ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1472822541
หนึ่งเดือนแล้ว...หลังรถไฟฟ้าที่แล่นพาดผ่านชานเมือง สายสำคัญที่รอคอยกันมายาวนานถึง 6 ปี เปิดหวูดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
เสียงสะท้อนกลับต่อ “สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน” เป็นกระแสที่ถูกจับตามองอย่างไม่ลดละ มีแต่มากขึ้นและมากขึ้นต่อไปอีก เมื่อเปิดเผยตัวเลข “ขาดทุน” พุ่งสามล้านบาทต่อวัน จากยอดผู้ใช้บริการที่เคยตั้งเป้าไว้ที่วันละ 73,000 คนต่อวัน แต่มีคนใช้จริงแค่วันละ 22,000 คนต่อวันเท่านั้น จำนวนที่หายไป 50,000 กว่าคน...ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
หรือการลดราคาอาจจะช่วยได้ ? การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินหมากแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ประเดิมลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงกระหน่ำ 50 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 14-42 บาท เหลือ 14-29 บาท สำหรับผู้ใช้บัตรเติมเงิน (MRT Plus) เท่านั้น ผู้ใช้เที่ยวเดียวแบบหยอดเหรียญอดไป พร้อมทั้งดึงดูดผู้ใช้รถยนต์ด้วยการลดค่าจอดรถแบบจอดแล้วจร แบบรายวันจากเดิมอัตรา 10 บาท เหลือ 5 บาท ต่อ 2 ชั่วโมง และรายเดือนจากเดิม 1,000 บาท เหลือ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป
หวังกระตุ้นให้คนมาใช้สายสีม่วงมากยิ่งขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะได้ผลหรือไม่...ก็ยังลุ้นกันอยู่
ลองฟังเสียงประชาชนผู้ใช้ “จริงๆ” กันบ้าง "ประชาชาติธุรกิจออนไลน์" พาสำรวจบรรยากาศการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงหลังกำลังจะเปิดครบ 1 เดือน เสียงตอบรับเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้นแค่ไหน ราคาค่าโดยสารเป็นที่น่าพอใจหรือเปล่า และพวกเขาต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง
และดราม่าปรากฏการณ์ "ฟันหลอ" ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ ระยะทางหนึ่งกิโลเมตรกับบริการรถเมล์ฟรีส่งถึงที่ จะ "สะดวก" หรือ "เสียเวลา" กันแน่
รถไฟใหม่ วิวสวย นั่งสบาย กระจกบานใหญ่ ได้อารมณ์สไตล์ญี่ปุ่น โดยใช้เวลาจากสถานีเตาปูนไปสถานีบางใหญ่ราว 45 นาที...
จากการพูดคุยกับผู้ใช้จริงหลากช่วงวัยหลายอาชีพ พบว่าส่วนใหญ่ยัง “
ให้อภัย” ในข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ เช่นการเปิดประตูไม่ตรงกับช่องทางออก การหยุดเดินรถชั่วคราวด้วยเหตุขัดข้องบางประการ ด้วยความเหตุผลที่ว่าสายสีม่วงเพิ่งเปิดให้ใช้แค่หนึ่งเดือนเอง ต้องรอให้ระบบเขาเข้าที่ก่อน บางรายถึงกับยกตัวอย่างพาดพิงถึงบีทีเอสที่วิ่งมานานเป็น10 ปี ยังเกิดเหตุขัดข้องอยู่เลย...
แต่ก็ขอให้ปรับปรุง
ด้านบริการ “
ห้องน้ำ” แก้ปัญหาข้าศึกบุกตอนอยู่ในสถานี เห็นจากรีวิวแล้วอยากลองใช้มาก แต่ประตูกลับถูกล็อกไว้ ต้องเดินไปบอกว่าเราต้องการใช้ห้องน้ำ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ก็ยินดีที่จะมาเปิดให้ โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งระบุว่าเปิดให้บริการประชาชนแต่มีระเบียบให้ล็อกไว้ ใจจริงอยากให้เปิดให้ทุกคนใช้ได้เลย
หันมาพูดเรื่องราคาหลายคนยังว่าแพงไป แต่หลายคนก็พอรับได้ และการลดราคาคเป็นสิ่งที่ดีมาก ควรทำต่อเนืองเพราะต่างหวังว่าคนจะเลือกมาใช้บริการเพิ่มขึ้น...
แล้วประเด็น “
ฟันหลอ” ล่ะ ? เมื่อช่วงเช้า 7.30 – 9.00 น. ของวันพุธ เดินลงมาจากสถานีเตาปูนเพื่อมาขึ้น “
รถเมล์ชัตเติลบัส” รอคิวสักพักก้าวเดินขึ้นรถเลย และสังเกตพบว่ามีรถชัตเติลบัสจอดรอสแตนบายอยู่ถึง 5 คัน โดยใช้เวลา 10-15 นาที ฝ่ารถติดหนึ่งไฟแดงไปถึงสถานีบางซื่อ (คาดว่าหลังจากมีกระแสข่าวปัญหาคนต่อคิวยาวเหยียด จึงมีการเพิ่มรถโดยสารบริการมากขึ้น)
หลายคนตัดสินใจเลือกบริการจักรยานยนต์รับจ้าง ด้วยความรวดเร็วแค่ 5 นาทีจากสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ อัตราค่าบริการ 20 บาทตามเดิม โดยพี่วินรายหนึ่งเล่าให้เราฟังว่าตั้งแต่มีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
เสียงสะท้อนจากเหล่าผู้ใช้จริงยังคงให้ “กำลังใจ” สายสีม่วงด้วยความเห็นที่ว่าเป็น “ความลำบาก” ที่ยังพอรับได้ แต่ขอแค่สร้างเชื่อมต่อให้ได้เร็วๆเถอะ อุดฟันหลอจุดนี้ให้ได้...ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
รฟม.มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด “สายสีม่วง” เพราะการตั้งเป้าจะดึงผู้ใช้หน้าใหม่ให้เพิ่มขึน 30 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และเปรียบเทียบกับบีทีเอสที่ต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษกว่าจะทำกำไร จากปี 2542 จากคนใช้แค่แสนคนต่อวัน จนถึงทุกวันนี้พุ่ง 8-9 แสนคนต่อวันได้นั้น ต้องดูบริบททางพื้นที่และการเดินทาง
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ความแตกต่างคือการเดินทางสายสีม่วงเป็นรถไฟชานเมืองจากเมืองนนท์เข้าเตาปูน รถจะติดแค่ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น แต่เวลาอื่นรถยนต์ยังวิ่งได้สบาย ซึ่งทำให้สายสีม่วงยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งรายสำคัญคือ “
รถตู้”
ส่วนบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งเข้ากลางกรุงเทพฯ จุดศุนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศอย่างอโศก สาทรและสยาม รถจึงติดตลอดทั้งวัน ผู้คนเลือกใช้รถไฟฟ้ามากกว่าเพราะหลีกเลี่ยงการเสียเวลาและเสียอารมณ์ไปกับการจราจรทางถนนกลางกรุงเทพฯ ที่เหมือนปัญหาโลกเเตกที่เเก้ไม่ได้
ขณะที่บริบททางพื้นที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงแล่นผ่านแหล่งทำงานขนาดเล็ก มีศูนย์ราชการเพียงไม่กี่แห่งเช่น กระทรวงสาธารณสุข คนไม่พลุกพล่านมาก หมู่บ้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างอยู่ห่างจากสถานีต่างๆ
แต่บีทีเอสและรถไฟสายสีน้ำเงินผ่านบริษัทใหญ่ แหล่งรวมออฟฟิศ คนต่างเข้าไปทำงาน ท่องเที่ยวและช็อปปิ้ง
ปริมาณการกระจุกตัวของคนไม่สามารถเปรียบเทียบจำนวนกันได้
งานหนัก...งานหินของรฟม.ที่ต่อไปจากนี้จะต้องแบกรับการขาดทุนวันละ 3 ล้าน (เป็นอย่างต่ำ) เฉพาะหน้าคือต่องเร่งเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้ากลางกรุงให้ได้เร็วที่สุด ไม่ใช่แค่สายสีม่วง ยังต้องคิดถึง “
สายสีแดง-สายสีเขียวส่วนขยาย” รถไฟชานเมืองที่กำลังจะมีในอนาคต
โดยสิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุดคือกลับไปคิดแก้ปัญหาว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะคนในพื้นที่ออกมาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
แม้ รฟม.จะบอกว่าไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน ทำใจขาดทุน 11 ปีเพราะเป็นบริการสาธารณะ และคาดหวังว่าระยะยาวจึงจะคุ้มทุนก็ตาม
เสียงสะท้อน“สายสีม่วง”ผู้ใช้จริงพอใจแค่ไหน? ลุ้นรอด-ไม่รอด อนาคตรถไฟฟ้าชานเมือง
หนึ่งเดือนแล้ว...หลังรถไฟฟ้าที่แล่นพาดผ่านชานเมือง สายสำคัญที่รอคอยกันมายาวนานถึง 6 ปี เปิดหวูดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
เสียงสะท้อนกลับต่อ “สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน” เป็นกระแสที่ถูกจับตามองอย่างไม่ลดละ มีแต่มากขึ้นและมากขึ้นต่อไปอีก เมื่อเปิดเผยตัวเลข “ขาดทุน” พุ่งสามล้านบาทต่อวัน จากยอดผู้ใช้บริการที่เคยตั้งเป้าไว้ที่วันละ 73,000 คนต่อวัน แต่มีคนใช้จริงแค่วันละ 22,000 คนต่อวันเท่านั้น จำนวนที่หายไป 50,000 กว่าคน...ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
หรือการลดราคาอาจจะช่วยได้ ? การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินหมากแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ประเดิมลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงกระหน่ำ 50 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 14-42 บาท เหลือ 14-29 บาท สำหรับผู้ใช้บัตรเติมเงิน (MRT Plus) เท่านั้น ผู้ใช้เที่ยวเดียวแบบหยอดเหรียญอดไป พร้อมทั้งดึงดูดผู้ใช้รถยนต์ด้วยการลดค่าจอดรถแบบจอดแล้วจร แบบรายวันจากเดิมอัตรา 10 บาท เหลือ 5 บาท ต่อ 2 ชั่วโมง และรายเดือนจากเดิม 1,000 บาท เหลือ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป
หวังกระตุ้นให้คนมาใช้สายสีม่วงมากยิ่งขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะได้ผลหรือไม่...ก็ยังลุ้นกันอยู่
ลองฟังเสียงประชาชนผู้ใช้ “จริงๆ” กันบ้าง "ประชาชาติธุรกิจออนไลน์" พาสำรวจบรรยากาศการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงหลังกำลังจะเปิดครบ 1 เดือน เสียงตอบรับเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้นแค่ไหน ราคาค่าโดยสารเป็นที่น่าพอใจหรือเปล่า และพวกเขาต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง
และดราม่าปรากฏการณ์ "ฟันหลอ" ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ ระยะทางหนึ่งกิโลเมตรกับบริการรถเมล์ฟรีส่งถึงที่ จะ "สะดวก" หรือ "เสียเวลา" กันแน่
รถไฟใหม่ วิวสวย นั่งสบาย กระจกบานใหญ่ ได้อารมณ์สไตล์ญี่ปุ่น โดยใช้เวลาจากสถานีเตาปูนไปสถานีบางใหญ่ราว 45 นาที...
จากการพูดคุยกับผู้ใช้จริงหลากช่วงวัยหลายอาชีพ พบว่าส่วนใหญ่ยัง “ให้อภัย” ในข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ เช่นการเปิดประตูไม่ตรงกับช่องทางออก การหยุดเดินรถชั่วคราวด้วยเหตุขัดข้องบางประการ ด้วยความเหตุผลที่ว่าสายสีม่วงเพิ่งเปิดให้ใช้แค่หนึ่งเดือนเอง ต้องรอให้ระบบเขาเข้าที่ก่อน บางรายถึงกับยกตัวอย่างพาดพิงถึงบีทีเอสที่วิ่งมานานเป็น10 ปี ยังเกิดเหตุขัดข้องอยู่เลย...แต่ก็ขอให้ปรับปรุง
ด้านบริการ “ห้องน้ำ” แก้ปัญหาข้าศึกบุกตอนอยู่ในสถานี เห็นจากรีวิวแล้วอยากลองใช้มาก แต่ประตูกลับถูกล็อกไว้ ต้องเดินไปบอกว่าเราต้องการใช้ห้องน้ำ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ก็ยินดีที่จะมาเปิดให้ โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งระบุว่าเปิดให้บริการประชาชนแต่มีระเบียบให้ล็อกไว้ ใจจริงอยากให้เปิดให้ทุกคนใช้ได้เลย
หันมาพูดเรื่องราคาหลายคนยังว่าแพงไป แต่หลายคนก็พอรับได้ และการลดราคาคเป็นสิ่งที่ดีมาก ควรทำต่อเนืองเพราะต่างหวังว่าคนจะเลือกมาใช้บริการเพิ่มขึ้น...
แล้วประเด็น “ฟันหลอ” ล่ะ ? เมื่อช่วงเช้า 7.30 – 9.00 น. ของวันพุธ เดินลงมาจากสถานีเตาปูนเพื่อมาขึ้น “รถเมล์ชัตเติลบัส” รอคิวสักพักก้าวเดินขึ้นรถเลย และสังเกตพบว่ามีรถชัตเติลบัสจอดรอสแตนบายอยู่ถึง 5 คัน โดยใช้เวลา 10-15 นาที ฝ่ารถติดหนึ่งไฟแดงไปถึงสถานีบางซื่อ (คาดว่าหลังจากมีกระแสข่าวปัญหาคนต่อคิวยาวเหยียด จึงมีการเพิ่มรถโดยสารบริการมากขึ้น)
หลายคนตัดสินใจเลือกบริการจักรยานยนต์รับจ้าง ด้วยความรวดเร็วแค่ 5 นาทีจากสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ อัตราค่าบริการ 20 บาทตามเดิม โดยพี่วินรายหนึ่งเล่าให้เราฟังว่าตั้งแต่มีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
เสียงสะท้อนจากเหล่าผู้ใช้จริงยังคงให้ “กำลังใจ” สายสีม่วงด้วยความเห็นที่ว่าเป็น “ความลำบาก” ที่ยังพอรับได้ แต่ขอแค่สร้างเชื่อมต่อให้ได้เร็วๆเถอะ อุดฟันหลอจุดนี้ให้ได้...ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
รฟม.มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด “สายสีม่วง” เพราะการตั้งเป้าจะดึงผู้ใช้หน้าใหม่ให้เพิ่มขึน 30 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และเปรียบเทียบกับบีทีเอสที่ต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษกว่าจะทำกำไร จากปี 2542 จากคนใช้แค่แสนคนต่อวัน จนถึงทุกวันนี้พุ่ง 8-9 แสนคนต่อวันได้นั้น ต้องดูบริบททางพื้นที่และการเดินทาง
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ความแตกต่างคือการเดินทางสายสีม่วงเป็นรถไฟชานเมืองจากเมืองนนท์เข้าเตาปูน รถจะติดแค่ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น แต่เวลาอื่นรถยนต์ยังวิ่งได้สบาย ซึ่งทำให้สายสีม่วงยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งรายสำคัญคือ “รถตู้”
ส่วนบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งเข้ากลางกรุงเทพฯ จุดศุนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศอย่างอโศก สาทรและสยาม รถจึงติดตลอดทั้งวัน ผู้คนเลือกใช้รถไฟฟ้ามากกว่าเพราะหลีกเลี่ยงการเสียเวลาและเสียอารมณ์ไปกับการจราจรทางถนนกลางกรุงเทพฯ ที่เหมือนปัญหาโลกเเตกที่เเก้ไม่ได้
ขณะที่บริบททางพื้นที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงแล่นผ่านแหล่งทำงานขนาดเล็ก มีศูนย์ราชการเพียงไม่กี่แห่งเช่น กระทรวงสาธารณสุข คนไม่พลุกพล่านมาก หมู่บ้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างอยู่ห่างจากสถานีต่างๆ
แต่บีทีเอสและรถไฟสายสีน้ำเงินผ่านบริษัทใหญ่ แหล่งรวมออฟฟิศ คนต่างเข้าไปทำงาน ท่องเที่ยวและช็อปปิ้ง ปริมาณการกระจุกตัวของคนไม่สามารถเปรียบเทียบจำนวนกันได้
งานหนัก...งานหินของรฟม.ที่ต่อไปจากนี้จะต้องแบกรับการขาดทุนวันละ 3 ล้าน (เป็นอย่างต่ำ) เฉพาะหน้าคือต่องเร่งเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้ากลางกรุงให้ได้เร็วที่สุด ไม่ใช่แค่สายสีม่วง ยังต้องคิดถึง “สายสีแดง-สายสีเขียวส่วนขยาย” รถไฟชานเมืองที่กำลังจะมีในอนาคต
โดยสิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุดคือกลับไปคิดแก้ปัญหาว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะคนในพื้นที่ออกมาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อย่างไร แม้ รฟม.จะบอกว่าไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน ทำใจขาดทุน 11 ปีเพราะเป็นบริการสาธารณะ และคาดหวังว่าระยะยาวจึงจะคุ้มทุนก็ตาม