กทม. เดินหน้าแผนรื้อ "ชุมชนป้อมมหากาฬ" ยันว่าไม่สามารถให้ชาวชุมชนอยู่ได้เกินกว่าเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่ชาวชุมชนระบุไม่ขวางสวนสาธารณะ แต่ขออยู่ต่อ
วันที่ 18 มีนาคม 2559 นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดการกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กรุงเทพฯ กล่าวว่า ทางกรุงเทพฯ อยู่ระหว่างร่างหนังสือปิดประกาศให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬย้ายออกจากพื้นที่ ก่อนจะลงพื้นที่ดำเนินการรื้อถอน ซึ่งการเข้ารื้อย้ายบ้านเรือนประชาชนบริเวณชุมชนป้อมมหากาฬเป็นการดำเนินการตามกฎหมายกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร ตั้งแต่ปี 2535 เพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ
แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านในชุมชนได้ทำหนังสือร้องเรียนมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอให้ผ่อนผันไปก่อน ซึ่งกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้เข้าไปดำเนินการรื้อถอน จนเวลาผ่านมากว่า 24 ปี โดยขณะนี้ผู้บริหารกรุงเทพฯ ก็ได้มีคำสั่งให้รื้อย้ายชุมชน เพราะเวลานี้กรุงเทพฯ จะต้องปฏิบัติตามผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องมาเร่งรัด ซึ่งหากไม่ทำตามก็จะเข้าข่ายละเว้นในหน้าที่ จึงไม่สามารถให้คนที่นั่นอยู่ได้เกินกว่าเดือนพฤษภาคมนี้ และขอยืนยันว่า ทางกรุงเทพฯ ได้ให้ระยะเวลากับชาวบ้านมาพอสมควรแล้ว
จากการตรวจสอบพบผู้อยู่อาศัยที่โอนบ้าน รับเงินช่วยเหลือเยียวยา และยอมย้ายออกจากพื้นที่จำนวน 42 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 56 หลังคาเรือน เหลือเพียง 16 หลังคาเรือน ที่ยังไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือปิดประกาศย้ายออกจากพื้นที่แจ้งให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬรับทราบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากปิดประกาศจะให้เวลา 30 วัน เพื่อย้ายออกจากพื้นที่ โดยส่วนที่ยินยอมย้ายออกจากพื้นที่ กทม.จะอำนวยความสะดวกเรื่องการขนย้ายสิ่งของ ส่วนการดำเนินการรื้อถอนจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2559
ขณะที่คนในชุมชนป้อมมหากาฬ ยืนยันว่า พวกเขาจะไม่ปฏิเสธที่จะให้กรุงเทพฯ ทำตามหน้าที่ แต่เป็นได้หรือไม่ ที่จะทบทวนให้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับพัฒนาที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการเดินหน้าตามแผนแม่บทของการพัฒนาเมือง
โดยชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ได้ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. ขอจัดตั้งเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย
2. ขออาสาดูแลรักษาความสะอาดสวนสาธารณะ
3. ชุมชนจะพัฒนาให้เป็นตัวอย่างของชุมชนที่อยู่ร่วมกับสวนสาธารณะได้
4. กรุงเทพฯ จะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าเช่าที่ดินจากชุมชน
5. ชุมชนจะพัฒนาให้เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ
ที่มา kapook.com
ดีเดย์ ! กทม. เตรียมเข้ารื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เดือนพฤษภาคม 59
กทม. เดินหน้าแผนรื้อ "ชุมชนป้อมมหากาฬ" ยันว่าไม่สามารถให้ชาวชุมชนอยู่ได้เกินกว่าเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่ชาวชุมชนระบุไม่ขวางสวนสาธารณะ แต่ขออยู่ต่อ
วันที่ 18 มีนาคม 2559 นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดการกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กรุงเทพฯ กล่าวว่า ทางกรุงเทพฯ อยู่ระหว่างร่างหนังสือปิดประกาศให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬย้ายออกจากพื้นที่ ก่อนจะลงพื้นที่ดำเนินการรื้อถอน ซึ่งการเข้ารื้อย้ายบ้านเรือนประชาชนบริเวณชุมชนป้อมมหากาฬเป็นการดำเนินการตามกฎหมายกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร ตั้งแต่ปี 2535 เพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ
แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านในชุมชนได้ทำหนังสือร้องเรียนมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอให้ผ่อนผันไปก่อน ซึ่งกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้เข้าไปดำเนินการรื้อถอน จนเวลาผ่านมากว่า 24 ปี โดยขณะนี้ผู้บริหารกรุงเทพฯ ก็ได้มีคำสั่งให้รื้อย้ายชุมชน เพราะเวลานี้กรุงเทพฯ จะต้องปฏิบัติตามผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องมาเร่งรัด ซึ่งหากไม่ทำตามก็จะเข้าข่ายละเว้นในหน้าที่ จึงไม่สามารถให้คนที่นั่นอยู่ได้เกินกว่าเดือนพฤษภาคมนี้ และขอยืนยันว่า ทางกรุงเทพฯ ได้ให้ระยะเวลากับชาวบ้านมาพอสมควรแล้ว
จากการตรวจสอบพบผู้อยู่อาศัยที่โอนบ้าน รับเงินช่วยเหลือเยียวยา และยอมย้ายออกจากพื้นที่จำนวน 42 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 56 หลังคาเรือน เหลือเพียง 16 หลังคาเรือน ที่ยังไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือปิดประกาศย้ายออกจากพื้นที่แจ้งให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬรับทราบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากปิดประกาศจะให้เวลา 30 วัน เพื่อย้ายออกจากพื้นที่ โดยส่วนที่ยินยอมย้ายออกจากพื้นที่ กทม.จะอำนวยความสะดวกเรื่องการขนย้ายสิ่งของ ส่วนการดำเนินการรื้อถอนจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2559
ขณะที่คนในชุมชนป้อมมหากาฬ ยืนยันว่า พวกเขาจะไม่ปฏิเสธที่จะให้กรุงเทพฯ ทำตามหน้าที่ แต่เป็นได้หรือไม่ ที่จะทบทวนให้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับพัฒนาที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการเดินหน้าตามแผนแม่บทของการพัฒนาเมือง
โดยชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ได้ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. ขอจัดตั้งเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย
2. ขออาสาดูแลรักษาความสะอาดสวนสาธารณะ
3. ชุมชนจะพัฒนาให้เป็นตัวอย่างของชุมชนที่อยู่ร่วมกับสวนสาธารณะได้
4. กรุงเทพฯ จะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าเช่าที่ดินจากชุมชน
5. ชุมชนจะพัฒนาให้เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ
ที่มา kapook.com