Abebe Bikila วีรบุรุษแห่ง เอธิโอเปีย
84 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1932) ครอบครัวคนเลี้ยงแกะใน จาโต หมู่บ้านทุรกันดารแห่งเอธิโอเปีย ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย ชื่อ อาเบเบ บิกิลา (Abebe Bikila)
บิกิลา เกิดปีเดียวกับ โอลิมปิก ครั้งที่ 10 ที่กรุงลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกา
วันที่เขาลืมตามองโลก การแข่งขันวิ่งมาราธอนกำลังชิงชัยอย่างเมามันส์
ใช่ครับ ผมกำลังเขียนถึงนักวิ่งมาราธอน ชาวเอธิโอเปียคนหนึ่ง
หากโมเดลชีวิตของ บิกิล่า คือ "จน-ลำบาก-ต่อสู้-วิ่ง-ชนะเลิศ"
ผมคงไม่เสียเวลาเขียน
"รูปแบบชีวิตของ บิกิล่า มีมากกว่านั้น"
ไอ้หนุ่มเลี้ยงแกะเลือกรับราชการในวัย 16 ปี กับตำแหน่ง ทหารองครักษ์ประจำวังของจักรพรรดิไฮเล เซลาสซี ซึ่งขวบปีไล่เลี่ยกัน จักรพรรดิ เซลาสซี ได้ให้รัฐบาลจ้าง ออนนี นิสกาเนน อดีตทหารผ่านศึก และโค้ชกรีฑาชาวฟินแลนด์ เพื่อค้นหาเพชรที่รอเจียระไน ในดินแดนทุรกันดารที่สุดในโลก
บนความไม่มี ยากจน แร้นแค้น อดอยาก ลำบาก กันดาร และภาวะออกซิเจนเบาบางบนพื้นที่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลกว่า 2,500 เมตร
"นิสกาเนนเชื่อว่า เอธิโอเปีย จะมีอะไรบางอย่าง เกิดขึ้นจากความไม่มี"
ปี 1956 เอธิโอเปีย ส่งนักกีฬาร่วมโอลิมปิกครั้งแรก ที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ผลลัพท์ไม่สวยอย่างที่คาด พวกเขาล้มเหลวสิ้นเชิง
12 นักกรีฑาชาวเอธิโอเปีย กลับบ้านมือเปล่า
ถึงกระนั้น ตัวแทนทีมชาติทั้งหมด ยังได้รับการต้อนรับอย่างฮีโร่
คำว่า “Ethiopia” ที่ปักกลางหลังชุดนักกีฬา ขณะเดินพาเหรด ทำให้ตาของ บิกิลา เป็นประกาย หัวใจของเขาพองโต เด็กเลี้ยงแกะเริ่มมีความฝัน
บิกิล่า ไม่ได้อยากให้โลกรู้จักเขา
บิกิล่า อยากให้โลกรู้จัก "เอธิโอเปีย"
บิกิลา เริ่มออกวิ่ง และเพียงปีแรก เขาสามารถชนะและทำลายสถิติของ วามี บิราตู (Wami Biratu) นักวิ่งระดับชาติของเอธิโอเปีย ในระยะ 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร
ผู้คนจำนวนมากคิดว่าเขาฟลุ๊ค
เฮ้ดโค้ชเชื่อว่าเขายังใหม่ และไม่ดีพอสำหรับโอลิมปิก 1960
เขาไม่มีชื่อสำหรับทีมชาติเอธิโอเปีย
"พระเจ้ามักเลือกคนที่เหมาะสมผ่านโชคชะตา และคราวนี้ พระเจ้าฝากโชคชะตามาเลือกเขา"
วามี บิราตู ตัวแทนทีมชาติขณะนั้น ดันข้อเท้าหักกระทันหัน ที่นั่งของบิราตูบนเครื่องจึงถูกแทนที่ด้วย อาเบเบ บิกิลา
บิกิลา ได้สวมชุดที่มีคำว่า “Ethiopia” เดินทางไปแข่งโอลิมปิก ครั้งที่ 17
โอลิมปิก ครั้งนั้นแข่งที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ประเทศที่เคยโรมรัน บุกโจมตี และประกาศศักดาเป็นเจ้าอาณานิคมแห่งแผ่นดินเอธิโอเปีย
ด้วยความที่ บิกิลา เดินทางมาอิตาลีแบบฉุกละหุก ทำให้ Adidas แบรนด์ยักษ์สัญชาติเยอรมัน ในฐานะสปอนเซอร์ ไม่ได้เตรียมรองเท้าให้เขา ... เขาตัดสินใจเลือกรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า ผลคือ เท้าของเขาถูกกัดจนเป็นแผลก่อนแข่ง
บิกิลา ตัดสินใจ เดินเท้าเปล่ามาที่จุดสตาร์ท ท่ามกลางความงุนงงของผู้คนโดยรอบ และมาราธอนแมนจากเอธิโอเปีย ตัดสินใจวิ่ง 42 กิโลเมตรด้วยเท้าเปล่า
ระหว่างแข่งขัน บิกิลา ถูกเย้ยหยัน และเหยียดผิวว่า เป็นชนผิวดำ เป็นคนจน มาจากดินแดนแร้นแค้น เป็นแอฟริกันชน และกำลังวิ่งเท้าเปล่า
หนุ่มวัย 28 ปี ฟังภาษาอิตาลีไม่ออก เขารู้แต่เพียงว่า เขาเคยวิ่งเท้าเปล่ามาก่อน ทั้งม้า ทั้งแกะ ทั้งลา เขาไล่ต้อนมาแล้วด้วยเท้าเปล่า
แล้วทำไมเล่า ก็แค่มนุษย์เหมือนกัน
ทำไมเท้าเปล่าของเขาจะไล่ต้อนไม่ได้
บิกิลา เข้าเส้นชัยเป็นคนแรก ณ ประตูชัยคอนสแตนตินแห่งกรุงโรม ด้วยสถิติ 2 ชั่วโมง 15 นาที 16 วินาที .. เวลาของเขาดีพอที่จะทำลายสถิติโลก และสถิติโอลิมปิก
บิกิลา คือแอฟริกันชนผิวสีคนแรก ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
บิกิลา ทำให้คนทั้งโลกรู้จัก เอธิโอเปีย
บิกิลา คือสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และจิตใจแน่วแน่
ย้อนกลับไปช่วงที่ บิกิลา ยังเด็ก (ค.ศ. 1935-36) เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำฟาสซิสต์ของอิตาลี ได้พาทหารจำนวนมาก กรีฑาทัพเข้าทำสงครามกับเอธิโอเปีย สุดท้ายดินแดนบ้านเกิดของเขากลายเป็น เขตอาณานิคมของอิตาลีที่ชื่อว่า “แอฟริกาตะวันออกอิตาลี” (Italian East Africa) จากนั้นพอสงครามโลก ครั้งที่ 2 จบลง อิตาลีกลายเป็นผู้แพ้สงคราม และผลการลงนามสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อปี 1947 ทำให้อิตาลีต้องยอมรับในเอกราชของ เอธิโอเปีย พร้อมจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน ๒๕ ล้านดอลลาร์
"เงิน อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ แต่มันเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้"
ชาวเอธิโอเปียไม่เคยลืมความเจ็บช้ำ และการถูกข่มเหง
ชัยชนะของบิกิลา ที่โรม จึงเป็นชัยชนะของชาวเอธิโอเปียทั้งประเทศ
ชัยชนะของเขา ช่วยซับน้ำตา และโรยยาบนแผลใจ
"อิตาลีใช้ทหารนับล้านรุกรานเอธิโอเปีย
แต่ทหารกล้าแห่งเอธิโอเปียเพียงคนเดียวก็เอาชนะโรมได้"
บิกิลา ยังวิ่งต่อเนื่อง ช้าแต่มั่นคง เรียบง่ายแต่หนักแน่น ตามสไตล์มาราธอน
เขาชนะเลิศแทบทุกรายการ ก่อนโอลิมปิก 1964 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทว่าเพียง 37 วันก่อนโอลิมปิกครั้งใหม่ บิกิลา เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบและต้องผ่าตัดด่วน เขาถูกส่งไปโตเกียว แบบไร้ความหวัง
เขาแทบไม่ได้ซ้อม และยังเดินกะเผลกขณะลงสนามบิน ณ กรุงโตเกียว
สิ่งที่ไม่เหมือนเดิมวันแข่ง คือ บิกิลาใส่รองเท้าวิ่ง ทั้งๆ ที่ยังเจ็บแผลผ่าตัด
แต่สิ่งที่เหมือนเดิมคือ เขายังคงเป็นแชมเปี้ยน
ไอ้หนุ่มเลี้ยงแกะวัย 32 ปี เข้าเส้นชัยด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 12 นาที 11 วินาที
เขาคว้าเหรียญทองอีกครั้ง และทำลายสถิติโลกของตัวเอง
เขาคือมนุษย์คนแรกที่คว้าเหรียญทอง มาราธอน โอลิมปิก 2 สมัยติดต่อกัน
บิกิลา ไม่ต้องเรียนรู้การเป็นวีรบุรุษอีก เขากลับบ้านในฐานะเดิม "วีรบุรุษของเอธิโอเปีย"
แต่บางทีโชคชะตาก็ไม่ได้เลือกเราเสมอไป
โอลิมปิก ครั้งที่ 3 ของ บิกิลา ณ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี 1968 เขาต้องออกจากการแข่งขันกลางคัน หลังเกิดอาการบาดเจ็บ
นั่นคือ สัญญาณไม่ดีแรก และโชคชะตาก็เริ่มทดสอบหัวใจเขาอีกครั้ง
ปี 1968 ระหว่างที่สงครามกลางเมืองในเอธิโอเปียกำลังคุกรุ่น
บิกิลา โชคร้าย ขับรถหักหลบผู้ประท้วง ก่อนตกคูน้ำข้างทาง ...
เขารอดตาย แต่ต้องกลายเป็นอัมพาตตั้งแต่เอวลงมา
เขาสูญเสียขาสองข้าง แต่หัวใจเขายังอยู่
ชีวิตที่เริ่มจากศูนย์ ทำให้เขาเรียนรู้ที่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ กับสิ่งที่ยังเหลือ
บิกิลา ใช้แขนทั้งสองข้างเริ่มหัดยิงธนูในวัยเกือบสี่สิบ
เขาได้แข่งขันในกีฬาโอลิมปิก คนพิการ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เขาทดลองไปเรื่อยว่า เขายังทำอะไรได้บ้างจากสองมือที่เหลือ
จนกระทั่ง บิกิลา ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศแข่งขันรถเลื่อนหิมะ ระยะทาง 10 และ 15 กิโลเมตร ที่นอร์เวย์ ในปี 1970
เขายังเป็นนักมาราธอน ที่แค่ไม่มีสิทธิ์ใช้ขา
บิกิลา พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า เท้าหรือแขนเป็นเพียงเครื่องมือในการออกวิ่ง
ถ้าไม่มีหัวใจที่แข็งแกร่ง
มีกำลังขาที่แข็งแรง ก็ไร้ประโยชน์
บิกิลา เสียชีวิตเมื่อปี 1973 ด้วยอาการเลือดคั่งในสมองอันเป็นผลข้างเคียงจากอุบัติเหตุ
"ไม่มีรองเท้า เรายังมีเท้าเปล่า
ไม่มีเท้าเปล่า เรายังมีสองมือ
ไม่มีสองมือ เรายังเหลือหัวใจ"
ภาพจาก
http://www.footdoctortoday.com/
เรื่องและข้อมูล เรียบเรียงจาก
http://www.sarakadee.com
และวิกิพีเดีย Abebe Bikila
Abebe Bikila วีรบุรุษแห่ง เอธิโอเปีย
Abebe Bikila วีรบุรุษแห่ง เอธิโอเปีย
84 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1932) ครอบครัวคนเลี้ยงแกะใน จาโต หมู่บ้านทุรกันดารแห่งเอธิโอเปีย ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย ชื่อ อาเบเบ บิกิลา (Abebe Bikila)
บิกิลา เกิดปีเดียวกับ โอลิมปิก ครั้งที่ 10 ที่กรุงลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกา
วันที่เขาลืมตามองโลก การแข่งขันวิ่งมาราธอนกำลังชิงชัยอย่างเมามันส์
ใช่ครับ ผมกำลังเขียนถึงนักวิ่งมาราธอน ชาวเอธิโอเปียคนหนึ่ง
หากโมเดลชีวิตของ บิกิล่า คือ "จน-ลำบาก-ต่อสู้-วิ่ง-ชนะเลิศ"
ผมคงไม่เสียเวลาเขียน
"รูปแบบชีวิตของ บิกิล่า มีมากกว่านั้น"
ไอ้หนุ่มเลี้ยงแกะเลือกรับราชการในวัย 16 ปี กับตำแหน่ง ทหารองครักษ์ประจำวังของจักรพรรดิไฮเล เซลาสซี ซึ่งขวบปีไล่เลี่ยกัน จักรพรรดิ เซลาสซี ได้ให้รัฐบาลจ้าง ออนนี นิสกาเนน อดีตทหารผ่านศึก และโค้ชกรีฑาชาวฟินแลนด์ เพื่อค้นหาเพชรที่รอเจียระไน ในดินแดนทุรกันดารที่สุดในโลก
บนความไม่มี ยากจน แร้นแค้น อดอยาก ลำบาก กันดาร และภาวะออกซิเจนเบาบางบนพื้นที่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลกว่า 2,500 เมตร
"นิสกาเนนเชื่อว่า เอธิโอเปีย จะมีอะไรบางอย่าง เกิดขึ้นจากความไม่มี"
ปี 1956 เอธิโอเปีย ส่งนักกีฬาร่วมโอลิมปิกครั้งแรก ที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ผลลัพท์ไม่สวยอย่างที่คาด พวกเขาล้มเหลวสิ้นเชิง
12 นักกรีฑาชาวเอธิโอเปีย กลับบ้านมือเปล่า
ถึงกระนั้น ตัวแทนทีมชาติทั้งหมด ยังได้รับการต้อนรับอย่างฮีโร่
คำว่า “Ethiopia” ที่ปักกลางหลังชุดนักกีฬา ขณะเดินพาเหรด ทำให้ตาของ บิกิลา เป็นประกาย หัวใจของเขาพองโต เด็กเลี้ยงแกะเริ่มมีความฝัน
บิกิล่า ไม่ได้อยากให้โลกรู้จักเขา
บิกิล่า อยากให้โลกรู้จัก "เอธิโอเปีย"
บิกิลา เริ่มออกวิ่ง และเพียงปีแรก เขาสามารถชนะและทำลายสถิติของ วามี บิราตู (Wami Biratu) นักวิ่งระดับชาติของเอธิโอเปีย ในระยะ 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร
ผู้คนจำนวนมากคิดว่าเขาฟลุ๊ค
เฮ้ดโค้ชเชื่อว่าเขายังใหม่ และไม่ดีพอสำหรับโอลิมปิก 1960
เขาไม่มีชื่อสำหรับทีมชาติเอธิโอเปีย
"พระเจ้ามักเลือกคนที่เหมาะสมผ่านโชคชะตา และคราวนี้ พระเจ้าฝากโชคชะตามาเลือกเขา"
วามี บิราตู ตัวแทนทีมชาติขณะนั้น ดันข้อเท้าหักกระทันหัน ที่นั่งของบิราตูบนเครื่องจึงถูกแทนที่ด้วย อาเบเบ บิกิลา
บิกิลา ได้สวมชุดที่มีคำว่า “Ethiopia” เดินทางไปแข่งโอลิมปิก ครั้งที่ 17
โอลิมปิก ครั้งนั้นแข่งที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ประเทศที่เคยโรมรัน บุกโจมตี และประกาศศักดาเป็นเจ้าอาณานิคมแห่งแผ่นดินเอธิโอเปีย
ด้วยความที่ บิกิลา เดินทางมาอิตาลีแบบฉุกละหุก ทำให้ Adidas แบรนด์ยักษ์สัญชาติเยอรมัน ในฐานะสปอนเซอร์ ไม่ได้เตรียมรองเท้าให้เขา ... เขาตัดสินใจเลือกรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า ผลคือ เท้าของเขาถูกกัดจนเป็นแผลก่อนแข่ง
บิกิลา ตัดสินใจ เดินเท้าเปล่ามาที่จุดสตาร์ท ท่ามกลางความงุนงงของผู้คนโดยรอบ และมาราธอนแมนจากเอธิโอเปีย ตัดสินใจวิ่ง 42 กิโลเมตรด้วยเท้าเปล่า
ระหว่างแข่งขัน บิกิลา ถูกเย้ยหยัน และเหยียดผิวว่า เป็นชนผิวดำ เป็นคนจน มาจากดินแดนแร้นแค้น เป็นแอฟริกันชน และกำลังวิ่งเท้าเปล่า
หนุ่มวัย 28 ปี ฟังภาษาอิตาลีไม่ออก เขารู้แต่เพียงว่า เขาเคยวิ่งเท้าเปล่ามาก่อน ทั้งม้า ทั้งแกะ ทั้งลา เขาไล่ต้อนมาแล้วด้วยเท้าเปล่า
แล้วทำไมเล่า ก็แค่มนุษย์เหมือนกัน
ทำไมเท้าเปล่าของเขาจะไล่ต้อนไม่ได้
บิกิลา เข้าเส้นชัยเป็นคนแรก ณ ประตูชัยคอนสแตนตินแห่งกรุงโรม ด้วยสถิติ 2 ชั่วโมง 15 นาที 16 วินาที .. เวลาของเขาดีพอที่จะทำลายสถิติโลก และสถิติโอลิมปิก
บิกิลา คือแอฟริกันชนผิวสีคนแรก ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
บิกิลา ทำให้คนทั้งโลกรู้จัก เอธิโอเปีย
บิกิลา คือสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และจิตใจแน่วแน่
ย้อนกลับไปช่วงที่ บิกิลา ยังเด็ก (ค.ศ. 1935-36) เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำฟาสซิสต์ของอิตาลี ได้พาทหารจำนวนมาก กรีฑาทัพเข้าทำสงครามกับเอธิโอเปีย สุดท้ายดินแดนบ้านเกิดของเขากลายเป็น เขตอาณานิคมของอิตาลีที่ชื่อว่า “แอฟริกาตะวันออกอิตาลี” (Italian East Africa) จากนั้นพอสงครามโลก ครั้งที่ 2 จบลง อิตาลีกลายเป็นผู้แพ้สงคราม และผลการลงนามสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อปี 1947 ทำให้อิตาลีต้องยอมรับในเอกราชของ เอธิโอเปีย พร้อมจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน ๒๕ ล้านดอลลาร์
"เงิน อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ แต่มันเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้"
ชาวเอธิโอเปียไม่เคยลืมความเจ็บช้ำ และการถูกข่มเหง
ชัยชนะของบิกิลา ที่โรม จึงเป็นชัยชนะของชาวเอธิโอเปียทั้งประเทศ
ชัยชนะของเขา ช่วยซับน้ำตา และโรยยาบนแผลใจ
"อิตาลีใช้ทหารนับล้านรุกรานเอธิโอเปีย
แต่ทหารกล้าแห่งเอธิโอเปียเพียงคนเดียวก็เอาชนะโรมได้"
บิกิลา ยังวิ่งต่อเนื่อง ช้าแต่มั่นคง เรียบง่ายแต่หนักแน่น ตามสไตล์มาราธอน
เขาชนะเลิศแทบทุกรายการ ก่อนโอลิมปิก 1964 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทว่าเพียง 37 วันก่อนโอลิมปิกครั้งใหม่ บิกิลา เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบและต้องผ่าตัดด่วน เขาถูกส่งไปโตเกียว แบบไร้ความหวัง
เขาแทบไม่ได้ซ้อม และยังเดินกะเผลกขณะลงสนามบิน ณ กรุงโตเกียว
สิ่งที่ไม่เหมือนเดิมวันแข่ง คือ บิกิลาใส่รองเท้าวิ่ง ทั้งๆ ที่ยังเจ็บแผลผ่าตัด
แต่สิ่งที่เหมือนเดิมคือ เขายังคงเป็นแชมเปี้ยน
ไอ้หนุ่มเลี้ยงแกะวัย 32 ปี เข้าเส้นชัยด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 12 นาที 11 วินาที
เขาคว้าเหรียญทองอีกครั้ง และทำลายสถิติโลกของตัวเอง
เขาคือมนุษย์คนแรกที่คว้าเหรียญทอง มาราธอน โอลิมปิก 2 สมัยติดต่อกัน
บิกิลา ไม่ต้องเรียนรู้การเป็นวีรบุรุษอีก เขากลับบ้านในฐานะเดิม "วีรบุรุษของเอธิโอเปีย"
แต่บางทีโชคชะตาก็ไม่ได้เลือกเราเสมอไป
โอลิมปิก ครั้งที่ 3 ของ บิกิลา ณ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี 1968 เขาต้องออกจากการแข่งขันกลางคัน หลังเกิดอาการบาดเจ็บ
นั่นคือ สัญญาณไม่ดีแรก และโชคชะตาก็เริ่มทดสอบหัวใจเขาอีกครั้ง
ปี 1968 ระหว่างที่สงครามกลางเมืองในเอธิโอเปียกำลังคุกรุ่น
บิกิลา โชคร้าย ขับรถหักหลบผู้ประท้วง ก่อนตกคูน้ำข้างทาง ...
เขารอดตาย แต่ต้องกลายเป็นอัมพาตตั้งแต่เอวลงมา
เขาสูญเสียขาสองข้าง แต่หัวใจเขายังอยู่
ชีวิตที่เริ่มจากศูนย์ ทำให้เขาเรียนรู้ที่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ กับสิ่งที่ยังเหลือ
บิกิลา ใช้แขนทั้งสองข้างเริ่มหัดยิงธนูในวัยเกือบสี่สิบ
เขาได้แข่งขันในกีฬาโอลิมปิก คนพิการ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เขาทดลองไปเรื่อยว่า เขายังทำอะไรได้บ้างจากสองมือที่เหลือ
จนกระทั่ง บิกิลา ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศแข่งขันรถเลื่อนหิมะ ระยะทาง 10 และ 15 กิโลเมตร ที่นอร์เวย์ ในปี 1970
เขายังเป็นนักมาราธอน ที่แค่ไม่มีสิทธิ์ใช้ขา
บิกิลา พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า เท้าหรือแขนเป็นเพียงเครื่องมือในการออกวิ่ง
ถ้าไม่มีหัวใจที่แข็งแกร่ง
มีกำลังขาที่แข็งแรง ก็ไร้ประโยชน์
บิกิลา เสียชีวิตเมื่อปี 1973 ด้วยอาการเลือดคั่งในสมองอันเป็นผลข้างเคียงจากอุบัติเหตุ
"ไม่มีรองเท้า เรายังมีเท้าเปล่า
ไม่มีเท้าเปล่า เรายังมีสองมือ
ไม่มีสองมือ เรายังเหลือหัวใจ"
ภาพจาก http://www.footdoctortoday.com/
เรื่องและข้อมูล เรียบเรียงจาก http://www.sarakadee.com
และวิกิพีเดีย Abebe Bikila