โดนเลิกจ้าง อยากฟ้องกลับได้ไหม

สวัสดีค่ะ

ดิชั้นเพิ่งโดนเลิกจ้างเมื่อวาน เนื่องจากขัดคำสั่งนายจ้าง เมื่อวานโมโหเลยเซ็นต์หนังสือเลิกจ้างไปให้เรื่องจบๆ แต่พอวันนี้ตั้งสติได้แล้วอ่านหนังสือเลิกจ้างอีกที รู้สึกว่าชั้นไม่น่าจะผิดนะ มันเลิกจ้างกรูได้ไงฟระ แต่ทางบริษัทฯ ก็จ่ายค่าชดเชยมา 8+1 เดือนนะ เพราะไม่บอกล่วงหน้า เรียกมาไล่ออกเลย แต่เราอยากมีงานทำมากกว่า ไม่อยากโดนไล่ออก เพราะการหางานใหม่มันยากมาก ๆ และเรามีค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนอีกเยอะแยะ เงินชดเชยแค่นี้แค่ประทังไปได้ไม่กี่เดือนหรอก เพราะค่าใช้จ่ายประจำเราเยะ ต้องผ่อนของเยอะแยะ (ก็ไม่รู้ตัวมาก่อนนี่นา)

ทีนี้อยากถามผู้รู้ว่า เราสามารถฟ้องกลับให้นายจ้างกลับมาจ้างเราทำงานได้ไหมคะ?? และเราเรียกร้องอะไรได้อีกไหมคะ

เรื่องมีอยู่ว่า ดิชั้นทำหน้าที่จัดงานสัมมนาใหักับบริษัทฯ (เป็นบริษัทต่างชาติ จ้างดิฉันโดยเซ็นต์สัญญาผ่านบริษัทเอ้าท์ซอทปีต่อปีติดต่อกันมาเป็นเวลา6ปีแล้ว) ครั้งนี้จัดงานที่โรงแรมแห่งหนึ่ง โดยประกาศให้ลูกค้าทราบว่าหลังงานสัมมนาจะมีกิจกรรมสันทนาการชนิดหนึ่ง ซึ่งจะต้องจ้างวิทยากรมาทำการสอน และให้ลูกค้าทำการปฏิบัติจริง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องทำการออกใบสั่งซื้อไปยังบริษัทตัวแทน และให้บริษัทตัวแทนทำการจ่ายเงินให้วิทยากรผู้รับจ้างจัดกิจกรรมสันทนาการ ดิชั้นได้ทำการเปิดพีโอก่อนหน้าวันสัมมนาเมื่อเดือนที่แล้ว แต่เนื่องจากนายซึ่งเป็นคนยุโรปเพิ่งมารับตำแหน่ง ไม่เข้าใจ จึงมีคำถามมากมาย และให้ปรับเปลี่ยนหลายครั้ง จึงทำให้การอนุมัติล่าช้า (ได้พีโอก่อนวันสัมมนา1วัน) และบริษัทตัวแทนไม่สามารถจ่ายเงินได้ทัน ดิชั้นจึงส่งอีเมล์บอกนายว่า ถ้านายแอพพรูฟช้า เอเจ้นจะจ่ายเงินไม่ทันนะ เราคงต้องไปยืมเงินใครมาจ่าย นางก็ตอบเมล์ว่าอย่าจ่ายเงินสดนะ ดิชั้นตอบโอเค และให้เอเจ้นโทไปคุยกับวิทยากร ว่าช่วยมาทำงานให้เราก่อนและค่อยจ่ายเงินทีหลัง ตามที่นายแนะนำ เอเจ้นตอบว่าวิทยากรไม่ยอม ต้องจ่ายเงินก่อน ถ้าไม่จ่ายก่อนก็ต้องจ่ายหลังจากจบงาน ดิชั้นจึงโทรไปบอกวิทยากรว่าช่วยทำงานให้เราก่อนและคุณได้เงินหลังงานเสร็จแน่นอน วิทยากรจึงมาทำกิจกรรมให้จนเสร็จลูกค้าและทีมงานพอใจมากที่ได้ของติดมือกลับบ้านไป

หลังจากวันงาน ดิชั้นได้ปรึกษานายว่า เราจะมีทางแก้ปัญหายังไง ที่จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก (คุยกันทางโทรศัพท์ ไม่แน่ใจว่ามีอัดเสียงรึป่ะ) นายถามว่าจ่ายเงินไปหรา ดิชั้นตอบใช่ แก้ไงดี ไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกแล้วเพราะที่ผ่านมาดิชั้นพยายามเปิดพีโอล่วงหน้า1เดือนทุกครั้ง เอเจ้นก็จ่ายได้ทัน มีครั้งนี้นาย(ยิ้ม)ถามเยอะแอพพรูฟช้า พีโอเลยออกช้า (แต่ก็ก่อนวันงานนะ) นายโกรธและบอกว่านี่คือเรื่องผิดกฎบริษัทร้ายแรง บอกว่าอย่าทำทำไมยังทำ ดิชั้นตอบว่า เพราะเราได้ประกาศกับลูกค้าไปแล้ว และทางเมืองไทยไม่สามารถหากิจกรรมอื่นมาแทนได้ทัน เราจึงต้องทำ และนายบอกล่วงหน้าแค่1วัน ตอนบ่ายด้วย เราไม่สามารถยกเลิกงานได้เพราะเราได้จองโรงแรม และประกาศกับลูกค้าไปแล้ว เวลาไม่ถึง 1 วันยกเลิกทุกอย่างไม่ทัน (นายอยู่เมืองนอง ไม่ได้รู้เรื่องอะไรในไทยซึ่งแต่ละประเทศจะมีตำแหน่งแบบดิชั้นประเทศละคน คอยประสานงานระหว่างผู้ให้ทุนในต่างประเทศกับทีมที่ต้องการเงินทุนในการจัดงานสัมมนาในไทย) นายยังบอกอีกว่า เราเป็นบริษัทอเมริกันใหญ่โต เค้าต้องยอมเรา (อีฟายเอ้ย ใครเค้าจะมารู้ว่าเมิงใหญ่ ใหญ่แค่ไหนซื้อของแล้วไม่จ่ายเงินเค้าก็เรียกตำรวจมาจับวะ ขอโทษคะ มันทนไม่ได้จิงๆ) ดิชั้นสวนกลับ นี่คือเมืองไทยไม่ใช่อเมริกาและเราไม่สามารถใช้บริการโดยไม่จ่ายเงินได้ เค้าจะเรียกตำรวจมาจับเรา นางยังแถว่าตำรวจไม่จับเราหรอก เราใหญ่มากไม่มีเจตนาเบี้ยว ทำไมไม่ใช้บัตรเครดิตบริษัทการันตีไว้ (ท่านผู้อ่านเคยใช้บัตรเครดิตการันตีไว้กับ7-11 ไหมคะ ย้ำว่าการันตีนะคะ ไม่ได้ใช้จ่าย) หรือใช้ชื่อเสียงบริษัทประกันไว้ (ท่านผู้อ่านจะรู้จักบริษัท _ี แต_อะไรนี่มะคะบอกต่ง ใครจะไปรู้จักวะตอนมาสมัครกรูยังมะรู้จักเร้ย ขออภัยอีกครั้งค่ะ) นางยังบอกว่าดิชั้นทำผิดกฎร้ายแรงมากๆ อาจโดนไล่ออกได้เลยนะ ดิชั้นอึ้ง ถามว่าแปลว่าไร จะไล่ชั้นออกรึ มันบอกมะได้พูดงั้น ดิชั้นบอกถ้างั้นรับรองว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก แต่เธอจะต้องอนุมัติก่อนวันงาน นางโมโหมากและเรามีอีกมีทติ้งนึงรออยู่จึงต้องวางสาย

หลังจากวันนั้น 1 อาทิตย์ ซึ่งมีงานใหญ่โต (อีกแล้ว) ของบริษัทที่โรงแรมอีกแห่งหนึ่งในวันศุกร์ ดิชั้นกังวลกับงานนี้มาก และเหนื่อยมากๆ และมันก็ผ่านพ้นมาถึงวันจันทร์ นายเรียกดิชั้นมาคุยในห้อง ดิชั้นชะงักเล็กน้อย เพราะในห้องมีHRและบริษัทเอ้าซอทที่เป็นตัวแทนจ้างดิชั้นมาด้วย (แอบดีใจเล็กๆ คิดว่าต้องได้โปรโมทแน่นอน เพราะทำงานหนักมาก ผลงานดี คนชมเพียบ) พอฟังนายพูดผ่านโทรศัพท์ เอ๊ะ ทำไมพูดเหมือนไล่ออกวะ งง HR เห็นดิชั้นงงงงจึงถามว่า เข้าใจไหมคะ ดิชั้นตอบ มันแปลว่าอะไรคะ แล้วทำไมถึงเลิกจ้างดิชั้น เค้าตอบว่าเพราะดิชั้นขัดคำสั่งนายจ้างซึ่งเตือนแล้วว่าอย่าทำ แต่ก็ยังทำ และทำการจ่ายเงินสดโดยไม่มีพีโอ (อันนี้ไม่จริงแน่นอนพีโอออกก่อนวันงานชัวร์ มั่นใจเพราะเป็นคนส่งให้เอเจันเอง) แต่เรื่องเงินสดเรายืมเพื่อนจ่ายจริง แต่ไม่มีหลักฐานนี่ว่าเรายืมเพื่อนไปจ่าย อีนายต่างชาติเอาอีเมล์ที่ดิชั้นเขียนไปบอกนางมาเป็นหลักฐานไล่ดิชั้นออก ดิชั้นปรี๊สแตกมาก ๆ น้ำตาไหลหูอื้อ เพราะเจ็บใจ (คนทำงานเหนื่อยชิหาย ยิ้มมาไล่กรูออก ทำได้ไงฟระ) ดิชั้นด่ามันว่าแกทำแบบนี้ไม่ได้ มันไปแฟร์ ชั้นทำงานให้พวกแก ชั้นไม่ได้ทำอะไรของตัวเองเร้ย อะไรกูก็ไม่ได้ ยิ้มมาโดนไล่ออกอีก (ปรี๊สมาก ขออภัยอีกครั้ง) และชั้นไว้ใจเธอ ชั้นปรึกษาเธอ แต่เธอกลับเอาชั้นไปฟ้องถึง Golbal จนไล่ชั้นออก เธอเป็นนายคนได้ยังไง แย่มาก ชั้นผิดหวังกับเธอมาก คือมันเตรียมการละ ให้ outsource เตรียมสัญญามาเรียบร้อย แต่ที่จริงพนักงานคนไทยที่นี่น่ารักทุกคนนะ ตอนหลังดิชั้นหูอื้อ English mode ไม่ทำงาน เพราะโกรธมาก ร้องไห้เรย จึงให้พี่HRคุยกับมันแทน ดิชั้นบอกผิดกฎหมายแรงงานแน่นอนมาไล่กันออกแบบนี้ ถ้ากรูไม่ทำงานขี้เกียจสันหลังยาว แล้วไล่ออกมันสมควรโดน แต่นี้ทำงานเหน็ดเหนื่อย เครียดมาก ไม่มีเวลาทำสปา หาสามี ฉีดโบท๊อก อัดฟีลเล่อร์ ฮ่วย แล้วยังจะมาไล่ออกอีก นี่หรือคือผลตอบแทนจากการทุ่มเททำงาน (ขอบ่น) พี่HRจึงวางสายมันและคุยกับชั้น ว่าได้เตรียแพคเกจไว้ให้แล้วตามกฎหมาย และนี่คือหนังสือเลิกจ้าง ดิชั้นถามแล้วยังไง ต้องทำไง HRก็แค่เซ็นต์ ตอนนั้นemotion มากๆ เรยเซ็นตไป แล้วก็ไปเก็บของไปร้องไห้ไป HRยังบอกอีกว่าอย่าบอกใครว่าโดนไล่ออกนะให้บอกว่าลาออกเอง ก็เออออไป แต่มันยังไม่สิ้นเดือนมะ บอกวันนี้ออกวันนี้ใครก็ต้องสงสัยวะ กลับบ้านนอนร้องไห้เจ็บใจฟูมฟายมากมาย เม้ากะเพื่อนไป80คน

พอวันนี้มันผ่านโหมดเสียสติมาแล้ว เลยไปเก็บของต่อ และเพิ่งเอาหนังสือเลิกจ้างกลับมาอ่านจริงๆจังๆ (เมื่อวานทิ้งทุกย่างไว้ออฟิศ หมดรมณ์) เห้ย พีโอก็ได้ก่อนงานนะ มีวันที่ระบุชัดเจน จ่ายเงินสดก็ไม่มีหลักฐานนะ มีแค่อีเมลที่ดิชั้นเขียนไปบอกมัน แล้วไมกูยอมเซ็นต์วะ นึกได้ละโมโหมากๆ ที่เราไม่มีสติ และเซ็นหนังสือเลิกจ้างไป

วานผู้รู้ช่วยตอบทีว่าเราจะทำยังไงได้มั่ง กลับมาทำงานอีกได้ไหม
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
การเลิกจ้างมิใช่ว่านายจ้างยอมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายและเงินบอกกล่าวล่วงหน้าก็จบๆกันไปนะครับ

การเลิกจ้างนั้น นายจ้างและผู้บริหารจะต้องทราบหลักกฎหมายในหลายมาตรา หลายฉบับ
1) พรบ.คุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะในมาตรา 17 , 118 , 119
2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในหมวดของเรื่องการจ้างแรงงาน
3) หากบริษัทนั้นๆมีสหภาพแรงงาน ก็จำเป็นจะต้องรู้เรื่องพรบ.แรงงานสัมพันธ์
4) พรบ.จัดตั้งศาลฯ ในเรื่องของเขตอำนาจศาล การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม

ดังนั้น การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างแล้วจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง และเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เป็นเพียงการปฎิบัติตามพรบ.คุ้มครองแรงงานในมาตรา 17 และ 118 เพียงเท่านั้น แต่หาได้หลุดความรับผิดในทางแพ่งไม่ครับ การที่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องของความเสียหาย ประกอบกับพรบ.จัดตั้งศาลแรงงาน ด้วยเรื่องของการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ประกอบกับเหตุผลในการเลิกจ้าง

ดังนั้น ต่อกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งกรณีที่ท่านเจ้าของกระทู้ประสบอยู่นั้น สาระสำคัญของการตัดสินอยู่ที่ "เหตุผลในการเลิกจ้าง" ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ หากเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างเมีเหตุผล ก็ถือเป็นการเลิกจ้างอันเป็นธรรม ลูกจ้างได้เงินเท่าเดิมที่รับไปจากเงินชดเชย แต่หากเหตุผลแห่งการเลิกจ้างนั้น ไม่สมเหตุสมผล ก็ถือเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม ลูกจ้างได้รับความเสียหาย ก็จะได้รับเงินเพิ่ม

ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น มีกรณีคำตัดสินศาลฎีกาออกมาหลายกรณีเช่น
- คำตัดสินศาลฎีกา หมายเลข 10217/2551 นายจ้างเลิกจ้างพนักงานประจำ แล้วจ้างพนักงานรับเหมาช่วงแทน ถึงแม้จ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมาย แต่ถือว่าไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จ่ายค่าเสียหายแก่ลูกจ้างอีกต่อหนึ่ง
- คำตัดสินศาลฎีกา หมายเลข 8765-8766/2550 นายจ้างประาบภาวะเศรษฐกิจซบเซา แต่ยังไม่ถึงขั้นขาดทุน แม้เลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายเงินชดเชยให้ตาม มาตรา 118 แล้ว แต่ถือว่าไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม ให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้าง

หลายๆท่านอ่านแล้วอาจจะมีความคิดว่า อ่าว...ทำไมล่ะ ทำไมนายจ้างไม่อยากจ้างพนักงาน ก็จ่ายเงินชดเชยหรือเงินบอกกล่าวล่วงหน้า ก็จบๆกันไปมิใช่หรือก็ต้องตอบว่า กรณีการเลิกจ้างนั้น กฎหมายให้ความคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องการถูกกลั่นแกล้งด้วย มิเช่นนั้น นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายทุน มีเงินทุน นึกจะไม่ชอบหน้าใคร หรือไม่อยากได้ใคร ก็เพียงจ่ายเงินและเลิกจ้างเขาไปก็ได้ ซึ่งถือว่าไม่มีความเป็นธรรมในการเลิกจ้าง ดังนั้นแล้ว การเลิกจ้าง ต้องพิจารณาหลักใหญ่ใจความ 3 ประการคือ
1) การบอกกล่าวล่วงหน้า
2) การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง
3) เหตุแห่งการเลิกจ้าง
หากทั้งสามประการนี้มีเหตุมีผล และบริหารจัดการตามจริง การเลิกจ้างก็จะไม่มีปัญหาครับ

สำหรับกรณีท่านเจ้าของกระทู้ หากคิดว่าการถูกเลิกจ้างนั้นเป็นการถูกกลั่นแกล้ง หรือไม่เป็นธรรม ขอให้ท่านเข้าพบกับนิติกรแรงงานที่ศาลแรงงานเขตที่ท่านทำงานอยู่ครับ เพื่อให้นิติกรแรงงานประสานงานในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่