Hot In-place Asphalt Recycling คืออะไร อธิบายแบบง่าย ๆ เลยก็คือการซ่อมถนนลาดยางโดยใช้ความร้อนทำให้ยางละลายหรืออ่อนลง แล้วทำการปรับผิวทางใหม่ โดยใช้วัสดุเดิม
ของไทยจะซ่อมเป็นจุดเล็ก ๆ นะครับ ส่วนซ่อมแบบเต็ม ๆ ทั้งสายของต่างประเทศอยู่ในตอนท้าย
==================================================================================
จากข่าว ประชาชาติธุรกิจ
กระทรวงคมนาคมเตรียมใช้ Mobile Hot Recycling ซ่อมถนนที่ชำรุดทั่วประเทศ ฝากถึงประชาชนหากพบถนนชำรุดให้แจ้งศูนย์ดำรงธรรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปซ่อมแซมให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชม.
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาศรีสะเกษ ถนนทางหลวงหมายเลข 226 ศรีสะเกษ – อุบลราชธานี อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม พร้อมนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท และคณะ ได้เดินทางไปตรวจติดตามการสาธิตวิธีซ่อมบำรุงถนนแบบใหม่ด้วย Mobile Hot Recycling ซึ่งแขวงทางหลวงศรีสะเกษ ได้นำเอามาใช้ในการซ่อมแซมถนนที่ชำรุด ซึ่งการซ่อมถนนแบบนี้จะราคาถูกกว่าแบบเดิม ใช้วัสดุผิวทางเดิมทั้งหมด ไม่มีวัสดุเหลือทิ้ง ไม่ต้องซื้อวัสดุใหม่ ใช้แรงงานคนน้อย สามารถทำงานให้แล้วเสร็จในขั้นตอนเดียวไม่ต้องปิดการจราจรนาน ใช้เชื้อเพลิงและพลังงานน้อย รอยต่อเชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน เรียบเหมือนก่อสร้างใหม่ โดยมี นายวิชาญ พันธุ์เรณู ผอ.แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 และ นายอดิเทพ ตีระมาศวณิช ผอ.แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ นำคณะข้าราชการให้การต้อนรับและสาธิตการซ่อมถนนในครั้งนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า Mobile Hot Recycling เป็นเครื่องมือชุดใหม่เหมาะสำหรับการซ่อมถนนที่เริ่มมีรอยแตกเพราะถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้ถนนเป็นหลุมและเกิดการขยายโต และเวลาซ่อมจะทำให้ถนนไม่เรียบเหมือนถนนเดิมทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายว่าในการซ่อมแซมถนนทุกสายของกรมทางหลวงชนบท ต้องได้มาตรฐาน และต้องไม่มีส่วนนูน เพราะอาจทำให้มีโอกาสเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นได้ ซึ่งการซ่อมถนนแบบนี้ มีค่าใช้จ่ายเพียง 217 บาทต่อตารางเมตรต่อวัน หากทำเพิ่มหลายจุดค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากใช้แก๊สแอลพีจีเป็นพลังงาน ซึ่งประหยัดกว่าการซ่อมบำรุงถนนแบบเดิมตารางเมตรละ 80 บาท ในเบื้องต้นได้จัดมาเครื่องนี้มาจำนวน 10 เครื่อง และส่งไปยังเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในอนาคตต่อไปจะใช้ระบบนี้ในการซ่อมแซมถนนทั่วประเทศ จึงขอฝากถึงพี่น้องประชาชนทั่วประเทศว่า ในช่วงหน้าฝน ถ้าพบเห็นถนนชำรุดตรงไหน แม้กระทั่งจุดเล็กๆ ก็ตาม ขอให้รีบแจ้งหมวดทางหลวงชนบท ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ หรือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดที่มีภูมิลำเนาอยู่ได้ทราบ เพื่อที่จะได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ไปทำการซ่อมแซมถนนที่ชำรุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
===========================================================================
ลองไปดูของต่างประเทศกันบ้าง ซ่อมถนนลาดยางใหม่โดยใช้วัสดุเดิม
อยากให้ประเทศเทยมีแบบนี้จัง
Hot In-place Asphalt Recycling
ซ่อมถนนทั้งสายง่ายนิดเดียว
กรมทางหลวงเริ่มใช้ Mobile Hot Recycling ในไทยแล้ว
ของไทยจะซ่อมเป็นจุดเล็ก ๆ นะครับ ส่วนซ่อมแบบเต็ม ๆ ทั้งสายของต่างประเทศอยู่ในตอนท้าย
==================================================================================
จากข่าว ประชาชาติธุรกิจ
กระทรวงคมนาคมเตรียมใช้ Mobile Hot Recycling ซ่อมถนนที่ชำรุดทั่วประเทศ ฝากถึงประชาชนหากพบถนนชำรุดให้แจ้งศูนย์ดำรงธรรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปซ่อมแซมให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชม.
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาศรีสะเกษ ถนนทางหลวงหมายเลข 226 ศรีสะเกษ – อุบลราชธานี อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม พร้อมนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท และคณะ ได้เดินทางไปตรวจติดตามการสาธิตวิธีซ่อมบำรุงถนนแบบใหม่ด้วย Mobile Hot Recycling ซึ่งแขวงทางหลวงศรีสะเกษ ได้นำเอามาใช้ในการซ่อมแซมถนนที่ชำรุด ซึ่งการซ่อมถนนแบบนี้จะราคาถูกกว่าแบบเดิม ใช้วัสดุผิวทางเดิมทั้งหมด ไม่มีวัสดุเหลือทิ้ง ไม่ต้องซื้อวัสดุใหม่ ใช้แรงงานคนน้อย สามารถทำงานให้แล้วเสร็จในขั้นตอนเดียวไม่ต้องปิดการจราจรนาน ใช้เชื้อเพลิงและพลังงานน้อย รอยต่อเชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน เรียบเหมือนก่อสร้างใหม่ โดยมี นายวิชาญ พันธุ์เรณู ผอ.แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 และ นายอดิเทพ ตีระมาศวณิช ผอ.แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ นำคณะข้าราชการให้การต้อนรับและสาธิตการซ่อมถนนในครั้งนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า Mobile Hot Recycling เป็นเครื่องมือชุดใหม่เหมาะสำหรับการซ่อมถนนที่เริ่มมีรอยแตกเพราะถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้ถนนเป็นหลุมและเกิดการขยายโต และเวลาซ่อมจะทำให้ถนนไม่เรียบเหมือนถนนเดิมทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายว่าในการซ่อมแซมถนนทุกสายของกรมทางหลวงชนบท ต้องได้มาตรฐาน และต้องไม่มีส่วนนูน เพราะอาจทำให้มีโอกาสเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นได้ ซึ่งการซ่อมถนนแบบนี้ มีค่าใช้จ่ายเพียง 217 บาทต่อตารางเมตรต่อวัน หากทำเพิ่มหลายจุดค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากใช้แก๊สแอลพีจีเป็นพลังงาน ซึ่งประหยัดกว่าการซ่อมบำรุงถนนแบบเดิมตารางเมตรละ 80 บาท ในเบื้องต้นได้จัดมาเครื่องนี้มาจำนวน 10 เครื่อง และส่งไปยังเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในอนาคตต่อไปจะใช้ระบบนี้ในการซ่อมแซมถนนทั่วประเทศ จึงขอฝากถึงพี่น้องประชาชนทั่วประเทศว่า ในช่วงหน้าฝน ถ้าพบเห็นถนนชำรุดตรงไหน แม้กระทั่งจุดเล็กๆ ก็ตาม ขอให้รีบแจ้งหมวดทางหลวงชนบท ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ หรือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดที่มีภูมิลำเนาอยู่ได้ทราบ เพื่อที่จะได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ไปทำการซ่อมแซมถนนที่ชำรุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
===========================================================================
ลองไปดูของต่างประเทศกันบ้าง ซ่อมถนนลาดยางใหม่โดยใช้วัสดุเดิม
อยากให้ประเทศเทยมีแบบนี้จัง
Hot In-place Asphalt Recycling
ซ่อมถนนทั้งสายง่ายนิดเดียว