ตามที่ผมเข้าใจ คือหากเป็นโอรสหรือธิดาของกษัตริย์กับพระบรมราชินี จะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (เช่น พระราชโอรส พระราชธิดาของรัชกาลปัจจุบัน)
หากเป็นโอรสหรือธิดาที่เกิดจากเจ้าจอมมารดาที่เป็นสามัญชน ก็จะดำรงพระยศเป็น พระองค์เจ้า (เช่น กรมหลวงชุมพร เป็นโอรสรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาโหมด)
ทีนี้ ไม่ว่าเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้าเสกสมรสกับหญิวสามัญชน ลูกก็จะเกิดมาเป็น หม่อมเจ้า และสืบต่อไปเป็น หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ตามลำดับ
แต่ก็จะมีหม่อมเจ้าที่ได้รับการยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้าเช่นกัน (เช่น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ตาของฮิวโก้-จุลจักร หรือพระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระบิดาของคุณชายหมู)
แต่ส่วนใหญ่ การยกหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้านั้น จะเป็นการยกเฉพาะพระองค์ ไม่ใช่การยกทั้งสาย ดังนั้นโอรสหรือธิดาจะยังคงเป็นหม่อมราชวงศ์ดังเดิม ไม่ได้ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าตามไปด้วย
ที่ผมสงสัยคือ
1.กรณีของหม่อมเจ้าอรุณแสงไข ภาณุพันธุ์ (ท่านแม่พี่หน่อง-อรุโณชาแห่งบรอดคาซท์) พระบิดาคือพระองค์เจ้าที่ยกขึ้นมาจากหม่อมเจ้าเช่นกัน แต่แสดงว่าเป็นการยกทั้งสายใช่มั้ยครับ เพราะโอรสธิดาก็เป็นหม่อมเจ้าไปด้วย ไม่ใช่แค่หม่อมราชวงศ์
2.หากเจ้าฟ้าเสกสมรสกับพระองค์เจ้า ไม่ว่าจะเป็นพระองค์เจ้าแต่ประสูติหรือได้รับการยกภายหลัง ลูกก็จะเป็นพระองค์เจ้าเช่นกันใช่มั้ยครับ (เช่น เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกับพระองร์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ที่พระโอรสทั้งสามเป็นพระองค์เจ้าทั้งหมด) หรือสมเด็จพระบรมฯ ที่เสกสมรสกับพระองค์เจ้าโสมสวลีที่แต่เดิมเป็นหม่อมหลวง พระธิดาคือพระองค์ภาก็ดำรงพระยศพระองค์เจ้าเช่นกัน
3.ถ้าเป็นแบบนั้น ทำไมกรมหลวงชุมพรที่เสกสมรสกับพระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ถึงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้า (ยกเว้นพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา)
มีคำถามเกี่ยวกับยศ พระองค์เจ้า ครับ
หากเป็นโอรสหรือธิดาที่เกิดจากเจ้าจอมมารดาที่เป็นสามัญชน ก็จะดำรงพระยศเป็น พระองค์เจ้า (เช่น กรมหลวงชุมพร เป็นโอรสรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาโหมด)
ทีนี้ ไม่ว่าเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้าเสกสมรสกับหญิวสามัญชน ลูกก็จะเกิดมาเป็น หม่อมเจ้า และสืบต่อไปเป็น หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ตามลำดับ
แต่ก็จะมีหม่อมเจ้าที่ได้รับการยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้าเช่นกัน (เช่น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ตาของฮิวโก้-จุลจักร หรือพระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระบิดาของคุณชายหมู)
แต่ส่วนใหญ่ การยกหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้านั้น จะเป็นการยกเฉพาะพระองค์ ไม่ใช่การยกทั้งสาย ดังนั้นโอรสหรือธิดาจะยังคงเป็นหม่อมราชวงศ์ดังเดิม ไม่ได้ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าตามไปด้วย
ที่ผมสงสัยคือ
1.กรณีของหม่อมเจ้าอรุณแสงไข ภาณุพันธุ์ (ท่านแม่พี่หน่อง-อรุโณชาแห่งบรอดคาซท์) พระบิดาคือพระองค์เจ้าที่ยกขึ้นมาจากหม่อมเจ้าเช่นกัน แต่แสดงว่าเป็นการยกทั้งสายใช่มั้ยครับ เพราะโอรสธิดาก็เป็นหม่อมเจ้าไปด้วย ไม่ใช่แค่หม่อมราชวงศ์
2.หากเจ้าฟ้าเสกสมรสกับพระองค์เจ้า ไม่ว่าจะเป็นพระองค์เจ้าแต่ประสูติหรือได้รับการยกภายหลัง ลูกก็จะเป็นพระองค์เจ้าเช่นกันใช่มั้ยครับ (เช่น เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกับพระองร์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ที่พระโอรสทั้งสามเป็นพระองค์เจ้าทั้งหมด) หรือสมเด็จพระบรมฯ ที่เสกสมรสกับพระองค์เจ้าโสมสวลีที่แต่เดิมเป็นหม่อมหลวง พระธิดาคือพระองค์ภาก็ดำรงพระยศพระองค์เจ้าเช่นกัน
3.ถ้าเป็นแบบนั้น ทำไมกรมหลวงชุมพรที่เสกสมรสกับพระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ถึงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้า (ยกเว้นพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา)