เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยกัน ตัว จขม เองก็เคยคิดว่าทำไม เมืองไทยหานักการเมืองหน้าใหม่ยากจัง
เพราะเท่าที่เห็น ไม่ว่าพรรคไหน ก็จะเป็น เพื่อน เป็นพี่เป็นน้อง เป็นลูกเต้า กับคนพรรคนั้นๆ เรียกว่าเป็น
สายสะพานที่สืบทอดกันมา
คำถามต่อมาคือ แล้วผิดไหม? ถ้าพรรคการเมืองจะสืบทอดทายาททางการเมือง
และเท่าที่เห็นมา การเมืองไทยก็ไม่ค่อยจะมีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดมากนัก และก็วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
คือเลือกตั้งมา ก็ถูกล้ม ถูกม๊อบ จนไม่ต้องเป็นอันบริหารประเทศ นโยบายใครทำมา ก็จะโดนต่อต้านจากอีกฝั่ง
ดีแค่ไหน ก็จะไม่ยอมรับ โจมตี แต่ไม่คิดหาเหตุผลมาแก้ไข มากกว่าจ้องจับผิด จนวุ่นวายเสียหายไปเป็นสิบๆปี
สิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยก้าวหน้าไปไหนเลย
ก็ยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แบบนี้อยู่ร่ำไป
พอหนักๆก็เข้า คนไทยที่เบื่อมากๆ ก็ออกมาบ่น ออกมาหาผู้กระทำผิด โทษกันไปมาว่าฝ่ายนั้น ฝ่ายนี้เป็นคนทำ
โดยลืมมองที่ตัวเองว่า รักษากติกาได้ดีแค่ไหน ตัวเองมีส่วนผลักดันให้ประเทศ เข้าสู่ทางตันหรือไม่?
แล้วเมื่อเกลียดอีกฝั่ง ก็ต้องหาเหตุผลของตัวเองดูดี โดยคิดว่าที่เป็นแบบนี้ สงบแบบนี้ คือทางออกของประเทศไทย
เพราะเรามีนักการเมืองคนเก่า แบบเก่า แล้วมันเป็นทางออกจริงหรือ ? มีนักการเมืองใหม่ มันหาทางออกให้ประเทศได้จริงหรือ?
มองการเมืองของเมกา ไม่ว่าจะเป็น ฮิลลารี่ หรือ ทรัมป์ ที่เป็นแคนดิเดด ลงชิง ปธน ล้วนแต่เป็นนักการเมืองเก่า ที่อายุมาก
เกินครึ่งทศวรรษก็ยังมีฝีไม้ลายมือ ที่จะเล่นการเมืองได้ หน้าเก่าจนคนเมกา จำได้ขึ้นใจ แล้วทำไมคนเมกา ยังยอมรับ บุคคลสองท่านนี้
ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะอยู่ในวงการเมืองมานาน อีกส่วน คนเมกา มองที่ความสามารถและ พรรคก็ให้การสนับสนุน
ด้วยประสพการณ์ที่สองท่านนี้มีมายาวนาน คนเมกาแม้จะคิดต่างเห็นต่าง ต่อต้านโจมตี แต่เค้าก็ยังยึดหลักและก็ยอมรับในกติกา
ในเสียงข้างมาก ไม่ว่าใครแพ้ ใครชนะ ก็จะยอมรับหลักกติกา สากลในการเลือกตั้ง โดยไม่ล้ม ไม่ขัดขวางการเลือกตั้ง
แบบที่พี่ไทยชอบทำ หรืออ้างว่าทำเพื่อชาติโดยไม่สนหลักปชต สากล
นักการเมือง ตปท ทีบ้านเค้าเมืองเค้า รักษากติกาปชต หากใครทำผิด หรือ รู้สึกผิด เค้าจะลาออกเพื่อ รักษาบรรยากาศการเมือง
ให้เดินหน้าไปในระบบต่อไป นี่คือวิถึทางทางการเมือง ที่นักการเมืองควรมีจริยธรรม
กลับมาเมืองไทย พอเบื่อนักการเมืองหน้าเก่า ก็เฝ้าร้องหา นักการเมืองหน้าใหม่ทันที ทั้งที่ไม่เคยย้อนคิดว่า นักการเมืองรุ่นเก่า
ที่มีความสามารถ มีฝีมือ พอจะทำคุณประโยชน์บนเส้นทางสายการเมืองให้ต่อเนื่อง ก็มีอันต้องโดนโค่นล้มอยู่ร่ำไป
โดยไม่ปล่อยให้นักการเมืองทำหน้าที่ในระบบรัฐสภาที่ถูกต้องตามหลักการบริหาร
สุดท้ายก็ต้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะคิดว่าการเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ หรือการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันที่ไม่ชอบธรรม
ที่ฝ่ายแพ้มักใช้เป็นข้ออ้างเสมอ หรือการถ่ายอำนาจอาจเป็นความหวังของคนแพ้?
และที่ประเทศแบบนี้ ต่อให้เปลี่ยนนักการเมืองไปอีกกี่รุ่น เมืองไทยก็ไม่มีวันเจริญ มันจะวนลูปอยู่อย่างนี้
ตราบใดที่ ประชาชน ยังไม่เห็นว่านักการเมืองคือตัวแทนของเราที่เข้าไปทำหน้าที่แทนเรา แก้ไขปัญหาให้เรา
มากกว่าจะมาบูชานักการเมือง และโจมตีนักการเมือง เพียงเพราะไม่ใช่ฝั่งที่เราเชียร์
ทำไมการเมืองไทยต้องวนลูปกับนักการเมืองหน้าเดิมๆ
เพราะเท่าที่เห็น ไม่ว่าพรรคไหน ก็จะเป็น เพื่อน เป็นพี่เป็นน้อง เป็นลูกเต้า กับคนพรรคนั้นๆ เรียกว่าเป็น
สายสะพานที่สืบทอดกันมา
คำถามต่อมาคือ แล้วผิดไหม? ถ้าพรรคการเมืองจะสืบทอดทายาททางการเมือง
และเท่าที่เห็นมา การเมืองไทยก็ไม่ค่อยจะมีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดมากนัก และก็วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
คือเลือกตั้งมา ก็ถูกล้ม ถูกม๊อบ จนไม่ต้องเป็นอันบริหารประเทศ นโยบายใครทำมา ก็จะโดนต่อต้านจากอีกฝั่ง
ดีแค่ไหน ก็จะไม่ยอมรับ โจมตี แต่ไม่คิดหาเหตุผลมาแก้ไข มากกว่าจ้องจับผิด จนวุ่นวายเสียหายไปเป็นสิบๆปี
สิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยก้าวหน้าไปไหนเลย ก็ยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แบบนี้อยู่ร่ำไป
พอหนักๆก็เข้า คนไทยที่เบื่อมากๆ ก็ออกมาบ่น ออกมาหาผู้กระทำผิด โทษกันไปมาว่าฝ่ายนั้น ฝ่ายนี้เป็นคนทำ
โดยลืมมองที่ตัวเองว่า รักษากติกาได้ดีแค่ไหน ตัวเองมีส่วนผลักดันให้ประเทศ เข้าสู่ทางตันหรือไม่?
แล้วเมื่อเกลียดอีกฝั่ง ก็ต้องหาเหตุผลของตัวเองดูดี โดยคิดว่าที่เป็นแบบนี้ สงบแบบนี้ คือทางออกของประเทศไทย
เพราะเรามีนักการเมืองคนเก่า แบบเก่า แล้วมันเป็นทางออกจริงหรือ ? มีนักการเมืองใหม่ มันหาทางออกให้ประเทศได้จริงหรือ?
มองการเมืองของเมกา ไม่ว่าจะเป็น ฮิลลารี่ หรือ ทรัมป์ ที่เป็นแคนดิเดด ลงชิง ปธน ล้วนแต่เป็นนักการเมืองเก่า ที่อายุมาก
เกินครึ่งทศวรรษก็ยังมีฝีไม้ลายมือ ที่จะเล่นการเมืองได้ หน้าเก่าจนคนเมกา จำได้ขึ้นใจ แล้วทำไมคนเมกา ยังยอมรับ บุคคลสองท่านนี้
ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะอยู่ในวงการเมืองมานาน อีกส่วน คนเมกา มองที่ความสามารถและ พรรคก็ให้การสนับสนุน
ด้วยประสพการณ์ที่สองท่านนี้มีมายาวนาน คนเมกาแม้จะคิดต่างเห็นต่าง ต่อต้านโจมตี แต่เค้าก็ยังยึดหลักและก็ยอมรับในกติกา
ในเสียงข้างมาก ไม่ว่าใครแพ้ ใครชนะ ก็จะยอมรับหลักกติกา สากลในการเลือกตั้ง โดยไม่ล้ม ไม่ขัดขวางการเลือกตั้ง
แบบที่พี่ไทยชอบทำ หรืออ้างว่าทำเพื่อชาติโดยไม่สนหลักปชต สากล
นักการเมือง ตปท ทีบ้านเค้าเมืองเค้า รักษากติกาปชต หากใครทำผิด หรือ รู้สึกผิด เค้าจะลาออกเพื่อ รักษาบรรยากาศการเมือง
ให้เดินหน้าไปในระบบต่อไป นี่คือวิถึทางทางการเมือง ที่นักการเมืองควรมีจริยธรรม
กลับมาเมืองไทย พอเบื่อนักการเมืองหน้าเก่า ก็เฝ้าร้องหา นักการเมืองหน้าใหม่ทันที ทั้งที่ไม่เคยย้อนคิดว่า นักการเมืองรุ่นเก่า
ที่มีความสามารถ มีฝีมือ พอจะทำคุณประโยชน์บนเส้นทางสายการเมืองให้ต่อเนื่อง ก็มีอันต้องโดนโค่นล้มอยู่ร่ำไป
โดยไม่ปล่อยให้นักการเมืองทำหน้าที่ในระบบรัฐสภาที่ถูกต้องตามหลักการบริหาร
สุดท้ายก็ต้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะคิดว่าการเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ หรือการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันที่ไม่ชอบธรรม
ที่ฝ่ายแพ้มักใช้เป็นข้ออ้างเสมอ หรือการถ่ายอำนาจอาจเป็นความหวังของคนแพ้?
และที่ประเทศแบบนี้ ต่อให้เปลี่ยนนักการเมืองไปอีกกี่รุ่น เมืองไทยก็ไม่มีวันเจริญ มันจะวนลูปอยู่อย่างนี้
ตราบใดที่ ประชาชน ยังไม่เห็นว่านักการเมืองคือตัวแทนของเราที่เข้าไปทำหน้าที่แทนเรา แก้ไขปัญหาให้เรา
มากกว่าจะมาบูชานักการเมือง และโจมตีนักการเมือง เพียงเพราะไม่ใช่ฝั่งที่เราเชียร์