เงินเยนแข็งค่าไม่ส่งผลดีต่อการค้าขายและเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หลังจาก 5 ปีที่แล้ว เคยแข็งค่าแตะ 75 USD/JPY เมื่อเดือนตุลาคม 2554 แต่หลังจากที่ ชินโซ อาเบะ ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสมัยที่ 2 เมื่อ 26 ธันวาคม 2555 ได้ลงมติเสนอให้ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 ทั้งสองก็ได้ร่วมกันทำการดำเนินนโยบายอัดฉีดเงินมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เรียกว่า “อาเบะโนมิกส์” ทำให้เงินเยนอ่อนค่าขึ้นมาแตะ 109 USD/JPY ในเดือนกันยายน 2557
ทำให้ถึงแม้ ชินโซ อาเบะ จะประกาศยุบสภาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ก่อนครบวาระตำแหน่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 ธันวาคม 2557 ก็ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสมัยที่ 3 เป็นการยืนยันความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายเศรษฐกิจ “อาเบะโนมิกส์” พร้อมกับเงินเยนอ่อนค่ามากขึ้นพุ่งถึง 125 USD/JPY ในเดือนมิถุนายน 2558
แต่เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มผันผวนแย่ลงทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง โดย 24 สิงหาคม 2558 ตลาดหุ้นของจีน A-Shares (หุ้นของบริษัทจีนมีซื้อขายในตลาดจีน คือ ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ หรือ ตลาดเสินเจิ้น) ร่วง -8.4% ฉุดให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งตาม และเงินเยนแข็งค่าแตะ 116 USD/JPY
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มแย่อีกครั้ง แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ -0.1% ออกมาเมื่อ 29 มกราคม 2559 เพื่อกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึง 2% แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลเงินเยนยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง และ แข็งค่าถึง 99 USD/JPY ในวันที่อังกฤษโหวต Brexit 24 มิถุนายน 2559
11 กรกฎาคม 2559 ชินโซ อาเบะ นำพรรค LDP ของเขาชนะการเลือกตั้งวุฒิสภาทำให้เขาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ทว่า อาเบะ รีบออกมาแถลงว่าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสูงสุดของประเทศนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพื่อปลอบใจคนญี่ปุ่นที่เป็นห่วงว่าเขาจะหันเหความสนใจออกจากการแก้ไขเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอยิ่ง พร้อมยืนยันเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อไป
ทั่วโลกคาดว่าอาเบะจะกดดันให้ BOJ อัดฉีดเงินเพิ่ม > ¥28 trillion ($265 billion) .ในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อ BOJ อัดฉีดเงินเพิ่มเพียง ¥6 trillion ($57 billion) จากเดิมก่อนหน้านี้ที่เคยอัดฉีด ¥3.3 trillion ในขณะที่คงนโยบายดอกเบี้ย -0.1% เท่าเดิม ส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าแตะ 101 USD/JPY
หรือว่าเราจะมีโอกาสได้เห็นเงินเยนแข็งค่าแตะ 75 USD/JPY อีกครั้ง?
หรือเงินเยนจะแข็งค่าแตะ 75 USD/JPY อีกครั้ง? เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรจะพาให้ทั่วโลกแย่ตามไปด้วยหรือไม่?
ทำให้ถึงแม้ ชินโซ อาเบะ จะประกาศยุบสภาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ก่อนครบวาระตำแหน่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 ธันวาคม 2557 ก็ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสมัยที่ 3 เป็นการยืนยันความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายเศรษฐกิจ “อาเบะโนมิกส์” พร้อมกับเงินเยนอ่อนค่ามากขึ้นพุ่งถึง 125 USD/JPY ในเดือนมิถุนายน 2558
แต่เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มผันผวนแย่ลงทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง โดย 24 สิงหาคม 2558 ตลาดหุ้นของจีน A-Shares (หุ้นของบริษัทจีนมีซื้อขายในตลาดจีน คือ ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ หรือ ตลาดเสินเจิ้น) ร่วง -8.4% ฉุดให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งตาม และเงินเยนแข็งค่าแตะ 116 USD/JPY
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มแย่อีกครั้ง แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ -0.1% ออกมาเมื่อ 29 มกราคม 2559 เพื่อกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึง 2% แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลเงินเยนยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง และ แข็งค่าถึง 99 USD/JPY ในวันที่อังกฤษโหวต Brexit 24 มิถุนายน 2559
11 กรกฎาคม 2559 ชินโซ อาเบะ นำพรรค LDP ของเขาชนะการเลือกตั้งวุฒิสภาทำให้เขาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ทว่า อาเบะ รีบออกมาแถลงว่าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสูงสุดของประเทศนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพื่อปลอบใจคนญี่ปุ่นที่เป็นห่วงว่าเขาจะหันเหความสนใจออกจากการแก้ไขเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอยิ่ง พร้อมยืนยันเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อไป
ทั่วโลกคาดว่าอาเบะจะกดดันให้ BOJ อัดฉีดเงินเพิ่ม > ¥28 trillion ($265 billion) .ในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อ BOJ อัดฉีดเงินเพิ่มเพียง ¥6 trillion ($57 billion) จากเดิมก่อนหน้านี้ที่เคยอัดฉีด ¥3.3 trillion ในขณะที่คงนโยบายดอกเบี้ย -0.1% เท่าเดิม ส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าแตะ 101 USD/JPY
หรือว่าเราจะมีโอกาสได้เห็นเงินเยนแข็งค่าแตะ 75 USD/JPY อีกครั้ง?