ถ้าพิจารณาจาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ (๔/๑๑/๙)
http://etipitaka.com/read/thai/4/11/ จะพบหัวข้อว่า "ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า" ส่วนเนื้อหาพระสูตรตรัสไว้ดังนี้
[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.
ถ้าพิจารณาจาก บทพยัญชนะในพระสูตรนี้ จะพบว่า ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ ดังนี้
๑) บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
๒) บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
๓) บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว
จะเห็นได้ว่ามีเพียง ๓ เหล่าเท่านั้น
แต่เมื่อลองตรวจสอบใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%A4%A4%C5_%F4_1 พบว่า มีการอธิบาย บุคคล ๔ จำพวก ไว้ดังนี้
บุคคล ๔ - บุคคล ๔ จำพวก คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ
๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ
๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
(ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)
สรุปตามบทพยัญชนะที่เห็นคือ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบสัตว์โลกด้วยดอกบัวเพียง ๓ เหล่า แต่พระอรรถกถาจารย์โยงการเปรียบบุคคล ๔ จำพวกกับบัว ๔ เหล่า และมีการสรุปหัวข้อในพระสูตรผิดไปจากบทพยัญชนะ
ความจริงในประเด็นนี้ มีการถกเถียงกันมาพอสมควรแล้ว ดังลิงก์ต่อไปนี้
-
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2008/10/Y7136744/Y7136744.html
-
https://drronenv.wordpress.com/2012/08/04/บัว-3-เหล่า-หรือ-บัว-4-เหล่า/
-
http://www.dhammahome.com/webboard/topic23745.html
-
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8311.0
-
https://www.google.co.th/search?q=บัว+3+หรือ+4+เหล่า
คำแนะนำ:
- พูดคุยและแสดงความคิดเห็นเฉพาะในประเด็น บัว ๓ หรือ ๔ เหล่าเท่านั้นนะครับ
- พึงระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นให้เป็นไปตาม
กฎ กติกา และมารยาท ของเว็บพันทิป
-
คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท
หมายเหตุ: ภาพดอกบัวจาก
https://pixabay.com/en/lotus-flower-summer-zen-lake-978659/
สรุปว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว ๓ หรือ ๔ เหล่า ?
ถ้าพิจารณาจาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ (๔/๑๑/๙) http://etipitaka.com/read/thai/4/11/ จะพบหัวข้อว่า "ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า" ส่วนเนื้อหาพระสูตรตรัสไว้ดังนี้
[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.
ถ้าพิจารณาจาก บทพยัญชนะในพระสูตรนี้ จะพบว่า ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ ดังนี้
๑) บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
๒) บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
๓) บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว
จะเห็นได้ว่ามีเพียง ๓ เหล่าเท่านั้น
แต่เมื่อลองตรวจสอบใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%A4%A4%C5_%F4_1 พบว่า มีการอธิบาย บุคคล ๔ จำพวก ไว้ดังนี้
บุคคล ๔ - บุคคล ๔ จำพวก คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ
๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ
๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
(ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)
สรุปตามบทพยัญชนะที่เห็นคือ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบสัตว์โลกด้วยดอกบัวเพียง ๓ เหล่า แต่พระอรรถกถาจารย์โยงการเปรียบบุคคล ๔ จำพวกกับบัว ๔ เหล่า และมีการสรุปหัวข้อในพระสูตรผิดไปจากบทพยัญชนะ
ความจริงในประเด็นนี้ มีการถกเถียงกันมาพอสมควรแล้ว ดังลิงก์ต่อไปนี้
- http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2008/10/Y7136744/Y7136744.html
- https://drronenv.wordpress.com/2012/08/04/บัว-3-เหล่า-หรือ-บัว-4-เหล่า/
- http://www.dhammahome.com/webboard/topic23745.html
- http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8311.0
- https://www.google.co.th/search?q=บัว+3+หรือ+4+เหล่า
คำแนะนำ:
- พูดคุยและแสดงความคิดเห็นเฉพาะในประเด็น บัว ๓ หรือ ๔ เหล่าเท่านั้นนะครับ
- พึงระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นให้เป็นไปตาม กฎ กติกา และมารยาท ของเว็บพันทิป
- คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท
หมายเหตุ: ภาพดอกบัวจาก https://pixabay.com/en/lotus-flower-summer-zen-lake-978659/