เรื่องที่จะเล่าอาจจะไม่เกี่ยวกับหัวโขนทั้งหมดนะคะ แต่จะเล่าประสบการณ์กับวงการนาฏศิลป์ที่ตัวเราเองได้สัมผัสมาค่ะ ข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ เพราะเล่าในส่วนที่รู้ ที่เคยสัมผัสมาค่ะ
มาเริ่มกันดีกว่าค่ะ จขกท.อยากเรียนฟ้อนดาบ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นศิลปะเฉพาะภาคเหนือนะคะ ก่อนเรียนจะต้องมีการขึ้นครู ซึ่งแยกออกมาจากการขึ้นครูก่อนเรียนรำแบบธรรมดา ถ้านึกไม่ออกก็นึกตอนที่รำประกอบเพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็ได้ค่ะ เดี๋ยวแปะลิงค์ไว้ให้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้คลิปฟ้อนดาบค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กลับมาที่การขึ้นครูรำดาบค่ะ จขกท.ได้เตรียมกรวยใบตองใส่ดอกไม้ ธูปเทียน กับเงิน 399 ค่าขึ้นครูค่ะ (อันนี้ไม่ใช่ค่าเรียนนะคะ) แล้วอาจารย์จะให้เข้าไปในห้องที่ไว้ใช้สอน จะมีมุมหนึ่งมีหิ้งพระ ธูปเทียนตั้งอยู่ในห้อง บนหิ้งมีเศียรของพ่อแก่ตั้งไว้ (พ่อแก่เป็นสิ่งที่คนในวงการนาฏศิลป์เคารพกันค่ะ) ข้างๆมีอาหารกับผลไม้หลากหลายชนิดวางเต็มไปหมดเลยค่ะ (พอเสร็จพิธีได้ของกินกลับเพียบเลยค่ะ) โดยรอบของห้องมีกระจกบานใหญ่ไว้ดูท่ารำเวลาซ้อม
ตอนนั่งรอฤกษ์ อาจารย์นั่งหันเข้าหากลุ่มลูกศิษย์พูดคุยถึงความสำคัญของการขึ้นครูครั้งนี้ค่ะ โดยส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะมีอายุประมาณ 7-11 ปีค่ะ (ตอนนั้นจขกท.อายุ 17 ละค่ะ เป็นเด็กโข่ง อิอิ)
มาถึงเวลาทำพิธีขึ้นครูแล้วค่ะ !
สารภาพตามตรงว่าจำไม่ได้ทั้งหมด แต่จะมีช่วงนึงที่ให้ท่องบทสวดตามอาจารย์ จะเรียกว่าบทสวดก็ไม่ใช่ น่าจะเป็นการทำพิธีสาบานมากกว่า
เนื้อหาบทสวดจะมีใจความสำคัญประมาณนี้ค่ะ
1. ห้ามดัดแปลงท่ารำ ไม่ว่าจะเอาไปแสดงหรือสอนต่อก็ตาม ต้องรำตามแบบต้นฉบับทั้งหมด
2. เมื่อขึ้นครูกับอาจารย์แล้ว ห้ามเรียนกับอาจารย์คนอื่นอีก
หากทำผิดกฏจะเรียกว่าผิดครูค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Spoil: การผิดครูเชื่อกันว่าอิทธิฤทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะส่งผลให้ผู้ที่ผิดครูสติฟั่นเฟือง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
พอจบพิธีทุกคนก็จะได้รับดาบที่ทำพิธีคืนกลับไปฝึกซ้อม และใช้สำหรับเรียนค่ะ
โดยการใช้ดาบมีข้อตกลงดังนี้ค่ะ
- ห้ามใส่กระโปรงซ้อม เขาให้เหตุผลว่าจะทำให้ดาบไม่ศักดิ์สิทธิ์
- ห้ามวางดาบไว้ที่พื้น ห้ามเหยียบ (ยกเว้นท่าติดตีนค่ะ) โดยให้เหตุผลเดียวกัน
มีอีกเรื่องนึงค่ะ
มีญาติของจขกท.เรียนอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ตอนเรียนม.1 ก็แบ่งครึ่งวันเช้าให้รำ ครึ่งวันบ่ายเรียนวิชาการ หากเรียนได้ท่ามาตราฐานแล้ว ตอนม.2 จะพิธีการมอบชุดยืนเครื่อวตัวพระ ตัวนาง ลักษณะชุดอยู่ใน spoil ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ http://www.oknation.net/blog/assada999/2009/11/18/entry-1
เด็กๆต้องฝึกกันหนักมากกว่าจะได้เข้าพิธีค่ะและถึงจะได้สวมชุดนี้ เท่าที่ทราบมาไม่ใช่ทุกคนที่จะสวมได้นะคะ
ตรงส่วนนี้หรือเปล่าที่ทำให้ชุดความคิดต่างกัน คือเขาพยายามฝึกซ้อมอย่างหนักกว่าจะได้สวมชุดนั้น ความรู้สึกคือชุดทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก ในกรณีของทศกัณฐ์ก็เช่นกัน พวกเขาจึงไม่ชอบดัดแปลงอะไรมาก
แต่อย่าเพิ่งด่าจขกท. เพราะจขกท.ก็เลิกเรียนดาบเพราะการที่เอาท่วงท่าไปต่อยอดไม่ได้ มันทำให้รู้สึกเบื่อเลยเลิกเรียนไปเองค่ะ
เอาจริงๆฟ้อนดาบเป็นอะไรที่สง่าและสวยงาม เสียดายถ้านำมาประกอบกับเพลงจังหวะร่วมสมัย หรือท่าเต้นร่วมสมัย มันจะน่าสนใจมากๆค่ะ
ปล.ขออนุญาติแท็กความเชื่อส่วนบุคคลด้วยนะคะ เพราะเป็นการนำเสนอความเชื่อที่แตกต่างกันของคนแต่ละกลุ่มค่ะ
เห็นดราม่าmvเที่ยวไทยมีเฮ เลยอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ของวงการนาฏศิลป์เท่าที่สัมผัสมาค่ะ
มาเริ่มกันดีกว่าค่ะ จขกท.อยากเรียนฟ้อนดาบ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นศิลปะเฉพาะภาคเหนือนะคะ ก่อนเรียนจะต้องมีการขึ้นครู ซึ่งแยกออกมาจากการขึ้นครูก่อนเรียนรำแบบธรรมดา ถ้านึกไม่ออกก็นึกตอนที่รำประกอบเพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็ได้ค่ะ เดี๋ยวแปะลิงค์ไว้ให้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้คลิปฟ้อนดาบค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กลับมาที่การขึ้นครูรำดาบค่ะ จขกท.ได้เตรียมกรวยใบตองใส่ดอกไม้ ธูปเทียน กับเงิน 399 ค่าขึ้นครูค่ะ (อันนี้ไม่ใช่ค่าเรียนนะคะ) แล้วอาจารย์จะให้เข้าไปในห้องที่ไว้ใช้สอน จะมีมุมหนึ่งมีหิ้งพระ ธูปเทียนตั้งอยู่ในห้อง บนหิ้งมีเศียรของพ่อแก่ตั้งไว้ (พ่อแก่เป็นสิ่งที่คนในวงการนาฏศิลป์เคารพกันค่ะ) ข้างๆมีอาหารกับผลไม้หลากหลายชนิดวางเต็มไปหมดเลยค่ะ (พอเสร็จพิธีได้ของกินกลับเพียบเลยค่ะ) โดยรอบของห้องมีกระจกบานใหญ่ไว้ดูท่ารำเวลาซ้อม
ตอนนั่งรอฤกษ์ อาจารย์นั่งหันเข้าหากลุ่มลูกศิษย์พูดคุยถึงความสำคัญของการขึ้นครูครั้งนี้ค่ะ โดยส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะมีอายุประมาณ 7-11 ปีค่ะ (ตอนนั้นจขกท.อายุ 17 ละค่ะ เป็นเด็กโข่ง อิอิ)
มาถึงเวลาทำพิธีขึ้นครูแล้วค่ะ !
สารภาพตามตรงว่าจำไม่ได้ทั้งหมด แต่จะมีช่วงนึงที่ให้ท่องบทสวดตามอาจารย์ จะเรียกว่าบทสวดก็ไม่ใช่ น่าจะเป็นการทำพิธีสาบานมากกว่า
เนื้อหาบทสวดจะมีใจความสำคัญประมาณนี้ค่ะ
1. ห้ามดัดแปลงท่ารำ ไม่ว่าจะเอาไปแสดงหรือสอนต่อก็ตาม ต้องรำตามแบบต้นฉบับทั้งหมด
2. เมื่อขึ้นครูกับอาจารย์แล้ว ห้ามเรียนกับอาจารย์คนอื่นอีก
หากทำผิดกฏจะเรียกว่าผิดครูค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอจบพิธีทุกคนก็จะได้รับดาบที่ทำพิธีคืนกลับไปฝึกซ้อม และใช้สำหรับเรียนค่ะ
โดยการใช้ดาบมีข้อตกลงดังนี้ค่ะ
- ห้ามใส่กระโปรงซ้อม เขาให้เหตุผลว่าจะทำให้ดาบไม่ศักดิ์สิทธิ์
- ห้ามวางดาบไว้ที่พื้น ห้ามเหยียบ (ยกเว้นท่าติดตีนค่ะ) โดยให้เหตุผลเดียวกัน
มีอีกเรื่องนึงค่ะ
มีญาติของจขกท.เรียนอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ตอนเรียนม.1 ก็แบ่งครึ่งวันเช้าให้รำ ครึ่งวันบ่ายเรียนวิชาการ หากเรียนได้ท่ามาตราฐานแล้ว ตอนม.2 จะพิธีการมอบชุดยืนเครื่อวตัวพระ ตัวนาง ลักษณะชุดอยู่ใน spoil ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เด็กๆต้องฝึกกันหนักมากกว่าจะได้เข้าพิธีค่ะและถึงจะได้สวมชุดนี้ เท่าที่ทราบมาไม่ใช่ทุกคนที่จะสวมได้นะคะ
ตรงส่วนนี้หรือเปล่าที่ทำให้ชุดความคิดต่างกัน คือเขาพยายามฝึกซ้อมอย่างหนักกว่าจะได้สวมชุดนั้น ความรู้สึกคือชุดทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก ในกรณีของทศกัณฐ์ก็เช่นกัน พวกเขาจึงไม่ชอบดัดแปลงอะไรมาก
แต่อย่าเพิ่งด่าจขกท. เพราะจขกท.ก็เลิกเรียนดาบเพราะการที่เอาท่วงท่าไปต่อยอดไม่ได้ มันทำให้รู้สึกเบื่อเลยเลิกเรียนไปเองค่ะ
เอาจริงๆฟ้อนดาบเป็นอะไรที่สง่าและสวยงาม เสียดายถ้านำมาประกอบกับเพลงจังหวะร่วมสมัย หรือท่าเต้นร่วมสมัย มันจะน่าสนใจมากๆค่ะ
ปล.ขออนุญาติแท็กความเชื่อส่วนบุคคลด้วยนะคะ เพราะเป็นการนำเสนอความเชื่อที่แตกต่างกันของคนแต่ละกลุ่มค่ะ