ความพยายามที่จะแก้ปัญหา "หนี้ภาคประชาชน" ที่เสมือนเป็น "แผลกดทับ" ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในระดับบุคคล สะเทือนถึงภาพใหญ่ในเรื่องอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่งในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และเป็นจุดอ่อนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ชนิดที่ว่าแม้ภาครัฐจะเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบมหาศาลเพียงใด แต่กำลังซื้อของ "รากหญ้า" ก็ยังอยู่ในระดับ "ทรงตัว" เพราะเมื่อได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ ประชาชนรากหญ้าก็ยังต้องเอาเงินไปใช้หนี้ก่อน
แต่ปัญหาหนี้รากหญ้านั้นก็มีทั้งหนี้ในระบบของสถาบันการเงินและหนี้นอกระบบที่เป็นตัวปัญหาใหญ่
รัฐปัดฝุ่นแผนแก้หนี้นอกระบบ
ช่วงที่ผ่านมา "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายกระทรวงการคลังหาแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้ควบคุมการปล่อยกู้ไม่ให้คิดดอกเบี้ยเกินกำหนดอย่างเข้มงวด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดจะใช้ "มาตรา 44" กำหนดบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น สำหรับผู้ปล่อยกู้และคิดดอกเบี้ยเกิน 15% แต่เนื่องจากทางกระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษ หากเจ้าหนี้ (นอกระบบ) คิดดอกเบี้ยเกิน 15% เข้าไปถึงขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว จึงทำให้ยกเลิกแนวคิดใช้ "มาตรา 44"
อีกด้านหนึ่ง กระทรวงการคลังจะใช้กลไกคณะกรรมการบริหารคลังจังหวัด (คบจ.) ในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยใช้กลไกธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมในการแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จมากขึ้น โดยทั้ง 2 แบงก์จะต้องตั้งหน่วยงานรับผิดชอบแก้ปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นมา พร้อมกำหนดตัวชี้วัดผลดำเนินงาน (KPI)
พร้อมกันนี้กระทรวงการคลังจะเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ "พิกโคไฟแนนซ์" (PICO Finance) ซึ่งกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 5 ล้านบาท และอนุญาตให้คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รวมค่าธรรมเนียมได้เกิน 36% เพื่อปล่อยกู้ให้ประชาชนได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท โดยเงินทุนที่นำมาปล่อยกู้ต้องเป็นทุนของผู้ประกอบธุรกิจเอง ไม่สามารถระดมทุนจากประชาชนทั่วไปได้
ล่าสุด "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รมว.คลังระบุว่า อีกราว 2 สัปดาห์ กระทรวงคลังจะเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และหลังจาก ครม.เห็นชอบแล้ว ก็จะเดินหน้าเปิดให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาขออนุญาตประกอบธุรกิจพิกโคไฟแนนซ์ได้ทันที
คลังเตรียมชดเชยหนี้เสีย 50%
ขณะที่ "ชาติชาย พยุหนาวีชัย" ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า หาก ครม.เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแล้ว หลังจากนั้นจะเปิดให้ลูกหนี้มาลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์การเป็นหนี้นอกระบบ โดยใช้กลไกชุมชน/กองทุนหมู่บ้านในการลงทะเบียนและคัดกรอง ต่อด้วยการนำเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อนำยอดหนี้ที่เหลือมากู้เงินจากธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. เพื่อปรับรีไฟแนนซ์ให้เข้าเป็นหนี้ในระบบ
"การดำเนินการจะเป็นไปตามหลักการเดียวกับที่เคยทำมา แต่ครั้งนี้จะต่างกันที่จะมีแนวทางให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบ โดยจะใช้กฎหมายคุมเข้มไม่ให้เจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยเกิน 15% แต่ถ้าเจ้าหนี้ต้องการคิดดอกเบี้ยได้ถึง 36% ก็ต้องไปอยู่ในระบบพิกโคไฟแนนซ์ ซึ่งมีทุนจดทะเบียนต่ำกว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์" ชาติชายกล่าว
นอกจากนี้ธนาคารออมสินได้เตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อ "พร้อมใช้" เป็นบัตรกดเงินสด โดยเปิดวงเงินไว้ให้ลูกหนี้ที่เข้าสู่ระบบรายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งจะคิดดอกเบี้ยใกล้เคียงกับสินเชื่อประชาชน คือราว 1% ต่อเดือน (หรือ 12% ต่อปี) โดยจะมีการพิจารณาสินเชื่อตามเกณฑ์ของธนาคาร แต่หากลูกหนี้ต้องการได้รับอนุมัติที่เร็วกว่า ก็สามารถไปกู้พิกโคไฟแนนซ์ได้
"รัฐมนตรีคลังบอกว่า รัฐบาลจะช่วยชดเชยให้ไม่เกิน 50% ของเงินต้น ในกรณีที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่แบงก์เองก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นเอ็นพีแอล" ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าว
"อภิรมย์ สุขประเสริฐ" รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า การออกบัตรกดเงินสด (แคชการ์ด) เป็นการทำร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส.และธนาคารออมสิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน ซึ่งอาจจะสูงกว่า 12% ต่อปีเล็กน้อย โดยมีเป้าหมาย 1 แสนบัตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท
สำหรับเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ มีรายงานว่า ธ.ก.ส.อาจใช้ฐานข้อมูลจากผู้ที่มาลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ให้แจ้งข้อมูลเรื่องการเป็นหนี้นอกระบบไว้ด้วย
ก่อหนี้เพื่อสร้างอาชีพไม่อันตราย
"ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ" คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของภาครัฐด้วยความพยายามดึงเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบในฐานะผู้ประกอบธุรกิจพิกโคไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ หรือออกกฎหมายควบคุมการคิดดอกเบี้ยสูง ไม่ให้ติดตามหนี้โหด คุกคามลูกหนี้ เหล่านี้เป็นแนวทางที่ช่วยได้ระดับหนึ่ง ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ระยะยาวควรมีการเพิ่มความเข้าใจให้กับประชาชนในเรื่องการสร้างหนี้ การใช้เงิน เพราะถ้าการก่อหนี้เพื่อสร้างอาชีพทำมาหากินก็ไม่อันตราย แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มัก "ก่อหนี้เพื่อบริโภค"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลหนี้สินครัวเรือนจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2558 ระบุว่า จากจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ 21 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีหนี้สิน 49% หรือประมาณ 10.4 ล้านครัวเรือน และมีมูลหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 156,770 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 91.4% หนี้นอกระบบ 4.9% และเป็นทั้งหนี้ในและนอกระบบ 3.7%
นอกจากนี้ยังพบว่าครัวเรือนมีหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนราว 2% (ปี 2556) และมีวัตถุประสงค์การก่อหนี้เพื่อการทำธุรกิจสัดส่วนสูงถึง 23.2% รองจากการกู้ยืมเงินเพื่อใช้อุปโภคบริโภคที่มีสัดส่วน 42.2% ขณะที่การกู้ยืมหนี้ในระบบ 2 วัตถุประสงค์ดังกล่าวมีสัดส่วน 9.9% และ 41.3% ตามลำดับ สะท้อนว่าประชาชนมีความจำเป็นกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อทำธุรกิจสูงอย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พบว่าหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2559 มีจำนวน 11,077,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า 0.35% หรือคิดเป็น 81.1% ของจีดีพี และข้อมูลจากบัญชีลูกหนี้ในฐานข้อมูลของ "เครดิตบูโร" หรือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ที่มีจำนวน 92.5 ล้านบัญชี (ณ เดือน ส.ค. 2559) แบ่งเป็นบัญชีสินเชื่อบุคคลธรรมดา 88.77 ล้านบัญชี และบัญชีสินเชื่อนิติบุคคล 3.73 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง 9.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 16.3%
อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลกำลังดำเนินการผ่านวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นยังต้องอาศัยข้อมูลและความเข้าใจอีกมากเพื่อทำให้การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเบ็ดเสร็จ เพราะสิ่งที่อยู่ใต้พรม เจ้าหนี้ที่อยู่ใต้ดิน คงไม่ยอมขึ้นมาอยู่ในระบบง่าย ๆ แน่นอน
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี....รัฐติดบ่วง "แก้หนี้นอกระบบ" ตัวถ่วงกำลังซื้อ "รากหญ้า" ไม่ขยับ
แต่ปัญหาหนี้รากหญ้านั้นก็มีทั้งหนี้ในระบบของสถาบันการเงินและหนี้นอกระบบที่เป็นตัวปัญหาใหญ่
รัฐปัดฝุ่นแผนแก้หนี้นอกระบบ
ช่วงที่ผ่านมา "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายกระทรวงการคลังหาแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้ควบคุมการปล่อยกู้ไม่ให้คิดดอกเบี้ยเกินกำหนดอย่างเข้มงวด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดจะใช้ "มาตรา 44" กำหนดบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น สำหรับผู้ปล่อยกู้และคิดดอกเบี้ยเกิน 15% แต่เนื่องจากทางกระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษ หากเจ้าหนี้ (นอกระบบ) คิดดอกเบี้ยเกิน 15% เข้าไปถึงขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว จึงทำให้ยกเลิกแนวคิดใช้ "มาตรา 44"
อีกด้านหนึ่ง กระทรวงการคลังจะใช้กลไกคณะกรรมการบริหารคลังจังหวัด (คบจ.) ในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยใช้กลไกธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมในการแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จมากขึ้น โดยทั้ง 2 แบงก์จะต้องตั้งหน่วยงานรับผิดชอบแก้ปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นมา พร้อมกำหนดตัวชี้วัดผลดำเนินงาน (KPI)
พร้อมกันนี้กระทรวงการคลังจะเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ "พิกโคไฟแนนซ์" (PICO Finance) ซึ่งกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 5 ล้านบาท และอนุญาตให้คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รวมค่าธรรมเนียมได้เกิน 36% เพื่อปล่อยกู้ให้ประชาชนได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท โดยเงินทุนที่นำมาปล่อยกู้ต้องเป็นทุนของผู้ประกอบธุรกิจเอง ไม่สามารถระดมทุนจากประชาชนทั่วไปได้
ล่าสุด "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รมว.คลังระบุว่า อีกราว 2 สัปดาห์ กระทรวงคลังจะเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และหลังจาก ครม.เห็นชอบแล้ว ก็จะเดินหน้าเปิดให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาขออนุญาตประกอบธุรกิจพิกโคไฟแนนซ์ได้ทันที
คลังเตรียมชดเชยหนี้เสีย 50%
ขณะที่ "ชาติชาย พยุหนาวีชัย" ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า หาก ครม.เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแล้ว หลังจากนั้นจะเปิดให้ลูกหนี้มาลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์การเป็นหนี้นอกระบบ โดยใช้กลไกชุมชน/กองทุนหมู่บ้านในการลงทะเบียนและคัดกรอง ต่อด้วยการนำเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อนำยอดหนี้ที่เหลือมากู้เงินจากธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. เพื่อปรับรีไฟแนนซ์ให้เข้าเป็นหนี้ในระบบ
"การดำเนินการจะเป็นไปตามหลักการเดียวกับที่เคยทำมา แต่ครั้งนี้จะต่างกันที่จะมีแนวทางให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบ โดยจะใช้กฎหมายคุมเข้มไม่ให้เจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยเกิน 15% แต่ถ้าเจ้าหนี้ต้องการคิดดอกเบี้ยได้ถึง 36% ก็ต้องไปอยู่ในระบบพิกโคไฟแนนซ์ ซึ่งมีทุนจดทะเบียนต่ำกว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์" ชาติชายกล่าว
นอกจากนี้ธนาคารออมสินได้เตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อ "พร้อมใช้" เป็นบัตรกดเงินสด โดยเปิดวงเงินไว้ให้ลูกหนี้ที่เข้าสู่ระบบรายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งจะคิดดอกเบี้ยใกล้เคียงกับสินเชื่อประชาชน คือราว 1% ต่อเดือน (หรือ 12% ต่อปี) โดยจะมีการพิจารณาสินเชื่อตามเกณฑ์ของธนาคาร แต่หากลูกหนี้ต้องการได้รับอนุมัติที่เร็วกว่า ก็สามารถไปกู้พิกโคไฟแนนซ์ได้
"รัฐมนตรีคลังบอกว่า รัฐบาลจะช่วยชดเชยให้ไม่เกิน 50% ของเงินต้น ในกรณีที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่แบงก์เองก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นเอ็นพีแอล" ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าว
"อภิรมย์ สุขประเสริฐ" รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า การออกบัตรกดเงินสด (แคชการ์ด) เป็นการทำร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส.และธนาคารออมสิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน ซึ่งอาจจะสูงกว่า 12% ต่อปีเล็กน้อย โดยมีเป้าหมาย 1 แสนบัตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท
สำหรับเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ มีรายงานว่า ธ.ก.ส.อาจใช้ฐานข้อมูลจากผู้ที่มาลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ให้แจ้งข้อมูลเรื่องการเป็นหนี้นอกระบบไว้ด้วย
ก่อหนี้เพื่อสร้างอาชีพไม่อันตราย
"ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ" คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของภาครัฐด้วยความพยายามดึงเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบในฐานะผู้ประกอบธุรกิจพิกโคไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ หรือออกกฎหมายควบคุมการคิดดอกเบี้ยสูง ไม่ให้ติดตามหนี้โหด คุกคามลูกหนี้ เหล่านี้เป็นแนวทางที่ช่วยได้ระดับหนึ่ง ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ระยะยาวควรมีการเพิ่มความเข้าใจให้กับประชาชนในเรื่องการสร้างหนี้ การใช้เงิน เพราะถ้าการก่อหนี้เพื่อสร้างอาชีพทำมาหากินก็ไม่อันตราย แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มัก "ก่อหนี้เพื่อบริโภค"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลหนี้สินครัวเรือนจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2558 ระบุว่า จากจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ 21 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีหนี้สิน 49% หรือประมาณ 10.4 ล้านครัวเรือน และมีมูลหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 156,770 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 91.4% หนี้นอกระบบ 4.9% และเป็นทั้งหนี้ในและนอกระบบ 3.7%
นอกจากนี้ยังพบว่าครัวเรือนมีหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนราว 2% (ปี 2556) และมีวัตถุประสงค์การก่อหนี้เพื่อการทำธุรกิจสัดส่วนสูงถึง 23.2% รองจากการกู้ยืมเงินเพื่อใช้อุปโภคบริโภคที่มีสัดส่วน 42.2% ขณะที่การกู้ยืมหนี้ในระบบ 2 วัตถุประสงค์ดังกล่าวมีสัดส่วน 9.9% และ 41.3% ตามลำดับ สะท้อนว่าประชาชนมีความจำเป็นกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อทำธุรกิจสูงอย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พบว่าหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2559 มีจำนวน 11,077,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า 0.35% หรือคิดเป็น 81.1% ของจีดีพี และข้อมูลจากบัญชีลูกหนี้ในฐานข้อมูลของ "เครดิตบูโร" หรือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ที่มีจำนวน 92.5 ล้านบัญชี (ณ เดือน ส.ค. 2559) แบ่งเป็นบัญชีสินเชื่อบุคคลธรรมดา 88.77 ล้านบัญชี และบัญชีสินเชื่อนิติบุคคล 3.73 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง 9.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 16.3%
อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลกำลังดำเนินการผ่านวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นยังต้องอาศัยข้อมูลและความเข้าใจอีกมากเพื่อทำให้การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเบ็ดเสร็จ เพราะสิ่งที่อยู่ใต้พรม เจ้าหนี้ที่อยู่ใต้ดิน คงไม่ยอมขึ้นมาอยู่ในระบบง่าย ๆ แน่นอน