ปรากฎการณ์ห้างหงอย ปิดยก Floor ร้างยก Zone
ไม่ใช่ปรากฎการณ์ใหม่ เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นห้างรูปแบบเดิม ปรากฎการณ์นี้มักจะเกิดแถวๆชั้น 5 ชั้น 6 ชั้นบนๆสุดของห้าง หรือ ตามพื้นที่ Zone ท้ายสุด สุดซอยของห้าง ซึ่งการแก้ไขปัญหาแบบง่ายๆ ก็มักจะเอาเครื่องเล่น ประเภทหยอดเหรียญ มาวางตั้งแถวเรียงกัน เพื่อเรียกลูกค้าวัยซนให้มาใช้บริการ เนื่องจากพื้นที่อยู่ชั้นบนสุด การเข้าถึงของลูกค้าทั่วไปอาจจะไม่ค่อยสะดวก
แต่ปรากฎการณ์ปิดยก Floor ร้างยก Zone ในห้างยุคปัจจุบันกลับแตกต่างออกไป ปรากฎการณ์นี้กลับเกิดขึ้นที่ชั้น 1 และ ชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นที่ลูกค้าทั่วไปเข้าถึงได้แน่นอน
เกิดอะไรขึ้น ???
ซึ่งบางห้างก็ก่อสร้างแค่ 2 ชั้น แต่กลับหงอยทั้ง 2 ชั้น แต่การแก้ไขของห้างกลับเปลี่ยนไปครับ เพราะรายได้หลักของห้างไม่ได้มาจากส่วนสรรพสินค้า ที่ห้างขายสินค้าเอง แต่รายได้หลักมาจากร้านค้าเช่า การแก้ไขปัญหาที่เราเห็นๆกัน จึงดูคล้ายๆกันไปหมด ตั้งแต่จัดกิจกรรม มีการแสดง ชักชวนร้านค้าเช่าชั้นบน ให้มาออกบูทตามทางเดินชั้นล่าง ชักชวนร้านค้าเช่าชั้นล่าง ให้มาออกบูทขายสินค้าตามทางเดินหน้าร้านตัวเอง พอหลังกิจกรรมนั้นสิ้นสุด ก็กลับไปหงอยเหมือนเดิม
ทำเพื่อ ???
ก็เพื่อ ค่าเช่าไงครับ ก็รายได้หลักของห้างมาจากค่าเช่า เจ้าของร้านนอกจากต้องจ่ายค่าเช่าในร้านค้าที่ตนลงทุนไปแล้ว ยังต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มในบูทตามทางเดินเพิ่มอีก ถ้าไม่จ่ายไม่เช่า แล้วมีบูทว่างเหลืออยู่ ห้างก็นำออกขายให้กับร้านอื่นนอกห้างที่สนใจแทน แล้วอะไรเกิดขึ้นตามมาครับ
ทางเลือกผู้ซื้อมากขึ้น สินค้าขายชนกัน สงครามราคาตามมา หลังออกบูท หลังกิจกรรม สินค้านั้นก็กลับมาขายในราคาปกติต่อไปไม่ได้ ราคาขายที่ห่ำหั่นกันผู้ซื้อได้จำไปแล้ว แต่ร้านค้าที่เราเช่ายังอยู่ สินค้าที่เราขายยังมี Stock เหลืออยู่ ส่วนร้านค้าอื่นที่มาจัดกิจกรรมร่วม ได้จากไปแล้ว แล้วการแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ก็ตามมาอีกในครั้งถัดๆไป เดือนถัดๆไป ห้างได้รับ ”รายได้เพิ่ม” แต่ร้านค้าได้รับ “รายจ่ายเพิ่ม” ร้านค้าเริ่มตั้งคำถามกับห้าง ห้างหาทางออกด้วยการตัดพื้นที่ขายตามทางเดิน ไปขายเหมาให้ Organize เป็นผู้จัดงานแทนห้าง เพื่อเลี่ยงที่จะตอบคำถาม สุดท้ายห้างได้ค่าเช่าเหมือนเดิม ร้านค้าบางร้านทนเห็น Stock เหลืออยู่ในร้านจำนวนมากไม่ได้ คิดว่าการออกบูท คือ การแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนทั้ง Stock และ ยอดขาย ไปติดต่อขอเช่าบูทจาก Organize กลับต้องเจอค่าเช่าจัดงานที่แพงกว่า การออกบูทครั้งแรกๆ ทั้งๆที่ เจ้าหน้าที่ Organize ที่ทางห้างเรียก กับ เจ้าหน้าที่ห้างที่เราติดต่อครั้งแรกๆ ก็คือคนกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ
เกิดอะไรขึ้น ???
ทำไมเราจึงเห็นปรากฏการณ์นี้ซ้ำๆ แล้วเจ้าของห้างไม่เห็นเหรอ ว่าสร้างรูปแบบนี้แล้วจะหงอย ร้านจะเหงา เห็นแล้วทำไมยังสร้างกันอยู่ ห้างทุกห้างก่อนการก่อสร้าง มีการวิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ กันทุกห้าง ตั้งแต่ สถานการณ์ที่ดี ดีมากๆ แย่ แย่มากๆ ทุกสถานการณ์ที่ประเมินกัน วิเคราะห์กัน ตัวห้างต้องมีกำไร มีแผนหนึ่งแผนสองรองรับการเรียบร้อยหมดแล้ว ไม่เพลี่ยงพล้ำแน่นอน
แต่ร้านค้าไม่ใช่ ห้างมองสิ่งที่ตัวเองก่อสร้างเป็นการลงทุนสร้างผลกำไรในระยะยาว เพราะเขาไม่ได้เช่า แต่ร้านค้ามองการลงทุนในระยะสั้นแค่ในระยะเวลาที่เช่า มันต่างกัน ห้างที่ก่อสร้างแล้วโง่จริง เจ๊งจริงก็มี ห้างที่แกล้งโง่ก็มี พาร้านค้าไปเจ๊งก็เยอะ ขุดหลุมพรางแล้วทำกำไรจาก รอบค่าเช่า ก็มีให้เห็น ทางออกของร้านค้าเช่าที่จะไม่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ร้านค้าต้องประเมินศักยภาพของตนเอง ไม่มองบวก ไม่มองลบ ต้องมองทุกอย่างบนพื้นฐานความจริง ก่อนการตัดสินใจลงทุนในทุกครั้ง ให้ลองสมมติตัวคุณเองเป็นคนซื้อ แล้วมีห้างประมาณนี้, Concept ประมาณนี้ จะมาเปิดใหม่ใกล้บ้านคุณ
คุณจะเข้ามาใช้บริการด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
คุณจะเข้ามาใช้บริการบ่อยแค่ไหน เพราะเหตุใด
แล้วถ้าคุณจะซื้อสินค้ามั๊ย เพราะเหตุใด
ถ้าคุณซื้อ คุณจะซื้อเท่าไร เพราะเหตุใด
ถ้าคุณไม่ซื้อ คุณจะไม่ซื้อ เพราะเหตุใด
แล้วถ้าคุณซื้อ คุณจะซื้อสินค้าในร้านค้าตัวเอง ที่เตรียมจะลงทุนด้วยไม่ เพราะเหตุใด
นำทุกอย่างที่คุณคิด กำหนดเป็นตัวเลข แล้วบันทึกเป็นรายรับ แล้วเอาค่าเช่าในใบเสนอราคาที่ห้างให้มา บันทึกลงไปด้วย หักลบกลบกัน แล้วตัดสินใจเบื้องต้นได้เลย แต่ยังไม่ต้องลงทุนจริง ให้รอครับ รอวันที่ห้างนั้นเปิดจริง แล้วเข้าไปใช้บริการ จากนั้นอีก 3 เดือน 6 เดือน ให้เข้าไปใช้บริการดูอีกครั้ง เข้าไปดูในตำแหน่งร้านค้าที่คุณคิดว่าจะลงทุนจริง ว่าเป็นอย่างไร คำตอบที่คุณคิดไว้ก่อนหน้านี้ กับ คำตอบจริง ก็จะปรากฎเปรียบเทียบกันทันที
นี่คือตัวอย่างของภาพจริงวันนี้ ที่อาจจะเป็นคนละภาพกันกับ
ภาพของผู้ที่ตัดสินใจลงทุนไปแล้วก่อนหน้านี้
ถ้าไม่เปิดร้านขายของในห้าง อย่าอ่านครับ ยาวมากๆๆ ๆๆ ( #2 )
ไม่ใช่ปรากฎการณ์ใหม่ เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นห้างรูปแบบเดิม ปรากฎการณ์นี้มักจะเกิดแถวๆชั้น 5 ชั้น 6 ชั้นบนๆสุดของห้าง หรือ ตามพื้นที่ Zone ท้ายสุด สุดซอยของห้าง ซึ่งการแก้ไขปัญหาแบบง่ายๆ ก็มักจะเอาเครื่องเล่น ประเภทหยอดเหรียญ มาวางตั้งแถวเรียงกัน เพื่อเรียกลูกค้าวัยซนให้มาใช้บริการ เนื่องจากพื้นที่อยู่ชั้นบนสุด การเข้าถึงของลูกค้าทั่วไปอาจจะไม่ค่อยสะดวก
แต่ปรากฎการณ์ปิดยก Floor ร้างยก Zone ในห้างยุคปัจจุบันกลับแตกต่างออกไป ปรากฎการณ์นี้กลับเกิดขึ้นที่ชั้น 1 และ ชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นที่ลูกค้าทั่วไปเข้าถึงได้แน่นอน
เกิดอะไรขึ้น ???
ซึ่งบางห้างก็ก่อสร้างแค่ 2 ชั้น แต่กลับหงอยทั้ง 2 ชั้น แต่การแก้ไขของห้างกลับเปลี่ยนไปครับ เพราะรายได้หลักของห้างไม่ได้มาจากส่วนสรรพสินค้า ที่ห้างขายสินค้าเอง แต่รายได้หลักมาจากร้านค้าเช่า การแก้ไขปัญหาที่เราเห็นๆกัน จึงดูคล้ายๆกันไปหมด ตั้งแต่จัดกิจกรรม มีการแสดง ชักชวนร้านค้าเช่าชั้นบน ให้มาออกบูทตามทางเดินชั้นล่าง ชักชวนร้านค้าเช่าชั้นล่าง ให้มาออกบูทขายสินค้าตามทางเดินหน้าร้านตัวเอง พอหลังกิจกรรมนั้นสิ้นสุด ก็กลับไปหงอยเหมือนเดิม
ทำเพื่อ ???
ก็เพื่อ ค่าเช่าไงครับ ก็รายได้หลักของห้างมาจากค่าเช่า เจ้าของร้านนอกจากต้องจ่ายค่าเช่าในร้านค้าที่ตนลงทุนไปแล้ว ยังต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มในบูทตามทางเดินเพิ่มอีก ถ้าไม่จ่ายไม่เช่า แล้วมีบูทว่างเหลืออยู่ ห้างก็นำออกขายให้กับร้านอื่นนอกห้างที่สนใจแทน แล้วอะไรเกิดขึ้นตามมาครับ
ทางเลือกผู้ซื้อมากขึ้น สินค้าขายชนกัน สงครามราคาตามมา หลังออกบูท หลังกิจกรรม สินค้านั้นก็กลับมาขายในราคาปกติต่อไปไม่ได้ ราคาขายที่ห่ำหั่นกันผู้ซื้อได้จำไปแล้ว แต่ร้านค้าที่เราเช่ายังอยู่ สินค้าที่เราขายยังมี Stock เหลืออยู่ ส่วนร้านค้าอื่นที่มาจัดกิจกรรมร่วม ได้จากไปแล้ว แล้วการแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ก็ตามมาอีกในครั้งถัดๆไป เดือนถัดๆไป ห้างได้รับ ”รายได้เพิ่ม” แต่ร้านค้าได้รับ “รายจ่ายเพิ่ม” ร้านค้าเริ่มตั้งคำถามกับห้าง ห้างหาทางออกด้วยการตัดพื้นที่ขายตามทางเดิน ไปขายเหมาให้ Organize เป็นผู้จัดงานแทนห้าง เพื่อเลี่ยงที่จะตอบคำถาม สุดท้ายห้างได้ค่าเช่าเหมือนเดิม ร้านค้าบางร้านทนเห็น Stock เหลืออยู่ในร้านจำนวนมากไม่ได้ คิดว่าการออกบูท คือ การแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนทั้ง Stock และ ยอดขาย ไปติดต่อขอเช่าบูทจาก Organize กลับต้องเจอค่าเช่าจัดงานที่แพงกว่า การออกบูทครั้งแรกๆ ทั้งๆที่ เจ้าหน้าที่ Organize ที่ทางห้างเรียก กับ เจ้าหน้าที่ห้างที่เราติดต่อครั้งแรกๆ ก็คือคนกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ
เกิดอะไรขึ้น ???
ทำไมเราจึงเห็นปรากฏการณ์นี้ซ้ำๆ แล้วเจ้าของห้างไม่เห็นเหรอ ว่าสร้างรูปแบบนี้แล้วจะหงอย ร้านจะเหงา เห็นแล้วทำไมยังสร้างกันอยู่ ห้างทุกห้างก่อนการก่อสร้าง มีการวิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ กันทุกห้าง ตั้งแต่ สถานการณ์ที่ดี ดีมากๆ แย่ แย่มากๆ ทุกสถานการณ์ที่ประเมินกัน วิเคราะห์กัน ตัวห้างต้องมีกำไร มีแผนหนึ่งแผนสองรองรับการเรียบร้อยหมดแล้ว ไม่เพลี่ยงพล้ำแน่นอน
แต่ร้านค้าไม่ใช่ ห้างมองสิ่งที่ตัวเองก่อสร้างเป็นการลงทุนสร้างผลกำไรในระยะยาว เพราะเขาไม่ได้เช่า แต่ร้านค้ามองการลงทุนในระยะสั้นแค่ในระยะเวลาที่เช่า มันต่างกัน ห้างที่ก่อสร้างแล้วโง่จริง เจ๊งจริงก็มี ห้างที่แกล้งโง่ก็มี พาร้านค้าไปเจ๊งก็เยอะ ขุดหลุมพรางแล้วทำกำไรจาก รอบค่าเช่า ก็มีให้เห็น ทางออกของร้านค้าเช่าที่จะไม่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ร้านค้าต้องประเมินศักยภาพของตนเอง ไม่มองบวก ไม่มองลบ ต้องมองทุกอย่างบนพื้นฐานความจริง ก่อนการตัดสินใจลงทุนในทุกครั้ง ให้ลองสมมติตัวคุณเองเป็นคนซื้อ แล้วมีห้างประมาณนี้, Concept ประมาณนี้ จะมาเปิดใหม่ใกล้บ้านคุณ
คุณจะเข้ามาใช้บริการด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
คุณจะเข้ามาใช้บริการบ่อยแค่ไหน เพราะเหตุใด
แล้วถ้าคุณจะซื้อสินค้ามั๊ย เพราะเหตุใด
ถ้าคุณซื้อ คุณจะซื้อเท่าไร เพราะเหตุใด
ถ้าคุณไม่ซื้อ คุณจะไม่ซื้อ เพราะเหตุใด
แล้วถ้าคุณซื้อ คุณจะซื้อสินค้าในร้านค้าตัวเอง ที่เตรียมจะลงทุนด้วยไม่ เพราะเหตุใด
นำทุกอย่างที่คุณคิด กำหนดเป็นตัวเลข แล้วบันทึกเป็นรายรับ แล้วเอาค่าเช่าในใบเสนอราคาที่ห้างให้มา บันทึกลงไปด้วย หักลบกลบกัน แล้วตัดสินใจเบื้องต้นได้เลย แต่ยังไม่ต้องลงทุนจริง ให้รอครับ รอวันที่ห้างนั้นเปิดจริง แล้วเข้าไปใช้บริการ จากนั้นอีก 3 เดือน 6 เดือน ให้เข้าไปใช้บริการดูอีกครั้ง เข้าไปดูในตำแหน่งร้านค้าที่คุณคิดว่าจะลงทุนจริง ว่าเป็นอย่างไร คำตอบที่คุณคิดไว้ก่อนหน้านี้ กับ คำตอบจริง ก็จะปรากฎเปรียบเทียบกันทันที
นี่คือตัวอย่างของภาพจริงวันนี้ ที่อาจจะเป็นคนละภาพกันกับ
ภาพของผู้ที่ตัดสินใจลงทุนไปแล้วก่อนหน้านี้