สวัสดีครับ
ช่วงนี้ผมก็ห่างหายจากการตั้งกระทู้นาน ก็เพราะยุ่งและหมดมุกนั่นแหละครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาเท่าไหร่ ตันๆนึกเรื่องไม่ออกด้วย บางทีก็นึกช้ามาพิมพ์เอาย้อนหลัง ก็วันนี้ก็มีสิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับทีวีในประเทศญี่ปุ่นซักเล็กน้อยครับ รายละเอียดอาจไม่ลงลึกมาก แค่อธิบายในสิ่งที่เห็นครับ อ่านเพลินๆสบายๆ ซึ่งวันนี้ก็เกี่ยวกับบบบบ
"จังหวัดต่างกัน Content เดียวกัน แต่ภาพต่างกัน เอ๊ะ ยังไง?"
* ถ้าเกิดว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีข้อมูลใหม่เข้ามา หรือผมให้ข้อมูลผิดไป ก็จะมาแก้ในตัวกระทู้นี้ครับ โดยจะบอกใกล้ๆบริเวณที่แก้ว่ามีการแก้ไข
--------------------------------------------------------------------
ถ้าจำกระทู้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วของผมได้ ที่พูดถึงทีวีท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่แต่ละช่องใหญ่ในโตเกียว มีเครือข่ายสถานีโทรทัศน์อยู่ทั่วประเทศ แนวๆเดียวกับ NBT ของเมืองไทย พวกรายการก็จะมีทั้งที่ออกอากาศพร้อมโตเกียว (ซึ่งถือเป็น Feed ใหญ่), รายการเดียวกันแต่ออกคนละเวลา, รายการท้องถิ่นของตัวเอง (มีดึงจากจังหวัดข้างๆด้วย) หรือจะดึงข้ามเครือข่ายกันเลยก็ได้ เพราะอำนาจจะอยู่ที่ตัวช่องท้องถิ่นในการเลือก Content และช่องท้องถิ่นเองก็มีศักยภาพมากพอที่จะทำรายการออกมาได้เอง มาตรฐานสูงด้วย ด้วยเครื่องมือที่เรียกได้ว่าไม่น้อยกว่าในโตเกียว หรือจังหวัดใหญ่ๆในญี่ปุ่น
(ห้องควบคุมการออกอากาศ เรียกว่า Master Room [ญี่ปุ่นเค้าเรียกงี้] ของ Mie TV ช่องท้องถิ่นของ จ.Mie เครือข่ายอิสระด้วยนะ)
(ญี่ปุ่นเรียก Sabu-Con ห้องควบคุมการถ่ายทำประจำสตูดิโอ)
http://www.homemate-research-tv-station.com/dtl/740000051/imagelist/
(ช่องท้องถิ่น IAT ของ จ.Ishikawa [เครือ ANN] จังหวัดใหญ่ขึ้น สถานีใหญ่ขึ้น เป็นเครือของช่องใหญ่ ของก็เมพขึ้น อันนี้ใช้ Green Screen แล้วสร้าง CG ขึ้นมา)
แต่ประเด็นที่ผมจะพูดถึงไม่ได้พูดถึงตรงนั้น...
ผมสังเกตได้ถึงความต่าง เมื่อเปิดช่องจากโตเกียวกับโอซาก้า เทียบกัน ในรายการเดียวกัน
(ผมนั่งดู Oblivion อยู่ เสียงญี่ปุ่นนี่บั๊บ..... [ความตุ่นของสีไม่เกี่ยวนะครับ สถานีเค้าส่งมาจริงๆ ส่งเหมือนกันหมด])
(ซ้าย ytv โอซาก้า, ขวา Nippon TV โตเกียว)
(ละครเรื่องเดียวกัน)
โลโก้ต่างกัน แล้วไง มันก็ต้องต่างกันอยู่แล้ว ออกอากาศบนเครือข่ายไหนช่องไหน โลโก้ย่อมต่าง
(ต่างแค่โลโก้ ถ้ารายการเดียวกัน [รายการ Feed มาจากโตเกียว])
(ซ้าย TV Asahi โตเกียว, ขวา ABC โอซาก้า)
แต่ๆ..... มันมีความต่างที่สังเกตได้ ถ้าได้เห็นมันตอนเปิดเทียบกัน
เมื่อไม่กี่วันก่อน ไต้ฝุ่นลูกที่ 9 แถวโตเกียวจะได้รับผลกระทบ แต่โอซาก้าชิวๆ
(ซ้ายโตเกียว (TV Asahi) ขวาโอซาก้า (ABC))
รายการที่เห็น เป็นรายการข่าวเช้า ซึ่งทั่วประเทศจะเป็น Feed ภาพเดียวกันกับโตเกียว (หลายรายการข่าวของหลายๆช่อง ครึ่งหลังเป็นท้องถิ่นซึ่งแต่ละช่องทำข่าวกันเอง โมเดลนี้เกาหลีใต้ก็ใช้)
ช่องของโตเกียว จะขึ้น On-Screen โดยย่อภาพรายการ ขึ้นข้อมูลด้านข้างเกี่ยวกับไต้ฝุ่นลูกที่ 9 ที่กำลังเข้าโตเกียว โดยมีการอัพเดทข้อมูลตำแหน่งพายุตลอด ซึ่งตอนนั้นก็ขึ้นทุกช่องของโตเกียวเลย (ดูโอลิมปิกก็ขึ้นนะครับ โดนย่อจอยาวไป) แต่ช่องจากโอซาก้า ออกอากาศเต็มจอปกติ ไม่มีแจ้งเตือนเรื่องไต้ฝุ่น เพราะไม่มีผลกระทบอะไร
รวมถึงเรื่องนาฬิกาที่โตเกียวจะใช้คนละแบบกับโอซาก้า (อาจเพราะโตเกียวเป็น Feed หลัก ก็ดูดีกว่าของจังหวัดอื่นที่แค่ใส่นาฬิกาธรรมดาเข้ามา) ซึ่งนาฬิกาของแต่ละช่องนั้น จะมีรูปแบบ Font, ขนาด, ตำแหน่งที่ต่างกัน และที่ต้องต่างกันจริงๆเพราะมันจะพ่วงการแจ้งเตือนสภาพอากาศของท้องถิ่นด้วย เช่น ดูช่องของโตเกียว ก็จะแจ้งของโซนคันโต (เขตบริการเดียวกัน) ส่วนของโอซาก้าก็แจ้งของโซนคันไซไป
(เป็นรายการ Feed จากโตเกียว แต่เค้าไม่ไดแถมนาฬิกามาให้ โอซาก้าไม่ใส่นาฬิกามาให้เฉยเลย...)
อีกเรื่องคือโฆษณาครับ เท่าที่สังเกตดู ถ้าเป็นรายการเดียวกัน Content เดียวกัน ทั้งช่องต้นทาง และช่องท้องถิ่น โฆษณาจะคนละตัวครับ แต่ตอนตัดเข้าโฆษณา จะตัดเข้าพร้อมกัน กลับมาเข้ารายการพร้อมกัน...
คือว่ามีโฆษณาที่เหมือนกันก็มีครับ แต่ว่าส่วนใหญ่จะต่างกัน การจัดเวลาโฆษณานั้น ตัดเข้าโฆษณา เข้ารายการพร้อมกัน แต่โฆษณาคนละตัว บางทีก็ตัวโฆษณายาวไม่เท่ากันด้วย เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ (บางทีก็จังโฆษณาของทั้ง 2ช่อง ที่ Presenter คนเดียวกัน แต่สินค้าคนละตัวเงี้ย เออ แปลกดี) แต่ก็ตัดเข้ารายกาพร้อมกัน โดยของช่องท้องถิ่น ก็มีโฆษณาของท้องถิ่นปนมาบ้าง แล้วแต่ แต่เวลาตัดเข้ารายการ เปลี่ยนโฆษณา พร้อมกับต้นทางอย่างโตเกียวหรือโอซาก้าแน่นอน โฆษณาของญี่ปุ่นเค้าจะมีมาตรฐานความยาวแน่นอน ทำให้จัดเวลาง่ายครับ 15วิ, 30วิ, 1นาที
(รายการเดียวกัน แต่คนละช่อง คนละจังหวัด โฆษณาต่างกัน แต่ตัดเข้าตัดจบพร้อมกัน)
แต่ถ้าเป็นคนละรายการกัน (คนละรายการกันเลย) หรือว่าชื่อเหมือนกัน แต่ Content แยกช่องหลักกับช่องท้องถิ่น (เช่น ข่าวเย็น ที่แยกกันทำข่าว) การเข้าโฆษณาก็จะต่างกันบ้าง แต่เวลาในการโฆษณาจะเท่ากันครับ เท่าที่เคยดูไฟล์ ก็ไม่เกิน 12นาที/ชม. ตลอด
อีกเรื่องที่มีความต่างแม้รายการเดียวกัน คือแจ้งเตือนด้านบนจอครับ
แจ้งเตือนด้านบนจอ ปกติเราจะคิดว่ามีแต่แจ้งเตือนภัยพิบัติ แผ่นดินไหว สึนามิงี้ ใช่ครับ อันนั้นคือของหลักเลย แต่ก็มีแจ้งเตือนอย่างอื่นด้วย
เช่น ข่าวใหญ่ ข่าวสำคัญ ยกตัวอย่างตอนที่ประกาศว่าโตเกียว ได้เป็นเจ้าภาพ Tokyo 2020 เมื่อ 3ปีที่แล้ว ก็มีการขึ้นที่ด้านบนจอว่า ญี่ปุ่นได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ Tokyo 2020 โดยก่อนขึ้นข่าวก็จะขึ้นโลโก้ว่าส่งมาจากไหน โดยถ้าเป็นข่าวก็จะเป็น ANN ส่งเข้ามา (ANN เป็นเครือข่ายและเป็นสำนักข่าว พวกข่าวต่างๆเค้าจะแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย)
(ประมาณนาทีที่ 5.50 ครับ)
แต่ถ้าพวกแจ้งเตือนภัยพิบัติ แผ่นดินไหวงี้ ช่องท้องถิ่นจะส่งขึ้นช่องตัวเอง (ขึ้นโลโก้ช่องตัวเอง) ช่องท้องถิ่น จ. อื่นๆก็จะไม่ขึ้น ถ้าไม่ได้รับผลกระทบด้วย (แต่ถ้ามาแบบหนักๆ อันนี้ก็ขึ้นทั้งประเทศเลย // ดู Music Station คิวชูขึ้นเตือน โตเกียวไม่ขึ้น) โดยถ้าเป็นแผ่นดินไหว จะขึ้นว่าเกิดที่ไหน พื้นที่ไหนเกิดระดับไหน (เป็นหน่วยของญี่ปุ่นมี 7ระดับ) แล้วก็แจ้งว่าแรงกี่แมกนิจูด เกิดลึกกี่กิโลเมตร บริเวณไหน แต่ถ้าสึนามิ ก็จะขึ้นเป็นรูปประเทศญี่ปุ่นที่มุมจอ จะมีขอบสีบนแผนที่ มีสีเหลืองกับแดง พร้อมแจ้งเตือนว่าบริเวณไหนได้รับผลกระทบ คาดว่าจะมีคลื่นกี่เมตร
โดยถ้าไม่แรง เบาๆแบบระดับ 2-3 งี้ แทบไม่รู้สึก ก็อาจแค่เตือน (คนญี่ปุ่นที่ผมรู้จักบอกระดับ3-4 [จาก7] ยังชิวๆ ปกติ)
ถ้าหนักหน่อยก็ตัดเข้าข่าว พร้อมแจ้งตำแหน่ง แต่ตอนครั้งใหญ่ๆอย่าง Kumamoto ปีนี้ ก็ออกข่าวด่วนทั่วประเทศ
เท่าที่สังเกต NHK จะมาก่อนเพื่อน
(ระดับนี้ ชิวๆ แข่งเบสบอลต่อได้)
(อันนี้เตือน แต่ไม่ตัดเข้าข่าว)
ทั่วประเทศจะมีเครื่องวัดแรงแผ่นดินไหวกับสึนามิอยู่ทั่วเลยครับ ตัววัดจะลิ้งค์กับสถานีวัดความแรงแผ่นดินไหว ส่งข้อมูลให้สถานีโทรทัศน์, สถานีวิทยุ, เครือข่ายโทรศัพท์ ถ้าเกิดแต่ไม่เกิดผลกระทบ เช่น เกิดในทะเลเบาๆ ก็ไม่เตือน หรือแค่ขึ้นจอก็พอ ทุกข้อมูล สถานีต่างๆรับไปหมดครับ แต่ถ้าแรงถึงตัววัด ก็จะร้อง พวกมือถือก็จะร้องระงมแม้จะอยู่ในโหมดปิดเสียง
------------------
PTS ช่องสาธารณะไต้หวัน อัพช่องเป็น HD ทั้งเครือแล้ว
เมื่อ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เครือช่อง PTS ช่องสาธารณะของไต้หวัน และช่องทีวีอิสระ Hakka TV ได้ปรับไปออกอากาศ HD ครบ รวมทั้งเพิ่ม HD อิสระเพิ่มอีก 1ช่อง ทำให้จำนวนช่อง HD ในทีวีดิจิตอลไต้หวันเพิ่มเป็น 9 ช่อง
แต่เดิมมี HD 5 ช่อง คือ PTS HD, CTV HD, TTV HD, FSTV HD, FTV HD เริ่มออกอากาศ HD มาตั้งแต่กลางปี 2012 โดยเป็นการเปลี่ยนช่องหลักที่เป็น SD MPEG2 (PTS HD เป็นคนละตัวกับอนาล๊อก แต่ช่องอื่นๆเป็นตัวเดียวกัน) ไปเป็น HD MPEG4 ส่วนช่องอื่นๆ ก็เป็น SD MPEG2 เหมือนแต่เดิม
แต่เมื่อ 6 กรกฎาคม ทาง PTS ได้อัพช่องของตัวเองเป็น HD รวมถึงช่อง Hakka TV และช่องสำหรับคนถิ่นไต้หวันเดิม TITV ที่ออกอากาศทางเคเบิ้ลก็มาออกเป็นฟรีทีวีบนทีวีดิจิตอลด้วยแบบ HD (คนละอันกับ TITV เมืองไทยเด้อ) หลังจากทางกระทรวงการสื่อสารของไต้หวัน (NCC) อนุมัติให้สามารถอัพช่องได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
การจัดMux
PTS1 HD + PTS2 HD = CH26 Taipei (ย้าย Hakka อยู่ CH30)
PTS3 HD (PTS HD เดิม) + Hakka TV + TITV HD = CH30 Taipei (PTS HD เดิม อยู่ที่นี่นานแล้ว)
เท่าที่ผมตามข่าวมาล่าสุด NCC ก็เพิ่มอนุมัติให้ทำช่องแบบ 2 HD + 2 SD ได้ จากของเดิม ที่จะเป็น 1 HD + 3 SD (ทุกเครืออิงตามนี้มานานแล้ว) ติดตามต่อไปว่าฟรีทีวีเจ้าอื่นจะปรับตามใหม่หลังจากช่องสาธารณะเปิดก่อนแบบนี้ (DVB-T ไต้หวัน จะใช้ Modulate 64QAM ค่าต่ำสุด ประมาณ16Mbps ช่องสัญญาณ6MHz)
เรื่องเครื่องรับไม่ค่อยกังวลเพราะเครื่องรับ DVB-T ที่รองรับ MPEG4 ออกสู่ตลาดไต้หวันตั้งแต่ Hi HD เริ่มออกอากาศเมื่อปี 2006 นู่น ค่อยๆเยอะรุ่นไป หลังฟรีทีวีอื่นเริ่มทำ HD ก็มาทุกรุ่น ทีวีจอนูน (ไต้หวันยังใช้กันเยอะอยู่) ก็ใช้กล่องทีวีดิจิตอลที่รองรับ DVB-T MPEG4 คนใช้เคเบิ้ลทีวีไม่ได้รับผลกระทบ พูดง่ายๆคือ เกือบทุกบ้านพร้อมแล้วสำหรับ DVB-T MPEG4 การปรับครั้งนี้จึงไม่มีเสียงบ่นจากผู้ชมเลย
ต่างกับออสเตรเลีย ที่ไม่เคยนำร่อง MPEG4 มาก่อน รุ่นที่รองรับจริงๆก็จะเป็นรุ่น 2011+ ทั้งนั้น [เค้าใส่เผื่อมาให้] เก่ากว่านั้นมีแค่บางรุ่น เริ่มทำจึงมีโดนด่าเยอะ แต่ก็เริ่มซาด่าแล้ว ช่องอื่นๆก็ปรับตาม ตอนนี้ก็จะมี Nine HD, Ten HD, 7 HD ที่เอาช่องหลักมาทำ HD MPEG4 (SBS HD, ABC News24 HD เป็น HD MPEG2 อยู่)
http://eftm.com.au/2016/05/7hd-is-coming-its-official-your-tv-is-updating-as-you-read-this-27979
ปล.ในไต้หวัน ผมว่า PTS รายการดีสุดแล้วครับ รายการดีๆเพียบ HD ภาพชัด ทำไมฟรีทีวีเอกชนรายการ SD เพียบเลย งงเหมือนกัน โฆษณายังไม่ HD อีกบาน
(แต่ถ้า HD ก็แจ่มอยู่)
------------------
สักพักจะนอกเรื่องละครับ กระทู้ของวันนี้ก็มีประมาณนี้ครับ ควบข่าวมานิดนึงให้อยู่กระทู้เดียวกัน
ก็นานๆจะลงที ถ้านึกออกและว่างก็จะมาทำกระทู้ไว้อ่านกันครับ หลายๆเรื่องที่ผมตั้งกระทู้อาจมีอยู่ในตามเว็บแล้ว ตาม Blog ที่คนไทยในญี่ปุ่นทำมาก็อาจมีอยู่แล้ว แต่ตัวผมก็ไม่เคยไปญี่ปุ่นก็อาจจะรู้ไม่เท่ากับคนที่อยู่ที่นั่นจริงๆ
ก็ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ ถ้าชอบก็กด +, กดแสดงความรู้สึก ถ้ามีตรงไหนจะแก้ก็เม้นบอกได้นะครับ ถ้าข้อมูลในนี้มีผิดตรงไหน
ขอจบกระทู้ตรงนี้ครับ สวัสดีครับ
หมื่นตัวอักษรพอดี...
[ทีวีญี่ปุ่น] จังหวัดต่างกัน Content เดียวกัน แต่ภาพต่างกัน เอ๊ะ ยังไง? // [ทีวีไต้หวัน] PTS ช่องสาธารณะ อัพ HD ยกแผง
ช่วงนี้ผมก็ห่างหายจากการตั้งกระทู้นาน ก็เพราะยุ่งและหมดมุกนั่นแหละครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาเท่าไหร่ ตันๆนึกเรื่องไม่ออกด้วย บางทีก็นึกช้ามาพิมพ์เอาย้อนหลัง ก็วันนี้ก็มีสิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับทีวีในประเทศญี่ปุ่นซักเล็กน้อยครับ รายละเอียดอาจไม่ลงลึกมาก แค่อธิบายในสิ่งที่เห็นครับ อ่านเพลินๆสบายๆ ซึ่งวันนี้ก็เกี่ยวกับบบบบ
"จังหวัดต่างกัน Content เดียวกัน แต่ภาพต่างกัน เอ๊ะ ยังไง?"
* ถ้าเกิดว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีข้อมูลใหม่เข้ามา หรือผมให้ข้อมูลผิดไป ก็จะมาแก้ในตัวกระทู้นี้ครับ โดยจะบอกใกล้ๆบริเวณที่แก้ว่ามีการแก้ไข
--------------------------------------------------------------------
ถ้าจำกระทู้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วของผมได้ ที่พูดถึงทีวีท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่แต่ละช่องใหญ่ในโตเกียว มีเครือข่ายสถานีโทรทัศน์อยู่ทั่วประเทศ แนวๆเดียวกับ NBT ของเมืองไทย พวกรายการก็จะมีทั้งที่ออกอากาศพร้อมโตเกียว (ซึ่งถือเป็น Feed ใหญ่), รายการเดียวกันแต่ออกคนละเวลา, รายการท้องถิ่นของตัวเอง (มีดึงจากจังหวัดข้างๆด้วย) หรือจะดึงข้ามเครือข่ายกันเลยก็ได้ เพราะอำนาจจะอยู่ที่ตัวช่องท้องถิ่นในการเลือก Content และช่องท้องถิ่นเองก็มีศักยภาพมากพอที่จะทำรายการออกมาได้เอง มาตรฐานสูงด้วย ด้วยเครื่องมือที่เรียกได้ว่าไม่น้อยกว่าในโตเกียว หรือจังหวัดใหญ่ๆในญี่ปุ่น
(ห้องควบคุมการออกอากาศ เรียกว่า Master Room [ญี่ปุ่นเค้าเรียกงี้] ของ Mie TV ช่องท้องถิ่นของ จ.Mie เครือข่ายอิสระด้วยนะ)
(ญี่ปุ่นเรียก Sabu-Con ห้องควบคุมการถ่ายทำประจำสตูดิโอ)
http://www.homemate-research-tv-station.com/dtl/740000051/imagelist/
(ช่องท้องถิ่น IAT ของ จ.Ishikawa [เครือ ANN] จังหวัดใหญ่ขึ้น สถานีใหญ่ขึ้น เป็นเครือของช่องใหญ่ ของก็เมพขึ้น อันนี้ใช้ Green Screen แล้วสร้าง CG ขึ้นมา)
แต่ประเด็นที่ผมจะพูดถึงไม่ได้พูดถึงตรงนั้น...
ผมสังเกตได้ถึงความต่าง เมื่อเปิดช่องจากโตเกียวกับโอซาก้า เทียบกัน ในรายการเดียวกัน
(ผมนั่งดู Oblivion อยู่ เสียงญี่ปุ่นนี่บั๊บ..... [ความตุ่นของสีไม่เกี่ยวนะครับ สถานีเค้าส่งมาจริงๆ ส่งเหมือนกันหมด])
(ซ้าย ytv โอซาก้า, ขวา Nippon TV โตเกียว)
(ละครเรื่องเดียวกัน)
โลโก้ต่างกัน แล้วไง มันก็ต้องต่างกันอยู่แล้ว ออกอากาศบนเครือข่ายไหนช่องไหน โลโก้ย่อมต่าง
(ต่างแค่โลโก้ ถ้ารายการเดียวกัน [รายการ Feed มาจากโตเกียว])
(ซ้าย TV Asahi โตเกียว, ขวา ABC โอซาก้า)
แต่ๆ..... มันมีความต่างที่สังเกตได้ ถ้าได้เห็นมันตอนเปิดเทียบกัน
เมื่อไม่กี่วันก่อน ไต้ฝุ่นลูกที่ 9 แถวโตเกียวจะได้รับผลกระทบ แต่โอซาก้าชิวๆ
(ซ้ายโตเกียว (TV Asahi) ขวาโอซาก้า (ABC))
รายการที่เห็น เป็นรายการข่าวเช้า ซึ่งทั่วประเทศจะเป็น Feed ภาพเดียวกันกับโตเกียว (หลายรายการข่าวของหลายๆช่อง ครึ่งหลังเป็นท้องถิ่นซึ่งแต่ละช่องทำข่าวกันเอง โมเดลนี้เกาหลีใต้ก็ใช้)
ช่องของโตเกียว จะขึ้น On-Screen โดยย่อภาพรายการ ขึ้นข้อมูลด้านข้างเกี่ยวกับไต้ฝุ่นลูกที่ 9 ที่กำลังเข้าโตเกียว โดยมีการอัพเดทข้อมูลตำแหน่งพายุตลอด ซึ่งตอนนั้นก็ขึ้นทุกช่องของโตเกียวเลย (ดูโอลิมปิกก็ขึ้นนะครับ โดนย่อจอยาวไป) แต่ช่องจากโอซาก้า ออกอากาศเต็มจอปกติ ไม่มีแจ้งเตือนเรื่องไต้ฝุ่น เพราะไม่มีผลกระทบอะไร
รวมถึงเรื่องนาฬิกาที่โตเกียวจะใช้คนละแบบกับโอซาก้า (อาจเพราะโตเกียวเป็น Feed หลัก ก็ดูดีกว่าของจังหวัดอื่นที่แค่ใส่นาฬิกาธรรมดาเข้ามา) ซึ่งนาฬิกาของแต่ละช่องนั้น จะมีรูปแบบ Font, ขนาด, ตำแหน่งที่ต่างกัน และที่ต้องต่างกันจริงๆเพราะมันจะพ่วงการแจ้งเตือนสภาพอากาศของท้องถิ่นด้วย เช่น ดูช่องของโตเกียว ก็จะแจ้งของโซนคันโต (เขตบริการเดียวกัน) ส่วนของโอซาก้าก็แจ้งของโซนคันไซไป
(เป็นรายการ Feed จากโตเกียว แต่เค้าไม่ไดแถมนาฬิกามาให้ โอซาก้าไม่ใส่นาฬิกามาให้เฉยเลย...)
อีกเรื่องคือโฆษณาครับ เท่าที่สังเกตดู ถ้าเป็นรายการเดียวกัน Content เดียวกัน ทั้งช่องต้นทาง และช่องท้องถิ่น โฆษณาจะคนละตัวครับ แต่ตอนตัดเข้าโฆษณา จะตัดเข้าพร้อมกัน กลับมาเข้ารายการพร้อมกัน...
คือว่ามีโฆษณาที่เหมือนกันก็มีครับ แต่ว่าส่วนใหญ่จะต่างกัน การจัดเวลาโฆษณานั้น ตัดเข้าโฆษณา เข้ารายการพร้อมกัน แต่โฆษณาคนละตัว บางทีก็ตัวโฆษณายาวไม่เท่ากันด้วย เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ (บางทีก็จังโฆษณาของทั้ง 2ช่อง ที่ Presenter คนเดียวกัน แต่สินค้าคนละตัวเงี้ย เออ แปลกดี) แต่ก็ตัดเข้ารายกาพร้อมกัน โดยของช่องท้องถิ่น ก็มีโฆษณาของท้องถิ่นปนมาบ้าง แล้วแต่ แต่เวลาตัดเข้ารายการ เปลี่ยนโฆษณา พร้อมกับต้นทางอย่างโตเกียวหรือโอซาก้าแน่นอน โฆษณาของญี่ปุ่นเค้าจะมีมาตรฐานความยาวแน่นอน ทำให้จัดเวลาง่ายครับ 15วิ, 30วิ, 1นาที
(รายการเดียวกัน แต่คนละช่อง คนละจังหวัด โฆษณาต่างกัน แต่ตัดเข้าตัดจบพร้อมกัน)
แต่ถ้าเป็นคนละรายการกัน (คนละรายการกันเลย) หรือว่าชื่อเหมือนกัน แต่ Content แยกช่องหลักกับช่องท้องถิ่น (เช่น ข่าวเย็น ที่แยกกันทำข่าว) การเข้าโฆษณาก็จะต่างกันบ้าง แต่เวลาในการโฆษณาจะเท่ากันครับ เท่าที่เคยดูไฟล์ ก็ไม่เกิน 12นาที/ชม. ตลอด
อีกเรื่องที่มีความต่างแม้รายการเดียวกัน คือแจ้งเตือนด้านบนจอครับ
แจ้งเตือนด้านบนจอ ปกติเราจะคิดว่ามีแต่แจ้งเตือนภัยพิบัติ แผ่นดินไหว สึนามิงี้ ใช่ครับ อันนั้นคือของหลักเลย แต่ก็มีแจ้งเตือนอย่างอื่นด้วย
เช่น ข่าวใหญ่ ข่าวสำคัญ ยกตัวอย่างตอนที่ประกาศว่าโตเกียว ได้เป็นเจ้าภาพ Tokyo 2020 เมื่อ 3ปีที่แล้ว ก็มีการขึ้นที่ด้านบนจอว่า ญี่ปุ่นได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ Tokyo 2020 โดยก่อนขึ้นข่าวก็จะขึ้นโลโก้ว่าส่งมาจากไหน โดยถ้าเป็นข่าวก็จะเป็น ANN ส่งเข้ามา (ANN เป็นเครือข่ายและเป็นสำนักข่าว พวกข่าวต่างๆเค้าจะแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย)
(ประมาณนาทีที่ 5.50 ครับ)
แต่ถ้าพวกแจ้งเตือนภัยพิบัติ แผ่นดินไหวงี้ ช่องท้องถิ่นจะส่งขึ้นช่องตัวเอง (ขึ้นโลโก้ช่องตัวเอง) ช่องท้องถิ่น จ. อื่นๆก็จะไม่ขึ้น ถ้าไม่ได้รับผลกระทบด้วย (แต่ถ้ามาแบบหนักๆ อันนี้ก็ขึ้นทั้งประเทศเลย // ดู Music Station คิวชูขึ้นเตือน โตเกียวไม่ขึ้น) โดยถ้าเป็นแผ่นดินไหว จะขึ้นว่าเกิดที่ไหน พื้นที่ไหนเกิดระดับไหน (เป็นหน่วยของญี่ปุ่นมี 7ระดับ) แล้วก็แจ้งว่าแรงกี่แมกนิจูด เกิดลึกกี่กิโลเมตร บริเวณไหน แต่ถ้าสึนามิ ก็จะขึ้นเป็นรูปประเทศญี่ปุ่นที่มุมจอ จะมีขอบสีบนแผนที่ มีสีเหลืองกับแดง พร้อมแจ้งเตือนว่าบริเวณไหนได้รับผลกระทบ คาดว่าจะมีคลื่นกี่เมตร
โดยถ้าไม่แรง เบาๆแบบระดับ 2-3 งี้ แทบไม่รู้สึก ก็อาจแค่เตือน (คนญี่ปุ่นที่ผมรู้จักบอกระดับ3-4 [จาก7] ยังชิวๆ ปกติ)
ถ้าหนักหน่อยก็ตัดเข้าข่าว พร้อมแจ้งตำแหน่ง แต่ตอนครั้งใหญ่ๆอย่าง Kumamoto ปีนี้ ก็ออกข่าวด่วนทั่วประเทศ
เท่าที่สังเกต NHK จะมาก่อนเพื่อน
(ระดับนี้ ชิวๆ แข่งเบสบอลต่อได้)
(อันนี้เตือน แต่ไม่ตัดเข้าข่าว)
ทั่วประเทศจะมีเครื่องวัดแรงแผ่นดินไหวกับสึนามิอยู่ทั่วเลยครับ ตัววัดจะลิ้งค์กับสถานีวัดความแรงแผ่นดินไหว ส่งข้อมูลให้สถานีโทรทัศน์, สถานีวิทยุ, เครือข่ายโทรศัพท์ ถ้าเกิดแต่ไม่เกิดผลกระทบ เช่น เกิดในทะเลเบาๆ ก็ไม่เตือน หรือแค่ขึ้นจอก็พอ ทุกข้อมูล สถานีต่างๆรับไปหมดครับ แต่ถ้าแรงถึงตัววัด ก็จะร้อง พวกมือถือก็จะร้องระงมแม้จะอยู่ในโหมดปิดเสียง
------------------
PTS ช่องสาธารณะไต้หวัน อัพช่องเป็น HD ทั้งเครือแล้ว
เมื่อ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เครือช่อง PTS ช่องสาธารณะของไต้หวัน และช่องทีวีอิสระ Hakka TV ได้ปรับไปออกอากาศ HD ครบ รวมทั้งเพิ่ม HD อิสระเพิ่มอีก 1ช่อง ทำให้จำนวนช่อง HD ในทีวีดิจิตอลไต้หวันเพิ่มเป็น 9 ช่อง
แต่เดิมมี HD 5 ช่อง คือ PTS HD, CTV HD, TTV HD, FSTV HD, FTV HD เริ่มออกอากาศ HD มาตั้งแต่กลางปี 2012 โดยเป็นการเปลี่ยนช่องหลักที่เป็น SD MPEG2 (PTS HD เป็นคนละตัวกับอนาล๊อก แต่ช่องอื่นๆเป็นตัวเดียวกัน) ไปเป็น HD MPEG4 ส่วนช่องอื่นๆ ก็เป็น SD MPEG2 เหมือนแต่เดิม
แต่เมื่อ 6 กรกฎาคม ทาง PTS ได้อัพช่องของตัวเองเป็น HD รวมถึงช่อง Hakka TV และช่องสำหรับคนถิ่นไต้หวันเดิม TITV ที่ออกอากาศทางเคเบิ้ลก็มาออกเป็นฟรีทีวีบนทีวีดิจิตอลด้วยแบบ HD (คนละอันกับ TITV เมืองไทยเด้อ) หลังจากทางกระทรวงการสื่อสารของไต้หวัน (NCC) อนุมัติให้สามารถอัพช่องได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
การจัดMux
PTS1 HD + PTS2 HD = CH26 Taipei (ย้าย Hakka อยู่ CH30)
PTS3 HD (PTS HD เดิม) + Hakka TV + TITV HD = CH30 Taipei (PTS HD เดิม อยู่ที่นี่นานแล้ว)
เท่าที่ผมตามข่าวมาล่าสุด NCC ก็เพิ่มอนุมัติให้ทำช่องแบบ 2 HD + 2 SD ได้ จากของเดิม ที่จะเป็น 1 HD + 3 SD (ทุกเครืออิงตามนี้มานานแล้ว) ติดตามต่อไปว่าฟรีทีวีเจ้าอื่นจะปรับตามใหม่หลังจากช่องสาธารณะเปิดก่อนแบบนี้ (DVB-T ไต้หวัน จะใช้ Modulate 64QAM ค่าต่ำสุด ประมาณ16Mbps ช่องสัญญาณ6MHz)
เรื่องเครื่องรับไม่ค่อยกังวลเพราะเครื่องรับ DVB-T ที่รองรับ MPEG4 ออกสู่ตลาดไต้หวันตั้งแต่ Hi HD เริ่มออกอากาศเมื่อปี 2006 นู่น ค่อยๆเยอะรุ่นไป หลังฟรีทีวีอื่นเริ่มทำ HD ก็มาทุกรุ่น ทีวีจอนูน (ไต้หวันยังใช้กันเยอะอยู่) ก็ใช้กล่องทีวีดิจิตอลที่รองรับ DVB-T MPEG4 คนใช้เคเบิ้ลทีวีไม่ได้รับผลกระทบ พูดง่ายๆคือ เกือบทุกบ้านพร้อมแล้วสำหรับ DVB-T MPEG4 การปรับครั้งนี้จึงไม่มีเสียงบ่นจากผู้ชมเลย
ต่างกับออสเตรเลีย ที่ไม่เคยนำร่อง MPEG4 มาก่อน รุ่นที่รองรับจริงๆก็จะเป็นรุ่น 2011+ ทั้งนั้น [เค้าใส่เผื่อมาให้] เก่ากว่านั้นมีแค่บางรุ่น เริ่มทำจึงมีโดนด่าเยอะ แต่ก็เริ่มซาด่าแล้ว ช่องอื่นๆก็ปรับตาม ตอนนี้ก็จะมี Nine HD, Ten HD, 7 HD ที่เอาช่องหลักมาทำ HD MPEG4 (SBS HD, ABC News24 HD เป็น HD MPEG2 อยู่)
http://eftm.com.au/2016/05/7hd-is-coming-its-official-your-tv-is-updating-as-you-read-this-27979
ปล.ในไต้หวัน ผมว่า PTS รายการดีสุดแล้วครับ รายการดีๆเพียบ HD ภาพชัด ทำไมฟรีทีวีเอกชนรายการ SD เพียบเลย งงเหมือนกัน โฆษณายังไม่ HD อีกบาน
(แต่ถ้า HD ก็แจ่มอยู่)
------------------
สักพักจะนอกเรื่องละครับ กระทู้ของวันนี้ก็มีประมาณนี้ครับ ควบข่าวมานิดนึงให้อยู่กระทู้เดียวกัน
ก็นานๆจะลงที ถ้านึกออกและว่างก็จะมาทำกระทู้ไว้อ่านกันครับ หลายๆเรื่องที่ผมตั้งกระทู้อาจมีอยู่ในตามเว็บแล้ว ตาม Blog ที่คนไทยในญี่ปุ่นทำมาก็อาจมีอยู่แล้ว แต่ตัวผมก็ไม่เคยไปญี่ปุ่นก็อาจจะรู้ไม่เท่ากับคนที่อยู่ที่นั่นจริงๆ
ก็ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ ถ้าชอบก็กด +, กดแสดงความรู้สึก ถ้ามีตรงไหนจะแก้ก็เม้นบอกได้นะครับ ถ้าข้อมูลในนี้มีผิดตรงไหน
ขอจบกระทู้ตรงนี้ครับ สวัสดีครับ
หมื่นตัวอักษรพอดี...