ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากวิกิ และเว็บข้างเคียง ข้อมูลอาจผิดพลาดเล็กน้อย กราบขออภัย
SAUDI ARABIA MEN'S FOOTBALL
ทีมชาติซาอุดิอาระเบียมีฉายาติดปากว่า The Falcons (นกเหยี่ยว) และ The Green จากรูปโลโก้ของทีมชาติที่เป็นรูปต้นปาล์มล้อมรอบลูกบอล (รูปต้นปาล์มนี้ถูกใช้ในหน่วยงานหลายแห่ง ส่วนตัวผู้เขียนพบบ่อยในทีวีครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://jazeranews.com/wp-content/uploads/2016/04/%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%86%D8%AA%D8%AE%D8%A8-%D8%A7%D9%84%D8%B3%D8%B9%D9%88%D8%AF%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D8%AE%D8%B6%D8%B1.jpg
ซาอุดิอาระเบียเคยติดอันดับ 1 ใน 30 ของโลกในการจัดอันดับ FIFA RANKING มาแล้วโดยสูงสุดไต่ถึงอันดับ 21 ในเดือน กรากฎาคมปี 2004 เช่นเดียวกันเคยตกต่ำหลุด 1 ใน 100 โดยหลุดไปถึงอันดับ 126 ในการจัดอันดับเดือนธันวาคม 2012 ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 61 จากการจัดอันดับเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา
ซาอุดิอาระเบียมีเกียรติระดับทวีปและระดับโลกพอสมควร โดยเฉพาะในระดับทวีป ได้แชมป์เอเชียนคัพสามสมัยในปี 1984 1988 และ 1996 รวมถึงเป็นรองแชมป์อีกสามครั้งในปี 1992 2000 และ 2007 ที่ไทยเป็นหนึ่งในเจ้าภาพร่วม โดยพ่ายต่ออิรัก 0-1 จากฝีเท้าของมาห์มูดสุดหล่อ ในระดับภูมิภาครายการ GULF CUP ที่เปรียบเสมือน AFF SUZUKI CUP ของอาเซียนเรา ซาอุดิอาระเบียสามารถคว้าแชมป์ได้สามครั้งในปี 1994 2002 และ 2003 รวมถึงรองแชมป์ถึงหกครั้งด้วยกัน ยังไม่รวมที่เคยคว้าอันดับสามถึงเจ็ดครั้งมากที่สุดในการแข่งขันแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.abc.net.au/news/image/6017690-3x2-940x627.jpg
ในระดับโลก ซาอุดิอาระเบียได้รับสิทธิ์เข้าร่วมรายการ FIFA Confederations Cup จำนวนสี่ครั้ง (จัดก่อนฟุตบอลโลก 1 ปี) ทำผลงานได้อย่างน่าทึ่ง โดยคว้าตำแหน่งรองแชมป์ในปี 1992 (ตอนนั้นใช้ชื่อเฉพาะว่า King Fahd Cup) โดยเอาชนะสหรัฐอเมริกาในรอบแรก 3-0 ก่อนเข้าชิงพลาดท่าต่ออาร์เจนติน่าไป 1-3 และคว้าตำแหน่งที่ 4 ในปี 1999 ที่จัดขึ้นในเม็กซิโก ซาอุดิอาระเบียเข้าเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ในกลุ่มประกอบด้วย เม็กซิโก โบลิเวีย ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ ก่อนเข้าสู่รอบรองชนะเลิศพ่ายบราซิลไป 8-2 และรอบชิงอันดับ 3 พ่ายต่อสหรัฐอเมริกา 0-2 ถือว่าโดนล้างอายได้สำเร็จสำหรับทัพมะกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ttps://figo29.files.wordpress.com/2013/06/prince-sultan-bin-fahd-bin-abdulaziz-hands-the-trophy-of-the-tournament-to-denmarks-captain-michael-laudrup.jpg
รายการฟุตบอลโลก ซาอุดิอาระเบียสามารถเข้าสู่รอบสุดท้ายได้ถึง 4 ครั้งซ้อนนับตั้งแต่ปี 1994 ไปจนถึง 2006 แต่สองครั้งหลังที่ผ่านมา (บราซิลและแอฟริกาใต้) พวกเขาทำได้แค่เข้าสู่รอบคัดเลือก 12 ทีมสุดท้าย หากย้อนดู 4 ครั้งที่ได้เข้าสู่รอบสุดท้ายจะพบได้ว่า ขุนพลซาอุเข้ามาได้ถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในปี 1994 ในรอบ 16 ทีมซาอุดิอาระเบียเจอของหนักอย่างสวีเดนและพ่ายไป 1-3 ในฟร้องซ์ 98 รอบแบ่งกลุ่มสามนัด คว้าผลเสมอได้ 1 นัดกับแอฟริกาและแพ้ 2 นัดต่อเจ้าภาพและเดนมาร์ก ในฟุตบอลโลก 2002 ญี่ปุ่นเกาหลีใต้จับมือกันสร้างสรรค์คุณภาพนั้น คราวนี้ นกเหยี่ยวทำได้เพียงเข้าร่วมเท่านั้นเพราะจับฉลากไปเจอของโหดทั้งเยอรมัน แคมเมอรูน และไอร์แลนด์ โดยไม่สามารถยิงประตูได้เลย เสียไป 12 ประตูด้วยกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://img.fifa.com/mm/photo/archivedtournament/summaries/51/91/10/519110_full-lnd.jpg
เป็นที่น่าสังเกตว่า พวกเขาเข้าร่วมคัดเลือกฟุตบอลโลกครั้งแรกในการแข่งขัน ฟุตบอลโลกปี 1978 ที่อาร์เจนติน่า และพวกเขาใช้เวลาเพียง 4 ครั้งเท่านั้นสามารถเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกได้ สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 1994 เป็นปีสุดท้ายที่คัดเอาเพียง 2 ทีมจากโซนเอเชียเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกและพวกเขาทำได้พอดี จากการคัดเลือกรอบสุดท้าย 6 ทีมเป็นแชมป์กลุ่ม ลงสนาม 5 นัดคว้า 7 คะแนนเหนือเกาหลีใต้ที่ได้ 6 คะแนน
สำหรับปี 1998 มีการขยับมาเป็น 3.5 ทีม พวกเขาคัดเลือกรอบสุดท้ายได้เป็นแชมป์กลุ่ม โดยในกลุ่มประกอบด้วย อิหร่าน จีน กาต้าร์ และคูเวต ปี 2002 นี่เองที่ทีมชาติไทยมีส่วนร่วมในการคัดเลือกรอบสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นคัดเอาแชมป์กลุ่มเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที และอันดับ 2 ไปเพลย์ออฟชิงกับอีกสาย ซาอุดิอาระเบีย ร่วมสายกับทีมชาติไทย อิรัก บาห์เรน และอิหร่าน พวกเขาคว้าแชมป์กลุ่ม แมตที่พบกันกับไทยสองนัด ซาอุเก็บชัยได้ทั้งสอง โดยเปิดบ้านชนะ 4-1 และบุกเยือนเอาชนะได้ 3-1
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://static.guim.co.uk/sys-images/Guardian/Pix/pictures/2014/6/22/1403433796861/Klose-world-goals-003.jpg
ปี 2006 โซนเอเชียขยับโควต้าได้เป็น 4.5 ทีม ซาอุดิอาระเบียคัดเลือกรอบแรกในกลุ่ม 8 เป็นแชมป์กลุ่มโดยชนะรวด 6 นัด เข้าสู่รอบคัดเลือกรอบสุดท้ายร่วมกลุ่มกับเกาหลีใต้ คูเวต และอุซเบกิสถาน ซาอุดิอาระเบียคว้าแชมป์กลุ่มได้สำเร็จ เข้ารอบร่วมกับเกาหลีใต้
ปี 2010 ซาอุดิอาระเบียมาเสียท่าจนได้ในรอบสุดท้าย โดยพวกเขามีแต้มเท่าเกาหลีเหนือ (12 คะแนน) แต่ลูกได้เสียเป็นรอง ตกเป็นอันดับ 3 เพลย์ออฟแก้ตัวกับบาห์เรน ซึ่งนัดแรกพวกเขาไปเยือนยันเสมอได้ 0-0 นัดที่สองพวกเขาเปิดบ้านและแล้วพวกเขามาเสียประตูมูลค่านับไม่ได้ในนาที 90+5 ผลจบเสมอกันไป 2-2 บาห์เรนเข้ารอบเพลย์ออฟรอบสุดท้าย(พบกับนิวซีแลนด์)
เจาะลึกข้อมูลซาอุดิอาระเบีย ใครเด่น ใครดัง ใครต้องระวัง มาดู
SAUDI ARABIA MEN'S FOOTBALL
ทีมชาติซาอุดิอาระเบียมีฉายาติดปากว่า The Falcons (นกเหยี่ยว) และ The Green จากรูปโลโก้ของทีมชาติที่เป็นรูปต้นปาล์มล้อมรอบลูกบอล (รูปต้นปาล์มนี้ถูกใช้ในหน่วยงานหลายแห่ง ส่วนตัวผู้เขียนพบบ่อยในทีวีครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซาอุดิอาระเบียเคยติดอันดับ 1 ใน 30 ของโลกในการจัดอันดับ FIFA RANKING มาแล้วโดยสูงสุดไต่ถึงอันดับ 21 ในเดือน กรากฎาคมปี 2004 เช่นเดียวกันเคยตกต่ำหลุด 1 ใน 100 โดยหลุดไปถึงอันดับ 126 ในการจัดอันดับเดือนธันวาคม 2012 ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 61 จากการจัดอันดับเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา
ซาอุดิอาระเบียมีเกียรติระดับทวีปและระดับโลกพอสมควร โดยเฉพาะในระดับทวีป ได้แชมป์เอเชียนคัพสามสมัยในปี 1984 1988 และ 1996 รวมถึงเป็นรองแชมป์อีกสามครั้งในปี 1992 2000 และ 2007 ที่ไทยเป็นหนึ่งในเจ้าภาพร่วม โดยพ่ายต่ออิรัก 0-1 จากฝีเท้าของมาห์มูดสุดหล่อ ในระดับภูมิภาครายการ GULF CUP ที่เปรียบเสมือน AFF SUZUKI CUP ของอาเซียนเรา ซาอุดิอาระเบียสามารถคว้าแชมป์ได้สามครั้งในปี 1994 2002 และ 2003 รวมถึงรองแชมป์ถึงหกครั้งด้วยกัน ยังไม่รวมที่เคยคว้าอันดับสามถึงเจ็ดครั้งมากที่สุดในการแข่งขันแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในระดับโลก ซาอุดิอาระเบียได้รับสิทธิ์เข้าร่วมรายการ FIFA Confederations Cup จำนวนสี่ครั้ง (จัดก่อนฟุตบอลโลก 1 ปี) ทำผลงานได้อย่างน่าทึ่ง โดยคว้าตำแหน่งรองแชมป์ในปี 1992 (ตอนนั้นใช้ชื่อเฉพาะว่า King Fahd Cup) โดยเอาชนะสหรัฐอเมริกาในรอบแรก 3-0 ก่อนเข้าชิงพลาดท่าต่ออาร์เจนติน่าไป 1-3 และคว้าตำแหน่งที่ 4 ในปี 1999 ที่จัดขึ้นในเม็กซิโก ซาอุดิอาระเบียเข้าเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ในกลุ่มประกอบด้วย เม็กซิโก โบลิเวีย ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ ก่อนเข้าสู่รอบรองชนะเลิศพ่ายบราซิลไป 8-2 และรอบชิงอันดับ 3 พ่ายต่อสหรัฐอเมริกา 0-2 ถือว่าโดนล้างอายได้สำเร็จสำหรับทัพมะกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายการฟุตบอลโลก ซาอุดิอาระเบียสามารถเข้าสู่รอบสุดท้ายได้ถึง 4 ครั้งซ้อนนับตั้งแต่ปี 1994 ไปจนถึง 2006 แต่สองครั้งหลังที่ผ่านมา (บราซิลและแอฟริกาใต้) พวกเขาทำได้แค่เข้าสู่รอบคัดเลือก 12 ทีมสุดท้าย หากย้อนดู 4 ครั้งที่ได้เข้าสู่รอบสุดท้ายจะพบได้ว่า ขุนพลซาอุเข้ามาได้ถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในปี 1994 ในรอบ 16 ทีมซาอุดิอาระเบียเจอของหนักอย่างสวีเดนและพ่ายไป 1-3 ในฟร้องซ์ 98 รอบแบ่งกลุ่มสามนัด คว้าผลเสมอได้ 1 นัดกับแอฟริกาและแพ้ 2 นัดต่อเจ้าภาพและเดนมาร์ก ในฟุตบอลโลก 2002 ญี่ปุ่นเกาหลีใต้จับมือกันสร้างสรรค์คุณภาพนั้น คราวนี้ นกเหยี่ยวทำได้เพียงเข้าร่วมเท่านั้นเพราะจับฉลากไปเจอของโหดทั้งเยอรมัน แคมเมอรูน และไอร์แลนด์ โดยไม่สามารถยิงประตูได้เลย เสียไป 12 ประตูด้วยกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นที่น่าสังเกตว่า พวกเขาเข้าร่วมคัดเลือกฟุตบอลโลกครั้งแรกในการแข่งขัน ฟุตบอลโลกปี 1978 ที่อาร์เจนติน่า และพวกเขาใช้เวลาเพียง 4 ครั้งเท่านั้นสามารถเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกได้ สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 1994 เป็นปีสุดท้ายที่คัดเอาเพียง 2 ทีมจากโซนเอเชียเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกและพวกเขาทำได้พอดี จากการคัดเลือกรอบสุดท้าย 6 ทีมเป็นแชมป์กลุ่ม ลงสนาม 5 นัดคว้า 7 คะแนนเหนือเกาหลีใต้ที่ได้ 6 คะแนน
สำหรับปี 1998 มีการขยับมาเป็น 3.5 ทีม พวกเขาคัดเลือกรอบสุดท้ายได้เป็นแชมป์กลุ่ม โดยในกลุ่มประกอบด้วย อิหร่าน จีน กาต้าร์ และคูเวต ปี 2002 นี่เองที่ทีมชาติไทยมีส่วนร่วมในการคัดเลือกรอบสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นคัดเอาแชมป์กลุ่มเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที และอันดับ 2 ไปเพลย์ออฟชิงกับอีกสาย ซาอุดิอาระเบีย ร่วมสายกับทีมชาติไทย อิรัก บาห์เรน และอิหร่าน พวกเขาคว้าแชมป์กลุ่ม แมตที่พบกันกับไทยสองนัด ซาอุเก็บชัยได้ทั้งสอง โดยเปิดบ้านชนะ 4-1 และบุกเยือนเอาชนะได้ 3-1
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปี 2006 โซนเอเชียขยับโควต้าได้เป็น 4.5 ทีม ซาอุดิอาระเบียคัดเลือกรอบแรกในกลุ่ม 8 เป็นแชมป์กลุ่มโดยชนะรวด 6 นัด เข้าสู่รอบคัดเลือกรอบสุดท้ายร่วมกลุ่มกับเกาหลีใต้ คูเวต และอุซเบกิสถาน ซาอุดิอาระเบียคว้าแชมป์กลุ่มได้สำเร็จ เข้ารอบร่วมกับเกาหลีใต้
ปี 2010 ซาอุดิอาระเบียมาเสียท่าจนได้ในรอบสุดท้าย โดยพวกเขามีแต้มเท่าเกาหลีเหนือ (12 คะแนน) แต่ลูกได้เสียเป็นรอง ตกเป็นอันดับ 3 เพลย์ออฟแก้ตัวกับบาห์เรน ซึ่งนัดแรกพวกเขาไปเยือนยันเสมอได้ 0-0 นัดที่สองพวกเขาเปิดบ้านและแล้วพวกเขามาเสียประตูมูลค่านับไม่ได้ในนาที 90+5 ผลจบเสมอกันไป 2-2 บาห์เรนเข้ารอบเพลย์ออฟรอบสุดท้าย(พบกับนิวซีแลนด์)