สวัดดีครับผม ผมขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเคสชุมชนนี้สักเล็กน้อย
จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้คือ ครั้งชาวบ้านในอดีตได้บุกรุกเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งดำรงค์อยู่มาเป็นเวลายาวนานมากกว่า 1 ชั่วอายุคน
แม้ทางชาวบ้านจะอ้างถึงความชอบธรรมในการเข้ามาอยู่ของตนในอดีต แต่นั่นก็ยังไม่ถือเป้นหลักฐานที่มีน้ำหนักพอ
ทางกทม.เล็งเห็นว่าการดำรงค์อยู่ของชุมชนนี้ ถือเป็นการเบียดเบียนและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ส่วนรวม จึงมีโครงการที่จะรื้อถอนชุมชนนี้ทิ้งซะ เพื่อปรับปรุงพื้นที่นี้เป็นสาธารณะประโยชน์ต่อไป...
เมื่อกทม.มีประกาศออกมาเช่นนี้ ทางชาวบ้านและชุมชนก็ไม่นิ่งนอนใจ เพื่อธำรงค์ไว้ในพื้นที่อยู่อาศัยของตน จึงได้เกิดการต่อสู่อย่างชอบธรรมเกิดขึ้น
ซึ่งส่วนตัวผมค่อนข้างโชคดี ได้รู้จักผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีอุดมการณ์ชัดเจนและแข็งแกร่ง มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือชุมชนแห่งนี้ให้รอดพ้นจากภัยคุกคามในครั้งนี้อย่างถูกต้อง
วิธีการที่ผู้นำฯใช้ คือการทำให้ชุมชนแห่งนี้ เกิดประโยชน์ขึ้นแก่ส่วนรวมขึ้น จนนำมาสู่โปรเจ็ค"พิพิธภัณฑ์มีชีวิต"
ทางผู้นำฯได้เล็งเห็นถึงวิธีชุมชน ป้อมมหากาฬ ที่มีอยู่มาอย่างช้านาน และอัตลักษณ์ในชุมชนที่เด่นชัด ไม่ได้ไหลไปตามกระแสอย่างชุมชนอื่นๆ ตัวอย่างชุมชนที่ถือได้ว่ามีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดแห่งนึง นั่นคือชุมชนบ้านบาตร เป็นต้น
นำมาเป็นจุดแข็งที่ช่วยส่งเสริมชุมชนในแง่ของการท่องเที่ยว คือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น สื่อต่างๆเริ่มให้ความสนใจ ทั้งในและนอกประเทศ ต่างนำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ที่แสนจะงดงามในครั้งนี้อย่างครึกโครม
แต่นั่นก้ยังไม่เพียงพอที่จะอยู่รอด....กทม.ยังคงดำเนินแผนตามโครงการที่วางไว้
สงครามยังไม่จบ กทม.ยังไม่ล้มเลิกแผนการรื้อถอนชุมชนนี้ แม้ชุมชนนี้จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดบนหนทางที่ถูกต้องหรือสร้างสรรค์มากแค่ไหนก็ตาม
หากมองเป็นเส้นตรง คุณมารุกราน คุณต้องถูกกำจัด เพื่อคืนพื้นที่ให้แก่ส่วนรวม นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง แบบที่กทม.มอง
หากมองที่จุดหมาย เป้าหมายของพื้นที่นี้คืออะไร? หากมันคือการคืนประโยชน์สู่ส่วนรวม ชาวชุมชนก็สามารถทำสิ่งเหล่านั่นได้ และทำได้ดีด้วยควบคู่กับการดำรงค์อยู่ของชุมชนต่อไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องรื้อถอน แบบที่ชุมชนพยายามเสนอ
แล้วคุณละครับ เลือกที่จะมองแบบไหน?
ชุมชนป้อมมหากาฬโมเดล จุดเริ่มต้นจากสิ่งที่ผิด สู่การหาทางออกอย่างถูกต้อง?
จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้คือ ครั้งชาวบ้านในอดีตได้บุกรุกเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งดำรงค์อยู่มาเป็นเวลายาวนานมากกว่า 1 ชั่วอายุคน
แม้ทางชาวบ้านจะอ้างถึงความชอบธรรมในการเข้ามาอยู่ของตนในอดีต แต่นั่นก็ยังไม่ถือเป้นหลักฐานที่มีน้ำหนักพอ
ทางกทม.เล็งเห็นว่าการดำรงค์อยู่ของชุมชนนี้ ถือเป็นการเบียดเบียนและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ส่วนรวม จึงมีโครงการที่จะรื้อถอนชุมชนนี้ทิ้งซะ เพื่อปรับปรุงพื้นที่นี้เป็นสาธารณะประโยชน์ต่อไป...
เมื่อกทม.มีประกาศออกมาเช่นนี้ ทางชาวบ้านและชุมชนก็ไม่นิ่งนอนใจ เพื่อธำรงค์ไว้ในพื้นที่อยู่อาศัยของตน จึงได้เกิดการต่อสู่อย่างชอบธรรมเกิดขึ้น
ซึ่งส่วนตัวผมค่อนข้างโชคดี ได้รู้จักผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีอุดมการณ์ชัดเจนและแข็งแกร่ง มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือชุมชนแห่งนี้ให้รอดพ้นจากภัยคุกคามในครั้งนี้อย่างถูกต้อง
วิธีการที่ผู้นำฯใช้ คือการทำให้ชุมชนแห่งนี้ เกิดประโยชน์ขึ้นแก่ส่วนรวมขึ้น จนนำมาสู่โปรเจ็ค"พิพิธภัณฑ์มีชีวิต"
ทางผู้นำฯได้เล็งเห็นถึงวิธีชุมชน ป้อมมหากาฬ ที่มีอยู่มาอย่างช้านาน และอัตลักษณ์ในชุมชนที่เด่นชัด ไม่ได้ไหลไปตามกระแสอย่างชุมชนอื่นๆ ตัวอย่างชุมชนที่ถือได้ว่ามีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดแห่งนึง นั่นคือชุมชนบ้านบาตร เป็นต้น
นำมาเป็นจุดแข็งที่ช่วยส่งเสริมชุมชนในแง่ของการท่องเที่ยว คือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น สื่อต่างๆเริ่มให้ความสนใจ ทั้งในและนอกประเทศ ต่างนำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ที่แสนจะงดงามในครั้งนี้อย่างครึกโครม
แต่นั่นก้ยังไม่เพียงพอที่จะอยู่รอด....กทม.ยังคงดำเนินแผนตามโครงการที่วางไว้
สงครามยังไม่จบ กทม.ยังไม่ล้มเลิกแผนการรื้อถอนชุมชนนี้ แม้ชุมชนนี้จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดบนหนทางที่ถูกต้องหรือสร้างสรรค์มากแค่ไหนก็ตาม
หากมองเป็นเส้นตรง คุณมารุกราน คุณต้องถูกกำจัด เพื่อคืนพื้นที่ให้แก่ส่วนรวม นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง แบบที่กทม.มอง
หากมองที่จุดหมาย เป้าหมายของพื้นที่นี้คืออะไร? หากมันคือการคืนประโยชน์สู่ส่วนรวม ชาวชุมชนก็สามารถทำสิ่งเหล่านั่นได้ และทำได้ดีด้วยควบคู่กับการดำรงค์อยู่ของชุมชนต่อไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องรื้อถอน แบบที่ชุมชนพยายามเสนอ
แล้วคุณละครับ เลือกที่จะมองแบบไหน?