ทุจริตรถดับเพลิง ความเจ็บปวดของคนไทย จากระบบประชาธิปไตยแบบแม้วๆ

6,687 ล้านบาท ได้รถมิซู สตาด้า มาขับ  Facepalm

มีแฟนคลับคนไหนจะมาแก้ตัวให้ไหม
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
-27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะผู้ว่าฯ กทม.สมัยนั้น ลงนามในสัญญาซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐออสเตรีย

-6 กันยายน 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.

-27 กันยายน 2547 นายอภิรักษ์มอบหมายให้ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.ขณะนั้นให้ระงับการเปิดแอล/ซีที่ได้กระทำไปก่อนหน้านี้

-12 ตุลาคม 2547 นายอภิรักษ์มีหนังสือถึงมหาดไทย ขอให้มีการทบทวนเนื่องจากสัญญาการซื้อต่างตอบแทนได้ลงนามหลังสัญญาจัดซื้อไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับมีผู้ยื่นเรื่องราวต่อ ป.ป.ช. กทม.จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของการจัดซื้อก่อนโดยไม่อาจดำเนินการเปิดแอล/ซีได้

-16 ธันวาคม 2547 นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือแจ้ง กทม.ว่า ขอให้ทำการเปิดแอล/ซีเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง หลังเอกอัครราชทูตออสเตรียมีหนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศและสำเนาถึงมหาดไทยว่า กทม.ยังไม่เปิดแอล/ซี

-10 มกราคม 2548 นายอภิรักษ์มอบหมายให้ทำการเปิดแอล/ซร

-เดือนมกราคม 2549 รถและเรือดับเพลิงลอตแรกมาถึงไทย บริษัท เทพยนต์ฯ ได้รับมอบหมายให้นำไปเก็บไว้ที่โกดังเอกชนย่านบางบัวทอง

-12 พฤศจิกายน 2551 นายอภิรักษ์แถลงลาออกจากตำแหน่งหลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดคดีรถดับเพลิง

-ปี 2553 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ยื่นเรื่องต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขอยกเลิกสัญญารถดับเพลิง

-10 กันยายน 2556 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินลงโทษนายประชา จำคุก 12 ปี และพล.ต.ต.อธิลักษณ์ 10 ปี

-ปลายปี 2557 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมีผลตัดสินให้บริษัทสไตเออร์ฯ จ่าย 20.49 ล้านยูโร และให้ กทม.รับสินค้าทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่