ขออนุญาตนำเอาคลิปจากรายการเที่ยงรายวัน ที่มีการพูดคุยกับครูไก่และครูบิ๊ก สองผู้สร้างสรรค์ในทีมงานที่ดูแลด้านเครื่องแต่งกายโบราณจากละคร"พิษสวาท"
จากคลิปอย่างชุดของพระอรรค เป็นชุดขุนศึกไทยโบราณที่อ้างอิงจากภาพเขียนจากวัดยม ที่มีมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งเสื้อ ผ้านุ่ง กางเกง แต่ที่ติดใจคือผ้าผูกเอว ที่ครูไก่เรียกว่า. ผ้าหนามขนุน เป็นเสมือนเครื่องยศ ได้รับอิทธิพลจากซามูไรและชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในสมัยก่อน ซึ่งสั่งตัดมาจากญี่ปุ่นเลยทีเดียว นอกจากนี้ลายเกราะบนคอของชุดคุณพระอรรคก็เป็นลายจากทางจีนโดยมีการสันนิษฐานว่าอดีตเราน่าจะสั่งซื้อเกราะจากจีนเข้ามา นอกเหนือจากการศึกษาประวัติศาสตร์แล้วยังอาศัยการตีความและค้นคว้าหลักฐานต่างๆที่ใกล้เคียงเข้ามาประกอบ จุดนี้ขอชื่ชมจริงๆค่ะ มันมีรายละเอียดมากเหลือเกิน
มากันที่ชุดของคุณบัวบ้าง
ชุดนางรำเปิดเรื่อง ครูบิ๊กเลือกสีแดงมาเพราะเป็นสีที่โดดเด่น ค้นคว้าจากหลักฐานจากสมุดข่อย นำหลักฐานต่างๆมาประมวลอีกครั้ง ยกตัวอย่างรัดเกล้าเปลว อ้างอิงจากรูปภาพในหนังสือจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเป็นรูปหุ่นหลวงหรือหุ่นเชิดในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ใช้รัดเกล้าแปลกตาจนครูไก่ค้นคว้าและพบว่ามีศิลปคล้ายคลึงกับศิลปะในรัชกาลที่หนึ่ง ซึ่งน่าจะยังมีเค้าโครงจากอยุธยาด้วยเพราะช่วงเวลาไม่ห่างกันมาก จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ทราบว่าระบำชาวสยามใส่เล็บปลอมยาวเพิ่มความอ่อนช้อย
ชุดนางรำสีทอง
หรือชุดที่เรามักเห็นคุณอุบลสวมใส่อยู่ตลอด ครูบิ๊กได้ตีความและเดินตามบทประพันธ์อย่างใกล้เคียง หลักคือชุดนี้เป็นชุดที่ได้หลังจากคุณอุบลได้ทำความดีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้มีลักษณะที่แตกต่างจากชุดนางรำท่านอื่น ในส่วนของเครื่องประดับศรีษะก็ค้นคว้าและนำมาประยุกต์ได้ตามบทประพันธ์ที่ระบุว่า ใช้กรอบหน้าและมีพลอยที่สามารถอดออกจากกรอบหน้านำมาประดับที่ปั้นเหน่งได้อีกด้วย จะเห็นว่าเครื่องประดับศรีษะแยกส่วนออกจากกันต่างจากสมัยปัจจุบัน เราจึงเห็นฉากที่คุณพระอรรคช่วยคุณอุบลผูกเชือกกรอบหน้าก่อนจะฟันคอคุณอุบล ส่วนผ้าก็ใช้ผ้าไหมอินเดียนำมาย้อมสีและทำการปักด้วยวัสดุและเทคนิคตามแบบโบราณ
พอดูจนจบคลิปบอกกับตัวเองว่ามันไม่ใช่แค่ละคร แต่มันมีการเล่าเรื่องและถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของคนในยุคนั้นมากกว่าคำพูดหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่มันมีการแสดงออกถึงศิลปะที่แทรกตัวอยู่ในละครเรื่องนี้ที่ทำให้เราเห็นอัตลักษณ์และความงามแต่โบราณ ชื่นชมอีกครั้งและจะชื่นชมอย่างนี้ไปเรื่อยๆค่ะ เพราะเราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมที่มันมากกว่าคำว่าบันเทิง
เกร็ดความรู้จากการแต่งกายของคุณพระอรรคและคุณอุบล ละครเรื่อง "พิษสวาท" โดยครูไก่และครูบิ๊ก
จากคลิปอย่างชุดของพระอรรค เป็นชุดขุนศึกไทยโบราณที่อ้างอิงจากภาพเขียนจากวัดยม ที่มีมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งเสื้อ ผ้านุ่ง กางเกง แต่ที่ติดใจคือผ้าผูกเอว ที่ครูไก่เรียกว่า. ผ้าหนามขนุน เป็นเสมือนเครื่องยศ ได้รับอิทธิพลจากซามูไรและชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในสมัยก่อน ซึ่งสั่งตัดมาจากญี่ปุ่นเลยทีเดียว นอกจากนี้ลายเกราะบนคอของชุดคุณพระอรรคก็เป็นลายจากทางจีนโดยมีการสันนิษฐานว่าอดีตเราน่าจะสั่งซื้อเกราะจากจีนเข้ามา นอกเหนือจากการศึกษาประวัติศาสตร์แล้วยังอาศัยการตีความและค้นคว้าหลักฐานต่างๆที่ใกล้เคียงเข้ามาประกอบ จุดนี้ขอชื่ชมจริงๆค่ะ มันมีรายละเอียดมากเหลือเกิน
มากันที่ชุดของคุณบัวบ้าง
ชุดนางรำเปิดเรื่อง ครูบิ๊กเลือกสีแดงมาเพราะเป็นสีที่โดดเด่น ค้นคว้าจากหลักฐานจากสมุดข่อย นำหลักฐานต่างๆมาประมวลอีกครั้ง ยกตัวอย่างรัดเกล้าเปลว อ้างอิงจากรูปภาพในหนังสือจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเป็นรูปหุ่นหลวงหรือหุ่นเชิดในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ใช้รัดเกล้าแปลกตาจนครูไก่ค้นคว้าและพบว่ามีศิลปคล้ายคลึงกับศิลปะในรัชกาลที่หนึ่ง ซึ่งน่าจะยังมีเค้าโครงจากอยุธยาด้วยเพราะช่วงเวลาไม่ห่างกันมาก จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ทราบว่าระบำชาวสยามใส่เล็บปลอมยาวเพิ่มความอ่อนช้อย
ชุดนางรำสีทอง
หรือชุดที่เรามักเห็นคุณอุบลสวมใส่อยู่ตลอด ครูบิ๊กได้ตีความและเดินตามบทประพันธ์อย่างใกล้เคียง หลักคือชุดนี้เป็นชุดที่ได้หลังจากคุณอุบลได้ทำความดีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้มีลักษณะที่แตกต่างจากชุดนางรำท่านอื่น ในส่วนของเครื่องประดับศรีษะก็ค้นคว้าและนำมาประยุกต์ได้ตามบทประพันธ์ที่ระบุว่า ใช้กรอบหน้าและมีพลอยที่สามารถอดออกจากกรอบหน้านำมาประดับที่ปั้นเหน่งได้อีกด้วย จะเห็นว่าเครื่องประดับศรีษะแยกส่วนออกจากกันต่างจากสมัยปัจจุบัน เราจึงเห็นฉากที่คุณพระอรรคช่วยคุณอุบลผูกเชือกกรอบหน้าก่อนจะฟันคอคุณอุบล ส่วนผ้าก็ใช้ผ้าไหมอินเดียนำมาย้อมสีและทำการปักด้วยวัสดุและเทคนิคตามแบบโบราณ
พอดูจนจบคลิปบอกกับตัวเองว่ามันไม่ใช่แค่ละคร แต่มันมีการเล่าเรื่องและถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของคนในยุคนั้นมากกว่าคำพูดหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่มันมีการแสดงออกถึงศิลปะที่แทรกตัวอยู่ในละครเรื่องนี้ที่ทำให้เราเห็นอัตลักษณ์และความงามแต่โบราณ ชื่นชมอีกครั้งและจะชื่นชมอย่างนี้ไปเรื่อยๆค่ะ เพราะเราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมที่มันมากกว่าคำว่าบันเทิง