สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
------------------------
เพื่อความยืนยาวแห่งพระพุทธศาสนา ไม่ควรเพิกเฉยกรณีธรรมกาย
***เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น***
ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนาไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"
ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนาไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
------------------------
เพื่อความยืนยาวแห่งพระพุทธศาสนา ไม่ควรเพิกเฉยกรณีธรรมกาย
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
หน้าที่ชาวพุทธต่อท่าทีการวางเฉย เนื่องกรณีธรรมกาย
คุณลักษณะสามประการของผู้รักษาพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พระพุทธเจ้าทรงวางเงื่อนไข ๓ ประการนี้ไว้ในตอนจะรับอาราธนาปรินิพพาน มีเรื่องว่ามารมาอาราธนาพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระองค์ตรัสว่าจะยังไม่ปรินิพพาน และพระองค์ก็ทรงวางเงื่อนไขไว้สามประการ ต่อมาครั้งสุดท้ายมารก็มาอาราธนาอีกโดยทวงว่า เงื่อนไขที่พระองค์ได้ทรงวางไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว ขอนิมนต์ปรินิพพานได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงสำรวจดู ปรากฏว่าเงื่อนไขที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ๓ ประการ ครบแล้วจริง พระองค์ก็เลยรับอาราธนาปรินิพพาน แล้วทรงปลงพระชนมายุสังขาร คือตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน ในที่นี้สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าการปลงพระ ชนมายุสังขาร ก็คือเงื่อนไข ๓ ประการนี้ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ว่า
พุทธบริษัททุกประเภท คือทั้ง ๔ พวก จะต้องมีความสามารถที่จะดำรงพระศาสนาได้ พระองค์จึงจะปรินิพพาน มิฉะนั้นพระองค์ก็จะต้องทำหน้าที่ของพระศาสดาต่อไป หมายความว่าพระองค์ทรงฝากพระศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ที่มีความสามารถ ๓ ประการ ความสามารถ ๓ ประการนี้มีอะไรบ้าง
๑.ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจะต้องรู้หลักธรรมเข้าใจคำสั่งสอนของพระองค์แล้วนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง พูดสั้น ๆ ว่า รู้คำสอนและปฏิบัติได้ถูกต้อง
๒.ให้สามารถยิ่งกว่านั้นอีก คือ นอกจากรู้เข้าใจปฏิบัติได้ถูกต้องด้วยตนเองแล้ว ยังนำไปบอกกล่าวชี้แจงสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย คนที่จะไปบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนชี้แจงคนอื่นได้นั้น
(๑) จะต้องมีความสามารถที่จะแนะนำสั่งสอน และ
(๒) ต้องมีน้ำใจประกอบด้วยเมตตากรุณา บางคนถึงจะมีความสามารถแต่ไม่มีน้ำใจกรุณา ก็ไม่ใส่ใจที่จะสอนก็ไม่ได้ผล เหมือนกัน จึงต้องมีทั้งน้ำใจ ต้องมีทั้งความสามารถ แล้วก็เอา ธรรมไปแนะนำสั่งสอนแก่คนอื่นต่อไป
๓.ข้อสุดท้ายว่า ถ้ามีการจาบจ้วง คำว่าจาบจ้วงนี่เป็นภาษาโบราณ หมายความว่ามีการกล่าวร้ายต่อพระศาสนา หรือมีการสั่งสอนลัทธิที่ผิดจากธรรมผิดจากพระวินัยขึ้น ก็สามารถกล่าวแก้ ชี้แจงกำราบได้ เรียกว่ากำราบปรับวาทได้
คำถาม
สำหรับท่านที่มีคุณสมบัติตามพุทธโอวาท 1.รู้คำสอนและปฏิบัติได้ถูกต้อง 2.ยังนำไปบอกกล่าวชี้แจงสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย ควรแล้วหรือที่ท่านจะนิ่งเฉย วางอุเปกขากับเรื่องนี้ ท่านควรหรือไม่ ที่จะฟังหรือถือพุทธโอวาทข้อช่วยกัน กำราบปรับวาท เนื่องกรณีธรรมกาย