สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
คำตอบด้านบนยังไม่ค่อยชัดเจนนะผมว่า
เอาแบบสั้นๆง่ายๆเลย ผู้เสียชีวิต มีทรัพย์สินเป็นกองมรดกแค่ไหนต้องเอาไปใช้หนี้ก่อนที่จะไปให้ทายาทมรดกได้แบ่งกัน
ถ้าหนี้มากกว่ากองมรดก เจ้าหนี้ก็ต้องเอาเท่าที่ทรัพย์สินที่มี ทายาทไม่ต้องชดใช้แทน
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าถ้าหนี้เยอะกว่ากองมรดก เราก็เลือกไม่รับมรดกจะได้ไม่ต้องรับหนี้ ไม่ใช่อย่างนั้นครับ
ส่วนคห. 3 ผมมองว่าเขียนแบบนั้น จขกท.จะเข้าใจผิดคิดว่าเขาต้องรับผิดชอบคนเดียว คือเรายังไม่รู้เลยว่ามีทายาทกี่คนครับ
ในกรณีที่หนี้เยอะกว่ามูลค่าของกองมรดก กรณีที่จะต้องระวังคือเจ้าหนี้พยายามทำให้ทายาทเข้าใจว่าเราต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนนี้ไม่ว่ากองมรดกจะมีพอหรือไม่โดยให้เซ็นยอมรับสภาพหนี้ คือพยายามทำให้รู้สึกผิดหรือเข้าใจไปว่าเราต้อวรับผิดชอบจริงๆ ถ้าเซ็นก็ต้องรับหนี้ไปครับ
เอาแบบสั้นๆง่ายๆเลย ผู้เสียชีวิต มีทรัพย์สินเป็นกองมรดกแค่ไหนต้องเอาไปใช้หนี้ก่อนที่จะไปให้ทายาทมรดกได้แบ่งกัน
ถ้าหนี้มากกว่ากองมรดก เจ้าหนี้ก็ต้องเอาเท่าที่ทรัพย์สินที่มี ทายาทไม่ต้องชดใช้แทน
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าถ้าหนี้เยอะกว่ากองมรดก เราก็เลือกไม่รับมรดกจะได้ไม่ต้องรับหนี้ ไม่ใช่อย่างนั้นครับ
ส่วนคห. 3 ผมมองว่าเขียนแบบนั้น จขกท.จะเข้าใจผิดคิดว่าเขาต้องรับผิดชอบคนเดียว คือเรายังไม่รู้เลยว่ามีทายาทกี่คนครับ
ในกรณีที่หนี้เยอะกว่ามูลค่าของกองมรดก กรณีที่จะต้องระวังคือเจ้าหนี้พยายามทำให้ทายาทเข้าใจว่าเราต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนนี้ไม่ว่ากองมรดกจะมีพอหรือไม่โดยให้เซ็นยอมรับสภาพหนี้ คือพยายามทำให้รู้สึกผิดหรือเข้าใจไปว่าเราต้อวรับผิดชอบจริงๆ ถ้าเซ็นก็ต้องรับหนี้ไปครับ
แสดงความคิดเห็น
ถ้าพ่อกู้เงินแล้วพ่อตาย เราจะต้องใช้หนี้แทนไหมครับ
แล้วถ้ามช้หนี้ จะมีวิธีใดบ้างอ่ะครับที่ไม่ต้องใช้ หรือ มีแบบ เซ็นต์สัญญาตัดขาดกันระหว่างพ่อ-ลูก ได้ อะไรทำนองนี้