ปริศนาลึกลับของ “หีบแห่งพันธสัญญา” ตำนานสมบัติล้ำค่าที่สาบสูญ!!

หีบแห่งพันธสัญญาเป็นอีกหนึ่งตำนานลึกลับที่ยังไม่ได้รับการไขปริศนา และแม้ว่ามันจะสาบสูญไปนานหลายชั่วอายุคนแล้ว ก็ยังมีผู้คนบางกลุ่มออกมาอ้างตนว่ามีหีบศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่ในครอบครองเสมอ


หีบแห่งพันธสัญญาคืออะไร


หีบแห่งพันธสัญญา (Ark of the Covenant) เรียกได้ว่าเป็นหีบข้ามกาลเวลา เป็นหีบที่ถูกกล่าวถึงในตำนานต่างๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลที่เชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้บันทึกด้วยตนเอง โดยว่ากันว่าภายในหีบประกอบไปด้วยและไม้เท้าของ ‘อาโรน’ พี่ชายของโมเสส ไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ เหยือกใส่อาหารศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า ‘มานา’ และแผ่นศิลาบันทึกบัญญัติ 10 ประการ


และแม้ว่าหีบแห่งพันธสัญญาจะเป็นสมบัติที่ล้ำค่าและสำคัญมากมายถึงเพียงนี้ แต่ก็ยังถูกทำหายไปแบบไร้ร่องรอยอย่างน่าเสียดาย



หีบแห่งพันธสัญญามีหน้าตาเป็นอย่างไร


หนึ่งเหตุผลที่ทำให้ไม่มีผู้ใดทราบว่าหีบแห่งพันธสัญญาอยู่ที่ไหนและปรากฎขึ้น ณ จุดใดในประวัติศาสตร์บ้าง ก็คือไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่

ในพระคัมภีร์ระบุว่าหีบแห่งพันธสัญญานั้นห่อหุ้มด้วยทองคำ มีห่วงทองคำติดไว้ที่มุมทั้งสี่ มีไม้คานสำหรับหาม มีรูปหล่อทูตสวรรค์ “เครูบ” อยู่ตรงปลายพระที่นั่งที่ทำจากทองคำบริสุทธิ์



ที่มา


เชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้สร้างหีบแห่งพันธสัญญาขึ้นหลังจากได้รับพระบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า โดยให้ดช่างฝีมือสร้างขึ้นมาอย่างประณีต งดงาม อลังการ แต่ต้องสามารถเคลื่อนย้ายจากอียิปต์ไปยังอิสราเอลได้ โดยสร้างขึ้นตามพระประสงค์ของ “พระเจ้า”



อิทธิฤทธิ์

นอกจากหีบแห่งพันธสัญญาจะบรรจุสิ่งวิเศษไว้หลายอย่างแล้ว ตัวหีบเองก็มีมนตราและความพิเศษเช่นกัน ในภารกิจนำชนชาติอิสราเอลกลับเข้าสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้การนำของโยชูวา เมื่อนำหีบแห่งพันธสัญญาลงไปในแม่น้ำจอร์แดน แม่น้ำจอร์แดนก็แยกออกเป็นทางเดินให้ชาวอิสราเอลเดินข้ามไปได้

อีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงเวลาบุกโจมตีเมืองเยรีโค ปุโรหิตเจ็ดคนได้แห่หีบแห่งพันธสัญญาไปรอบๆ กำแพงเมืองที่แข็งแกร่ง จนกำแพงเมืองถล่มกลายเป็นผุยผงเพื่อให้ชาวอิสราเอลสามารถเข้ายึดเมืองได้อย่างสบาย




คำสาปจากการครอบครอง

มีผู้คนมากมายพยายามขโมยหีบแห่งพันธสัญญาไปจากชาวอิสราเอล แต่ไม่มีผู้ใดสามารถรักษาหีบไว้กับตัวเองได้นานนัก

ครั้งหนึ่งชาวฟีลิสเตียได้รบชนะชาวอิสราเอลและยึดหีบแห่งพันธสัญญานำไปถวายในวิหารของพระดาโกนที่พวกเขานับถือ วันรุ่งขึ้นรูปปั้นของพระดาโกนล้มลงคว่ำหน้าลงกับพื้น ชาวฟิลิสเตียจึงช่วยกันยกและตั้งขึ้นไว้ที่เดิม วันต่อมารูปปั้นพระดาโกนล้มคว่ำหน้าอีกครั้ง คราวนี้หัวและมือทั้งสองข้างของรูปปั้นหักออก ทำให้ชาวเมืองหวาดผวา


หลังจากนั้นเกิดโรคฝีระบาดทั่วทั้งเมืองจนชาวฟิลิสเตียได้ส่งหีบแห่งพันธสัญญาไปยังเมืองอื่นของตน แต่เมื่อหีบแห่งพันธสัญญาไปอยู่ที่เมืองใด ผู้คนในเมืองนั้นก็จะเกิดโรคฝี จนในที่สุดชาวฟิลิสเตียต้องยอมคืนหีบแห่งพันธสัญญาให้กับชาวอิสราเอลพร้อมกับทองคำจำนวนมากเพื่อเป็นการไถ่ความผิด


หีบแห่งพันธสัญญาไม่ต้องการให้ผู้ใดครอบครองนอกจากผู้คนของโมเสส ดังนั้นเมื่อมันถูกขโมยไปจึงบันดาลสิ่งเลวร้ายมากมายให้เกิดขึ้น



วิหารของหีบแห่งพันธสัญญา


กษัตริย์โซโลมอนได้สร้างวิหารแห่งแรกขึ้นในกรุงเยรูซาเลมเมื่อราว 10 ถึง 8 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งว่ากันว่าวิหารแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาหีบแห่งพันธสัญญาให้อยู่คู่กับชาวอิสราเอล แต่สถานที่เก็บหีบนั้นเป็นความลับและไม่มีผู้ใดสามารถเปิดดูหีบได้แม้แต่นักบวชที่เป็นผู้ดูแลก็ตาม



การสาบสูญ



แต่หลังจากชาวบาบิโลเนียบุกยึดกรุงเยรูซาเลมและจับชาวยิวไปเป็นทาส ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าหีบแห่งพันธสัญญาอยู่ที่ใด บ้างเชื่อว่าชาวบาบิโลนขโมยไปหรือทำลายหีบทิ้ง บ้างเชื่อว่าหีบถูกส่งไปเก็บรักษายังสถานที่ปลอดภัยก่อนที่บาบิโลนจะยึดเมืองได้ บ้างก็ว่าหีบแห่งพันธสัญญายังคงถูกซ่อนอยู่ในนครเยรูซาเลม



หีบแห่งพันธสัญญาในแอฟริกา


ถ้าหากหีบถูกส่งไปเก็บรักษายังสถานที่ปลอดภัยจริง หีบอาจจะเดินทางไปยังแอฟริกาตะวันออกตามตำนานที่กล่าวขาน ซึ่งชาวแอฟริกาอ้างว่าหีบแห่งพันธสัญญาหรือ “เสียงของพระเจ้า” ถูกเก็บรักษาอยู่ในถ้ำบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ Dunghe



หีบแห่งพันธสัญญาในกรุงโรม


ถ้าหากหีบยังถูกซ่อนไว้ในเยรูซาเลม ต่อมากรุงเยรูซาเลมก็ถูกชาวโรมันบุกยึด และหีบเป็นหนึ่งในทรัพย์สมบัติที่พวกเขานำกลับไปยังประเทศอิตาลี โดยชาวโรมันอ้างว่าหีบแห่งพันธสัญญาถูกเก็บไว้ในมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ณ กรุงโรม กระทั่งต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ทำลายหีบไปในปี 1307 และ 1361



หีบแห่งพันธสัญญาในครอบครองของอัศวินเทมพลาร์


อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าถ้าหากหีบยังถูกซ่อนไว้ในกรุงเยรูซาเลม ผู้ที่ค้นพบมันคือคณะอัศวินแห่งพระวิหาร (Knight Templar) ซึ่งพวกเขาได้นำหีบกลับไปยังยุโรปตะวันตกและเก็บรักษาไว้ในมหาวิหารชาทร์ จากนั้นก็ถูกย้ายสถานที่ไปเรื่อยๆ เพื่อความปลอดภัยจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วจึงตกไปอยู่ในความครอบครองของกลุ่มฟรีเมสันแห่งสหรัฐฯ


หีบแห่งพันธสัญญาในอียิปต์


หลังจากกรุงเยรูซาเลมถูกชาวบาบิโลเนียยึดครอง ว่ากันว่าชาวยิวบางกลุ่มได้อพยพไปตั้งรกรากที่ประเทศอียิปต์พร้อมทั้งนำหีบแห่งพันธสัญญาไปด้วย



หีบแห่งพันธสัญญาในหนังอินเดียน่า โจนส์
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สตีเวน สปีลเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า (Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark) ได้นำตำนานของหีบแห่งพันธสัญญามาสร้างเป็นเรื่องราวแอคชั่นมันส์ถึงใจ


โดยในเรื่องทหารนาซีพยายามทำลายอารยธรรมเก่าแก่ให้หมดสิ้น แต่พวกเขาไม่ทราบว่าหีบแห่งพันธสัญญานั้นสามารถทำลายทุกอย่างได้ เพราะ “หีบไม่ต้องการที่จะอยู่ในความครอบครองของผู้ใดนอกจากชาวอิสราเอล”



สิ้นสุดที่เอธิโอเปีย


อีกตำนานหนึ่งเล่าว่าพระโอรสของกษัตริย์โซโลมอนได้ขโมยหีบแห่งพันธสัญญาไปจากใต้จมูกของพระบิดาตน โดยสร้างหีบแห่งพันธสัญญาของปลอมมาตั้งแทนไว้ในวิหาร จากนั้นก็นำหีบแห่งพันธสัญญาของจริงไปเก็บไว้ที่โบสถ์ Church of Our Lady Mary of Zion ในอาณาจักรอักซุมหรือประเทศเอธิโอเปีย



การปกปักรักษาหีบของชาวเอธิโอเปีย


ไม่ว่าหีบแห่งพันธสัญญาจะถูกเก็บรักษาไว้ในเอธิโอเปียจริงหรือไม่ แต่ชาวเอธิโอเปียนั้นเคร่งครัดเรื่องการปกป้องสมบัติเก่าแก่ที่เชื่อว่าเป็นหีบแห่งพันธสัญญานี้มาก พวกเขาจัดเวรยามคอยเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง เก็บรักษาหีบไว้ในห้องลับ ไม่มีผู้ใดได้รับอนุญาตให้เข้าไปชมหีบแม้กระทั่งผู้ดูแล และแม้แต่ในขบวนแห่หีบจำลองก็ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดกวดขัน ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจมีความเป็นไปได้บ้าง เพราะชาวเอธิโอเปียกลุ่มนี้มีเชื้อสายมาจากเผ่าหนึ่งของอิสราเอล

บทสรุป


แต่ไม่ว่าหีบแห่งพันธสัญญาจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ไหนก็ตาม คงไม่มีทางที่โลกจะได้รู้ความจริงว่าสิ่งที่ผู้คนกำลังปกป้องนั้นเป็นหีบแห่งพันธสัญญาของจริงหรือไม่ เพราะแต่ละสถานที่ล้วนปกปิดความลับอย่างเคร่งครัด

หรือจริงๆ แล้วหีบแห่งพันธสัญญาอาจจะไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในที่ที่มีผู้กล่าวอ้างเลย แต่อาจถูกเก็บซ่อนไว้อย่างลึกลับในสถานที่ที่ไม่มีใครทราบ และอาจจะมีหน้าตาไม่เหมือนกับสิ่งที่นักประวัติศาสตร์คาดคิด

ที่มา: AllDay
บทความจาก http://www.meekhao.com/it/ark-of-the-covenant
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่