พระพุทธเจ้าเป็นคำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ตำนาน แปลว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและเล่าสืบต่อกันมา ตำนานพระพุทธเจ้าจึงหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและเล่าสืบต่อกันมา
พุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ คำว่า ตรัสรู้ แปลว่า รู้แจ้งด้วยตนเอง คือ รู้ทุกๆสิ่งอย่างกระจ่างชัดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นสอน คำว่าตรัสรู้นี้ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น (พุทธ ยังแปลว่า ผู้ตื่นแล้ว คือละเลิกหรือตื่นขึ้นจากความลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เรียกว่ากิเลส และยังแปลว่า ผู้เบิกบานแล้ว คือยินดีที่หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้)
ศาสดา คือ ผู้ตั้งศาสนา คำว่า บรม ใช้นำหน้าเพื่อขยายความให้มีความหมายที่แสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ คำว่า พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา จึงแปลว่า พระผู้ตั้งศาสนาพุทธอันมีเกียรติยศยิ่งใหญ่ (คำว่า พระบรมศาสดา หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น)
พระสรีระของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไปไม่ต่างไปจากมนุษย์อื่นๆเพียงแต่มีลักษณะพิเศษบางประการที่คนอื่นทั่วไปไม่มี
ผู้ที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าจะต้องเคยมีความมุ่งมั่นปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่เมื่อเกิดในชาติที่ผ่านมาก่อนแล้ว กำหนดไว้ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การแสดงความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าทั้งทางใจ วาจา และทางกาย เริ่มด้วยใจมุ่งมั่นปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ทางวาจาแสดงด้วยการเอ่ยวาจาต่อหน้าพระพุทธเจ้าองค์ก่อนว่ามีความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ทางกายแสดงด้วยการมุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติตนสร้างสมคุณงามความดีอย่างยิ่งเพื่อให้สำเร็จสมความปรารถนา เรียกว่า การบำเพ็ญบารมี โดยเฉพาะจะต้องเป็นผู้ทำอธิการ (หมายถึง การทำคุณความดีอันยิ่งใหญ่) ไว้ในพระพุทธเจ้าที่พบทุกพระองค์
ส่วนขั้นตอนที่สองนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งว่าจะสมความปรารถนาได้เป็นพระพุทธเจ้าในกำหนดเวลาที่แน่นอน คือจะต้องได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
บุคคลที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และบำเพ็ญบารมี 10 ประการ เรียกว่า ทศบารมี คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (ถือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ (อดกลั้น) สัจจะ อธิษฐาน (ตั้งใจมั่น) เมตตา อุเบกขา (วางเฉย) บารมีแต่ละอย่างยังแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ บารมีเบื้องต้น อุปบารมี (ระดับกลาง) และปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด) รวมกันเป็น 30 ประการ เรียกว่า บารมี 30 ทัศ เมื่อบำเพ็ญบารมีครบสมบูรณ์ทั้งหมดแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ (หมายถึงผู้ที่มีโอกาสจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)
พระโพธิสัตว์มี 2 ประเภท คือ
1.อนิยตโพธิสัตว์ (อนิยต แปลว่า ไม่แน่) คือพระโพธิสัตว์ที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาในขั้นตอนแรกสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ จึงยังไม่แน่ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใด
2.นิยตโพธิสัตว์ (นิยต แปลว่า แน่) คือพระโพธิสัตว์ที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาในขั้นตอนแรกสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนแล้ว จึงแน่ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าตามกำหนดเวลาในพุทธพยากรณ์
พระโพธิสัตว์ทุกองค์ที่สิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต มีพระโพธิสัตว์เทพบุตรนามท้าวสันดุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง พระโพธิสัตว์บางองค์จะลงมายังโลกมนุษย์เพื่อบำเพ็ญบารมีเพิ่มหรือช่วยเหลือมนุษย์ก็ได้ (สวรรค์มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี จนชั้นสูงสุดคือ ปรนิมมิตวสวัตดี)
เมื่อถึงคราวพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่อยู่บนโลกมนุษย์สิ้นอายุลง โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา เทวดาชั้นผู้ใหญ่จะร่วมกันอาราธนาพระโพธิสัตว์องค์ที่ถึงเวลาสมควรให้จุติลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้ายังโลกมนุษย์เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา (คำว่า จุติ แปลว่า เคลื่อน หรือเปลี่ยนจากที่เป็นอยู่อย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้หมายถึง เปลี่ยนจากเป็นพระโพธิสัตว์เทพบุตรบนสวรรค์ลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์)
พระพุทธเจ้ามิได้มีพระองค์เดียว ในอดีตที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติแล้วบนโลกนี้มีมากมายหลายพระองค์ ทว่าในคราวหนึ่งๆจะอุบัติขึ้นเพียงพระองค์เดียว พระคัมภีร์ของศาสนาพุทธหลายฉบับบอกจำนวนพระพุทธเจ้าเอาไว้ ทว่ามักไม่ตรงกัน จำนวนที่บอกไว้มากที่สุดคือ 3 ล้าน 5 แสน 8 หมื่น 7 พัน 154 องค์
ในพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากล่าวว่า พระพุทธเจ้าในอดีตนั้นมีมากมายนับจำนวนไม่ได้ ในพระไตรปิฎกบอกพระนามไว้ 28 องค์ และในพระคัมภีร์ อนาคตวงศ์ บอกพระนามพระพุทธเจ้าในอนาคตอีก 10 องค์ แล้วยังมีคัมภีร์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าองค์แรกพระนามว่า พระติกขะคัมมะสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าองค์หลังสุดที่อุบัติเมื่อ 2,500 ปีก่อน แล้วยังปรากฏพระศาสนาของพระองค์อยู่จนปัจจุบันนี้ คือ พระศรีศากยมุนีโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระโคดมพุทธเจ้า (หากเอ่ยเพียงสั้นๆว่าพระพุทธเจ้า มักจะหมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ในพระคัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวว่า ต่อจากพระโคดมพุทธเจ้า ในอนาคตจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติอีก 10 องค์
พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มีกำหนดเวลาสิ้นอายุทั้งพระองค์เองและพระศาสดาของพระองค์ การสิ้นพระชนม์ของพระพุทธเจ้าเรียกว่า เสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือปรินิพพาน คือการดับสูญไปเลย จะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือกลับไปเป็นพระโพธิสัตว์หรือเทพบุตรบนสวรรค์อีก พระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะอุบัติจากพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ (คำว่า ดับขันธปรินิพพาน หรือปรินิพพาน สองคำนี้โดยทั่วไปใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าในความหมายว่าตาย มีอีกคำคือ นิพพาน ใช้กับพระอรหันต์ คือพระสงฆ์ในพุทธศาสนาผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด ตายแล้วก็จะดับสูญไปและไม่กลับมาเกิดอีกเช่นกัน)
พระชนมายุของพระพุทธเจ้าและอายุของศาสนาในแต่ละพระองค์ยาวนานไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์มากน้อยต่างกันไปตามประเภทของพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยปัญญา คือบำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ปัญญาเป็นตัวนำ เป็นเวลา 20 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจโดยมิได้กล่าวออกมานาน 7 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าที่พบอีก 9 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 4 อสงไขย แสนมหากัป ดังเช่นพระโคดมพุทธเจ้า
2.สัทธาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยศรัทธา บำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ศรัทธาเป็นตัวนำเป็นเวลา 40 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจมิได้กล่าวออกมา 14 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าแล้ว 18 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 8 อสงไขย แสนมหากัป พระชนมชีพของพระพุทธเจ้าและอายุของพระศาสนาจะยาวนานกว่าประเภทแรก
3.วิริยธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยความเพียร บำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ความเพียรเป็นตัวนำเป็นเวลา 80 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจมิได้กล่าวออกมา 28 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าที่พบแล้วอีก 36 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 16 อสงไขย แสนมหากัป จึงจะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา นับเป็นการบำเพ็ญบารมีที่ยาวนานที่สุด พระชนมชีพของพระวิริยธิกพุทธเจ้าและอายุพระศาสนาจะยาวนานที่สุด
คำว่า กัป (หรือกัลป์) และอสงไขย เป็นหน่วยของเวลา เช่นเดียวกับวันเดือนปี แต่จะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก คือเริ่มช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อมีมนุษย์บังเกิดขึ้นบนโลกไปจนถึงเมื่อเกิดไฟประลัยกัลป์เผาผลาญทุกสิ่งบนโลก รวมทั้งมนุษย์หมดสิ้นไป เช่นนี้นับเป็น 1 กัป (ไฟประลัยกัลป์คือไฟที่ไหม้ล้างโลกเมื่อสิ้นกัป) เมื่อสิ้น 7 กัป เรียกว่า มหากัป ส่วนอสงไขย มีระยะเวลายาวนานเท่ากับจำนวนของกัป ที่เอาเลข 1 ตั้ง แล้วมีเลข 0 ตามหลัง 140 ตัว จึงนับเป็น 1 อสงไขย ทั้งกัปและอสงไขยนี้นับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ซึ่งมากจนนับออกมาเป็นวันเดือนปีไม่ได้
พระพุทธศาสนาไม่ได้ปรากฏอยู่บนโลกมนุษย์ตลอดเวลา เมื่อสิ้นอายุขัยของพระพุทธศาสนาตามกำหนดแต่ละคราวไปแล้ว อาจจะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติสืบต่อเนื่องกันทันทีหรือยังไม่มีก็ได้ ในกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติเลย เรียกว่า สุญกัป ในกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ แต่ไม่สั่งสอนผู้อื่น เรียกว่า อสุญกัป
ในกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วทรงสั่งสอนผู้อื่นแล้วทรงสั่งสอนผู้อื่นและเผยแผ่ศาสนาพุทธ มีชื่อเรียกกัปเหล่านี้ 5 ประการ คือ สารกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติหนึ่งองค์) มัณฑกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 2 องค์) วรกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 3 องค์) สารมัณฑกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 4 องค์) และภัททกัป (หรือภัทรกัป) คือกัปปัจจุบัน จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติ 5 องค์ องค์แรกของภัททกัปคือ พระกกุสันธะหรือพระกกุสันธพุทธเจ้า องค์ต่อมา คือ พระโกนาคมน์หรือพระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปะหรือพระกัสสปพุทธเจ้า อุบัติขึ้นติดต่อกัน จนถึงพระโคดม หรือพระศากยโคตมพุทธเจ้า หรือพระพุทธโคดม หรือพระโคดมพุทธเจ้า (คือองค์ปัจจุบัน)
เมื่อศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าสิ้นอายุขัย 5,000 ปี (ตอนนี้ยังเหลืออีกเกือบ 2,500 ปี) แล้ว จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของภัททกัปนี้อุบัติขึ้น พระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตเตยยะ หรือพระศรีอาริย์ พระองค์จะมีพระชนมายุถึง 8 หมื่นปี พระสรีระ (ร่างกาย) สูง 88 ศอก
พระคัมภีร์อนาคตวงศ์ กล่าวว่า เมื่อศาสนาของพระศรีอาริย์สิ้นอายุขัยและสิ้นสุดภัททกัป จนเกิดไฟประลัยกัลป์ล้างโลกจนสิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าและนับเวลาอีกอสงไขยจึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นใหม่ แผ่นดินใหม่ในระยะแรกจะเป็นสุญกัป โลกจะเว้นว่างจากพระพุทธเจ้านานถึงอสงไขย จึงเกิดกัปใหม่ชื่อมัณฑกัป จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ทั้งพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วสั่งสอนผู้อื่น และพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วเก็บพระธรรมไว้กับตนเอง ไม่สั่งสอนผู้อื่น
พระพุทธเจ้าเมื่ออุบัติและตรัสรู้แล้ว บางองค์ไม่ปรารถนาจะสั่งสอนผู้อื่นและไม่เผยแผ่ศาสนา (คำว่า เผยแผ่ ใช้กับศาสนา มีความหมายเดียวกับเผยแพร่) โลกจึงว่างเว้นพุทธศาสนา ขณะที่บางองค์สั่งสอนผู้อื่นและเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงแบ่งลักษณะของพระพุทธเจ้าออกเป็น 2 ลักษณะ และบางทีเอาพุทธลักษณะนี้มาใช้นำหน้าหรือตามหลังนามด้วย คือ
1.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว ทรงสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก เช่น พระโคดมพุทธเจ้า
2.พระปัจเจกพุทธะ คือพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว แต่เก็บพระธรรมที่ตรัสรู้นั้นไว้เฉพาะตัว ไม่นำไปสั่งสอนผู้อื่น (ปัจเจก แปลว่า เฉพาะตัวหรือเฉพาะบุคคล)
เมื่อพระโคดมพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีครบถ้วน ทั้งการแสดงความมุ่งมั่นทางใจ วาจา และกาย ว่าปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกในชาติที่เกิดเป็นเพศฤาษี ชื่อสุเมธดาบส จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร หรือพระทีปังกรพุทธเจ้า ว่า สุเมธดาบสจะอุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีโคตรมะ หรือพระโคดมพุทธเจ้าในอีก 4 อสงไขย แสนมหากัป
หลังจากพระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานและสิ้นอายุขัยศาสนาของพระองค์แล้ว มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นต่อมาอีก 23 องค์ก่อนจะถึงพระโคดมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ต่างพยากรณ์การอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าของพระโคดมพุทธเจ้าทั้งสิ้น กล่าวคือ พระโคดมพุทธเจ้าได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนถึง 24 พระองค์ และบำเพ็ญบารมีหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก (จากพระทีปังกรพุทธเจ้า) ต่อมาอีกเป็นเวลา 4 อสงไขย แสนมหากัป รวมเวลาที่บำเพ็ญบารมี 20 อสงไขย แสนมหากัป จึงอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา
แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติบนโลกมนุษย์แล้วจำนวนมากมาย แต่หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้จะตรงกันหมด คือ ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย (เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (การดับทุกข์หรือทำให้ทุกข์สิ้นไป) มรรค (หนทางหรือวิธีดับทุกข์)
การอุบัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ต้องผ่านการเพียรบำเพ็ญบารมีและกฏเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามลำดับแน่นอน จึงสำเร็จสมความปรารถนาได้เป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา สมพระนามเรียกขานว่าพระพุทธเจ้า
สาธุ สาธุ สาธุ
บทนำ : ตำนานพระพุทธเจ้า
ตำนาน แปลว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและเล่าสืบต่อกันมา ตำนานพระพุทธเจ้าจึงหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและเล่าสืบต่อกันมา
พุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ คำว่า ตรัสรู้ แปลว่า รู้แจ้งด้วยตนเอง คือ รู้ทุกๆสิ่งอย่างกระจ่างชัดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นสอน คำว่าตรัสรู้นี้ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น (พุทธ ยังแปลว่า ผู้ตื่นแล้ว คือละเลิกหรือตื่นขึ้นจากความลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เรียกว่ากิเลส และยังแปลว่า ผู้เบิกบานแล้ว คือยินดีที่หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้)
ศาสดา คือ ผู้ตั้งศาสนา คำว่า บรม ใช้นำหน้าเพื่อขยายความให้มีความหมายที่แสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ คำว่า พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา จึงแปลว่า พระผู้ตั้งศาสนาพุทธอันมีเกียรติยศยิ่งใหญ่ (คำว่า พระบรมศาสดา หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น)
พระสรีระของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไปไม่ต่างไปจากมนุษย์อื่นๆเพียงแต่มีลักษณะพิเศษบางประการที่คนอื่นทั่วไปไม่มี
ผู้ที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าจะต้องเคยมีความมุ่งมั่นปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่เมื่อเกิดในชาติที่ผ่านมาก่อนแล้ว กำหนดไว้ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การแสดงความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าทั้งทางใจ วาจา และทางกาย เริ่มด้วยใจมุ่งมั่นปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ทางวาจาแสดงด้วยการเอ่ยวาจาต่อหน้าพระพุทธเจ้าองค์ก่อนว่ามีความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ทางกายแสดงด้วยการมุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติตนสร้างสมคุณงามความดีอย่างยิ่งเพื่อให้สำเร็จสมความปรารถนา เรียกว่า การบำเพ็ญบารมี โดยเฉพาะจะต้องเป็นผู้ทำอธิการ (หมายถึง การทำคุณความดีอันยิ่งใหญ่) ไว้ในพระพุทธเจ้าที่พบทุกพระองค์
ส่วนขั้นตอนที่สองนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งว่าจะสมความปรารถนาได้เป็นพระพุทธเจ้าในกำหนดเวลาที่แน่นอน คือจะต้องได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
บุคคลที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และบำเพ็ญบารมี 10 ประการ เรียกว่า ทศบารมี คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (ถือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ (อดกลั้น) สัจจะ อธิษฐาน (ตั้งใจมั่น) เมตตา อุเบกขา (วางเฉย) บารมีแต่ละอย่างยังแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ บารมีเบื้องต้น อุปบารมี (ระดับกลาง) และปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด) รวมกันเป็น 30 ประการ เรียกว่า บารมี 30 ทัศ เมื่อบำเพ็ญบารมีครบสมบูรณ์ทั้งหมดแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ (หมายถึงผู้ที่มีโอกาสจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)
พระโพธิสัตว์มี 2 ประเภท คือ
1.อนิยตโพธิสัตว์ (อนิยต แปลว่า ไม่แน่) คือพระโพธิสัตว์ที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาในขั้นตอนแรกสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ จึงยังไม่แน่ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใด
2.นิยตโพธิสัตว์ (นิยต แปลว่า แน่) คือพระโพธิสัตว์ที่มุ่งมั่นแสดงความปรารถนาในขั้นตอนแรกสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนแล้ว จึงแน่ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าตามกำหนดเวลาในพุทธพยากรณ์
พระโพธิสัตว์ทุกองค์ที่สิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต มีพระโพธิสัตว์เทพบุตรนามท้าวสันดุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง พระโพธิสัตว์บางองค์จะลงมายังโลกมนุษย์เพื่อบำเพ็ญบารมีเพิ่มหรือช่วยเหลือมนุษย์ก็ได้ (สวรรค์มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี จนชั้นสูงสุดคือ ปรนิมมิตวสวัตดี)
เมื่อถึงคราวพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่อยู่บนโลกมนุษย์สิ้นอายุลง โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา เทวดาชั้นผู้ใหญ่จะร่วมกันอาราธนาพระโพธิสัตว์องค์ที่ถึงเวลาสมควรให้จุติลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้ายังโลกมนุษย์เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา (คำว่า จุติ แปลว่า เคลื่อน หรือเปลี่ยนจากที่เป็นอยู่อย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้หมายถึง เปลี่ยนจากเป็นพระโพธิสัตว์เทพบุตรบนสวรรค์ลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์)
พระพุทธเจ้ามิได้มีพระองค์เดียว ในอดีตที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติแล้วบนโลกนี้มีมากมายหลายพระองค์ ทว่าในคราวหนึ่งๆจะอุบัติขึ้นเพียงพระองค์เดียว พระคัมภีร์ของศาสนาพุทธหลายฉบับบอกจำนวนพระพุทธเจ้าเอาไว้ ทว่ามักไม่ตรงกัน จำนวนที่บอกไว้มากที่สุดคือ 3 ล้าน 5 แสน 8 หมื่น 7 พัน 154 องค์
ในพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากล่าวว่า พระพุทธเจ้าในอดีตนั้นมีมากมายนับจำนวนไม่ได้ ในพระไตรปิฎกบอกพระนามไว้ 28 องค์ และในพระคัมภีร์ อนาคตวงศ์ บอกพระนามพระพุทธเจ้าในอนาคตอีก 10 องค์ แล้วยังมีคัมภีร์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าองค์แรกพระนามว่า พระติกขะคัมมะสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าองค์หลังสุดที่อุบัติเมื่อ 2,500 ปีก่อน แล้วยังปรากฏพระศาสนาของพระองค์อยู่จนปัจจุบันนี้ คือ พระศรีศากยมุนีโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระโคดมพุทธเจ้า (หากเอ่ยเพียงสั้นๆว่าพระพุทธเจ้า มักจะหมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ในพระคัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวว่า ต่อจากพระโคดมพุทธเจ้า ในอนาคตจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติอีก 10 องค์
พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มีกำหนดเวลาสิ้นอายุทั้งพระองค์เองและพระศาสดาของพระองค์ การสิ้นพระชนม์ของพระพุทธเจ้าเรียกว่า เสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือปรินิพพาน คือการดับสูญไปเลย จะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือกลับไปเป็นพระโพธิสัตว์หรือเทพบุตรบนสวรรค์อีก พระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะอุบัติจากพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ (คำว่า ดับขันธปรินิพพาน หรือปรินิพพาน สองคำนี้โดยทั่วไปใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าในความหมายว่าตาย มีอีกคำคือ นิพพาน ใช้กับพระอรหันต์ คือพระสงฆ์ในพุทธศาสนาผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด ตายแล้วก็จะดับสูญไปและไม่กลับมาเกิดอีกเช่นกัน)
พระชนมายุของพระพุทธเจ้าและอายุของศาสนาในแต่ละพระองค์ยาวนานไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์มากน้อยต่างกันไปตามประเภทของพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยปัญญา คือบำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ปัญญาเป็นตัวนำ เป็นเวลา 20 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจโดยมิได้กล่าวออกมานาน 7 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าที่พบอีก 9 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 4 อสงไขย แสนมหากัป ดังเช่นพระโคดมพุทธเจ้า
2.สัทธาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยศรัทธา บำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ศรัทธาเป็นตัวนำเป็นเวลา 40 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจมิได้กล่าวออกมา 14 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าแล้ว 18 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 8 อสงไขย แสนมหากัป พระชนมชีพของพระพุทธเจ้าและอายุของพระศาสนาจะยาวนานกว่าประเภทแรก
3.วิริยธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยความเพียร บำเพ็ญบารมีด้วยการใช้ความเพียรเป็นตัวนำเป็นเวลา 80 อสงไขย แสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาไว้ในใจมิได้กล่าวออกมา 28 อสงไขย หลังจากเอ่ยวาจาแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้าที่พบแล้วอีก 36 อสงไขย และหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จึงเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วอีก 16 อสงไขย แสนมหากัป จึงจะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา นับเป็นการบำเพ็ญบารมีที่ยาวนานที่สุด พระชนมชีพของพระวิริยธิกพุทธเจ้าและอายุพระศาสนาจะยาวนานที่สุด
คำว่า กัป (หรือกัลป์) และอสงไขย เป็นหน่วยของเวลา เช่นเดียวกับวันเดือนปี แต่จะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก คือเริ่มช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อมีมนุษย์บังเกิดขึ้นบนโลกไปจนถึงเมื่อเกิดไฟประลัยกัลป์เผาผลาญทุกสิ่งบนโลก รวมทั้งมนุษย์หมดสิ้นไป เช่นนี้นับเป็น 1 กัป (ไฟประลัยกัลป์คือไฟที่ไหม้ล้างโลกเมื่อสิ้นกัป) เมื่อสิ้น 7 กัป เรียกว่า มหากัป ส่วนอสงไขย มีระยะเวลายาวนานเท่ากับจำนวนของกัป ที่เอาเลข 1 ตั้ง แล้วมีเลข 0 ตามหลัง 140 ตัว จึงนับเป็น 1 อสงไขย ทั้งกัปและอสงไขยนี้นับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ซึ่งมากจนนับออกมาเป็นวันเดือนปีไม่ได้
พระพุทธศาสนาไม่ได้ปรากฏอยู่บนโลกมนุษย์ตลอดเวลา เมื่อสิ้นอายุขัยของพระพุทธศาสนาตามกำหนดแต่ละคราวไปแล้ว อาจจะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติสืบต่อเนื่องกันทันทีหรือยังไม่มีก็ได้ ในกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติเลย เรียกว่า สุญกัป ในกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ แต่ไม่สั่งสอนผู้อื่น เรียกว่า อสุญกัป
ในกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วทรงสั่งสอนผู้อื่นแล้วทรงสั่งสอนผู้อื่นและเผยแผ่ศาสนาพุทธ มีชื่อเรียกกัปเหล่านี้ 5 ประการ คือ สารกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติหนึ่งองค์) มัณฑกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 2 องค์) วรกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 3 องค์) สารมัณฑกัป (มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 4 องค์) และภัททกัป (หรือภัทรกัป) คือกัปปัจจุบัน จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติ 5 องค์ องค์แรกของภัททกัปคือ พระกกุสันธะหรือพระกกุสันธพุทธเจ้า องค์ต่อมา คือ พระโกนาคมน์หรือพระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปะหรือพระกัสสปพุทธเจ้า อุบัติขึ้นติดต่อกัน จนถึงพระโคดม หรือพระศากยโคตมพุทธเจ้า หรือพระพุทธโคดม หรือพระโคดมพุทธเจ้า (คือองค์ปัจจุบัน)
เมื่อศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าสิ้นอายุขัย 5,000 ปี (ตอนนี้ยังเหลืออีกเกือบ 2,500 ปี) แล้ว จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของภัททกัปนี้อุบัติขึ้น พระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตเตยยะ หรือพระศรีอาริย์ พระองค์จะมีพระชนมายุถึง 8 หมื่นปี พระสรีระ (ร่างกาย) สูง 88 ศอก
พระคัมภีร์อนาคตวงศ์ กล่าวว่า เมื่อศาสนาของพระศรีอาริย์สิ้นอายุขัยและสิ้นสุดภัททกัป จนเกิดไฟประลัยกัลป์ล้างโลกจนสิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าและนับเวลาอีกอสงไขยจึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นใหม่ แผ่นดินใหม่ในระยะแรกจะเป็นสุญกัป โลกจะเว้นว่างจากพระพุทธเจ้านานถึงอสงไขย จึงเกิดกัปใหม่ชื่อมัณฑกัป จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ทั้งพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วสั่งสอนผู้อื่น และพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วเก็บพระธรรมไว้กับตนเอง ไม่สั่งสอนผู้อื่น
พระพุทธเจ้าเมื่ออุบัติและตรัสรู้แล้ว บางองค์ไม่ปรารถนาจะสั่งสอนผู้อื่นและไม่เผยแผ่ศาสนา (คำว่า เผยแผ่ ใช้กับศาสนา มีความหมายเดียวกับเผยแพร่) โลกจึงว่างเว้นพุทธศาสนา ขณะที่บางองค์สั่งสอนผู้อื่นและเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงแบ่งลักษณะของพระพุทธเจ้าออกเป็น 2 ลักษณะ และบางทีเอาพุทธลักษณะนี้มาใช้นำหน้าหรือตามหลังนามด้วย คือ
1.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว ทรงสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก เช่น พระโคดมพุทธเจ้า
2.พระปัจเจกพุทธะ คือพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว แต่เก็บพระธรรมที่ตรัสรู้นั้นไว้เฉพาะตัว ไม่นำไปสั่งสอนผู้อื่น (ปัจเจก แปลว่า เฉพาะตัวหรือเฉพาะบุคคล)
เมื่อพระโคดมพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีครบถ้วน ทั้งการแสดงความมุ่งมั่นทางใจ วาจา และกาย ว่าปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกในชาติที่เกิดเป็นเพศฤาษี ชื่อสุเมธดาบส จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร หรือพระทีปังกรพุทธเจ้า ว่า สุเมธดาบสจะอุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีโคตรมะ หรือพระโคดมพุทธเจ้าในอีก 4 อสงไขย แสนมหากัป
หลังจากพระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานและสิ้นอายุขัยศาสนาของพระองค์แล้ว มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นต่อมาอีก 23 องค์ก่อนจะถึงพระโคดมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ต่างพยากรณ์การอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าของพระโคดมพุทธเจ้าทั้งสิ้น กล่าวคือ พระโคดมพุทธเจ้าได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนถึง 24 พระองค์ และบำเพ็ญบารมีหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก (จากพระทีปังกรพุทธเจ้า) ต่อมาอีกเป็นเวลา 4 อสงไขย แสนมหากัป รวมเวลาที่บำเพ็ญบารมี 20 อสงไขย แสนมหากัป จึงอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา
แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติบนโลกมนุษย์แล้วจำนวนมากมาย แต่หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้จะตรงกันหมด คือ ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย (เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (การดับทุกข์หรือทำให้ทุกข์สิ้นไป) มรรค (หนทางหรือวิธีดับทุกข์)
การอุบัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ต้องผ่านการเพียรบำเพ็ญบารมีและกฏเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามลำดับแน่นอน จึงสำเร็จสมความปรารถนาได้เป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา สมพระนามเรียกขานว่าพระพุทธเจ้า
สาธุ สาธุ สาธุ