ที่บ้านเราอยู่กาญจนบุรี มีปัญหาเสียงดังจากแพเธค สถานบริการลอยน้ำตามแบบนี้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ร้องเรียนหน่วยงานรัฐมาเกือบจะสองปีแล้วไม่มีอะไรคืบหน้าเลย แถมยังจะเดือดร้อนหนักกว่าเก่า หน่วยงานที่เคยไปร้องเรียนก็มีตามนี้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. เจ้าหน้าที่ 191
2. ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
3. สายด่วน 1111 สำนักนายกรัฐมนตรี
4. เจ้าหน้าที่ปกครองงานอำนวยความเป็นธรรม
5. ปลัดอำเภอประจำสำนักงานอำเภอ
6. ปลัดจังหวัด
7. ปลัดอำเภออาวุโส
8. รองนายกเทศมนตรี
9. สำนักงานเจ้าท่ากาญจนบุรี
10. นายกรัฐมนตรี
11. รองผู้ว่าราชการจังหวัด
12. รองผู้บังคับการจังหวัด
13. สภ.เมืองกาญจนบุรี
14. ป้องกันจังหวัด
15. สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี
16. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 8 จังหวัดราชบุรี
17. กรมควบคุมมลพิษ
18. ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน (คนที่ 1)
19. ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน (คนที่ 2)
20. ผู้ว่าราชการจังหวัด
หน่วยงานรัฐที่เคยรับเรื่องร้องทุกข์ในอดีต
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2551)
2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (2551)
3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน (2555, 2556)
ก่อนหน้านี้เป็นสิบปีก็ใช้วิธีอดทน เพราะคิดว่ามันมีเรื่องอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เลยไม่อยากยุ่ง แต่พอเห็นว่ายุคนี้มีหลายสิ่งที่หน่วยงานรัฐกล้าเอาจริง เราก็เลยเริ่มร้องเรียน ตอนแรกโทรไป 191 ตำรวจก็บอกว่ามันอยู่ในน้ำทำอะไรไม่ได้
พอตำรวจทำอะไรไม่ได้ เราก็ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรม (27 พ.ย. 2557)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ทางศูนย์รับเรื่อง แล้วก็ส่งต่อไปที่อำเภอ อำเภอส่งต่อไปที่ตำรวจ ตำรวจก็เรียกผู้ประกอบการสถานบันเทิงมาตักเตือน จากนั้นก็ส่งหนังสือแจ้งกลับมาถึงเราเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการให้แล้ว ทั้งหมดนี่ใช้เวลาเจ็ดเดือนเต็ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ถ้าเราไปแจ้งซ้ำ ทางศูนย์ดำฯ ก็ทำก็อปปี้จดหมายแบบซ้ำ ๆ มาให้เรา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ที่แย่คือยิ่งแจ้งเสียงยิ่งดัง
โทรไป 1111 สำนักนายกรัฐมนตรี 8 ครั้ง ตั้งแต่ เมษายน – กรกฎาคม 2558 ครั้งสุดท้ายโทรไปวันที่ 9 ก.ค. 2558 เขาบอกว่าส่งเรื่องมาให้ที่เดียวกับศูนย์ดำรงธรรมนั่นแหละ
วันที่ 6 ก.ค. 2558 เราก็ไปที่ศูนย์ดำรงธรรมอีก คราวนี้เอาคลิปวีดีโอกับทำพาวเวอร์พอยต์ไปด้วย เพื่อจะบอกว่าเสียงมันดังยังงัย แพจอดที่ไหน วัยรุ่นมามั่วสุมลงแพกันยังงัย แล้วก็เขียนคำร้องไปอย่างละเอียด (ข้ามไปมั่งก็ได้ เอกสารเยอะเดี๋ยวจะเบื่อซะก่อน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เจ้าหน้าที่ก็บอกให้เราไปตามเรื่องภายใน 15 วัน พอครบ 15 วันเราไปตามเรื่องก็สรุปว่ายังไม่ได้ทำอะไร พึ่งจะร่างหนังสือส่งไปที่อำเภอ รวมแล้วเราตามเรื่องอยู่เกือบสี่เดือนก็ยังไม่ได้ทำอะไร พอไปตามบ่อย ๆ ก็บอกให้เราไปตามเรื่องเองที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี
วันที่ 27 ต.ค. 2558 เราไปอำเภอ ไปเจอปลัดอำเภอผู้หญิง ปลัดถามว่าเราเป็นใคร เจ้าหน้าที่ก็พูดแทรกขึ้นมาว่า “ก็ไอ้นี่งัย คนที่ร้องเรียนเรื่องแพเธคเสียงดัง” แกบอกชื่อ นามสกุลของเราได้อย่างถูกต้องทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน เหมือนเราไปทำความเดือดร้อนให้ แล้วพอปลัดรู้ว่าเราเป็นคนในพื้นที่ก็พูดเสริมว่า”อยู่มาตั้งนาน ยังไม่ชินอีกเหรอ” แต่ปลัดก็โทรถึงนายกสมาคมที่เกี่ยวกับเรื่องแพ แล้วคุยกันแบบสนิทสนม (เรียกชื่อเล่นกัน ทักทายกัน ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ) ปลัดขอความร่วมมือนายกสมาคมให้บอกพวกแพเธคว่าอย่าไปจอดบริเวณบ้านเรา พอเรากลับมาบ้านคืนนั้นก็โดนสั่งสอนเลย พวกแพเธคมารวมกันจอดแล้วกระหน่ำเสียงเพลงตั้งแต่สองทุ่มจนถึงเที่ยงคืน แบบดังกว่าเดิมมาก
พอเป็นแบบนี้เราเลยส่งเรื่องขอให้ไทยพีบีเอสมาช่วย แล้วผ่านไปไม่กี่วันก็เป็นข่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอเป็นข่าวเจ้าหน้าที่ก็เริ่มขยับ เรือมาอะไรมา สรรพกำลังดูจะพร้อมไปหมด แต่ชาวบ้านก็รู้กันอยู่แล้วว่าทำงานบังหน้าเฉย ๆ ก็เลยฮึดกันขึ้นมาแล้วชวนกันไปร้องนายกรัฐมนตรี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.thairath.co.th/content/540081
พอเรื่องถึงนายกฯ ทุกคนก็ตื่นตัว ตื่นตัว ตื่นตัว ตำรวจทหาร ออกตรวจพรึบพรับ แพเธคถอดลำโพงออก นายอำเภอเรียกประชุมด่วนวันอาทิตย์ แล้วก็ได้มาตรการออกมาแบบเสกได้ทันใจ เรื่องอะไรที่ก่อนหน้านี้เคยล่าช้าอืดอาดมาเป็นปี ก็บอกว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 7 วัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129570
วันที่ 23 พ.ย. 59 เจ้าหน้าที่ก็เรียกชาวบ้านให้มาประชุม ฝ่ายรัฐก็ตกลงจะทำตามมาตรการที่เตรียมเอาไว้กับผู้ประกอบการ ตำรวจก็ออกมารับปากว่าจะเป็นคนดำเนินการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด และถ้าพบว่ามีเสียงดังให้โทรแจ้ง 191 (ก่อนหน้านี้ก็ถือว่าให้แล้ว ๆ กันไป )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129940
หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ (4 ธ.ค. 2558) พอเรื่องเงียบแล้วแพเธคก็เอาลำโพงกลับมาติดอีก พวกแพเธคเขารู้งานกันดี เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานระดับประเทศลงมาจัดการแพเธค ก่อนหน้านี้เคยมีผู้ว่าฯที่เคยไปจัดระเบียบแพเธคโดนย้าย แล้วตอนหลังผู้ว่าฯคนนี้ได้เป็นกรรมการปปช. คณะกรรมการปปช.ก็เลยลงมาจัดการเมื่อปี 2551
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.kanchanaburi.com/kannews/03447.html
ก็ดีอยู่พักนึงแล้วมันก็กลับมาแย่อีก คราวนี้ปี 2555 ชาวบ้านก็ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก็มีการทำงานจัดฉากบังหน้า ทำได้ไม่นานเสียงก็ดังอีก ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ลงมาตรวจอีกตอนปี 2556
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่ก็ออกอาการเดียวกัน คือทุกฝ่ายออกมาทำงานแบบพอเป็นพิธีเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000065728 พอไปร้องนายกรัฐมนตรีคราวนี้ เขาก็ใช้โมเดลเดียวกัน ขั้นแรกถอดลำโพง ขั้นที่สองจัดประชุมหามาตรการ ขั้นที่สามรอให้เรื่องเงียบ (โครงการประชารัฐเลยนะเนี่ย)
มาดูกระบวนการทำงานของข้าราชการกัน
พอมีเสียงดังเกิดขึ้นแล้วเราโทรไป 191 เขาก็ส่งตำรวจมา พอตำรวจรู้ว่าเป็นแพใครเขาก็ไม่ได้ทำอะไร เขาบอกว่าจะประสานไปที่เจ้าของ(เป็นแกนนำในสมาคมชาวเรือชาวแพ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เป็นแบบนี้หลายครั้งหลายหน แพที่ทำผิดก็เป็นกลุ่มเดิม ๆ บางทีตอนกลางคืนก็มองไม่เห็นชื่อแพว่าเป็นแพอะไร พอเป็นแบบนี้หลาย ๆ ครั้ง ตำรวจที่ลงพื้นที่เขาก็คงอึดอัด เขาบอกว่าต้องแจ้งทางปกครองให้มาจัดการ เราก็เลยคุยกับทางตำรวจที่เป็นร้อยเวรให้ชัด ๆ ไปเลยว่าปกครองที่ว่าคือใคร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอตำรวจแนะนำให้ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรม เราไปแล้วศูนย์ดำรงธรรมเขาก็โยนให้ไปตามที่อำเภอ แล้วพอไปกล่าวหาเขามาก ๆ ว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้ทำงานเขาบอกให้คุยกับทหาร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ระหว่างนั่งรอทหารมาปรับทัศนคติ เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมก็แนะนำว่า “เวลาเสียงดัง ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(ขอข้ามเรื่องทหาร)
หลังจากนั้นเราก็ไปที่อำเภอ ปลัดอำเภอเขาก็บอกว่าเบื้องต้นต้องแจ้งตำรวจ เพราะตำรวจเป็นฝ่ายปราบปราม อำเภอมีหน้าที่ดูภาพรวม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรางงกับเรื่องราวก็เลยกลับไปที่ศาลากลาง เจ้าหน้าที่ก็ให้หนังสือคำสั่งมาฉบับหนึ่ง บอกว่านายอำเภอนั่นแหละเป็นหัวหน้าชุดออกตรวจ พอกลับไปอำเภออีกรอบคราวนี้ปลัดเขาโยนแบบกระจายเลย ทั้งสิ่งแวดล้อม ทั้งสาธารณสุข ทั้งสำนักงานเจ้าท่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอเรากลับไปเริ่มที่ตำรวจ191 เจ้าหน้าที่เขาก็โอนไปให้ตำรวจที่ สภ.เมืองกาญจนบุรี แล้วตำรวจสภ.เมืองกาญจนบุรี ก็บอกว่าจังหวัดนั่นแหละโยนมาให้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วคนที่ควบคุมดูแลหน่วยงานเหล่านี้ล่ะเขาทำอะไรอยู่ ทั้ง ๆ ที่นายกฯรัฐมนตรีก็มีคำสั่งมาแล้ว ชาวบ้านก็ทำหนังสือย้ำเตือนไปแล้วก็ยังไม่ขยับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ รายงานสิ่งแวดล้อมก็ระบุชัดว่าเสียงมันเกินมาตรฐานถึงสองเท่า แล้วเขาทำอะไรอยู่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะด้วยเหตุปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ หลังจากร้องเรียนหนัก ๆ ก็เกิดสามสิ่งที่ทำให้ต้องหยุดร้องเรียน
สิ่งแรกมีเจ้าหน้าที่มาจากกองช่าง มาตรวจบ้าน แจ้งว่ามีคนร้องเรียนว่าบ้านเราปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงขอเข้าตรวจ พอสอบถามปรากฏว่าคนที่มาตรวจนั่นแหละเป็นคนอนุมัติเอง พอจำเรื่องราวได้แล้วก็กลับไป (เจ้าหน้าที่คงไม่รู้เรื่องด้วย แต่อยากรู้ว่ามีใครสั่งให้มาตรวจ)
สิ่งที่สอง แพเธคเสียงดังมากขึ้นและจะเร่งเสียงให้ดังมากขึ้นไปอีกตอนผ่านบ้านคนที่ไปร้องเรียน
สิ่งที่สาม เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ มาตรวจบ้านสามครั้ง (เราไม่อยู่บ้าน ผู้รับเหมาเป็นคนเล่าให้ฟัง) ครั้งที่สามขอให้บริจาคช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ 1900 บาท และผู้รับเหมาช่วยไป 190 บาท
เจ้าหน้าที่รัฐช่วยตอบหน่อยทำงานกันแบบนี้มันปกติหรือเปล่า
(คืนวันที่ 16 ก.ย. เสียงยังดังอยู่ และดังตั้งแต่สองทุ่มจนถึงตีหนึ่งของวันที่ 17 ก.ย. แล้วจะให้ไปแจ้งหน่วยงานไหน บอกมาเลย)
ร้องศูนย์ดำรงธรรมมาสองปีสุดท้ายงานเข้า ตอบหน่อยครับหน่วยงานรัฐทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ
ร้องเรียนหน่วยงานรัฐมาเกือบจะสองปีแล้วไม่มีอะไรคืบหน้าเลย แถมยังจะเดือดร้อนหนักกว่าเก่า หน่วยงานที่เคยไปร้องเรียนก็มีตามนี้เลย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก่อนหน้านี้เป็นสิบปีก็ใช้วิธีอดทน เพราะคิดว่ามันมีเรื่องอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เลยไม่อยากยุ่ง แต่พอเห็นว่ายุคนี้มีหลายสิ่งที่หน่วยงานรัฐกล้าเอาจริง เราก็เลยเริ่มร้องเรียน ตอนแรกโทรไป 191 ตำรวจก็บอกว่ามันอยู่ในน้ำทำอะไรไม่ได้
พอตำรวจทำอะไรไม่ได้ เราก็ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรม (27 พ.ย. 2557) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ทางศูนย์รับเรื่อง แล้วก็ส่งต่อไปที่อำเภอ อำเภอส่งต่อไปที่ตำรวจ ตำรวจก็เรียกผู้ประกอบการสถานบันเทิงมาตักเตือน จากนั้นก็ส่งหนังสือแจ้งกลับมาถึงเราเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการให้แล้ว ทั้งหมดนี่ใช้เวลาเจ็ดเดือนเต็ม[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ถ้าเราไปแจ้งซ้ำ ทางศูนย์ดำฯ ก็ทำก็อปปี้จดหมายแบบซ้ำ ๆ มาให้เรา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ที่แย่คือยิ่งแจ้งเสียงยิ่งดัง
โทรไป 1111 สำนักนายกรัฐมนตรี 8 ครั้ง ตั้งแต่ เมษายน – กรกฎาคม 2558 ครั้งสุดท้ายโทรไปวันที่ 9 ก.ค. 2558 เขาบอกว่าส่งเรื่องมาให้ที่เดียวกับศูนย์ดำรงธรรมนั่นแหละ
วันที่ 6 ก.ค. 2558 เราก็ไปที่ศูนย์ดำรงธรรมอีก คราวนี้เอาคลิปวีดีโอกับทำพาวเวอร์พอยต์ไปด้วย เพื่อจะบอกว่าเสียงมันดังยังงัย แพจอดที่ไหน วัยรุ่นมามั่วสุมลงแพกันยังงัย แล้วก็เขียนคำร้องไปอย่างละเอียด (ข้ามไปมั่งก็ได้ เอกสารเยอะเดี๋ยวจะเบื่อซะก่อน)[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เจ้าหน้าที่ก็บอกให้เราไปตามเรื่องภายใน 15 วัน พอครบ 15 วันเราไปตามเรื่องก็สรุปว่ายังไม่ได้ทำอะไร พึ่งจะร่างหนังสือส่งไปที่อำเภอ รวมแล้วเราตามเรื่องอยู่เกือบสี่เดือนก็ยังไม่ได้ทำอะไร พอไปตามบ่อย ๆ ก็บอกให้เราไปตามเรื่องเองที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี
วันที่ 27 ต.ค. 2558 เราไปอำเภอ ไปเจอปลัดอำเภอผู้หญิง ปลัดถามว่าเราเป็นใคร เจ้าหน้าที่ก็พูดแทรกขึ้นมาว่า “ก็ไอ้นี่งัย คนที่ร้องเรียนเรื่องแพเธคเสียงดัง” แกบอกชื่อ นามสกุลของเราได้อย่างถูกต้องทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน เหมือนเราไปทำความเดือดร้อนให้ แล้วพอปลัดรู้ว่าเราเป็นคนในพื้นที่ก็พูดเสริมว่า”อยู่มาตั้งนาน ยังไม่ชินอีกเหรอ” แต่ปลัดก็โทรถึงนายกสมาคมที่เกี่ยวกับเรื่องแพ แล้วคุยกันแบบสนิทสนม (เรียกชื่อเล่นกัน ทักทายกัน ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ) ปลัดขอความร่วมมือนายกสมาคมให้บอกพวกแพเธคว่าอย่าไปจอดบริเวณบ้านเรา พอเรากลับมาบ้านคืนนั้นก็โดนสั่งสอนเลย พวกแพเธคมารวมกันจอดแล้วกระหน่ำเสียงเพลงตั้งแต่สองทุ่มจนถึงเที่ยงคืน แบบดังกว่าเดิมมาก
พอเป็นแบบนี้เราเลยส่งเรื่องขอให้ไทยพีบีเอสมาช่วย แล้วผ่านไปไม่กี่วันก็เป็นข่าว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอเป็นข่าวเจ้าหน้าที่ก็เริ่มขยับ เรือมาอะไรมา สรรพกำลังดูจะพร้อมไปหมด แต่ชาวบ้านก็รู้กันอยู่แล้วว่าทำงานบังหน้าเฉย ๆ ก็เลยฮึดกันขึ้นมาแล้วชวนกันไปร้องนายกรัฐมนตรี [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอเรื่องถึงนายกฯ ทุกคนก็ตื่นตัว ตื่นตัว ตื่นตัว ตำรวจทหาร ออกตรวจพรึบพรับ แพเธคถอดลำโพงออก นายอำเภอเรียกประชุมด่วนวันอาทิตย์ แล้วก็ได้มาตรการออกมาแบบเสกได้ทันใจ เรื่องอะไรที่ก่อนหน้านี้เคยล่าช้าอืดอาดมาเป็นปี ก็บอกว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 7 วัน[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันที่ 23 พ.ย. 59 เจ้าหน้าที่ก็เรียกชาวบ้านให้มาประชุม ฝ่ายรัฐก็ตกลงจะทำตามมาตรการที่เตรียมเอาไว้กับผู้ประกอบการ ตำรวจก็ออกมารับปากว่าจะเป็นคนดำเนินการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด และถ้าพบว่ามีเสียงดังให้โทรแจ้ง 191 (ก่อนหน้านี้ก็ถือว่าให้แล้ว ๆ กันไป ) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ (4 ธ.ค. 2558) พอเรื่องเงียบแล้วแพเธคก็เอาลำโพงกลับมาติดอีก พวกแพเธคเขารู้งานกันดี เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานระดับประเทศลงมาจัดการแพเธค ก่อนหน้านี้เคยมีผู้ว่าฯที่เคยไปจัดระเบียบแพเธคโดนย้าย แล้วตอนหลังผู้ว่าฯคนนี้ได้เป็นกรรมการปปช. คณะกรรมการปปช.ก็เลยลงมาจัดการเมื่อปี 2551 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก็ดีอยู่พักนึงแล้วมันก็กลับมาแย่อีก คราวนี้ปี 2555 ชาวบ้านก็ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก็มีการทำงานจัดฉากบังหน้า ทำได้ไม่นานเสียงก็ดังอีก ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ลงมาตรวจอีกตอนปี 2556 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่ก็ออกอาการเดียวกัน คือทุกฝ่ายออกมาทำงานแบบพอเป็นพิธีเท่านั้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พอไปร้องนายกรัฐมนตรีคราวนี้ เขาก็ใช้โมเดลเดียวกัน ขั้นแรกถอดลำโพง ขั้นที่สองจัดประชุมหามาตรการ ขั้นที่สามรอให้เรื่องเงียบ (โครงการประชารัฐเลยนะเนี่ย)
มาดูกระบวนการทำงานของข้าราชการกัน
พอมีเสียงดังเกิดขึ้นแล้วเราโทรไป 191 เขาก็ส่งตำรวจมา พอตำรวจรู้ว่าเป็นแพใครเขาก็ไม่ได้ทำอะไร เขาบอกว่าจะประสานไปที่เจ้าของ(เป็นแกนนำในสมาคมชาวเรือชาวแพ) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เป็นแบบนี้หลายครั้งหลายหน แพที่ทำผิดก็เป็นกลุ่มเดิม ๆ บางทีตอนกลางคืนก็มองไม่เห็นชื่อแพว่าเป็นแพอะไร พอเป็นแบบนี้หลาย ๆ ครั้ง ตำรวจที่ลงพื้นที่เขาก็คงอึดอัด เขาบอกว่าต้องแจ้งทางปกครองให้มาจัดการ เราก็เลยคุยกับทางตำรวจที่เป็นร้อยเวรให้ชัด ๆ ไปเลยว่าปกครองที่ว่าคือใคร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอตำรวจแนะนำให้ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรม เราไปแล้วศูนย์ดำรงธรรมเขาก็โยนให้ไปตามที่อำเภอ แล้วพอไปกล่าวหาเขามาก ๆ ว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้ทำงานเขาบอกให้คุยกับทหาร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ระหว่างนั่งรอทหารมาปรับทัศนคติ เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมก็แนะนำว่า “เวลาเสียงดัง ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น”[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(ขอข้ามเรื่องทหาร)
หลังจากนั้นเราก็ไปที่อำเภอ ปลัดอำเภอเขาก็บอกว่าเบื้องต้นต้องแจ้งตำรวจ เพราะตำรวจเป็นฝ่ายปราบปราม อำเภอมีหน้าที่ดูภาพรวม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรางงกับเรื่องราวก็เลยกลับไปที่ศาลากลาง เจ้าหน้าที่ก็ให้หนังสือคำสั่งมาฉบับหนึ่ง บอกว่านายอำเภอนั่นแหละเป็นหัวหน้าชุดออกตรวจ พอกลับไปอำเภออีกรอบคราวนี้ปลัดเขาโยนแบบกระจายเลย ทั้งสิ่งแวดล้อม ทั้งสาธารณสุข ทั้งสำนักงานเจ้าท่า[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอเรากลับไปเริ่มที่ตำรวจ191 เจ้าหน้าที่เขาก็โอนไปให้ตำรวจที่ สภ.เมืองกาญจนบุรี แล้วตำรวจสภ.เมืองกาญจนบุรี ก็บอกว่าจังหวัดนั่นแหละโยนมาให้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วคนที่ควบคุมดูแลหน่วยงานเหล่านี้ล่ะเขาทำอะไรอยู่ ทั้ง ๆ ที่นายกฯรัฐมนตรีก็มีคำสั่งมาแล้ว ชาวบ้านก็ทำหนังสือย้ำเตือนไปแล้วก็ยังไม่ขยับ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ รายงานสิ่งแวดล้อมก็ระบุชัดว่าเสียงมันเกินมาตรฐานถึงสองเท่า แล้วเขาทำอะไรอยู่ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะด้วยเหตุปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ หลังจากร้องเรียนหนัก ๆ ก็เกิดสามสิ่งที่ทำให้ต้องหยุดร้องเรียน
สิ่งแรกมีเจ้าหน้าที่มาจากกองช่าง มาตรวจบ้าน แจ้งว่ามีคนร้องเรียนว่าบ้านเราปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงขอเข้าตรวจ พอสอบถามปรากฏว่าคนที่มาตรวจนั่นแหละเป็นคนอนุมัติเอง พอจำเรื่องราวได้แล้วก็กลับไป (เจ้าหน้าที่คงไม่รู้เรื่องด้วย แต่อยากรู้ว่ามีใครสั่งให้มาตรวจ)
สิ่งที่สอง แพเธคเสียงดังมากขึ้นและจะเร่งเสียงให้ดังมากขึ้นไปอีกตอนผ่านบ้านคนที่ไปร้องเรียน
สิ่งที่สาม เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ มาตรวจบ้านสามครั้ง (เราไม่อยู่บ้าน ผู้รับเหมาเป็นคนเล่าให้ฟัง) ครั้งที่สามขอให้บริจาคช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ 1900 บาท และผู้รับเหมาช่วยไป 190 บาท
เจ้าหน้าที่รัฐช่วยตอบหน่อยทำงานกันแบบนี้มันปกติหรือเปล่า
(คืนวันที่ 16 ก.ย. เสียงยังดังอยู่ และดังตั้งแต่สองทุ่มจนถึงตีหนึ่งของวันที่ 17 ก.ย. แล้วจะให้ไปแจ้งหน่วยงานไหน บอกมาเลย)