ในที่สุด เขาก็เป็น "วีระบุรุษ" ... MY WAY เบื้องหลังทางเดินที่เลือกแล้วของ “สนธิ ลิ้มทองกุล”..../sao..เหลือ..noi



       ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -“ผมไม่เคยมีความคิดที่จะไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา
จำคุกทั้ง 2 ศาล ผมทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะผมมีศักดิ์ศรี มีครอบครัว มีลูกน้องและมีพี่น้องพันธมิตรฯ ที่จะได้เชิดหน้าไม่อายใคร
สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดคือ ผมเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม”
       
       นั่นคือคำประกาศของ “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งสื่อในเครือ “ผู้จัดการ”
       
       และนายสนธิก็ได้พิสูจน์ให้เห็นตามที่เขาพูดจริงในวันที่ 6 กันยายน 2559 ซึ่งศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่
อ.1036/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 307, 311, 312 (1) (2) (3) และมาตรา 313
       
       นายสนธิไม่ได้ตัดสินใจหนีเหมือนที่หลายคนทำ หลังศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำคุกนายสนธิเป็น
เวลา 20 ปี พร้อมกับจำเลยร่วมอีก 2 คนคือ น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บ.แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด
(มหาชน) และ น.ส.ยุพิน จันทนา อดีตกรรมการ บ.แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
       
       นี่คือวิถีและทางเดินที่เลือกแล้วของผู้ชายที่ชื่อ “สนธิ ลิ้มทองกุล”
       
       กระนั้นก็ดี การตัดสินใจของนายสนธิย่อมต้องมีที่มาที่ไปและมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่สำคัญในกระบวนการต่อสู้ที่สังคมอาจยังไ
ม่รู้ถึง “เหตุ” และ “ผล” ที่แท้จริง

        กล่าวสำหรับที่มาที่ไปแห่งคดีนั้น เกิดขึ้นในช่วงปี 2539 ต่อเนื่องปี 2540 โดยเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือจากบริษัท
แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เพื่อค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด
(มหาชน) จำนวน 1,078 ล้านบาท และไม่ได้นำภาระการค้ำ ประกันเงินกู้ดังกล่าวที่เป็นรายการที่ทำให้รายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ
เปลี่ยนแปลงผิดปกติ ซึ่งต้องแสดงรายการไว้ในงบการเงินประจำปี 2539-2541 และจะต้องนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
       
       ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกนายสุรเดชเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ขณะที่นายสนธิ น.ส.เสาวลักษณ์พิพากษาให้จำคุก 42 ปี
6 เดือน และนางยุพินพิพากษาจำคุก 32 ปี 6 เดือน แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงผิดแล้ว ให้จำคุกนายสนธิ น.ส.เสาวลักษณ์และนางยุพิน
คนละ 20 ปี ซึ่งเป็นโทษสูงสุดตามที่กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้
       
       ต่อมานายสนธิ, น.ส.เสาวลักษณ์ และ น.ส.ยุพิน ยื่นอุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนากระทำผิด และไม่ได้รับผลประโยชน์ในทรัพย์สิน
แต่อย่างใด จึงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษ ซึ่งศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วพิพากษายืน
ตามศาลชั้นต้น ส่วนนายสุรเดชไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คดีจึงถือที่สุดตามกฎหมายรับโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน
       
       เช่นเดียวกับในชั้นของศาลฎีกาที่พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
       
       แน่นอน ประเด็นที่เกิดตามมาหลังคำพิพากษาของศาลฎีกาและหลังจากที่นายสนธิถูกส่งตัวเข้าเรือนจำจนกลายเป็น
“วิวาทะทางการเมือง” ว่าด้วยเรื่อง “สีเสื้อ” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองเลยแม้แต่น้อยอยู่ตรงที่ “การรับสารภาพ”
ตั้งแต่เป็นคดีความในศาลชั้นต้น
       
       ทำไมนายสนธิจึงยอมรับสารภาพ?
       
       การที่นายสนธิรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อหลักฐานใช่หรือไม่?
       
       คดีนี้มีเบื้องหน้าและเบื้องหลังอย่างไร ทำไมถึงไม่มีผู้เสียหายและไม่มีเจ้าทุกข์ ใช่หรือไม่?

       นายสนธิเลือกที่จะ “รับสารภาพ” ตั้งแต่ศาลชั้นต้นแทนการ “สู้คดี” ก็เพราะต้องการให้คดีจบเร็ว เนื่องจากเชื่อมั่นในเรื่องที่
ไม่มีผู้ใดเสียหายและหลักทรัพย์ที่นำไปค้ำประกันก็มีมูลค่าสูงกว่าจำนวนเงินที่กู้จากธนาคารกรุงไทย อยู่แล้ว
       
       เพราะโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ คดีนี้ไม่มีผู้ถือหุ้นของบริษัท แมเนเจอร์มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงไทย
จำกัด(มหาชน) ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายแม้แต่รายเดียว หรือแม้แต่ธนาคารกรุงไทยเองก็ไม่ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
       
       หากแต่ว่า ในเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาออกมาตามที่ปรากฏ เมื่อพิจารณาจากความเสียหายที่ไร้เจ้าทุกข์ รวมทั้งมีหลักทรัพย์ที่สูงกว่า
ค้ำประกัน ดังนั้น นาย สนธิจึงมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ มิใช่ไม่ยอมรับว่า ตนเองทำผิดกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์
       
       และที่สำคัญนายสนธิก็รู้อยู่เต็มอกว่า มีโอกาสที่จะเข้าห้องขังมีอยู่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม แต่ก็ยังคงเลือกที่จะ “ไม่หนี”
เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานแก่สังคมไทยที่นายสนธิมีส่วนร่วมเป็นตัวละครในเกมการเมืองมาโดยตลอด ทั้งๆ ที่นายสนธิมีโอกาสที่จะทำเช่นนั้น
เพราะนายสนธิได้ยื่นขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาตัวหลายครั้ง
       
       และนี่ก็คือ MY WAY ที่สนธิ ลิ้มทองกุลได้เลือกแล้ว
       
       ถ้าจะเปรียบก็คือ คนที่ทำผิดระเบียบแต่ไม่ได้มีผู้เสียหาย และพร้อมยอมรับโทษจากการผิดระเบียบโดยไม่บิดพลิ้ว
       
       อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวก็ได้ถูกลากเข้ามาเป็นดรามาทางการเมือง สร้างวิวาทะระหว่างกลุ่มที่ต่อต้านและสนับสนุนระบอบทักษิณ
       
       ฝ่ายไม่เอาระบอบทักษิณก็พากันชื่นชมสปิริต และนำไปเปรียบเทียบ นช.ทักษิณ ชินวิตรที่หนีคดี พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้บรรทัดฐาน
นี้จัดการคดีกับฝ่ายตรงข้ามที่มีคิวรอขึ้นเขียงให้ถึงที่สุด ขณะที่ฝ่ายระบอบทักษิณก็ไม่สามารถทำอะไรนอกจากกระแนะกระแหนว่าไปชื่นชมคนโกง
       
       แต่จะอย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดของคดีแห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ย่อมถือเป็น “บรรทัดฐาน” สำคัญของตลาดเงินและตลาดทุนไทย
รวมทั้งถือเป็น“บรรทัดฐาน” สำคัญของกระบวนการยุติธรรมไทย เนื่องจากเป็นคำพิพากษาที่ “แรงที่สุด” และได้รับ “โทษสูงสุด”
ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ซึ่งน่าจะสร้างความมั่นใจให้กับระบบธรรมาภิบาลของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
       
       ขณะที่ในส่วนครอบครัวของนายสนธิก็ได้มีข้อความขอบคุณทุกกำลังใจและพร้อมที่จะสืบสานปณิธานของนายสนธิต่อไป

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่