด เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมบูรณ์
- จริยศาสตร์ อริสโตเติลเห็นว่า ความดีสูงสุด คือ ความสุข คุณธรรมจะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดทั้ง ๒ หรือ ที่เรียกว่า "ทางสายกลาง" คือ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
..........................
ความหมายของจริยศาสตร์ (เพิ่ม)
จริยศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เป็นหลักการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นคำศัพท์ที่ได้มาจากคำว่า จริยะ+ศาสตร์ แปลตามตัวอักษรว่า ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติ หรือศาสตร์แห่งความประพฤติ จริยศาสตร์ มีความหมายเช่นเดียวกันกับคำว่า "ศีลธรรม" หากจะมีเนื้อหาที่ต่างกันบ้างก็คงเนื่องจากศีลธรรมมีความจำกัดขอบเขตอยู่กับข้อปฏิบัติ แต่จริยศาสตร์มีความหมายกว้างกว่าทั้งหลักการ และวิธีการ เพราะทั้งสองมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต
อีกประการหนึ่ง จริยศาสตร์ เป็นศัพท์ แปลความหมายมาจากคำว่า Ethics ซึ่งมาจากคุณศัพท์ภาษากรีก เรียกว่า Ethica และเป็นนาม ได้แก่ Ethos หมายถึง ขนบธรรมเนียมจารีตนิสัยหรือความประพฤติ และบางทีใช้คำว่า "Moral Philosophy" คำว่า Moral ได้มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า Mores หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือข้อปฏิบัติโดยตรง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสังคมนั้นๆ ด้วย
ความหมายของจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ในความหมายทั่วไป หมายถึง ศาสตร์แห่งขนบธรรมเนียม หรือความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ทั่วไป เป็นศาสตร์ที่บอกให้เราทราบลักษณะที่ถูกหรือผิดของพฤติกรรมทั่วไป กำหนดกฏเกณฑ์ หรือการประเมินคุณค่าแห่งชีวิตตามเงื่อนไขทางพฤติกรรมของมนุษย์
ตามหนังสือ A. Manual of Ethics, Machenzic ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้ว่า "จริยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมของมนุษย์ ว่าสิ่งไหนชอบธรรมหรือถูกต้อง เป็นศาสตร์ที่กำหนดถึงอุดมการณ์ของชีวิตมนุษย์"
แสดงความคิดเห็น
ปรัชญา(Philosophy)คืออะไรหรอครับ
ในที่ขอถามถึงปรัชญาตะวันตกและประวัติ,จุดเริ่มต้นของปรัชญาในกรีซครับ
รบกวนด้วยครับ