"เมื่อจำนวนคน มีผลต่อการทำสื่อ"

"เมื่อจำนวนคน มีผลต่อการทำสื่อ"
...ในอดีตการผลิตสื่อต้องใช้คนจำนวนมากในส่วนงานต่างๆ อย่างเช่น ทีวีไปถ่ายทอดสดสักครั้ง รถโอบีออกไปต้องมีคนลากสาย คนตั้งจานดาวเทียม วิศวะกรรมออกอากาศ โปรดิวเซอร์ ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ รวมและกว่า10-20ชีวิต เพียงเพื่อการรายงานสด3-10นาที
หรือการผลิตนสพ. แม็กกาซีน ต้องใช้ทีมงาน และสายการผลิตด้วยจำนวนคนมหาศาล
...วันนี้เราเหลือเพียงแค่ ผู้สื่อข่าว 1 คนถ้วน ออกไปรายงานสดผ่าน FB live และออกทีวีด้วย เสียค่าเน็ตไม่กี่บาท หรือผลิตเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ด้วยคนเพียงคนเดียวจากข้อมูลที่เป็น Cloud sourcing มหาศาล
...โลกเปลี่ยน เทคโลโลยีเข้ามาแทนที่คน 'คนไม่จำเป็น' จึงเกิดขึ้น จากก้อนเนื้อที่มีมูลค่า กลายเป็นไขมันที่มีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นมาด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมเพียงไม่กี่เดือน...
เพื่อนวงการเป็นกราฟฟิค เริ่มถูกตั้งคำถามจากผู้รับสมัครงานว่า 'ตัดต่อได้มั้ย? ถ้าได้จะพิจารณารับทำงานทันที'
เฮ้ยยยย! มันคนละศาสตร์ป่าววะ คนวาดรูป กับคนเล่าเรื่อง... แต่มีคนทำได้ และได้งานด้วย!!!
...ไม่ใช่เพียงแค่การปรับตัวของคนทำงาน หลายองค์กรในโลกก็ปรับ ตัวอย่างเช่น ช่อง Channel4 ของอังกฤษทำ 'วีดีโอข่าว' ผ่าน Facebook เล่าเรื่องที่มีทั้งเหมือนและแตกต่างจากทีวีที่มีอยู่ มีคนดูรวมต่อเดือนสูงสุด 200ล้านวิว!!!!
200,000,000 วิว!!! ต่อเดือน เชื่อว่าเยอะกว่าเรตติ้งคนดูทีวีไม่รู้กี่เท่าแน่ๆ.....
และที่สำคัญ.....ยอดวิวทั้งหมดที่ได้มา ไม่ได้ใช้คนทั้งสถานีทำงานนี้
ประเทศไทยนับถอยหลังไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 5ปีแรก ช่องดาวเทียมในเติบโต ตลาดคนทำงานบูมมาก 3ปีล่าสุด ดิจิตอลทีวีเปิด คนจากดาวเทียมย้ายฐาน เงินเดือนขึ้น เด็กจบใหม่มีงานทำกันเพียบ ตลาดนิเทศศาสตร์บูมสุดๆ
และแล้วปีนี้ก็มาถึง.....
ปีที่สื่อมีเยอะจนคนไม่มีLoyalty....
ปีที่เราไม่ได้พึ่งพาแค่สื่อ....
ปีที่ใครก็เป็นสื่อเองได้....
ปีที่เทคโนโลยีก้าวไกลและไม่ต้องใช้คนทำงาน....
ปีที่สาขานิเทศศาสตร์ไม่ง่าย...
ปีที่โลกและเราทุกคนต้องรู้จัก #DigitalMedia อย่างเป็นทางการ


วิเคราะห์จากข่าวนี้ สำรวจ 'ทางเลือก-ทางรอด' ค่ายสื่อ ยุควิกฤตศก.พ่นพิษ! นักวิชาการชี้รุนแรงกว่า 'ต้มยำกุ้ง' http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/49673-report_49673.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่