คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ปพพ 733 ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว ขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด
ฎีกา 8260/2550 ถ้ามีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นได้
ฎีกา 932/2550 ถ้าไม่ได้ทำข้อตกลงไว้ เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับยึดทรัพย์อื่น อย่างลูกหนี้สามัญก็ได้
ฎีกา 1580/2551 โจทก์ “ไม่ได้” บรรยายฟ้องว่า หากทรัพย์จำนองขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แต่ บรรยายฟ้องว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ " ให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด " นำเงินมาชำระหนี้ เช่นนี้ แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดี เอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
ฎีกา 8260/2550 ถ้ามีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นได้
ฎีกา 932/2550 ถ้าไม่ได้ทำข้อตกลงไว้ เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับยึดทรัพย์อื่น อย่างลูกหนี้สามัญก็ได้
ฎีกา 1580/2551 โจทก์ “ไม่ได้” บรรยายฟ้องว่า หากทรัพย์จำนองขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แต่ บรรยายฟ้องว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ " ให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด " นำเงินมาชำระหนี้ เช่นนี้ แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดี เอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
แสดงความคิดเห็น
ทิ้งหนี้จำนองบ้าน ธนาคารยึดได้แค่บ้านที่จำนอง หรือว่าตามยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ได้ด้วยครับ
ใจก็อยากจะประกาศขาย 4.6 ล้านไป แต่มันอยู่ต่างจังหวัดน่ะครับ ดำเนินการลำบาก เอาเป็นว่าถ้าเป็นไปได้ ขายก็น่าจะดีกว่า ปล่อยยึด แต่อยากรู้ว่า ถ้าปล่อยล่ะ นอกจากเครดิตบูโรเสียแล้ว ธนาคารยึดได้แค่บ้านที่จำนอง หรือว่าตามยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ได้ด้วยครับ