อ้างอิง
https://www.facebook.com/PhraAjarnSuchart/posts/519638431563583
------
“การพลัดพราก”
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพุทธศาสนิกชนให้หมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่าเราเกิดมาแล้วย่อมมีการพลัดพราก จากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ นี่คือความจริงของชีวิตของทุกๆชีวิต ไม่ว่าจะสูงจะต่ำจะรวยจะจน จะฉลาดหรือโง่จะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ถ้าไม่พิจารณาอยู่เนื่องๆใจจะหลงจะลืมจะคิดว่าจะอยู่ร่วมกันไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด พอถึงเวลา ที่จะต้องพลัดพรากจากกันก็จะเกิดความทุกข์ใจเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา แต่ถ้าหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ จะไม่หลงจะไม่ลืมจะเตรียมตัวเตรียมใจจะไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่างๆ กับบุคคลต่างๆ เพราะรู้ว่าไม่ช้าก็เร็ว จะต้องจากกันอย่างแน่นอน
นี่คือธรรมที่สำคัญเพราะจะปกป้องจิตใจไม่ให้ทุกข์กับการพลัดพรากจากกันจากการสูญเสียสิ่งต่างๆไป การพิจารณาก็ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ที่เรารักหรือเราชัง เพราะบุคคลที่เรารัก หรือสิ่งที่เรารักนี้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรานั่นเอง สำหรับสิ่งที่เราไม่รักไม่ชัง บุคคลที่เราไม่รักไม่ชังนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา เขาจะมาเขาจะไปไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่เรารักสิ่งที่เรารัก ถ้าเขาจากเราไป เราจะเดือดร้อน เราจะวุ่นวายใจ หรือสิ่งที่เราชัง บุคคลที่เราชัง เวลาจะต้องอยู่กับเขา เราก็วุ่นวายใจ ไม่สบายใจ เราต้องพิจารณาว่าไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องจากเราไปอยู่ดี ในขณะที่เขาอยู่ เราไม่สามารถที่จะให้เขาไปได้ เราก็ต้องทำใจ สำหรับคนที่เราหรือสิ่งที่เรารัก ถ้าเขาอยู่กับเรา เราก็จะดีใจมีความสุข แต่เราก็จะไม่สามารถสั่งให้เขาอยู่กับเราไปได้ตลอด ไม่ช้าก็เร็ว ไม่เขาก็เราก็ต้องจากกันไปอยู่ดี
นี่คือสิ่งที่เราต้องหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ถามตัวเราเองว่าเรารักใคร เราชอบใครเราอยากให้เขาอยู่กับเรา ไปนานๆใช่ไหม แต่เขาจะอยู่กับเราไปนานๆได้หรือเปล่า หรือเราจะอยู่กับเขาไปนานๆได้หรือเปล่า เรากับเขาจะไม่มีวันจะต้องจากกันไปหรืออย่างไร ถ้ามันมาถึงวันนั้นวันที่จะต้องมีการจากกัน เราจะทำใจอย่างไร ถ้าเราหมั่นคอยเตือนใจสอนใจ ถึงความเป็นจริงอันนี้ว่าจะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นสามีเป็นภรรยา เป็นบุตรเป็นธิดา เป็นญาติสนิทมิตรสหายหรือเป็นสิ่งของต่างๆ เช่นลาภ ยศสรรเสริญ สุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นสิ่งที่จะต้องมีการพลัดพรากจากกันอย่างแน่นอน ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง ถ้าเราหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เราจะเตรียมตัวเตรียมใจและปรับใจของเรา หัดอยู่แบบไม่ต้องมีเขาให้ได้ ไม่ต้องมีลาภยศ สรรเสริญ สุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องมีสามีภรรยา ไม่ต้องมีบุตรธิดา ไม่ต้องมีญาติพี่น้อง อยู่ตัวคนเดียวนี่แหละดีที่สุด แม้แต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไป
การอยู่คนเดียวนี้หมายถึงว่าแม้แต่ไม่มีร่างกายก็ยังอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แม้เเต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไปเช่นเดียวกัน และการที่เราจะอยู่คนเดียวได้โดยที่ไม่ต้องมีบุคคลต่างๆ ไม่ต้องมีสิ่งต่างๆ เราต้องมีธรรมเท่านั้นถึงจะทำให้เรา อยู่คนเดียวได้ อยู่ตามลำพังได้ “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ” เราต้องมีธรรมเป็นที่พึ่ง ถ้าเรามีธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว เราไม่ต้องพึ่งสิ่งต่างๆ ไม่ต้องพึ่งบุคคลต่างๆ ไม่ต้องพึ่งลาภยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องพึ่งพ่อพึ่งแม่ พึ่งสามีพึ่งภรรยา พึ่งบุตรธิดา พึ่งญาติสนิทมิตรสหาย พึ่งร่างกายของเราเอง เพราะเขาเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ถาวร ไม่ช้าก็เร็วเขาก็จะต้องจากเราไป และเวลาที่เขาจากเราไป เราไม่มีที่พึ่งเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องเดือดร้อน จนกว่าเราจะหาที่พึ่งใหม่ได้ เช่นสามีจากไป ถ้ายังต้องการมีสามีก็ต้องไปหา สามีใหม่ ลูกจากไป ถ้ายังอยากจะมีลูกก็ต้องหาลูกมาใหม่ ถ้าคลอดเองไม่ได้ก็ไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูก เพราะเรายังพึ่งสิ่งเหล่านี้ เพื่อมาให้ความสุขกับเรานั่นเอง เพราะว่าเราไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ไม่มีธัมมัง สรณัง คัจฉามิ เป็นที่พึ่ง ถ้าเรามีธัมมัง สรณัง คัจฉามิเป็นที่พึ่งแล้วเราไม่ต้องพึ่งอะไร ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องพึ่งลาภยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องพึ่งทรัพย์สมบัติ ไม่ต้องพึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องพึ่งร่างกายคือชีวิตอันนี้
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้สละให้หมด สละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง สละอวัยวะคือความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และให้สละชีวิตสละร่างกายอันนี้ถ้ามันต้องไปให้มันไปไม่ต้องไปพึ่งมัน มันไม่ใช่เป็นที่พึ่ง มันเป็นภาระ หะเว ปัญจักขันธา มันเป็นภาระที่ใจจะต้องแบกตั้งแต่วันเกิดไปจนถึงวันตาย ผู้ฉลาดนี้จึงไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาแบก ภาระ หะเว ปัญจักขันธา อันนี้ ไม่มาแบกรูปขันธ์นี้ เพราะว่ามันเป็นทุกข์นั่งเอง ตั้งแต่เกิดมานี้ก็ต้องทุกข์แล้ว ทุกข์กับการหายใจเข้าออก ทุกข์กับการหาอาหาร หาน้ำอะไรต่างๆ มาดูแลเลี้ยงดูร่างกาย แล้วก็ต้องมาทุกข์กับความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์กับความชราภาพของร่างกาย แล้วก็มาทุกข์กับความตายของร่างกาย พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่าอย่าไปยึดอย่าไปติดให้สละให้หมด ทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน เวลาทรัพย์หมดไปก็ต้องวุ่นวายเดือดร้อน เวลาอวัยวะเสื่อมไป เวลาตา หู จมูก ลิ้น กายเสื่อมไปก็เดือดร้อน เวลาร่างกายตายไปก็เดือดร้อน ดังนั้นอย่าไปพึ่งสิ่งเหล่านี้ให้มาพึ่งธรรมะ
นี่คือความหมายของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนให้ละ ให้สละทรัพย์ สละอวัยวะ สละร่างกาย เพราะถ้าไม่สละก็ยังจะยึดติดกับสิ่งเหล่านี้อยู่ เมื่อยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่สามารถไปสร้างธรรมะให้เป็นธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ขึ้นมาได้นั่นเอง ผู้ที่ต้องการธัมมัง สรณัง คัจฉามิ จึงต้องละทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยการพิจารณาอยู่เนืองๆว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นไป ถ้าเราเห็นการพลัดพรากอยู่เรื่อยๆ เราก็จะเห็นโทษของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เห็นความทุกข์ที่เกิดจากการไปยึดไปติดไปพึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาให้ความสุข เพราะเวลาที่เขาพลัดพรากจากไป ความสุขที่ได้จากสิ่งเหล่านี้ก็จะหายไป แล้วก็จะเหลืออยู่แต่ความอยากได้กลับคืนมา เวลาไม่ได้ก็จะทุกข์ทรมานใจ อย่างมีนิทานอยู่เรื่องหนึ่ง ในสมัยพระพุทธกาล มีแม่คนหนึ่งคลอดลูกออกมาเล็กๆ อายุไม่กี่วัน ก็เสียชีวิตไป แม่ที่รักลูก ก็อยากจะให้ลูกฟื้นกลับคืนมา ร้องห่มร้องไห้นอนกอดลูก ไม่ยอมไปทำอะไร ชาวบ้านเห็นเข้าก็สงสารก็เลยบอกว่าให้ไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะช่วยเธอได้ เธอก็คิดว่าพระพุทธเจ้าจะทำให้ลุกของเธอฟื้นกลับคืนมา เธอก็เกิดมีความดีใจ มีกำลังใจ อุ้มลูกไปหาพระพุทธเจ้า ไปกราบพระพุทธเจ้าแล้วก็กราบขอพรจากพระพุทธเจ้า ว่าขอให้พระพุทธเจ้าช่วยทำให้ลูกของเธอฟื้นกลับคืนมา พระพุทธเจ้าทรงตอบไปว่า อ๋อ ง่ายมากเรื่องอย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหญ่โตอะไร เพียงแต่ว่าเธอต้องไปหาเมล็ดผักกาดมาให้เราสักกำมือหนึ่ง และเมล็ดผักกาดนี้จะต้องมาจากบ้านที่ไม่มีการพลัดพรากจากกัน ไม่มีคนตายจากกัน พอเธอได้ยินอย่างนั้นเธอก็รีบกลับไปที่หมู่บ้าน เพื่อที่จะไปขอเมล็ดผักกาดจากเพื่อนบ้านมา พอเธอเคาะประตูถามบ้านแรกถามว่ามีเมล็ดผักกาดหรือเปล่า เขาก็ตอบว่ามี แล้วมีคนที่ตาย มีคนที่พลัดพรากกันในบ้านนี้หรือเปล่า เขาก็บอกว่ามี ไปบ้านที่สอง บ้านที่สาม จนถึงบ้านสุดท้ายก็มีคำตอบเหมือนกันหมด ทุกคนทุกบ้านนี้มีการพลัดพรากจากการกัน ไม่ปู่ ไม่ย่า ไม่ตาก็ยายหรือทวด ไม่พี่ก็น้า อา ไม่ก็น้อง ไม่ก็ลูก ไม่ก็หลาน มีการพลัดพรากจากกันทุกบ้าน ไม่มีบ้านไหนไม่มีการพลัดพรากการกัน พอเธอได้พบกับความจริงอันนี้ เธอก็มองกลับมาที่ตัวเธอเองแล้วก็พิจารณาว่าเราก็เป็นเหมือนเขา เขาก็เป็นเหมือนเรา เราก็ไม่ได้เป็นคนที่สูญเสียเพียงคนเดียว ทุกๆคนนี้ก็มีการสูญเสียด้วยกันทั้งนั้นเสียมากเสียน้อยเสียช้าก็เร็ว ไม่ช้าก็เร็วต้องเสียไป ถึงแม้ว่าลูกคนนี้จะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวในที่สุดเขาก็ต้องแก่ตายไปอยู่ดี พอเธอพิจารณาความจริงอันนี้ได้ ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากความอยากให้ลูกฟื้นคืนมาก็หมดไป ความทุกข์ใจก็หมดไป เพราะเห็นสัจจธรรมความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นของชั่วคราวมีวันที่จะต้องหมด มีวันที่จะต้องจากกันไป มาทุกข์กับเขา มันก็เป็นความโง่เขลาเบาปัญญา
นี่คือสิ่งที่ทำให้คนเราหายทุกข์ได้ เวลาที่จะต้องเผชิญกับการพลัดพรากจากกัน ก็คือต้องยอมต้องเห็นความจริงและต้องยอมรับความจริงอันนี้ ไม่ฝืนไม่ต่อต้านความจริง เพราะพวกเราที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ มีความเสมอภาคในเรื่องของการสูญเสีย เสียกันหมดทุกคน ได้มากได้น้อยก็ต้องเสียกันไปหมด เพราะทุกคนก็มาตัวเปล่าๆ และเวลาไปก็ไปตัวเปล่าๆ ผู้ที่มานี้ก็คือจิตนี่เอง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘
“การพลัดพราก”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
*** ศึกษาธรรมตามกาล...."การพลัดพราก"...***
https://www.facebook.com/PhraAjarnSuchart/posts/519638431563583
------
“การพลัดพราก”
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพุทธศาสนิกชนให้หมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่าเราเกิดมาแล้วย่อมมีการพลัดพราก จากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ นี่คือความจริงของชีวิตของทุกๆชีวิต ไม่ว่าจะสูงจะต่ำจะรวยจะจน จะฉลาดหรือโง่จะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ถ้าไม่พิจารณาอยู่เนื่องๆใจจะหลงจะลืมจะคิดว่าจะอยู่ร่วมกันไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด พอถึงเวลา ที่จะต้องพลัดพรากจากกันก็จะเกิดความทุกข์ใจเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา แต่ถ้าหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ จะไม่หลงจะไม่ลืมจะเตรียมตัวเตรียมใจจะไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่างๆ กับบุคคลต่างๆ เพราะรู้ว่าไม่ช้าก็เร็ว จะต้องจากกันอย่างแน่นอน
นี่คือธรรมที่สำคัญเพราะจะปกป้องจิตใจไม่ให้ทุกข์กับการพลัดพรากจากกันจากการสูญเสียสิ่งต่างๆไป การพิจารณาก็ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ที่เรารักหรือเราชัง เพราะบุคคลที่เรารัก หรือสิ่งที่เรารักนี้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรานั่นเอง สำหรับสิ่งที่เราไม่รักไม่ชัง บุคคลที่เราไม่รักไม่ชังนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา เขาจะมาเขาจะไปไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่เรารักสิ่งที่เรารัก ถ้าเขาจากเราไป เราจะเดือดร้อน เราจะวุ่นวายใจ หรือสิ่งที่เราชัง บุคคลที่เราชัง เวลาจะต้องอยู่กับเขา เราก็วุ่นวายใจ ไม่สบายใจ เราต้องพิจารณาว่าไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องจากเราไปอยู่ดี ในขณะที่เขาอยู่ เราไม่สามารถที่จะให้เขาไปได้ เราก็ต้องทำใจ สำหรับคนที่เราหรือสิ่งที่เรารัก ถ้าเขาอยู่กับเรา เราก็จะดีใจมีความสุข แต่เราก็จะไม่สามารถสั่งให้เขาอยู่กับเราไปได้ตลอด ไม่ช้าก็เร็ว ไม่เขาก็เราก็ต้องจากกันไปอยู่ดี
นี่คือสิ่งที่เราต้องหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ถามตัวเราเองว่าเรารักใคร เราชอบใครเราอยากให้เขาอยู่กับเรา ไปนานๆใช่ไหม แต่เขาจะอยู่กับเราไปนานๆได้หรือเปล่า หรือเราจะอยู่กับเขาไปนานๆได้หรือเปล่า เรากับเขาจะไม่มีวันจะต้องจากกันไปหรืออย่างไร ถ้ามันมาถึงวันนั้นวันที่จะต้องมีการจากกัน เราจะทำใจอย่างไร ถ้าเราหมั่นคอยเตือนใจสอนใจ ถึงความเป็นจริงอันนี้ว่าจะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นสามีเป็นภรรยา เป็นบุตรเป็นธิดา เป็นญาติสนิทมิตรสหายหรือเป็นสิ่งของต่างๆ เช่นลาภ ยศสรรเสริญ สุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นสิ่งที่จะต้องมีการพลัดพรากจากกันอย่างแน่นอน ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง ถ้าเราหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เราจะเตรียมตัวเตรียมใจและปรับใจของเรา หัดอยู่แบบไม่ต้องมีเขาให้ได้ ไม่ต้องมีลาภยศ สรรเสริญ สุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องมีสามีภรรยา ไม่ต้องมีบุตรธิดา ไม่ต้องมีญาติพี่น้อง อยู่ตัวคนเดียวนี่แหละดีที่สุด แม้แต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไป
การอยู่คนเดียวนี้หมายถึงว่าแม้แต่ไม่มีร่างกายก็ยังอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แม้เเต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไปเช่นเดียวกัน และการที่เราจะอยู่คนเดียวได้โดยที่ไม่ต้องมีบุคคลต่างๆ ไม่ต้องมีสิ่งต่างๆ เราต้องมีธรรมเท่านั้นถึงจะทำให้เรา อยู่คนเดียวได้ อยู่ตามลำพังได้ “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ” เราต้องมีธรรมเป็นที่พึ่ง ถ้าเรามีธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว เราไม่ต้องพึ่งสิ่งต่างๆ ไม่ต้องพึ่งบุคคลต่างๆ ไม่ต้องพึ่งลาภยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องพึ่งพ่อพึ่งแม่ พึ่งสามีพึ่งภรรยา พึ่งบุตรธิดา พึ่งญาติสนิทมิตรสหาย พึ่งร่างกายของเราเอง เพราะเขาเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ถาวร ไม่ช้าก็เร็วเขาก็จะต้องจากเราไป และเวลาที่เขาจากเราไป เราไม่มีที่พึ่งเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องเดือดร้อน จนกว่าเราจะหาที่พึ่งใหม่ได้ เช่นสามีจากไป ถ้ายังต้องการมีสามีก็ต้องไปหา สามีใหม่ ลูกจากไป ถ้ายังอยากจะมีลูกก็ต้องหาลูกมาใหม่ ถ้าคลอดเองไม่ได้ก็ไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูก เพราะเรายังพึ่งสิ่งเหล่านี้ เพื่อมาให้ความสุขกับเรานั่นเอง เพราะว่าเราไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ไม่มีธัมมัง สรณัง คัจฉามิ เป็นที่พึ่ง ถ้าเรามีธัมมัง สรณัง คัจฉามิเป็นที่พึ่งแล้วเราไม่ต้องพึ่งอะไร ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องพึ่งลาภยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ต้องพึ่งทรัพย์สมบัติ ไม่ต้องพึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องพึ่งร่างกายคือชีวิตอันนี้
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้สละให้หมด สละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง สละอวัยวะคือความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และให้สละชีวิตสละร่างกายอันนี้ถ้ามันต้องไปให้มันไปไม่ต้องไปพึ่งมัน มันไม่ใช่เป็นที่พึ่ง มันเป็นภาระ หะเว ปัญจักขันธา มันเป็นภาระที่ใจจะต้องแบกตั้งแต่วันเกิดไปจนถึงวันตาย ผู้ฉลาดนี้จึงไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาแบก ภาระ หะเว ปัญจักขันธา อันนี้ ไม่มาแบกรูปขันธ์นี้ เพราะว่ามันเป็นทุกข์นั่งเอง ตั้งแต่เกิดมานี้ก็ต้องทุกข์แล้ว ทุกข์กับการหายใจเข้าออก ทุกข์กับการหาอาหาร หาน้ำอะไรต่างๆ มาดูแลเลี้ยงดูร่างกาย แล้วก็ต้องมาทุกข์กับความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์กับความชราภาพของร่างกาย แล้วก็มาทุกข์กับความตายของร่างกาย พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่าอย่าไปยึดอย่าไปติดให้สละให้หมด ทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน เวลาทรัพย์หมดไปก็ต้องวุ่นวายเดือดร้อน เวลาอวัยวะเสื่อมไป เวลาตา หู จมูก ลิ้น กายเสื่อมไปก็เดือดร้อน เวลาร่างกายตายไปก็เดือดร้อน ดังนั้นอย่าไปพึ่งสิ่งเหล่านี้ให้มาพึ่งธรรมะ
นี่คือความหมายของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนให้ละ ให้สละทรัพย์ สละอวัยวะ สละร่างกาย เพราะถ้าไม่สละก็ยังจะยึดติดกับสิ่งเหล่านี้อยู่ เมื่อยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่สามารถไปสร้างธรรมะให้เป็นธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ขึ้นมาได้นั่นเอง ผู้ที่ต้องการธัมมัง สรณัง คัจฉามิ จึงต้องละทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยการพิจารณาอยู่เนืองๆว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นไป ถ้าเราเห็นการพลัดพรากอยู่เรื่อยๆ เราก็จะเห็นโทษของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เห็นความทุกข์ที่เกิดจากการไปยึดไปติดไปพึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาให้ความสุข เพราะเวลาที่เขาพลัดพรากจากไป ความสุขที่ได้จากสิ่งเหล่านี้ก็จะหายไป แล้วก็จะเหลืออยู่แต่ความอยากได้กลับคืนมา เวลาไม่ได้ก็จะทุกข์ทรมานใจ อย่างมีนิทานอยู่เรื่องหนึ่ง ในสมัยพระพุทธกาล มีแม่คนหนึ่งคลอดลูกออกมาเล็กๆ อายุไม่กี่วัน ก็เสียชีวิตไป แม่ที่รักลูก ก็อยากจะให้ลูกฟื้นกลับคืนมา ร้องห่มร้องไห้นอนกอดลูก ไม่ยอมไปทำอะไร ชาวบ้านเห็นเข้าก็สงสารก็เลยบอกว่าให้ไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะช่วยเธอได้ เธอก็คิดว่าพระพุทธเจ้าจะทำให้ลุกของเธอฟื้นกลับคืนมา เธอก็เกิดมีความดีใจ มีกำลังใจ อุ้มลูกไปหาพระพุทธเจ้า ไปกราบพระพุทธเจ้าแล้วก็กราบขอพรจากพระพุทธเจ้า ว่าขอให้พระพุทธเจ้าช่วยทำให้ลูกของเธอฟื้นกลับคืนมา พระพุทธเจ้าทรงตอบไปว่า อ๋อ ง่ายมากเรื่องอย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหญ่โตอะไร เพียงแต่ว่าเธอต้องไปหาเมล็ดผักกาดมาให้เราสักกำมือหนึ่ง และเมล็ดผักกาดนี้จะต้องมาจากบ้านที่ไม่มีการพลัดพรากจากกัน ไม่มีคนตายจากกัน พอเธอได้ยินอย่างนั้นเธอก็รีบกลับไปที่หมู่บ้าน เพื่อที่จะไปขอเมล็ดผักกาดจากเพื่อนบ้านมา พอเธอเคาะประตูถามบ้านแรกถามว่ามีเมล็ดผักกาดหรือเปล่า เขาก็ตอบว่ามี แล้วมีคนที่ตาย มีคนที่พลัดพรากกันในบ้านนี้หรือเปล่า เขาก็บอกว่ามี ไปบ้านที่สอง บ้านที่สาม จนถึงบ้านสุดท้ายก็มีคำตอบเหมือนกันหมด ทุกคนทุกบ้านนี้มีการพลัดพรากจากการกัน ไม่ปู่ ไม่ย่า ไม่ตาก็ยายหรือทวด ไม่พี่ก็น้า อา ไม่ก็น้อง ไม่ก็ลูก ไม่ก็หลาน มีการพลัดพรากจากกันทุกบ้าน ไม่มีบ้านไหนไม่มีการพลัดพรากการกัน พอเธอได้พบกับความจริงอันนี้ เธอก็มองกลับมาที่ตัวเธอเองแล้วก็พิจารณาว่าเราก็เป็นเหมือนเขา เขาก็เป็นเหมือนเรา เราก็ไม่ได้เป็นคนที่สูญเสียเพียงคนเดียว ทุกๆคนนี้ก็มีการสูญเสียด้วยกันทั้งนั้นเสียมากเสียน้อยเสียช้าก็เร็ว ไม่ช้าก็เร็วต้องเสียไป ถึงแม้ว่าลูกคนนี้จะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวในที่สุดเขาก็ต้องแก่ตายไปอยู่ดี พอเธอพิจารณาความจริงอันนี้ได้ ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากความอยากให้ลูกฟื้นคืนมาก็หมดไป ความทุกข์ใจก็หมดไป เพราะเห็นสัจจธรรมความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นของชั่วคราวมีวันที่จะต้องหมด มีวันที่จะต้องจากกันไป มาทุกข์กับเขา มันก็เป็นความโง่เขลาเบาปัญญา
นี่คือสิ่งที่ทำให้คนเราหายทุกข์ได้ เวลาที่จะต้องเผชิญกับการพลัดพรากจากกัน ก็คือต้องยอมต้องเห็นความจริงและต้องยอมรับความจริงอันนี้ ไม่ฝืนไม่ต่อต้านความจริง เพราะพวกเราที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ มีความเสมอภาคในเรื่องของการสูญเสีย เสียกันหมดทุกคน ได้มากได้น้อยก็ต้องเสียกันไปหมด เพราะทุกคนก็มาตัวเปล่าๆ และเวลาไปก็ไปตัวเปล่าๆ ผู้ที่มานี้ก็คือจิตนี่เอง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘
“การพลัดพราก”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต