Qomolangma หมายถึง "มารดาแห่งสวรรค์" เป็นคำที่ชาวทิเบตใช้เรียกชื่อภูเขาลูกหนึ่ง
ต่อมาคือภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ที่คนรู้จักกันในชื่อ "Everest"
...................................
ผมเชื่อว่าเส้นทางสู่ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก บนดินแดน "หลังคาโลก"
คงจะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางในฝันของนักเดินทางหลายๆคนที่อยากไปสัมผัส
ผมเลยอยากบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางในครั้งนี้ เผื่อว่าจะช่วยจุดประกายความคิด
ต่อเติมความฝัน และช่วยตัดสินใจก้าวเดินไปในเส้นทางนี้
เราไม่รู้ว่าวันข้างหน้า สภาพร่างกายของเราจะยังพร้อมอยู่มั้ย
รีบไปกันตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่นะครับ
-การขออนุญาต TTB Permit-
เนื่องจากการเดินทางเข้าสู่เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อน
ครั้งนี้เราติดต่อเอเจนซี่ทัวร์ของ Chinayak เป็นคนจัดการให้ ทั้งการขอใบอนุญาต จัดโปรแกรมทัวร์ทิเบต 7 วัน
แบบ Private Group จองตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน ทริปนี้มีทั้งหมด 5 คน แต่ถ้าใครต้องการเดินทางคนเดียว
ก็สามารถไป Join Group กับนักท่องเที่ยวคนอื่นได้ ค่าทัวร์ก็จะถูกกว่าแบบ Private Group นะครับ
-การขอวีซ่าจีน-
ถ้าบอกว่าเราจะไปทิเบต วีซ่าเราอาจจะมีปัญหา หรืออนุญาตให้อยู่ได้ไม่ถึง 15 วันนะครับ
ครั้งนี้เราบอกว่าจะไปฉงชิ่งกับเฉินตู เลยไม่มีปัญหา แต่เพื่อนร่วมทริปคนนึงกรอกอาชีพ
"สื่อมวลชน" ทำให้ต้องไปยื่นวีซ่าอีกรอบ พร้อมแนบเอกสารรับรองจากบริษัทว่าจะไปเที่ยวส่วนตัว
ไม่ได้ไปทำงาน และพอวีซ่าผ่านก็อนุญาตให้อยู่จีนได้ไม่ถึง 15 วัน
-การเตรียมตัว-
สิ่งสำคัญที่สุดคือ "สุขภาพร่างกายของเรา" เราจึงควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอก่อนไป
เพราะไม่รู้ว่า "เราจะแพ้ความสูงหรือไม่" และจะมีอาการอย่างไร รุนแรงมากน้อยแค่ไหน
ผมแนะนำว่าควรออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายฟิตพร้อมก่อนเดินทางนะครับ
เตรียมยาต่างๆ ไปให้พร้อม เผื่อทุกอาการที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้ใช้นั่นคือความโชคดีของเรา
ทริปนี้เราทานยา Diamox ก่อนเดินทางสองวัน วันละ 1 เม็ด แต่อาจมีผลข้างเคียงคือมือเท้าชาบ้าง
"ทิชชู่เปียก" "กระบอกน้ำร้อน" สองอย่างนี้สำคัญมากต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะบนรถไฟ 2 วัน
เดือนเมษายนบ้านเราอากาศร้อน แต่ที่ทิเบตโดยเฉพาะเขต EBC อากาศหนาวติบลบนะครับ
แดดที่นั่นแรงมาก "แว่นตากับครีมกันแดด" จำเป็นมาก เครื่องกันหนาวก็ต้องทนอากาศติดลบได้นะครับ
ควรทำประกันการเดินทางเผื่อไว้ด้วยนะครับ เมื่อทุกอย่างพร้อม เราก็เดินทางกันเลยครับ
แผนการเดินทางในครั้งนี้
7 เมษายน 2559 : เดินทางไปฉงชิ่ง ต่อไปเมืองเฉิงตู และนั่งรถไฟไปลาซา
8 เมษายน 2559 : อยู่บนรถไฟ
9 เมษายน 2559 : ถึงลาซา
10 เมษายน 2559 : Potala Palace, Jokhang Temple
11 เมษายน 2559 : เดินทางสู่เมือง Shigatse, Tashilhunpo Monastery
12 เมษายน 2559 : เดินทางสู่ EBC
13 เมษายน 2559 : เดินทางกลับเมือง Shigatse
14 เมษายน 2559 : เดินทางกลับลาซา แวะเมือง Gyantse, Pelkor Chode Monastery,
Yamdrok Lake, Karola Glacier
15 เมษายน 2559 : นั่งรถไฟจากลาซากลับเฉิงตู
16 เมษายน 2559 : อยู่บนรถไฟ
17 เมษายน 2559 : ถึงเฉิงตู นั่งรถไฟความเร็วสูงกลับฉงชิ่ง
18 เมษายน 2559 : กลับไทย
การเดินทางครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก 3 คน รวมผมด้วย จะนั่งรถไฟไปลาซา
ส่วนเพื่อนอีก 2 คน จะบินไปลาซา ออกเดินทางวันที่ 9 เมษายน บินไปลงฉงชิ่ง
แล้วรอรับ Permit จากเอเจนซี่ แล้วต่อเครื่องไปลาซา
-7 เมษายน 2559-
เราออกเดินทางจากดอนเมือง ไปลงฉงชิ่ง เนื่องจากเราต้องบินไฟลท์เช้ามาก
เราสามคนจึงนัดกันมานอนค้างที่สนามบิน การเดินทางเริ่มระทึกเมื่อเราจำเวลาบอร์ดดิ้งผิด
เราจึงต้องแบกกระเป๋าวิ่งที่ดอนเมือง เกือบตกบัสเกทรอบสุดท้าย ลุ้นๆ ตั้งแต่ออกเดินทางเลยครับ
ฉงชิ่งต้อนรับด้วยอากาศขมุกขมัว แต่เราไม่ได้สนใจเพราะฉงชิ่งคือเมืองผ่าน เราจะเดินทางต่อไปเฉิงตู
ออกมาด้านนอกสนามบิน แล้วเดินไปทางอาคารภายในประเทศ จะเจอสถานีรถไฟใต้ดิน
เรานั่งรถไฟใต้ดินไปสถานีรถไฟฉงชิ่ง (เหนือ) ตามเมืองใหญ่ของจีนจะมีสถานีรถไฟหลายสถานี
ดูกันดีๆ นะครับ เราต้องไปที่สถานีรถไฟฉงชิ่งเหนือเพื่อซื้อตั๋วรถไฟไปเมืองเฉิงตู
สถานีรถไฟฉงชิ่ง (เหนือ) มีสองสถานี คือ สถานีรถไฟความเร็วธรรมดากับความเร็วสูง ซึ่งจะอยู่คนละฝั่งกัน
แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเดินทะลุกันได้ เหมือนกำลังก่อสร้างทางเดินใต้ดินให้ทะลุถึงกันอยู่
คราวนี้เรามาผิด มาซื้อตั๋วที่อาคารของฝั่งรถไฟธรรดา พนักงานก็พยายามจะบอกเราอะไรสักอย่าง
แต่เราฟังจีนไม่ออก แล้วเขาก็ชี้ไปที่ป้าย ซึ่งมีแต่ภาษาจีนกับตัวเลข 663
หลังมื้อเที่ยง เราแบกเป้เดินเข้าไปในอาคารผู้โดยสารรถไฟธรรมดา แต่โดนเจ้าหน้าที่ไล่ออกมา
และชี้มือมาทางถนน พวกเราพยายามถามคนจีนแถวนั้น พร้อมทั้งเอาตั๋วรถไฟให้เขาดู
เขาชี้มือมาที่ป้ายรถเมล์ จึงเข้าใจว่าเรามาผิดฝั่ง ต้องขึ้นรถเมล์เพื่อไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง
ใครไปฉงชิ่งดูดีๆ นะครับ จะได้ไม่หลงเหมือนพวกเรา และเกือบตกรถไฟด้วย
รถเมล์วิ่งมาอีกฟากของสถานีรถไฟความเร็วธรรมดา ก็มาเจอกับสถานีรถไฟความเร็วสูง
จุดขายตั๋วจะอยู่ชั้นล่างนะครับ สถานีรถไฟที่จีนจะตรวจเข้มงวด ควรเผื่อเวลาให้ดี
หลังผ่านด่านตรวจก็เดินเข้ามาภายในสถานี ใหญ่โตตามแบบฉบับของจีน
เราเดินไปยังเกท แต่ไม่เจอคนอยู่สักคน เริ่มเอะใจแล้วสิ เกิดอะไรขึ้นวะ
เราก็รีบลงบันไดเลื่อนมาที่ชั้นชานชาลา พนักงานกวักมือเรียกรัวๆ เลยครับ
พวกเราวิ่งอีกแล้วครับ ระทึกอีกแล้ว เหนื่อยอีกแล้วครับ
เกือบตกรถไฟ รถไฟจีนตรงเวลานะครับ ควรจะดูเวลาดีๆ
พวกเราก็เผื่อเวลาพอสมควรนะ แค่ไปผิดสถานีเท่านั้นเอง
รถไฟความเร็วสูงมี 2 แบบครับ รหัส G จะเร็วสุด แพงสุด เกือบ 300 กม./ชม.
และรหัส D จะช้าลงมาหน่อย ราคาก็ลดหลั่นลงมา เวลาซื้อตั๋วก็เลือกได้ว่าจะเอาแบบไหน
แต่บางทีก็เลือกไม่ได้นะครับ เพราะคนจีนใช้รถไฟเยอะ และถ้าเราต่อคิวซื้อตั๋วนาน
คนจีนที่ต่อคิวอยู่ด้านหลังเราจะเริ่มส่งเสียง เหมือนไม่พอใจเรา
ใช้เวลาชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงเฉิงตู เราต้องต่อรถไฟใต้ดินเพื่อไปสถานีรถไฟเฉิงตู(เหนือ)
แต่เราไม่ต้องรีบแล้ว เพราะยังเหลือเวลาอีกเยอะ คุณเจน(เอเจนซี่) นัดกับเราหน้าร้าน KFC
เจนเดินเข้ามาทักทายพวกเรา พร้อมกับชี้แจงรายละเอียดต่างๆ จ่ายเงินส่วนที่เหลือ
ที่เฉินตูเราได้เจอกับ "เน" สาวไทยที่เด็ดเดี่ยว ไปเที่ยวลาซาคนเดียวแบบ Join Group
เจนพาเราเข้าไปในสถานี ที่รอขึ้นรถไฟไปลาซาจะถูกแยกออกจากส่วนอื่นๆ
ด้านในคนนั่งรอแน่นจนแทบจะไม่มีทางเดิน ระหว่างรอเจ้าหน้าที่จะแจกเอกสารแผ่นนึง
เหมือนเป็นใบยอมรับความเสี่ยงในการเดินทางครั้งนี้ สองทุ่มกว่าเจนส่งเราขึ้นรถไฟ
เราไม่ต้องรีบขึ้นรถไฟก็ได้นะครับ รอให้คนจีนเขาขึ้นไปก่อน เพราะมันวุ่นวายมาก
การเดินทางสู่ลาซา สามารถเดินทางได้จากหลายเมืองในจีนนะครับ ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้
กวางโจว ฉงชิ่ง และเฉิงตู บางเส้นทางรถไฟไม่ได้วิ่งทุกวัน ตรวจสอบกันดีๆ นะครับ
และควรให้เวลาเอเจนซี่จองตั๋วแต่เนิ่นๆ เพราะโอกาสที่เราจะได้เตียงล่างมีสูง
ครั้งนี้เราไปเริ่มต้นที่เฉินตูเพราะเดือนเมษายน รถไฟสายเฉินตูจะวิ่งวันคี่ ฉงชิ่งวิ่งวันคู่
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 43 ชั่วโมง เกือบสองวันเต็มครับที่เราต้องใช้ชีวิตบนรถไฟ
การนั่งรถไฟมีข้อดีนะครับ เพราะรถไฟจะวิ่งใต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เรามีเวลาให้ร่างกายได้ปรับตัวกับความสูง การบินตรงไปลาซาเลยจึงเสี่ยงกว่า
และสิ่งที่ทุกคนบนรถไฟเฝ้ารอ คือวิวสวยๆ สองข้างทางรถไฟนั่นเองครับ
ขึ้นรถไฟมาสักพัก เจ้าหน้าที่จะเอาบัตรแข็งมาแลกกับตั๋ว และจะแลกคืนก่อนถึงลาซา
ควรพกติดตัวตลอดนะครับ เพราะเจ้าหน้าที่จะตรวจถ้าเราเดินข้ามประเภทตู้นะครับ
รถไฟไปลาซามีที่นั่ง 3 แบบ แบบแรกคือ Hard Seat ราคาถูกสุด
แต่ต้องนั่งหลังตรงตลอดสองวัน แบบนี้ไม่แนะนำนะครับออกแนวทรมาน
สภาพภายในตู้โดยสารค่อนข้างแย่ คนนั่งระเกะระกะ บางตู้นั่งแบบเกลื่อนกลาด
สัมภาระวางเกะกะ ควันบุรี่ยังกะไฟไหม้ สภาพห้องน้ำนี่หนักเลยครับ
แบบที่สอง (ผมไปแบบนี้) Hard Sleeper เป็นตู้นอนนะครับ 1 ห้องนอนจะมี 6 เตียง
ฝั่งละ 3 เตียง มีโต้ะอาหารอยู่ติดหน้าต่าง มีกระติกน้ำร้อนไว้กดน้ำอันใหญ่ใบนึง
เตียงล่างจะสบายสุด เพราะนั่งได้แต่ราคาจะแพงที่สุด เตียงกลางถูกลงมาพอนั่งได้แบบก้มหัว
เตียงบนถูกที่สุด มีที่วางกระเป๋ากว้างที่สุด ใกล้ช่องแอร์ด้วย แต่ลำบากต้องปีนขึ้นลง
มีหมอนพร้อมผ้าห่ม ที่หัวเตียงมีช่องต่อท่อออกซิเจน ใครไม่ไหวไปขอท่อได้ที่พนักงาน
แบบสุดท้ายคือ Soft Sleeper แบบนี้แพงสุด หรูสุด 1 ห้องมีแค่ 4 เตียง มีประตูห้องด้วย
ด้านหน้าห้องมีโต้ะตัวเล็กพร้อมเก้าอี้ให้นั่งเล่น ใครมาก่อนได้ก่อน
ใครลุกเสียม้า คนส่วนใหญ่ที่มานั่งคือคนที่ได้เตียงกลางกับเตียงบน
เพราะสองเตียงนี้มันนั่งไม่ได้ ต้องนอนอย่างเดียว
-8 เมษายน 2559-
หนึ่งคืนบนรถไฟผ่านไป รถไฟมาจอดที่สถานี คนในห้องต่างๆ ทะยอยเดินลงไปด้านล่าง
พวกเราจึงลงไปสำรวจสถานี ใครต้องการตุนสเบียงก็หาซื้อได้
พอได้เวลาขึ้นรถ พนักงานก็จะเรียกเอง ไม่ต้องกลัวตกรถไฟ
ชีวิตบนรถไฟก็นั่งๆ นอนๆ ดูวิวบ้าง ต้มมาม่าบ้าง จิบชาบ้าง เดินเล่นบ้าง
ตอนเที่ยงเราพยายามจะเดินไปตู้เสบียง ซึ่งต้องผ่านด่าน Hard Seat
สภาพมันเละเทะมาก จนเราไม่สามารถฝ่าไปได้เลย สุดท้ายก็รอรถเข็น
อาหารบนรถไฟราคาสูงนะครับ ถ้าต้องการประหยัดควรตุนเสบียงให้พอ
ลงไปเดินยืดเส้นยืดสายบ้าง แต่อย่าขึ้นมาช้านะครับ
โต๊ะประจำเราจะมีคนมาแทนที่ และรอเอาวิชาเก้าอี้ดนตรีมาใช้
[img]
http://f.ptcdn.info/885/044/000/ob9v5eoxhvyYpugH47Y-o.jpg[/im
[CR] Qomolangma : มารดาแห่งสวรรค์
ต่อมาคือภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ที่คนรู้จักกันในชื่อ "Everest"
คงจะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางในฝันของนักเดินทางหลายๆคนที่อยากไปสัมผัส
ผมเลยอยากบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางในครั้งนี้ เผื่อว่าจะช่วยจุดประกายความคิด
ต่อเติมความฝัน และช่วยตัดสินใจก้าวเดินไปในเส้นทางนี้
เราไม่รู้ว่าวันข้างหน้า สภาพร่างกายของเราจะยังพร้อมอยู่มั้ย
รีบไปกันตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่นะครับ
เนื่องจากการเดินทางเข้าสู่เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อน
ครั้งนี้เราติดต่อเอเจนซี่ทัวร์ของ Chinayak เป็นคนจัดการให้ ทั้งการขอใบอนุญาต จัดโปรแกรมทัวร์ทิเบต 7 วัน
แบบ Private Group จองตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน ทริปนี้มีทั้งหมด 5 คน แต่ถ้าใครต้องการเดินทางคนเดียว
ก็สามารถไป Join Group กับนักท่องเที่ยวคนอื่นได้ ค่าทัวร์ก็จะถูกกว่าแบบ Private Group นะครับ
ถ้าบอกว่าเราจะไปทิเบต วีซ่าเราอาจจะมีปัญหา หรืออนุญาตให้อยู่ได้ไม่ถึง 15 วันนะครับ
ครั้งนี้เราบอกว่าจะไปฉงชิ่งกับเฉินตู เลยไม่มีปัญหา แต่เพื่อนร่วมทริปคนนึงกรอกอาชีพ
"สื่อมวลชน" ทำให้ต้องไปยื่นวีซ่าอีกรอบ พร้อมแนบเอกสารรับรองจากบริษัทว่าจะไปเที่ยวส่วนตัว
ไม่ได้ไปทำงาน และพอวีซ่าผ่านก็อนุญาตให้อยู่จีนได้ไม่ถึง 15 วัน
สิ่งสำคัญที่สุดคือ "สุขภาพร่างกายของเรา" เราจึงควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอก่อนไป
เพราะไม่รู้ว่า "เราจะแพ้ความสูงหรือไม่" และจะมีอาการอย่างไร รุนแรงมากน้อยแค่ไหน
ผมแนะนำว่าควรออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายฟิตพร้อมก่อนเดินทางนะครับ
เตรียมยาต่างๆ ไปให้พร้อม เผื่อทุกอาการที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้ใช้นั่นคือความโชคดีของเรา
ทริปนี้เราทานยา Diamox ก่อนเดินทางสองวัน วันละ 1 เม็ด แต่อาจมีผลข้างเคียงคือมือเท้าชาบ้าง
"ทิชชู่เปียก" "กระบอกน้ำร้อน" สองอย่างนี้สำคัญมากต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะบนรถไฟ 2 วัน
เดือนเมษายนบ้านเราอากาศร้อน แต่ที่ทิเบตโดยเฉพาะเขต EBC อากาศหนาวติบลบนะครับ
แดดที่นั่นแรงมาก "แว่นตากับครีมกันแดด" จำเป็นมาก เครื่องกันหนาวก็ต้องทนอากาศติดลบได้นะครับ
ควรทำประกันการเดินทางเผื่อไว้ด้วยนะครับ เมื่อทุกอย่างพร้อม เราก็เดินทางกันเลยครับ
7 เมษายน 2559 : เดินทางไปฉงชิ่ง ต่อไปเมืองเฉิงตู และนั่งรถไฟไปลาซา
8 เมษายน 2559 : อยู่บนรถไฟ
9 เมษายน 2559 : ถึงลาซา
10 เมษายน 2559 : Potala Palace, Jokhang Temple
11 เมษายน 2559 : เดินทางสู่เมือง Shigatse, Tashilhunpo Monastery
12 เมษายน 2559 : เดินทางสู่ EBC
13 เมษายน 2559 : เดินทางกลับเมือง Shigatse
14 เมษายน 2559 : เดินทางกลับลาซา แวะเมือง Gyantse, Pelkor Chode Monastery,
Yamdrok Lake, Karola Glacier
15 เมษายน 2559 : นั่งรถไฟจากลาซากลับเฉิงตู
16 เมษายน 2559 : อยู่บนรถไฟ
17 เมษายน 2559 : ถึงเฉิงตู นั่งรถไฟความเร็วสูงกลับฉงชิ่ง
18 เมษายน 2559 : กลับไทย
การเดินทางครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก 3 คน รวมผมด้วย จะนั่งรถไฟไปลาซา
ส่วนเพื่อนอีก 2 คน จะบินไปลาซา ออกเดินทางวันที่ 9 เมษายน บินไปลงฉงชิ่ง
แล้วรอรับ Permit จากเอเจนซี่ แล้วต่อเครื่องไปลาซา
เราออกเดินทางจากดอนเมือง ไปลงฉงชิ่ง เนื่องจากเราต้องบินไฟลท์เช้ามาก
เราสามคนจึงนัดกันมานอนค้างที่สนามบิน การเดินทางเริ่มระทึกเมื่อเราจำเวลาบอร์ดดิ้งผิด
เราจึงต้องแบกกระเป๋าวิ่งที่ดอนเมือง เกือบตกบัสเกทรอบสุดท้าย ลุ้นๆ ตั้งแต่ออกเดินทางเลยครับ
ฉงชิ่งต้อนรับด้วยอากาศขมุกขมัว แต่เราไม่ได้สนใจเพราะฉงชิ่งคือเมืองผ่าน เราจะเดินทางต่อไปเฉิงตู
ออกมาด้านนอกสนามบิน แล้วเดินไปทางอาคารภายในประเทศ จะเจอสถานีรถไฟใต้ดิน
ดูกันดีๆ นะครับ เราต้องไปที่สถานีรถไฟฉงชิ่งเหนือเพื่อซื้อตั๋วรถไฟไปเมืองเฉิงตู
แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเดินทะลุกันได้ เหมือนกำลังก่อสร้างทางเดินใต้ดินให้ทะลุถึงกันอยู่
คราวนี้เรามาผิด มาซื้อตั๋วที่อาคารของฝั่งรถไฟธรรดา พนักงานก็พยายามจะบอกเราอะไรสักอย่าง
แต่เราฟังจีนไม่ออก แล้วเขาก็ชี้ไปที่ป้าย ซึ่งมีแต่ภาษาจีนกับตัวเลข 663
และชี้มือมาทางถนน พวกเราพยายามถามคนจีนแถวนั้น พร้อมทั้งเอาตั๋วรถไฟให้เขาดู
เขาชี้มือมาที่ป้ายรถเมล์ จึงเข้าใจว่าเรามาผิดฝั่ง ต้องขึ้นรถเมล์เพื่อไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง
ใครไปฉงชิ่งดูดีๆ นะครับ จะได้ไม่หลงเหมือนพวกเรา และเกือบตกรถไฟด้วย
จุดขายตั๋วจะอยู่ชั้นล่างนะครับ สถานีรถไฟที่จีนจะตรวจเข้มงวด ควรเผื่อเวลาให้ดี
เราเดินไปยังเกท แต่ไม่เจอคนอยู่สักคน เริ่มเอะใจแล้วสิ เกิดอะไรขึ้นวะ
พวกเราวิ่งอีกแล้วครับ ระทึกอีกแล้ว เหนื่อยอีกแล้วครับ
เกือบตกรถไฟ รถไฟจีนตรงเวลานะครับ ควรจะดูเวลาดีๆ
พวกเราก็เผื่อเวลาพอสมควรนะ แค่ไปผิดสถานีเท่านั้นเอง
และรหัส D จะช้าลงมาหน่อย ราคาก็ลดหลั่นลงมา เวลาซื้อตั๋วก็เลือกได้ว่าจะเอาแบบไหน
แต่บางทีก็เลือกไม่ได้นะครับ เพราะคนจีนใช้รถไฟเยอะ และถ้าเราต่อคิวซื้อตั๋วนาน
คนจีนที่ต่อคิวอยู่ด้านหลังเราจะเริ่มส่งเสียง เหมือนไม่พอใจเรา
แต่เราไม่ต้องรีบแล้ว เพราะยังเหลือเวลาอีกเยอะ คุณเจน(เอเจนซี่) นัดกับเราหน้าร้าน KFC
เจนเดินเข้ามาทักทายพวกเรา พร้อมกับชี้แจงรายละเอียดต่างๆ จ่ายเงินส่วนที่เหลือ
ที่เฉินตูเราได้เจอกับ "เน" สาวไทยที่เด็ดเดี่ยว ไปเที่ยวลาซาคนเดียวแบบ Join Group
เจนพาเราเข้าไปในสถานี ที่รอขึ้นรถไฟไปลาซาจะถูกแยกออกจากส่วนอื่นๆ
ด้านในคนนั่งรอแน่นจนแทบจะไม่มีทางเดิน ระหว่างรอเจ้าหน้าที่จะแจกเอกสารแผ่นนึง
เหมือนเป็นใบยอมรับความเสี่ยงในการเดินทางครั้งนี้ สองทุ่มกว่าเจนส่งเราขึ้นรถไฟ
เราไม่ต้องรีบขึ้นรถไฟก็ได้นะครับ รอให้คนจีนเขาขึ้นไปก่อน เพราะมันวุ่นวายมาก
การเดินทางสู่ลาซา สามารถเดินทางได้จากหลายเมืองในจีนนะครับ ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้
กวางโจว ฉงชิ่ง และเฉิงตู บางเส้นทางรถไฟไม่ได้วิ่งทุกวัน ตรวจสอบกันดีๆ นะครับ
และควรให้เวลาเอเจนซี่จองตั๋วแต่เนิ่นๆ เพราะโอกาสที่เราจะได้เตียงล่างมีสูง
ครั้งนี้เราไปเริ่มต้นที่เฉินตูเพราะเดือนเมษายน รถไฟสายเฉินตูจะวิ่งวันคี่ ฉงชิ่งวิ่งวันคู่
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 43 ชั่วโมง เกือบสองวันเต็มครับที่เราต้องใช้ชีวิตบนรถไฟ
การนั่งรถไฟมีข้อดีนะครับ เพราะรถไฟจะวิ่งใต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เรามีเวลาให้ร่างกายได้ปรับตัวกับความสูง การบินตรงไปลาซาเลยจึงเสี่ยงกว่า
และสิ่งที่ทุกคนบนรถไฟเฝ้ารอ คือวิวสวยๆ สองข้างทางรถไฟนั่นเองครับ
ควรพกติดตัวตลอดนะครับ เพราะเจ้าหน้าที่จะตรวจถ้าเราเดินข้ามประเภทตู้นะครับ
แต่ต้องนั่งหลังตรงตลอดสองวัน แบบนี้ไม่แนะนำนะครับออกแนวทรมาน
สภาพภายในตู้โดยสารค่อนข้างแย่ คนนั่งระเกะระกะ บางตู้นั่งแบบเกลื่อนกลาด
สัมภาระวางเกะกะ ควันบุรี่ยังกะไฟไหม้ สภาพห้องน้ำนี่หนักเลยครับ
แบบที่สอง (ผมไปแบบนี้) Hard Sleeper เป็นตู้นอนนะครับ 1 ห้องนอนจะมี 6 เตียง
ฝั่งละ 3 เตียง มีโต้ะอาหารอยู่ติดหน้าต่าง มีกระติกน้ำร้อนไว้กดน้ำอันใหญ่ใบนึง
เตียงล่างจะสบายสุด เพราะนั่งได้แต่ราคาจะแพงที่สุด เตียงกลางถูกลงมาพอนั่งได้แบบก้มหัว
เตียงบนถูกที่สุด มีที่วางกระเป๋ากว้างที่สุด ใกล้ช่องแอร์ด้วย แต่ลำบากต้องปีนขึ้นลง
มีหมอนพร้อมผ้าห่ม ที่หัวเตียงมีช่องต่อท่อออกซิเจน ใครไม่ไหวไปขอท่อได้ที่พนักงาน
แบบสุดท้ายคือ Soft Sleeper แบบนี้แพงสุด หรูสุด 1 ห้องมีแค่ 4 เตียง มีประตูห้องด้วย
ด้านหน้าห้องมีโต้ะตัวเล็กพร้อมเก้าอี้ให้นั่งเล่น ใครมาก่อนได้ก่อน
ใครลุกเสียม้า คนส่วนใหญ่ที่มานั่งคือคนที่ได้เตียงกลางกับเตียงบน
เพราะสองเตียงนี้มันนั่งไม่ได้ ต้องนอนอย่างเดียว
หนึ่งคืนบนรถไฟผ่านไป รถไฟมาจอดที่สถานี คนในห้องต่างๆ ทะยอยเดินลงไปด้านล่าง
พอได้เวลาขึ้นรถ พนักงานก็จะเรียกเอง ไม่ต้องกลัวตกรถไฟ
สภาพมันเละเทะมาก จนเราไม่สามารถฝ่าไปได้เลย สุดท้ายก็รอรถเข็น
อาหารบนรถไฟราคาสูงนะครับ ถ้าต้องการประหยัดควรตุนเสบียงให้พอ
โต๊ะประจำเราจะมีคนมาแทนที่ และรอเอาวิชาเก้าอี้ดนตรีมาใช้
[img]http://f.ptcdn.info/885/044/000/ob9v5eoxhvyYpugH47Y-o.jpg[/im