สถานที่เที่ยวแนะนำของจังหวัดอิบารากิในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่ค่อยๆ ไล่เฉดสีจากเขียวถึงแดง ไปจนถึงสีแดงสดตลอดเนินเขา
“ฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค” สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงามของ “มิฮาราชิโนะโอกะ” จากพุ่มโคเคีย
ใบสีเขียวอ่อนแสนสดชื่นในช่วงฤดูร้อนกลายเป็นสีแดง สีแดงสดของพุ่มโคเคียตลอดเนินเขาตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้าสดใสเป็นภาพที่งดงามมากภาพการไล่เฉดสีที่ค่อยๆ ไล่จากใบสีเขียวในช่วงฤดูร้อนจนกลายเป็นสีแดงในฤดูใบไม้ผลิเป็นภาพที่ต้องไปชมให้ได้สักครั้ง คุณสามารถชมพุ่มโคเคียเปลี่ยนสีได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนไปจนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม อีกทั้งยังมีอีกช่วงของการชม “มิฮาราชิโนะโอกะ” ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นั่นคือช่วงหลังฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งพุ่มโคเคียจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีเหลืองทอง
ใบไม้เปลี่ยนสีอันแสนงดงามที่ “มิฮาราชิโนะโอกะ” (ฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค)
เนินสีเขียวสดใสในฤดูร้อนที่ไม่ควรพลาด
■ ช่วงเวลาชมพุ่มโคเคีย / ปลายเดือนกันยายน - ปลายเดือนตุลาคม
・ ปลายกันยายน-ต้นตุลาคม : เพลินไปกับการไล่เฉดสี จากสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง...
ภาพของความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวของฤดูร้อนมาเป็นสีแดงของฤดูใบไม้ร่วง จะช่วยสร้างความทรงจำฤดูร้อนให้เป็นช่วงเวลาอันแสนน่าจดจำที่อ่อนโยน
・ กลางตุลาคม : พุ่มโคเคียเปลี่ยนสี แต่งแต้มเนินเขาให้เป็นสีแดงสด
ที่ “มิฮาราชิโนะโอกะ” จะพบพุ่มโคเคียที่ย้อมสีแดงไปทั่ว ส่วนปลายเนินเขาคุณจะพบดอกคอสมอส (ดอกดาวกระจาย) ลู่ลมฤดูใบไม้ร่วง ช่วยแต่งแต้มสีสันของฤดูใบไม้ร่วงไปพร้อมกับพุ่มโคเคีย
・ ปลายตุลาคม : พุ่มโคเคียสีเหลืองทองเปล่งประกายท่ามกลางพระอาทิตย์ตกดิน
พุ่มโคเคียหลังฤดูใบไม้ร่วงที่เปลี่ยนจากสีแดงมาเป็นสีน้ำตาล ฉาบแสงอาทิตย์อัสดง เปล่งประกายสีเหลืองทอง
พุ่มโคเคีย…หญ้าที่มีวงจรชีวิต 1 ปี จัดอยู่ในประเภทหญ้าไม้กวาดที่เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มต่ำ มีถิ่นกำเนิดในยุโรปใต้ สมัยก่อนนิยมนำก้านหรือใบมาตากแห้งเพื่อทำไม้กวาด
【ประชาสัมพันธ์สวนฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค】
ที่อยู่ : 605-4 โอนุมะ-อาซะ มาวาตาริ เมืองฮิตาชินากะ จังหวัดอิบารากิ
WEB:
http://en.hitachikaihin.jp/ (※ภาษาอังกฤษเท่านั้น)
“ เครื่องป้ันคาซามะยากิ ” วิวัฒนาการควบคู่ไปกับการเคารพประเพณดั้งเดิม
เมืองคาซามะ ถือเป็นเมือง “คาซามะยากิ” ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ช่างปั้นที่มาจากทุกพื้นที่ของญี่ปุ่นได้บรรจงสรรค์สร้างผลงานการปั้นทุกวัน โดยแสวงหาความงดงามของรูปร่างในแบบของตนเองไปพร้อมกับยังคงเทคนิคแบบดั้งเดิมไว้ โดยใช้ทั้งจานแป้นหมุน และการขึ้นรูปด้วยมือต่างๆ อีกทั้งยังมี “ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านความร่วมมือในเครื่องปั้นดินเผา” ระหว่างเมืองคาซามะ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย ในเดือนเมษายน ปีเฮเซที่ 27 (ปี 2015) พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมช่างเทคนิคการปั้น เพื่อให้แหล่งผลิตของทั้งสองประเทศแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทางเมืองคาซามะได้ส่งผู้สอนเทคนิคการปั้นไปยังประเทศไทย พร้อมกับรับนักศึกษาฝึกงานจากประเทศไทย
โปรดแวะมาชม “คาซามะยากิ” ที่สืบทอดประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 200 ปี งานฝีมือแบบดั้งเดิมที่ยังคงมองหาสิ่งใหม่ๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย
นักศึกษาฝึกงานคนไทยที่เรียนการปั้นคาซามะยากิ
“พระพุทธรูปอุชิคุไดบุสึ” ซึ่งได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊ค
พระพุทธรูปอุชิคุไดบุสึ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่สูง 120 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊ค พระพุทธรูปอุชิคุตั้งอยู่ภายในสวนจูโด ซึ่งมีสวนดอกไม้ขนาดราว 20,000 ตารางเมตร สามารถชมทัศนียภาพอันงดงามได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาจากเมืองพุทธในแถบเอเชียอย่างเช่น ประเทศไทยอีกด้วย
【 ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พบกับงานศิลปะร่วมสมัย “เทศกาลศิลปะนานาชาติ จัดขึ้นทางตอนเหนือของจังหวัดอิบารากิ” 】
พื้นที่ทางเหนือของจังหวัดอิบารากิมีทรัพยากรท้องถิ่นที่ใช้ริเริ่มสร้างสรรค์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร และอุตสาหกรรมในท้องที่ ซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมในพื้นที่ และค้นหาคุณค่าใหม่ๆ ด้วยการดึงพลังศิลปะซึ่งมีเสน่ห์ซ่อนเร้นอยู่ในทรัพยากรดังกล่าวออกมา จึงได้จัดงานเทศกาลศิลปะนานาชาติขึ้น โดยใช้พื้นที่ “KENPOKU” ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเป็นสถานที่จัดงาน นับว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งในญี่ปุ่นเลยทีเดียว บริเวณตอนเหนือของจังหวัดอิบารากิจะคลาคล่ำไปด้วยงานศิลป์ และมีศิลปินจากนานาประเทศ รวมทั้งศิลปินจากประเทศไทยเข้าร่วมงานมากมาย
【ชื่อ】 เทศกาลศิลปะนานาชาติ KENPOKU ART 2016
【หัวข้อ】 ทะเล ภูเขา หรือศิลปะ?
【ไดเร็คเตอร์งาน】 ฟุมิโอะ นันโจ
【ช่วงเวลาจัดงาน】 17 กันยายน (เสาร์) - 20 พฤศจิกายน (อาทิตย์) 2016 [65 วัน]
【ศิลปินที่เข้าร่วม】 ประมาณ 100 คน (รวมผู้เข้าร่วมโปรเจ็กต์ทั้งจากในพื้นที่และประเทศต่างๆ ราว 20 ประเทศ)
【ศิลปินที่เกิดและอาศัยในประเทศไทย】
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ Nipan ORANNIWESNA (เกิดปี 1962 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
ทักษิณา พิพิธกุล Tuksina PIPITKUL (เกิดปี 1973 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
สุดศิริ ปุยอ๊อก Sudsiri PUI-OCK (เกิดปี 1976 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ Tawatchai PUNTUSAWASDI (เกิดปี 1971 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
นิธิภัค สามเสน Nitipak SAMSEN (เกิดปี 1979 ที่ไทย และอาศัยในอังกฤษ)
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:
https://kenpoku-art.jp/en/ (ภาษาอังกฤษเท่านั้น)
“ชวนชม “พุ่มโคเคีย” ที่แต่งแต้มสีสันให้ทั่วทั้งเนินเขาที่ ฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค” ในจังหวัดอิบารากิ
“ฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค” สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงามของ “มิฮาราชิโนะโอกะ” จากพุ่มโคเคีย
ใบสีเขียวอ่อนแสนสดชื่นในช่วงฤดูร้อนกลายเป็นสีแดง สีแดงสดของพุ่มโคเคียตลอดเนินเขาตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้าสดใสเป็นภาพที่งดงามมากภาพการไล่เฉดสีที่ค่อยๆ ไล่จากใบสีเขียวในช่วงฤดูร้อนจนกลายเป็นสีแดงในฤดูใบไม้ผลิเป็นภาพที่ต้องไปชมให้ได้สักครั้ง คุณสามารถชมพุ่มโคเคียเปลี่ยนสีได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนไปจนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม อีกทั้งยังมีอีกช่วงของการชม “มิฮาราชิโนะโอกะ” ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นั่นคือช่วงหลังฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งพุ่มโคเคียจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีเหลืองทอง
■ ช่วงเวลาชมพุ่มโคเคีย / ปลายเดือนกันยายน - ปลายเดือนตุลาคม
・ ปลายกันยายน-ต้นตุลาคม : เพลินไปกับการไล่เฉดสี จากสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง...
ภาพของความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวของฤดูร้อนมาเป็นสีแดงของฤดูใบไม้ร่วง จะช่วยสร้างความทรงจำฤดูร้อนให้เป็นช่วงเวลาอันแสนน่าจดจำที่อ่อนโยน
・ กลางตุลาคม : พุ่มโคเคียเปลี่ยนสี แต่งแต้มเนินเขาให้เป็นสีแดงสด
ที่ “มิฮาราชิโนะโอกะ” จะพบพุ่มโคเคียที่ย้อมสีแดงไปทั่ว ส่วนปลายเนินเขาคุณจะพบดอกคอสมอส (ดอกดาวกระจาย) ลู่ลมฤดูใบไม้ร่วง ช่วยแต่งแต้มสีสันของฤดูใบไม้ร่วงไปพร้อมกับพุ่มโคเคีย
・ ปลายตุลาคม : พุ่มโคเคียสีเหลืองทองเปล่งประกายท่ามกลางพระอาทิตย์ตกดิน
พุ่มโคเคียหลังฤดูใบไม้ร่วงที่เปลี่ยนจากสีแดงมาเป็นสีน้ำตาล ฉาบแสงอาทิตย์อัสดง เปล่งประกายสีเหลืองทอง
พุ่มโคเคีย…หญ้าที่มีวงจรชีวิต 1 ปี จัดอยู่ในประเภทหญ้าไม้กวาดที่เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มต่ำ มีถิ่นกำเนิดในยุโรปใต้ สมัยก่อนนิยมนำก้านหรือใบมาตากแห้งเพื่อทำไม้กวาด
【ประชาสัมพันธ์สวนฮิตาชิ ซีไซด์ พาร์ค】
ที่อยู่ : 605-4 โอนุมะ-อาซะ มาวาตาริ เมืองฮิตาชินากะ จังหวัดอิบารากิ
WEB:http://en.hitachikaihin.jp/ (※ภาษาอังกฤษเท่านั้น)
เมืองคาซามะ ถือเป็นเมือง “คาซามะยากิ” ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ช่างปั้นที่มาจากทุกพื้นที่ของญี่ปุ่นได้บรรจงสรรค์สร้างผลงานการปั้นทุกวัน โดยแสวงหาความงดงามของรูปร่างในแบบของตนเองไปพร้อมกับยังคงเทคนิคแบบดั้งเดิมไว้ โดยใช้ทั้งจานแป้นหมุน และการขึ้นรูปด้วยมือต่างๆ อีกทั้งยังมี “ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านความร่วมมือในเครื่องปั้นดินเผา” ระหว่างเมืองคาซามะ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย ในเดือนเมษายน ปีเฮเซที่ 27 (ปี 2015) พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมช่างเทคนิคการปั้น เพื่อให้แหล่งผลิตของทั้งสองประเทศแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทางเมืองคาซามะได้ส่งผู้สอนเทคนิคการปั้นไปยังประเทศไทย พร้อมกับรับนักศึกษาฝึกงานจากประเทศไทย
โปรดแวะมาชม “คาซามะยากิ” ที่สืบทอดประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 200 ปี งานฝีมือแบบดั้งเดิมที่ยังคงมองหาสิ่งใหม่ๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย
พระพุทธรูปอุชิคุไดบุสึ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่สูง 120 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊ค พระพุทธรูปอุชิคุตั้งอยู่ภายในสวนจูโด ซึ่งมีสวนดอกไม้ขนาดราว 20,000 ตารางเมตร สามารถชมทัศนียภาพอันงดงามได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาจากเมืองพุทธในแถบเอเชียอย่างเช่น ประเทศไทยอีกด้วย
พื้นที่ทางเหนือของจังหวัดอิบารากิมีทรัพยากรท้องถิ่นที่ใช้ริเริ่มสร้างสรรค์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร และอุตสาหกรรมในท้องที่ ซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมในพื้นที่ และค้นหาคุณค่าใหม่ๆ ด้วยการดึงพลังศิลปะซึ่งมีเสน่ห์ซ่อนเร้นอยู่ในทรัพยากรดังกล่าวออกมา จึงได้จัดงานเทศกาลศิลปะนานาชาติขึ้น โดยใช้พื้นที่ “KENPOKU” ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเป็นสถานที่จัดงาน นับว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งในญี่ปุ่นเลยทีเดียว บริเวณตอนเหนือของจังหวัดอิบารากิจะคลาคล่ำไปด้วยงานศิลป์ และมีศิลปินจากนานาประเทศ รวมทั้งศิลปินจากประเทศไทยเข้าร่วมงานมากมาย
【ชื่อ】 เทศกาลศิลปะนานาชาติ KENPOKU ART 2016
【หัวข้อ】 ทะเล ภูเขา หรือศิลปะ?
【ไดเร็คเตอร์งาน】 ฟุมิโอะ นันโจ
【ช่วงเวลาจัดงาน】 17 กันยายน (เสาร์) - 20 พฤศจิกายน (อาทิตย์) 2016 [65 วัน]
【ศิลปินที่เข้าร่วม】 ประมาณ 100 คน (รวมผู้เข้าร่วมโปรเจ็กต์ทั้งจากในพื้นที่และประเทศต่างๆ ราว 20 ประเทศ)
【ศิลปินที่เกิดและอาศัยในประเทศไทย】
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ Nipan ORANNIWESNA (เกิดปี 1962 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
ทักษิณา พิพิธกุล Tuksina PIPITKUL (เกิดปี 1973 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
สุดศิริ ปุยอ๊อก Sudsiri PUI-OCK (เกิดปี 1976 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ Tawatchai PUNTUSAWASDI (เกิดปี 1971 ที่ไทย และอาศัยในไทย)
นิธิภัค สามเสน Nitipak SAMSEN (เกิดปี 1979 ที่ไทย และอาศัยในอังกฤษ)
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:https://kenpoku-art.jp/en/ (ภาษาอังกฤษเท่านั้น)