หลังจากสร้างผลงานได้ไม่ดีนัก สำหรับทีมแบดมินตันไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ล่าสุด มีรายงานจากวงในว่า นักแบดมินตันทีมชาติหลายคน เริ่มมีการพูดคุยกันว่า สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ กำลังจะพิจารณาปรับลดเงินเดือนของนักกีฬา
ทั้งนี้ รายงานในเบื้องต้นระบุว่า การปรับลดเงินเดือน จะมีการนำผลการแข่งขันมาพิจารณา โดยระบุว่า หากชนะในการแข่งขันในกรณีที่จัดขึ้นในประเทศไทย ก็จะได้รับเงินเพิ่ม และหากแข่งขันในต่างประเทศ ก็จะเพิ่มมากขึ้น
น่าแปลกใจที่ข่าวนี้ ออกมาใน"วงใน"ของนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย และถือเป็นการสร้างความหวั่นไหวให้กับนักกีฬา จริงๆแล้วทางสมาคมแบดฯรับเงินจาก YONEX จากสัญญาเดิม 350,000 USD ต่อปีสัญญาทั้งหมด 3 ปี ในสมัยผู้บริหารชุดเดิม และในตอนนี้ทางผู้บริหารชุดใหม่ไปเซ็นเพิ่มเป็น 650,000 USD ต่อปีซึ่งสัญญาใหม่ 4 ปีทั้งสองสัญญาไม่รวมถึงโบนัสที่ทาง YONEX จะมอบให้อีกต่างหากเฉพาะการแข่งขันซุปเปอร์ซีรี่ ซึ่งทั้งหมดไม่รวมอุปกรณ์กีฬา ตัวเลขทั้งหมดคือตัวเลขต่อปีที่ได้รับจาก YONEX ไม่รวมผู้สนับสนุนจากทาง SCG ดูแล้วต่อปีมีเงินมากแต่ทำไมสมาคมไม่ยอมส่งเด็กเพื่อพัฒนาแข่งขัน โดยมีการเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ในยุคที่สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ดึง"มอร์เตน ฟรอสต์ แฮนเซ่น" อดีตแชมป์โลกชายเดี่ยวชาวเดนมาร์คมาคุมทีมชาติเมื่อต้นปี 2558 เพราะหลังจากการประชุมของคณะกรรมการบริหารสมาคมแบดมินตันแห่งมาเลเซีย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 "เตงกู ตันศรี มาฮาลีล เตงกู อารีฟฟ์" นายกสมาคมแบดมินตัมาเลเซีย ก็ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการซึ่งสรุปสาระสำคัญคือ
1. ที่ประชุมลงมติแป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มฐานเงินเดือนแก่นักกีฬา จากเดิมขั้นต่ำ 2,500 ริงกิต (ประมาณ 20,000 บาท) ถึง10,000 ริงกิต (ประมาณ 83,000 บาท) เป็นอัตราใหม่ คือ ขั้นต่ำ 3,500 ริงกิต (ประมาณ 29,000 บาท) ถึงสูงสุด 15,000 ริงกิต (ประมาณ 125,000 บาท)
2. เพิ่มเงินโบนัสสำหรับนักกีฬา โดยพิจารณาจากผลการแข่งขันและเงินรางวัลจากการแข่งขัน กับผลงานจากอันดับโลกของทุกคน
3. พิจารณาจัดสรรเงินสวัสดิการแก่อดีตนักกีฬาที่เลิกเล่น เพื่อช่วยเหลือการดำรงชีวิตประจำวัน เน้นให้สวัสดิการด้านที่อยู่ การรักษาพยาบาล และสภาพชีวิตที่เหมาะสม
อกจากนั้น ที่ประชุมวันนั้น สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ยังได้เตรียมจัดการแข่งขันแบดมินตันระหว่างโรงเรียน และระหว่างรัฐ เป็นการชิงชนะเลิศประจำปีทุกปี ตั้งแต่ปี 2016 เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของนักแบดมินตันรุ่นใหม่ โดยเฉพาะระดับโรงเรียนที่มีการสำรวจทั่วประเทศพบว่ามียิมเนเซียมแบดมินตัน 4,000 แห่ง โดยตั้งเป้าหมายว่าทุกยิมเนเซียมจะต้องสร้างนักแบดมินตันรุ่นใหม่ปีละ 10 คนตั้งแต่ 2016 หรือมีนักแบดมินตันหน้าใหม่รุ่นแรกอย่างน้อย 40,000 คน เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือสร้างนักแบดมินตันรุ่นใหม่ในการแข่งขันระดับชาติตั้งแต่ 200,000 คนขึ้นไป เพราะปัจจุบันมาเลเซียมีนักแบดมินตันในการแข่งขันระดับชาติเพียง 4,800 คนเท่านั้นเอง
ทั้งนี้ มาเลเซียถือเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จในกีฬาแบดมินตันโอลิมปิค 2016 เพราะสามารถเข้าชิงเหรียญทองถึง 3 ประเภทคือชายเดี่ยว ชายคู่และคู่ผสม
http://www.badmintonthaitoday.com/news_detail.php?nid=17
ลือสนั่น ...สมาคมฯแบดปรับลดเงินเดือน
ทั้งนี้ รายงานในเบื้องต้นระบุว่า การปรับลดเงินเดือน จะมีการนำผลการแข่งขันมาพิจารณา โดยระบุว่า หากชนะในการแข่งขันในกรณีที่จัดขึ้นในประเทศไทย ก็จะได้รับเงินเพิ่ม และหากแข่งขันในต่างประเทศ ก็จะเพิ่มมากขึ้น
น่าแปลกใจที่ข่าวนี้ ออกมาใน"วงใน"ของนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย และถือเป็นการสร้างความหวั่นไหวให้กับนักกีฬา จริงๆแล้วทางสมาคมแบดฯรับเงินจาก YONEX จากสัญญาเดิม 350,000 USD ต่อปีสัญญาทั้งหมด 3 ปี ในสมัยผู้บริหารชุดเดิม และในตอนนี้ทางผู้บริหารชุดใหม่ไปเซ็นเพิ่มเป็น 650,000 USD ต่อปีซึ่งสัญญาใหม่ 4 ปีทั้งสองสัญญาไม่รวมถึงโบนัสที่ทาง YONEX จะมอบให้อีกต่างหากเฉพาะการแข่งขันซุปเปอร์ซีรี่ ซึ่งทั้งหมดไม่รวมอุปกรณ์กีฬา ตัวเลขทั้งหมดคือตัวเลขต่อปีที่ได้รับจาก YONEX ไม่รวมผู้สนับสนุนจากทาง SCG ดูแล้วต่อปีมีเงินมากแต่ทำไมสมาคมไม่ยอมส่งเด็กเพื่อพัฒนาแข่งขัน โดยมีการเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ในยุคที่สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ดึง"มอร์เตน ฟรอสต์ แฮนเซ่น" อดีตแชมป์โลกชายเดี่ยวชาวเดนมาร์คมาคุมทีมชาติเมื่อต้นปี 2558 เพราะหลังจากการประชุมของคณะกรรมการบริหารสมาคมแบดมินตันแห่งมาเลเซีย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 "เตงกู ตันศรี มาฮาลีล เตงกู อารีฟฟ์" นายกสมาคมแบดมินตัมาเลเซีย ก็ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการซึ่งสรุปสาระสำคัญคือ
1. ที่ประชุมลงมติแป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มฐานเงินเดือนแก่นักกีฬา จากเดิมขั้นต่ำ 2,500 ริงกิต (ประมาณ 20,000 บาท) ถึง10,000 ริงกิต (ประมาณ 83,000 บาท) เป็นอัตราใหม่ คือ ขั้นต่ำ 3,500 ริงกิต (ประมาณ 29,000 บาท) ถึงสูงสุด 15,000 ริงกิต (ประมาณ 125,000 บาท)
2. เพิ่มเงินโบนัสสำหรับนักกีฬา โดยพิจารณาจากผลการแข่งขันและเงินรางวัลจากการแข่งขัน กับผลงานจากอันดับโลกของทุกคน
3. พิจารณาจัดสรรเงินสวัสดิการแก่อดีตนักกีฬาที่เลิกเล่น เพื่อช่วยเหลือการดำรงชีวิตประจำวัน เน้นให้สวัสดิการด้านที่อยู่ การรักษาพยาบาล และสภาพชีวิตที่เหมาะสม
อกจากนั้น ที่ประชุมวันนั้น สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ยังได้เตรียมจัดการแข่งขันแบดมินตันระหว่างโรงเรียน และระหว่างรัฐ เป็นการชิงชนะเลิศประจำปีทุกปี ตั้งแต่ปี 2016 เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของนักแบดมินตันรุ่นใหม่ โดยเฉพาะระดับโรงเรียนที่มีการสำรวจทั่วประเทศพบว่ามียิมเนเซียมแบดมินตัน 4,000 แห่ง โดยตั้งเป้าหมายว่าทุกยิมเนเซียมจะต้องสร้างนักแบดมินตันรุ่นใหม่ปีละ 10 คนตั้งแต่ 2016 หรือมีนักแบดมินตันหน้าใหม่รุ่นแรกอย่างน้อย 40,000 คน เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือสร้างนักแบดมินตันรุ่นใหม่ในการแข่งขันระดับชาติตั้งแต่ 200,000 คนขึ้นไป เพราะปัจจุบันมาเลเซียมีนักแบดมินตันในการแข่งขันระดับชาติเพียง 4,800 คนเท่านั้นเอง
ทั้งนี้ มาเลเซียถือเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จในกีฬาแบดมินตันโอลิมปิค 2016 เพราะสามารถเข้าชิงเหรียญทองถึง 3 ประเภทคือชายเดี่ยว ชายคู่และคู่ผสม
http://www.badmintonthaitoday.com/news_detail.php?nid=17