สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 32
ก็ยังมองว่าไม่ใช่เพราะสปอล์ยอย่างเดียวอยู่ดีครับ
อุตสาหกรรมนิตยสาร มันกำลังจะตายต่างหาก
นิตยสาร โดนเพราะสื่อออนไลน์ ผู้ผลิตสินค้าต่างเลือกใช้ช่องทางอื่นโฆษณาผลิตภัณฑ์ แล้ววัดผลได้ชัวร์กว่า ถูกกว่า เข้าถึงคนเยอะกว่า แล้วเค้าจะเอาตังไปซื้อหน้าหนังสือทำไมละ จ้างเนทไอดดอล ไลฟ์ที หรือเฟดเฟ่เอามายำที คนเห็นเป็นแสนคนแบบเห็นตัวเลขเลย IG นับ Like ได้เลยแบบนี้
นิตยสาร Image ต้นปี 2558 มีข่าวลือหนาหูว่านิตยสารแฟชั่นที่วางแผงมากว่า 27 ปีนี้จะปิดตัวลง เนื่องจากเจ้าของอย่างบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GMM แบกรับต้นทุนการผลิตต่อไปไม่ไหว แต่โชคดีที่มีบริษัท ซีทรู จำกัด ของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เข้ามาซื้อกิจการต่อ (นายคำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งนิตยสารอิมเมจถึงกับเรียกว่า “อัศวินขี่ม้าขาว”) ทำให้นิตยสารอิมเมจหยุดพิมพ์เพื่อปรับโครงสร้างระหว่างเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2558 ก่อนจะกลับมาวางแผงให้แฟนๆ ได้ซื้ออ่านต่อไป (สุดท้ายปิดตัวไปละ)
นิตยสารดิฉัน ซึ่งวางแผนมากว่า 38 ปี ได้ปรับระยะเวลาวางแผงจากรายปักษ์เป็นรายเดือน เพื่อลดต้นทุนการผลิต
นายศักดิ์ชัย กาย ผู้ก่อตั้งนิตยสาร Lips ประกาศในงานครบรอบ 15 ปีนิตยสาร Lips ว่าจะออกฟรีก็อปปี้ 3 ฉบับ คือ Lips LOVE, Lips GARCON และ Lips PALETTE เพื่อเป็นช่องทางหารายได้จากโฆษณาเพิ่ม ในภาวะที่สื่อออน์ไลน์ทำให้คนอ่านสื่อกระดาษลดลง
สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ประกาศยุติพิมพ์นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ รวมถึงการ์ตูนรวมเล่มหลายๆ เรื่อง อ้างปัญหาการผลิตและสภาพเศรษฐกิจ ก่อนหน้านี้ ในปี 2557 NMG เคยหยุดพิมพ์นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์อันดับหนึ่งของประเทศอย่าง Boom มาแล้ว จากปัญหาคนหันไปอ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์
นิตยสารเปรียว ตีพิมพ์ฉบับเดือนธันวาคม 2558 เป็นฉบับสุดท้าย หลังอยู่คู่วงการสิ่งพิมพ์ไทยมา 35 ปีเต็ม
นิตยสารวรรณกรรม Writer ประกาศหยุดพิมพ์ หลังทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า นิตยสารทีวีพูล และนิตยสาร Spicy ของบริษัท ไทยทีวีพูล จำกัด วางแผนจะเปลี่ยนเป็นฟรีก็อปปี้ในช่วงต้นปี 2559
นิตยสารเกม Play ประกาศยุติการพิมพ์สิ้นปี 2558 และมุ่งหน้าสู่ดิจิทัลเต็มตัว
นิตยสารทางเลือก Way ประกาศผ่านแฟนเพจ จะปรับวิธีการทำงาน ย้ายคอลัมน์หลักไปไว้บนเว็บไซต์ และจะเปลี่ยนเวลาวางแผนจากทุกเดือนเป็นทุก 4 เดือน เพื่อให้เป็นหนังสือที่มีอายุการอ่านนานขึ้น นายอธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Way กล่าวไว้ในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้อ่านว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด “เป็นเพียงการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด มีโอกาสเติบโตบนเงื่อนไขข้อเท็จจริง และมีอนาคต”
บางกอกรายสัปดาห์
Cosmopolitan
Seventeen นี้ไปสิงหานี้
GM ก็จุกอยู่
"ปรับตัว" และ "ปรับเปลี่ยน" แล้ว ต้องหาแหล่งรายได้ใหม่ครับ Ckid ต้องไปคิดบิสซิเนสโมเดลมานอกกรอบไปเลย ไม่งั้นตายแน่
ผมคิดเล่นๆนะ ซื้อหนังสือ มีสติกเกอร์สะสม แจก PS4 เนนโดรอยด์ ฟิกม่า แบบสแตมป์เซเว่น หรือรหัสปกหนงปกใน ชิงรางวัลแบบอิชิตัน ยังทำได้เลย
อุตสาหกรรมนิตยสาร มันกำลังจะตายต่างหาก
นิตยสาร โดนเพราะสื่อออนไลน์ ผู้ผลิตสินค้าต่างเลือกใช้ช่องทางอื่นโฆษณาผลิตภัณฑ์ แล้ววัดผลได้ชัวร์กว่า ถูกกว่า เข้าถึงคนเยอะกว่า แล้วเค้าจะเอาตังไปซื้อหน้าหนังสือทำไมละ จ้างเนทไอดดอล ไลฟ์ที หรือเฟดเฟ่เอามายำที คนเห็นเป็นแสนคนแบบเห็นตัวเลขเลย IG นับ Like ได้เลยแบบนี้
นิตยสาร Image ต้นปี 2558 มีข่าวลือหนาหูว่านิตยสารแฟชั่นที่วางแผงมากว่า 27 ปีนี้จะปิดตัวลง เนื่องจากเจ้าของอย่างบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GMM แบกรับต้นทุนการผลิตต่อไปไม่ไหว แต่โชคดีที่มีบริษัท ซีทรู จำกัด ของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เข้ามาซื้อกิจการต่อ (นายคำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งนิตยสารอิมเมจถึงกับเรียกว่า “อัศวินขี่ม้าขาว”) ทำให้นิตยสารอิมเมจหยุดพิมพ์เพื่อปรับโครงสร้างระหว่างเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2558 ก่อนจะกลับมาวางแผงให้แฟนๆ ได้ซื้ออ่านต่อไป (สุดท้ายปิดตัวไปละ)
นิตยสารดิฉัน ซึ่งวางแผนมากว่า 38 ปี ได้ปรับระยะเวลาวางแผงจากรายปักษ์เป็นรายเดือน เพื่อลดต้นทุนการผลิต
นายศักดิ์ชัย กาย ผู้ก่อตั้งนิตยสาร Lips ประกาศในงานครบรอบ 15 ปีนิตยสาร Lips ว่าจะออกฟรีก็อปปี้ 3 ฉบับ คือ Lips LOVE, Lips GARCON และ Lips PALETTE เพื่อเป็นช่องทางหารายได้จากโฆษณาเพิ่ม ในภาวะที่สื่อออน์ไลน์ทำให้คนอ่านสื่อกระดาษลดลง
สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ประกาศยุติพิมพ์นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ รวมถึงการ์ตูนรวมเล่มหลายๆ เรื่อง อ้างปัญหาการผลิตและสภาพเศรษฐกิจ ก่อนหน้านี้ ในปี 2557 NMG เคยหยุดพิมพ์นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์อันดับหนึ่งของประเทศอย่าง Boom มาแล้ว จากปัญหาคนหันไปอ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์
นิตยสารเปรียว ตีพิมพ์ฉบับเดือนธันวาคม 2558 เป็นฉบับสุดท้าย หลังอยู่คู่วงการสิ่งพิมพ์ไทยมา 35 ปีเต็ม
นิตยสารวรรณกรรม Writer ประกาศหยุดพิมพ์ หลังทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า นิตยสารทีวีพูล และนิตยสาร Spicy ของบริษัท ไทยทีวีพูล จำกัด วางแผนจะเปลี่ยนเป็นฟรีก็อปปี้ในช่วงต้นปี 2559
นิตยสารเกม Play ประกาศยุติการพิมพ์สิ้นปี 2558 และมุ่งหน้าสู่ดิจิทัลเต็มตัว
นิตยสารทางเลือก Way ประกาศผ่านแฟนเพจ จะปรับวิธีการทำงาน ย้ายคอลัมน์หลักไปไว้บนเว็บไซต์ และจะเปลี่ยนเวลาวางแผนจากทุกเดือนเป็นทุก 4 เดือน เพื่อให้เป็นหนังสือที่มีอายุการอ่านนานขึ้น นายอธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Way กล่าวไว้ในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้อ่านว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด “เป็นเพียงการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด มีโอกาสเติบโตบนเงื่อนไขข้อเท็จจริง และมีอนาคต”
บางกอกรายสัปดาห์
Cosmopolitan
Seventeen นี้ไปสิงหานี้
GM ก็จุกอยู่
"ปรับตัว" และ "ปรับเปลี่ยน" แล้ว ต้องหาแหล่งรายได้ใหม่ครับ Ckid ต้องไปคิดบิสซิเนสโมเดลมานอกกรอบไปเลย ไม่งั้นตายแน่
ผมคิดเล่นๆนะ ซื้อหนังสือ มีสติกเกอร์สะสม แจก PS4 เนนโดรอยด์ ฟิกม่า แบบสแตมป์เซเว่น หรือรหัสปกหนงปกใน ชิงรางวัลแบบอิชิตัน ยังทำได้เลย
ความคิดเห็นที่ 15
แปลกใจมากๆ อ่านมาสิบกว่าคอมเม้นท์ไม่มีใครพูดถึงจิตสำนึก-ความรับผิดชอบ-การเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นเลย ที่ญี่ปุ่นซึ่งมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีและใหญ่กว่าไทยมากๆ แถมยังมีการแอบแจกแสกนแล้วถูกจับให้เห็นอยู่เนืองๆ วงการการ์ตูนเขาก็ยังอยู่ได้ เพราะคนของเขายินดีที่จะซื้อมากกว่าหาอ่านหรือดูเถื่อน เขาเคารพตัวเองและสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นจิตสำนึกระดับสูงที่หาได้ยากในบ้านเราครับ
ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการให้การศึกษาด้วยแหละ ที่ญี่ปุ่นเด็ก ป.1-ป.6 นั้น เขาไม่อัดวิชาการสักเท่าไหร่ แต่จะเน้นสอนให้เด็กรู้จักมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น การรู้จักสิทธิส่วนบุคคลของตนเองว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้บ้างเป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ซึ่งวิชาเหล่านี้เมื่อก่อนประเทศไทยเรียกว่าวิชาหน้าที่พลเมืองที่สาบสูญไปจากการศึกษาไทยไปร่วม 30-40 ปี รู้สึกว่าตอนนี้จะเริ่มกลับมาแล้วนะ หวังว่าจะซึมซับกันบ้าง เห็นพ่อแม่บางคนสมัยนี้สปอยล์ลูกจนน่ากลัวเลย
ผมมองว่าถ้าทำให้คนของเราสำนึกเรื่องพวกนี้ได้บ้าง (และอาจจะใช้อำนาจกฏหมายไล่จับพวกของเถื่อนในเน็ทด้วยอีกทาง) ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ของหนังสือการ์ตูนดีขึ้น ผมเห็นว่าหลายๆ สำนักพิมพ์พยายามมากแล้วที่จะต่อสู้และพัฒนา แต่หากผู้บริโภคยังทำตัวเป็นเหลือบไรเหาเห็บปลิงปรสิต สำนักพิมพ์จะสู้ขนาดไหนก็ต้องแพ้อยู่ดี ในเมื่อทำดีให้ตายแต่ขายไม่ได้ก็เท่านั้น
สรุปผมว่านอกจากจะเรียกร้องให้สำนักพิมพ์ปรับตัวแล้ว ยังต้องอัดจิตสำนึกต่างๆ ให้ผู้บริโภคด้วยแหละครับ เห็นออกมาแก้ตัวอ้างโน่นอ้างนี่กันใหญ่แต่ไม่มีใครคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นผู้บริโภคที่ดีเลย
ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการให้การศึกษาด้วยแหละ ที่ญี่ปุ่นเด็ก ป.1-ป.6 นั้น เขาไม่อัดวิชาการสักเท่าไหร่ แต่จะเน้นสอนให้เด็กรู้จักมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น การรู้จักสิทธิส่วนบุคคลของตนเองว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้บ้างเป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ซึ่งวิชาเหล่านี้เมื่อก่อนประเทศไทยเรียกว่าวิชาหน้าที่พลเมืองที่สาบสูญไปจากการศึกษาไทยไปร่วม 30-40 ปี รู้สึกว่าตอนนี้จะเริ่มกลับมาแล้วนะ หวังว่าจะซึมซับกันบ้าง เห็นพ่อแม่บางคนสมัยนี้สปอยล์ลูกจนน่ากลัวเลย
ผมมองว่าถ้าทำให้คนของเราสำนึกเรื่องพวกนี้ได้บ้าง (และอาจจะใช้อำนาจกฏหมายไล่จับพวกของเถื่อนในเน็ทด้วยอีกทาง) ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ของหนังสือการ์ตูนดีขึ้น ผมเห็นว่าหลายๆ สำนักพิมพ์พยายามมากแล้วที่จะต่อสู้และพัฒนา แต่หากผู้บริโภคยังทำตัวเป็นเหลือบไรเหาเห็บปลิงปรสิต สำนักพิมพ์จะสู้ขนาดไหนก็ต้องแพ้อยู่ดี ในเมื่อทำดีให้ตายแต่ขายไม่ได้ก็เท่านั้น
สรุปผมว่านอกจากจะเรียกร้องให้สำนักพิมพ์ปรับตัวแล้ว ยังต้องอัดจิตสำนึกต่างๆ ให้ผู้บริโภคด้วยแหละครับ เห็นออกมาแก้ตัวอ้างโน่นอ้างนี่กันใหญ่แต่ไม่มีใครคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นผู้บริโภคที่ดีเลย
ความคิดเห็นที่ 111
กลับมาอีกนิด เห็นมีคนพูดว่า ยังไงยอดขายก็ลด เพราะเด็กมีทางเลือกบันเทิงอย่างอื่น
ใช่ครับ เด็กยุคใหม่มีทางเลือกในสื่อบันเทิงเยอะขึ่น เกมออนไลน์ มือถือ ฯลฯ
แต่สังเกตไหม ทำไม LN ยังขายดี คนต่อคิวซื้อกันยาวเหยียดในงานหนังสือ? แต่ละค่ายแย่งกันออกใหม่เต็มไปหมด?
เพราะมันยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์น้อยไง แปลeng ตปท.มี แต่ส่วนใหญ่แค่สรุปย่อ เนื้อหาจริงๆยาวกว่าเยอะ รวมไปถึงการพยายาม scan เป็นเล่มๆไป ก็มีน้อยมากๆ เพราะจำนวนหน้าเยอะ จำนวนเรื่องเยอะ พอหาเถื่อนได้ยาก แล้วเรื่องสนุก ดังอยู่ในกระแส ก็ขวนขวายหาซื้อมาอ่านกัน
นั่นแปลว่า เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์หรือของเถื่อน เป็นปัจจัยสำคัญมากๆเลยตะหาก
ใช่ครับ เด็กยุคใหม่มีทางเลือกในสื่อบันเทิงเยอะขึ่น เกมออนไลน์ มือถือ ฯลฯ
แต่สังเกตไหม ทำไม LN ยังขายดี คนต่อคิวซื้อกันยาวเหยียดในงานหนังสือ? แต่ละค่ายแย่งกันออกใหม่เต็มไปหมด?
เพราะมันยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์น้อยไง แปลeng ตปท.มี แต่ส่วนใหญ่แค่สรุปย่อ เนื้อหาจริงๆยาวกว่าเยอะ รวมไปถึงการพยายาม scan เป็นเล่มๆไป ก็มีน้อยมากๆ เพราะจำนวนหน้าเยอะ จำนวนเรื่องเยอะ พอหาเถื่อนได้ยาก แล้วเรื่องสนุก ดังอยู่ในกระแส ก็ขวนขวายหาซื้อมาอ่านกัน
นั่นแปลว่า เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์หรือของเถื่อน เป็นปัจจัยสำคัญมากๆเลยตะหาก
แสดงความคิดเห็น
ก่อนลมหายใจสุดท้าย ของนิตยสารหัวสุดท้าย??......... C-Kids
ย้อนกลับไปช่วงเวลานึงที่ยุดดิจิตอลเริ่มครอบงำแทบทุกอย่าง
บางวงการอยู่ต่อไม่ได้ เช่น CD หรือ DVD เป็นต้น ร้านเช่าไม่ต้องพูดถึงสูญพันธุ์ไปเรียบร้อย ที่ยังเหลืออยู่คืออยู่แบบประคองตัว
รุกรานมาจนถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์
บ้านเราเคยมีนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์รวมๆแล้วอาจจะถึง 30 หัว
หลายๆหัวจากบ้านใหญ่สุขุมวิทปิดตัว ทำตัวเองก็เรื่องนึง แต่ก็เถียงได้ว่าปัจจัยภายนอกก็มีส่วน
หัวใหญ่จากบ้านบางนาโดนเต็มๆ ตั้งแต่สมัย นินจาชุดส้ม ยมทูตหัวส้มยังพีคๆ ท้ายสุดทนไม่ไหว...
มีคนเสียใจบ้าง มีคนเสียดายบ้าง บางคนโทษผู้บริหารกับการลงทุนธุรกิจอื่น แต่ไม่มองตัวเองว่าเอาแต่เสพของเถื่อน
ไปๆมาๆ รู้ตัวกันอีกที ล้มหายตายจากกันไปจวนเจียนจะหมด
เหลือหัวสุดท้าย..... จากบ้านใหญ่ลาดพร้าว โดนเต็มๆไม่ต่างจากบ้านบางนา
-มนุษย์ยางผู้อยากเป็นจ้าวแห่งท้องทะเล
-ศึก หัวดำ กับ หัวเหลือง
-ลูกชายเจ้าของร้านอาหารกับคุณหนูผู้สูงศักดิ์
-ร้านรับจ้างสารพัด และเรื่องอื่นๆอีก
ปรับกลกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ยอมโดนฐานลูกค้าเก่าต่อว่า เอาให้สดใหม่จี้ทันต้นสังกัด
มีกิจกรรมให้ลุ้นชิงรางวัลใหญ่ๆ มีแถมปกพิเศษ เหมือนจะดีขึ้น....
แต่ก็แพ้ ของฟรี
อย่าว่าโลกสวย ของฟรีใครก็ชอบ.....
แต่มันควรคิดถึงใจของคนที่เป็น"เจ้าของ"บ้าง
ทุกวันนี้ Spoil มาวันพฤหัส นิตยสารออกวันจันทร์ 4 วันได้อ่านทันญี่ปุ่นแล้ว
บางเพจปรับกลยุทธ์บ้าง แปลมันให้อ่านคืนวันนั้น(พฤหัส)เลย ที่สำคัญ "ฟรี"
เจ้าของ.... น่าเหนื่อยใจนะครับ ยังไงก็สู้ไม่ได้
หลายๆ ค.ห บอก ฉันไม่ซื้อก็จริง ฉันอ่านเถื่อนฟรีจริง แต่รวมเล่มฉันก็ซื้อนะ
แล้วจากรวมเล่มที่ว่า ไม่ต้องมีเงินหมุนจากการออกรายสัปดาห์มาช่วยจุนเจือเหรอครับ?
ลูกค้าเหนียวแน่นเริ่มบ่นทำไมหลายๆเรื่องทยอยจบ แต่ทำไมไม่ LC เรื่องใหม่มาลงซะที.....
จะเอาเงินจากไหนไปซื้อในเมื่อนิตยสารมันขายไม่ได้
ย้อนกลับไป 2 เดือนก่อน อาการเริ่มออก
C-Kids ฉบับ 28/2016
EDITOR TALK
แม้จะยืนยันว่ายังสู้ แต่ก็ชัดเจนว่าเป็น "ขาลง"
และจากฉบับล่าสุด
C-Kids ฉบับ 35/2016
EDITOR TALK
มันชัดเจนว่า 2 เดือนที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นในทางลบแน่นอน แต่ทีมงานก็ยังพยายามที่จะสู้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการ์ณเหมือนบ้านอื่นๆ
ผมคงไปห้ามไม่ได้ว่าอย่าไปอ่านของเถื่อนเลย ในเมื่อทุกวันนี้บางเพจคนกดไลท์เป็นแสน คนแชร์เป็นพัน
ไร้ประโยชน์ที่จะไปบอกให้ปิดเพจโน้นเพจนั้น น้ำน้อยแพ้ไฟเสมอ มันเลยจุดนั้นไปแล้ว
แต่อย่างน้อยใจผมก็อยากให้สมาชิกหรือหลายๆคนที่เข้ามาอ่านได้เห็นใจ สนพ.ที่ซื้อผลงานเข้ามาบ้าง
บริษัทเสียเงินซื้อ LC มา ปั่นแทบตายทั้งแปลทั้งพิมพ์ มีเวลาแค่ 3-4 วันให้ได้อ่านทันญี่ปุ่น สุดท้ายไร้ค่า?
หลายคนที่เลิกซื้อไปแล้วแต่ยังอ่านการ์ตูนอยู่ก็อยากให้กลับมาซื้อ
อาจจะไม่ต้องทุกสัปดาห์ก็ได้ เดินๆเจอแผงหนังสือ(ที่เหลือน้อยแล้ว) ก็ซื้ออ่านบ้าง
ผมเป็นคนนึงที่เคยเลิกซื้อไปหลายปี แต่ก็กลับมาซื้อเพราะไม่อยากให้อะไรๆที่เคยมีนั้นหายไปหมด
ทุกวันนี้แอบเศร้า มองไปบนแผงเห็นนิตยสารการ์ตูนเหลืออยู่หัวเดียวคือ C-Kids
วันนึงไม่อยู่แล้ว ปิดตัวไปแล้วมานั่งเสียดายก็สาย
การปิดตัวของนิตยสารมันเป็นจุดเริ่มต้นแนวโน้มของ สนพ.ในทางไหน พวกเราๆนักอ่านนั้นรู้ดี
ทุกวันนี้ทั้ง N ทั้ง V กับการออกหนังสือเป็นยังไงทุกคนทราบ......
S นั้นอาจจะสายพานใหญ่กว่าชาวบ้าน แต่ไม่มีอะไรยืนยันว่า "วันนั้น" ที่ 2 ค่ายใหญ่เป็นจะไม่มาถึง
อย่าให้อะไรมันสายเกินไป เพียงเพราะประโยคที่ว่า "มีของฟรีให้อ่าน"