สาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เวเนซุเอลา เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหาร มันคือสาเหตุอะไรครับ

พอดีลองอ่านหลายข่าว หลายแหล่ง สาเหตุมันแตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าประเทศนี้ส่งออกนำมันเป็นหลัก ในประเทศไม่ค่อยมีการผลิตอาหารอยู่แล้ว จึงเกิดวิกฤติขึ้นเมื่อราคาน้ำมันตก บ้างก็ว่าเกิดจากนโยบายภาครัฐเอง รวมทั้งนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนร่วมด้วย

ท่านไหนพอจะบอกได้ไหมครับว่าสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เวเนซุเอลา เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหาร มันคือสาเหตุอะไรครับ
แล้วพอจะมีตัวเลขสถิติที่พิสูจน์ให้เห็นชัดเจนไหมครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ประชานิยม ก็มีข้อดีของมัน ถ้าใช้ให้ถูก ใช้ให้พอเหมาะพอควร  หรือประเทศที่เจริญแล้ว  เขาก้าวไปถึงรัฐสวัสดิการด้วยซ้ำ
การให้หลักที่เรียกว่า ประชานิยม ในประเทศอื่นๆ ก็มี  แต่ก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาล มีฝ่ายค้าน  ไม่ใช่ว่าจะออกมาได้ด้วยคนๆ เดียว


สถานการณ์ใน เวเนซุเอลา  มันต้องโทษผู้นำประเทศ ตั้งแต่ ฮูโก ซาเวส  วางแผนผิด ปกครองผิด  จนประเทศล่มจม ของจริง
ฮูโก ซาเวส  นับแต่ขึ้นสู่อำนาจ  ก็ใช้นโยบายแบบสังคมนิยม+มาร์กซิส ที่เขาชื่นชอบนั้นแหละ

ซึ่งในการปกครองแบบสังคมนิยม เต็มขั้นนั้น พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่มีประเทศไหนเจริญ  ไม่ว่าจะเป็น โซเวียต ในอดีต เกาหลีเหนือ
คิวบา  จนหลายๆ ประเทศต้องเปลี่ยนแปลง
ซาเวส เล่นการปกครองนี้ แต่เป็นการปกครองที่ มีเงิน  เพราะมีน้ำมันเป็นรายได้สำคัญ และราคาสูงในสมัยนั้น


ตอนนั้น ซาเวส เป็น ฮีโร่ ของมวลชนที่เกลียดชัง อเมริกา เพราะไม่ง้อ ไม่กลัว  เข้าขั้นเกลียดและไม่เผาผี
ซาเวส  ทำเหมือนกลุ่มคนบางประเทศแถวนี้เลย  คือสร้างให้ อเมริกา เป็นปีศาจ ตัวร้าย สร้างอารมณ์ร่วมให้กับมวลชน

ไม่ง้อ ไม่ทำธุรกิจกับอเมริกา  รัฐวิสาหกิจ ก็ยึดเป็นของรัฐ  บริษัทน้ำมันต่างชาติ  ก็ยึดเอาดื้อๆ    แล้วท่านคิดว่าประเทศอื่นที่ไหน ใครจะ
เข้าไปทำธุรกิจ ในเวเนซุเอลา

ซาเวส คงคิดว่า น้ำมันจะแพงทะลุโลกตลอดกาล  เอาแต่คุยกับประเทศอย่างคิวบา ไม่ทำมาหากินกับ อเมริกา หรือบริษัทต่างชาติ
ตอนนั้น มีหลายๆ คนชื่นชมผู้นำคนนี้มาก  ทั้งผู้คลั่งไคล้ทฤษฎีสมคบคิด  และผู้ที่เกลียดชังอเมริกา คนไทยบางกลุ่มยังชอบเลยในตอนนั้น

ซาเวส คงทนงตนว่า ประเทศตัวเอง ยืนอยู่ได้โดยไม่ต้องง้อใคร  การเอารายได้น้ำมันมาแจกแบบสังคมนิยม+มาร์กซิส  หรือประชานิยม
ถูกนำมาใช้


มาดูโร ก็ทำทุกอย่างเหมือนที่ ซาเวส ทำ อย่างเหนียวแน่น ไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ที่เปลี่ยนคือ ราคาน้ำมันตก  บริษัทต่างชาติไม่ลงทุน
ในเวเนซุเอลา ไม่ง้อ ไม่ค้าขายกับหลายๆ ประเทศมานาน  ส่งออกแต่น้ำมัน

ก็เป็นอย่างนี้แหละ  ไม่น่าแปลกใจ ขนาดปัญหาเกิดเพราะตัวเอง  ยังโทษไอ้กัน  ขนาด ซาเวส เป็นมะเร็ง ยังบอกว่าเป็นเพราะถูกไอ้กัน
วางยา  ปัญหาทุกอย่างของประเทศโทษแต่ปีศาจที่สร้างขึ้นมา แต่ไม่โทษการบริหารของตัวเอง  แนวคิดแบบนี้มันก็ต้องนับถอยหลังอยู่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 23
หลายคนคงจำได้หลายปีก่อนรวมไปถึงปัจจุบัน มีคนกลุ่มนึงเรียกร้องโดยให้นำ เวเนซุเอล่าโมเดลมาใช้สังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน โดยให้ยึดเอากิจการเอกชนมาให้รัฐทำเอง และยังมีการชื่นชมไปอีกว่า เค้านั้นได้ทำเพื่อประชาชนที่แท้จริง มีการเรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ให้ให้มากขึ้นจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมอีกด้วย แล้วก็ยังขายฝันด้วยการบอกว่า ถ้ามีการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมา ประชาชนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
โดยปัจจุบัน เดือน สิงหาคม 2559 ราคาน้ำมันอาจจะถูกจริง ประชาชนอาจมีรายได้เยอะ แต่มีเงินไม่มีของ ซื้อของไม่ได้เพราะขาดตลาด ประชาชน ต้องข้ามชายแดนไปหาซื้อสินค้ามาใช้ เพราะในประเทศไม่มี รวมไปถึงรัฐบาลได้มีมาตรการให้พนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการจะต้องทำเกษตรกรรมในพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ของทางการเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน และอาจจะมีการต่ออายุมาตรการนี้หากเห็นว่าเหมาะสม
----- แนวคิดการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ และ ยึดกิจการมาให้รัฐทำเอง -----
แท้ที่จริงแล้ว มันเป็นการขายฝัน สร้างแนวคิด สังคมนิยม (Socialism) เพราะคิดว่าตัวเองร่ำรวยจากการขายน้ำมันที่เริ่มพุ่งสูงขึ้น ก็ได้เริ่มจัดตั้ง “บรรษัทพลังงานแห่งชาติเวเนซูเอลา” Petroleos De Venezuela, S.A. (PDVSA) ขึ้นแล้วเริ่มยึดคืนกิจการน้ำมันจากทุนพลังงาน โดยเฉพาะจากต่างชาติ ให้รัฐเข้าเป็นเจ้าของและก็เป็นผู้บริหารเองทั้งหมด ตอนแรกทำท่าเหมือนจะดูดี แต่พอนานๆ เข้าก็เหมือน “รัฐวิสาหกิจ” ทั้งหลายในแทบทุกแห่ง ที่ประสิทธิภาพไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ มีการเพิ่มคนที่เป็นพรรคพวกเข้าไปเยอะแยะ การลงทุนมีน้อยและไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตเลยสูงขึ้นๆ ในขณะที่ผลผลิตลดลง (ไม่เกิดการแข่งขัน ไม่มีประสิทธิภาพ)
----- มรดกที่ชาเวซทิ้งไว้ให้ชาวเวเนซูเอล่า -----
ซึ่งหลังจากที่นาย ชาเวซ สิ้นชีวิตลง และทิ้งไว้เป็นมรดกให้ชาวเวเนซูเอล่าคือการบริหารเศรษฐกิจภายใต้นายชาเวซ มักมีการเปลี่ยนแปลงแบบอำเภอใจทำให้นักลงทุนต่างชาติเข็ดขยาด ขณะที่การผลิตในประเทศลดลงเนื่องจากที่ดินที่บังคับเวนคืนถูกปล่อยทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ พึ่งพาอาหารนำเข้าแทนการส่งเสริมผลิตเอง ความพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อด้วยการตรึงราคา นำไปสู่ปัญหาขาดแคลนอาหาร อาทิ นม น้ำมันพืชและน้ำตาล รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามายากจะหลีกเลี่ยงการลดงบประมาณรายจ่าย และลดค่าเงินลงอีก ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อและความไม่สงบตามมา
‪#‎สรุป1‬ คุ้นไม๊ๆครับ แนวคิดนี้ ที่มีกลุ่มคนบางกลุ่ม พยายามร่าง พรบ. ปิโตรเลียม ฉบับนึงขึ้นมา โดยให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ แถมยังมีการให้ส่งตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปนั่งทำงาน แล้วตั้งราคาพลังงานเอาใจประชาชน แถมยังให้เอาแปลงปิโตรเลียมต่างๆ ที่สิ้นอายุในประเทศมาให้รัฐทำเอง
‪#‎สรุป2‬ เราคงลืมไปกันแล้วหรือเปล่าว่า ในอดีต ส.ว. กทม. ท่านหนึ่ง ได้เคยกล่าวไว้ว่า หากเราต้องมีการใช้พลังงานที่แพง กลไกในราคาตลาดโลก เราควรปิดสัมปทานจะดีไหม และเก็บทรัพยากรเหล่านี้ไว้ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานให้มีใช้ต่อไป ในเมื่อเราไม่ได้รับประโยชน์จากการที่มีทรัพยากรในบ้านของเรา แต่เราไม่ได้สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ของประเทศเวเนซุเอลา ที่เพิ่งล่วงลับไปมีการปกครองประเทศมายาวนาน 14 ปี หลังขึ้นครองตำแหน่งได้เรียกผู้ประกอบการน้ำมันมาเจรจาเอาผลประโยชน์กลับมาได้ 82% อย่างน้อย และเอาหลักประชานิยมมาพัฒนาประเทศชัดเจน และ 3 กระทรวงเกี่ยวกับบ้าน อาหาร และพลังงาน และเอาเงินจากพลังงานมาพยุงธุรกิจขนาดกลาง และเล็กให้ก้าวหน้าไปได้ และประเทศเวเนซุเอลานั้นขุดน้ำมันมาใช้น้อยกว่าบ้านเรา แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศมากมาย (ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx…)
‪#‎สรุป3‬ เป็นอย่างไรบ้างครับ เวเนซุเอล่าในตอนนี้ ยังอยากให้ประเทศไทยเราเจริญรอยตามเค้าอีกหรือไม่? คงต้องตั้งคำถามเยอะๆ ให้กับโมเดลนี้


อ้างอิงจากเพจนี้ครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี

https://www.facebook.com/nongposamm/photos/a.1548159858783765.1073741828.1547935488806202/1771868386412910/?type=3&theater

อาจจะช่วยอธิบาย เหตุที่ทำให้เวเนซุเอร่าพลาดท่าทำระบบล่ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่