เอเจนซี--สำนักข่าวซินหวารายงานการส่งดาวเทียมสื่อสารควอนตัม รายแรกของโลก ประสบความสำเร็จ เดินหน้าสร้างประตูสู่จักรวาลใหม่ด้วยระบบเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วมากกว่าความเร็วเสียง และปลอดการโจรกรรมข้อมูล
จรวดขนส่ง ฉางเจิง 2 ดี หรือลอง มาร์ช -2ดี (Long March-2D) ได้พาดาวเทียมระบบเครือข่ายการสื่อสารเชิงควอนตัม ทะยานสู่ท้องฟ้าออกจากศูนย์ยิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทะจีเลโกบี มณฑลกันซู่ เมื่อเวลา 01.40 น. ของวันนี้(16 ส.ค.)
ดาวเทียมพิสัยทำการกว่า 600 กิโลเมตร จะโคจรรอบโลกในทุกๆ 90 นาที หลังจากที่เข้าสู่วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun - synchronous orbit) ที่ระดับสูง 500 กิโลเมตร
สำหรับดาวเทียมสื่อสารควอนตัมนี้ เดิมมีชื่อเรียกคือ Quantum Experiments at Space Scale ชื่อย่อ QUESS ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อเล่นใหม่ว่า “มั่วจื่อ” นักปรัชญาจีนยุค 500 ปี ก่อนค.ศ. หรือ ราว 2,400 ปี ที่แล้ว และได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์ทดลองการมองเห็นภาพลวงตาคนแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ โดยบอกว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง และโลกกายภาพประกอบด้วยอนุภาค และเป็นผู้สร้างกล้องรูเข็มคนแรก
นักฟิสิกส์ควอนตัม พาน เจี้ยนเหว่ย และวิศวกรอวกาศ หวัง เจี้ยนอี๋ว์ หัวหน้าโครงการดาวเทียมควอนตัม (quantum science satellite ชื่อย่อ QSS) ได้จับมือกันพัฒนาและสร้างระบบเครือข่ายดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลกนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เพื่อสร้างประตู หรือพอร์ทัล (portal) สำหรับจักรวาลใหม่
สถาบันเทคโนโลยีฟิสิกส์แห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Technical Physics) สังกัดสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences ชื่อย่อ CAS) เป็นผู้ริเริ่มโครงการ QSS
จีนทวงบัลลังก์จ้าวนวัตกรรม ยิงดาวเทียมสื่อสารควอนตัมรายแรกของโลก สร้างเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วกว่าความเร็วเสียง-ปลอดแฮกเกอร์
ดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลก ทะยานสู่อวกาศจากศูนย์ยิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ เมื่อวันที่ 16 ส.ค. (ภาพ รอยเตอร์ส)
QUESS ค้นหาโลกที่แตกต่างไปจากไอน์สไตน์
ดาวเทียมสื่อสารควอนตัม ที่มีน้ำหนักเบากว่ารถยนต์อัจฉริยะ จะค้นหาโลกที่แตกต่างไปจากไอน์สไตน์ โดยเป็นโลกที่ข้อมูลชุดหนึ่งสามารถ “หายแวบ” จากกาแล็กซี่หนึ่งไปยังอีกกาแล็กซี่หนึ่งอย่างรวดเร็วมากกว่าความเร็วเสียงเสียอีก เป็นที่ที่นักเจาะข้อมูลหรือพวกแฮ็กเกอร์ไม่สามารถล้วงขโมยข้อมูลได้ และเป็นเครื่องคำนวณที่เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในโลกรวมกัน
“จีนเป็นชาติแรกที่ส่งภารกิจดาวเทียมควอนตัม โดยยังไม่มีชาติไหนทำกันเลย” หวัง กล่าว และเผยว่า ดาวเทียมควอนตัมมีภารกิจ 3 ภารกิจ โดยงานแรกคือการสร้างเครือข่ายสื่อสารที่ป้องกันการจารกรรมข้อมูล ส่วนภารกิจที่สองและภารกิจที่สามนั้น เป็นที่จับตามองของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างน่าตื่นเต้นมากกว่า
แต่ในภารกิจแรกของ QUESS ที่จะสร้างเครือข่ายสื่อสารที่ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลระหว่างจีนและยุโรปนั้น จะมีผลกระทบความมั่นคงของชาติอย่างสำคัญหลายประการ
ระบบการสื่อสารควอนตัมได้ชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากโพตอนควอนตัมไม่สามารถถูกแยกหรือดูดทำซ้ำ ทำให้ไม่สามารถดักฟัง สอดแนม และเจาะล้วงข้อมูลที่ส่งผ่านระบบฯ
ด้วยประสิทธิภาพของดาวเทียมใหม่ นักวิทยาศาสตร์จะสามารถทดสอบการแจกจ่ายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution) ระหว่างดาวเทียมและสถานีบนพื้นดิน และสร้างระบบเครือข่ายสื่อเชิงควอนตัมที่ปลอดภัยระหว่างปักกิ่งและอุรุมชี (อูลู่มู่ฉี) ในเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์มณฑลซินเจียง
ตามแผนการ QUESS จะส่งโพตอนพัวพัน (entangled photons) ไปยังสถานีบนพื้นโลกสองแห่ง ที่อยู่ห่างกัน 1,200 กิโลเมตร เพื่อที่จะทดสอบการพัวพันเชิงควอนตัม (quantum entanglement) ในระยะทางที่ไกลกว่า รวมทั้งการทดสอบการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอะตอม (quantum teleportation) ระหว่างสถานีบนพื้นดินที่แคว้นอาลิของทิเบต และตัวมันเอง
ในอดีตโบราณกาล จีนเป็นจ้าวแห่งนวัตกรรม เป็นผู้ประดิษฐ์ดินปืน กระดาษ เครื่องพิมพ์อ๊อฟเซ็ท บัดนี้ ด้วยอานิสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจหลายสิบปี จีนได้สร้างกองทัพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร บางหน่วยได้ “ติดอาวุธ” เทคโนโลยีที่ล้ำยุค และฮาร์ดแวร์ล้ำสมัย พร้อมทวงเกียรติภูมิในอดีตด้วยโครงการสุดทะเยอทะยานสะท้านพิภพ
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000081765
จีนทวงบัลลังก์จ้าวนวัตกรรม ยิงดาวเทียมสื่อสารควอนตัมรายแรกของโลก สร้างเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วกว่าความเร็วเสียง-ปลอ
จรวดขนส่ง ฉางเจิง 2 ดี หรือลอง มาร์ช -2ดี (Long March-2D) ได้พาดาวเทียมระบบเครือข่ายการสื่อสารเชิงควอนตัม ทะยานสู่ท้องฟ้าออกจากศูนย์ยิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทะจีเลโกบี มณฑลกันซู่ เมื่อเวลา 01.40 น. ของวันนี้(16 ส.ค.)
ดาวเทียมพิสัยทำการกว่า 600 กิโลเมตร จะโคจรรอบโลกในทุกๆ 90 นาที หลังจากที่เข้าสู่วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun - synchronous orbit) ที่ระดับสูง 500 กิโลเมตร
สำหรับดาวเทียมสื่อสารควอนตัมนี้ เดิมมีชื่อเรียกคือ Quantum Experiments at Space Scale ชื่อย่อ QUESS ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อเล่นใหม่ว่า “มั่วจื่อ” นักปรัชญาจีนยุค 500 ปี ก่อนค.ศ. หรือ ราว 2,400 ปี ที่แล้ว และได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์ทดลองการมองเห็นภาพลวงตาคนแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ โดยบอกว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง และโลกกายภาพประกอบด้วยอนุภาค และเป็นผู้สร้างกล้องรูเข็มคนแรก
นักฟิสิกส์ควอนตัม พาน เจี้ยนเหว่ย และวิศวกรอวกาศ หวัง เจี้ยนอี๋ว์ หัวหน้าโครงการดาวเทียมควอนตัม (quantum science satellite ชื่อย่อ QSS) ได้จับมือกันพัฒนาและสร้างระบบเครือข่ายดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลกนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เพื่อสร้างประตู หรือพอร์ทัล (portal) สำหรับจักรวาลใหม่
สถาบันเทคโนโลยีฟิสิกส์แห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Technical Physics) สังกัดสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences ชื่อย่อ CAS) เป็นผู้ริเริ่มโครงการ QSS
จีนทวงบัลลังก์จ้าวนวัตกรรม ยิงดาวเทียมสื่อสารควอนตัมรายแรกของโลก สร้างเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วกว่าความเร็วเสียง-ปลอดแฮกเกอร์
ดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลก ทะยานสู่อวกาศจากศูนย์ยิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ เมื่อวันที่ 16 ส.ค. (ภาพ รอยเตอร์ส)
QUESS ค้นหาโลกที่แตกต่างไปจากไอน์สไตน์
ดาวเทียมสื่อสารควอนตัม ที่มีน้ำหนักเบากว่ารถยนต์อัจฉริยะ จะค้นหาโลกที่แตกต่างไปจากไอน์สไตน์ โดยเป็นโลกที่ข้อมูลชุดหนึ่งสามารถ “หายแวบ” จากกาแล็กซี่หนึ่งไปยังอีกกาแล็กซี่หนึ่งอย่างรวดเร็วมากกว่าความเร็วเสียงเสียอีก เป็นที่ที่นักเจาะข้อมูลหรือพวกแฮ็กเกอร์ไม่สามารถล้วงขโมยข้อมูลได้ และเป็นเครื่องคำนวณที่เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในโลกรวมกัน
“จีนเป็นชาติแรกที่ส่งภารกิจดาวเทียมควอนตัม โดยยังไม่มีชาติไหนทำกันเลย” หวัง กล่าว และเผยว่า ดาวเทียมควอนตัมมีภารกิจ 3 ภารกิจ โดยงานแรกคือการสร้างเครือข่ายสื่อสารที่ป้องกันการจารกรรมข้อมูล ส่วนภารกิจที่สองและภารกิจที่สามนั้น เป็นที่จับตามองของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างน่าตื่นเต้นมากกว่า
แต่ในภารกิจแรกของ QUESS ที่จะสร้างเครือข่ายสื่อสารที่ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลระหว่างจีนและยุโรปนั้น จะมีผลกระทบความมั่นคงของชาติอย่างสำคัญหลายประการ
ระบบการสื่อสารควอนตัมได้ชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากโพตอนควอนตัมไม่สามารถถูกแยกหรือดูดทำซ้ำ ทำให้ไม่สามารถดักฟัง สอดแนม และเจาะล้วงข้อมูลที่ส่งผ่านระบบฯ
ด้วยประสิทธิภาพของดาวเทียมใหม่ นักวิทยาศาสตร์จะสามารถทดสอบการแจกจ่ายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution) ระหว่างดาวเทียมและสถานีบนพื้นดิน และสร้างระบบเครือข่ายสื่อเชิงควอนตัมที่ปลอดภัยระหว่างปักกิ่งและอุรุมชี (อูลู่มู่ฉี) ในเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์มณฑลซินเจียง
ตามแผนการ QUESS จะส่งโพตอนพัวพัน (entangled photons) ไปยังสถานีบนพื้นโลกสองแห่ง ที่อยู่ห่างกัน 1,200 กิโลเมตร เพื่อที่จะทดสอบการพัวพันเชิงควอนตัม (quantum entanglement) ในระยะทางที่ไกลกว่า รวมทั้งการทดสอบการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอะตอม (quantum teleportation) ระหว่างสถานีบนพื้นดินที่แคว้นอาลิของทิเบต และตัวมันเอง
ในอดีตโบราณกาล จีนเป็นจ้าวแห่งนวัตกรรม เป็นผู้ประดิษฐ์ดินปืน กระดาษ เครื่องพิมพ์อ๊อฟเซ็ท บัดนี้ ด้วยอานิสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจหลายสิบปี จีนได้สร้างกองทัพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร บางหน่วยได้ “ติดอาวุธ” เทคโนโลยีที่ล้ำยุค และฮาร์ดแวร์ล้ำสมัย พร้อมทวงเกียรติภูมิในอดีตด้วยโครงการสุดทะเยอทะยานสะท้านพิภพ
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000081765