ผอ.ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช. การนำสายไฟลงใต้ดิน ต้องวางแผนการดำเนินการอย่างชัดเจน และไม่ควรทำตามกระแส เน้นให้ทำในพื้นที่สำคัญหรือสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหลัก ดูเรื่องภูมิทัศน์ของพื้นที่ควบคู่กันไปด้วย
จากกรณีรัฐบาลได้สั่งการให้เร่งนำสายไฟลงดินให้เสร็จภายใน 5 ปี ตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ได้ประกาศร่วมมือกันเพื่อนำสายไฟ สายสื่อสาร และสายเคเบิลต่างๆ ลงดินเพื่อความปลอดภัย
และล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอเรื่องให้รัฐบาลบูรณาการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งระบบ โดยให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้ดำเนินการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ในขณะที่สายสื่อสารโทรคมนาคมจะให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ โดยจะข้อเสนอของ กสทช. จะดำเนินการตั้งแต่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไปจนถึงต่างจังหวัด อาทิ น่าน, หนองคาย, นครพนม, ขอนแก่น, เชียงใหม่, สงขลา, ภูเก็ต, พระนครศรีอยุธยา, สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ถึงประเด็นดังกล่าวว่า แม้จะเป็นหน้าที่หลักของ กสทช. โดยตรง แต่สิ่งที่ กสทช. ต้องดำเนินการคือการสำรวจว่า สายไฟและสายสื่อสารในแต่ละพื้นที่อยู่ในความดูแลของใคร การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินจะต้องอยู่ลึกกว่าสายสื่อสารประมาณ2 เมตร ในขณะที่สายสื่อสารสามารถอยู่บนทางเท้าได้แค่ 60 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการนำสายไฟลงใต้ดินต้องผ่านการขออนุญาต กทม.ก่อน
“ปัญหาหลักไม่ได้มาจากสายไฟฟ้า แต่อยู่ที่สายสื่อสารซึ่งอยู่ต่ำกว่า ข้อกังวลเกี่ยวกับสายไฟฟ้าในเรื่องอันตรายจะไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ แต่ถ้าลักษณะการทำงานของสายไฟแล้วไปพ่วงกับสายชนิดอื่นแล้วเกิดรั่วขึ้นมาอันนี้ถือเป็นประเด็น ดังนั้น การนำสายสื่อสารลงใต้ดินต้นทุนจะถูกกว่าสายไฟฟ้า ซึ่งต้องคุยกันว่าจะนำสายชนิดใดลงก่อนหรือลงหลัง”
ดร.ขวัญฤดี กล่าวถึงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งประเทศ ไม่มั่นใจว่าจะทำไหวหรือไม่ ถ้าพุ่งประเด็นไปในเรื่องของงบประมาณ โดยการดำเนินงานควรทำในพื้นที่สำคัญหรือพื้นที่ท่องเที่ยวก่อน เพราะจะได้มีเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเข้ามาเพื่อนำไปขยายผลในการทำ ส่วนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ การวางแผนการดำเนินงานควรเป็นแบบนี้ แต่ถ้าการดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในกรณีที่มีคนร้องเรียนเข้ามา แต่การดำเนินงานกลับไร้ทิศทาง ไม่นานก็ต้องล้มเลิกไป ถ้ารัฐบาลชุดหน้าไม่ถูกใจก็สั่งยกเลิกไป ดังนั้น ควรมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีหน่วยงานที่อนุญาตชัดเจน ส่วนในเรื่องของค่าธรรมเนียม กสทช. ก็เป็นผู้กำหนดอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช. กล่าวด้วยว่า สำหรับการดำเนินงานที่ต้องเลือกทำในพื้นที่ที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนไปจนถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญน้อย ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนระยะยาว เพราะสายไฟฟ้าและสายสื่อสารอาจมีปัญหาเรื่องของต้นไม้เข้ามาเกี่ยวข้อง
"ปัจจุบันหลายพื้นที่ สายไฟฟ้า สายสื่อสาร และต้นไม้ต่างก็มาเบียดกันอยู่บนทางเท้าหมด ซึ่งทางเท้ามีไว้ให้คนเดิน ปัญหาคือ เพราะไม่ได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก รวมทั้งต้นทุนที่สูง จะเอาลงหมดก็ไม่ได้ จะย้ายหมดก็ไม่ได้ ดังนั้น ต้องค่อยๆทำเป็นโซนๆไป และดูเรื่องภูมิทัศน์ในแต่ละพื้นที่ควบคู่กันไปด้วย"
แหล่งข่าว
สำนักข่าวอิศรา
http://isranews.org/isranews-article/item/48622-ground22.html
ดร.ขวัญฤดี ชี้นำสายไฟลงใต้ดิน ไม่ควรตามกระแส แนะค่อยทำเป็นโซนๆ ไป
ผอ.ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช. การนำสายไฟลงใต้ดิน ต้องวางแผนการดำเนินการอย่างชัดเจน และไม่ควรทำตามกระแส เน้นให้ทำในพื้นที่สำคัญหรือสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหลัก ดูเรื่องภูมิทัศน์ของพื้นที่ควบคู่กันไปด้วย
จากกรณีรัฐบาลได้สั่งการให้เร่งนำสายไฟลงดินให้เสร็จภายใน 5 ปี ตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ได้ประกาศร่วมมือกันเพื่อนำสายไฟ สายสื่อสาร และสายเคเบิลต่างๆ ลงดินเพื่อความปลอดภัย
และล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอเรื่องให้รัฐบาลบูรณาการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งระบบ โดยให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้ดำเนินการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ในขณะที่สายสื่อสารโทรคมนาคมจะให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ โดยจะข้อเสนอของ กสทช. จะดำเนินการตั้งแต่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไปจนถึงต่างจังหวัด อาทิ น่าน, หนองคาย, นครพนม, ขอนแก่น, เชียงใหม่, สงขลา, ภูเก็ต, พระนครศรีอยุธยา, สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ถึงประเด็นดังกล่าวว่า แม้จะเป็นหน้าที่หลักของ กสทช. โดยตรง แต่สิ่งที่ กสทช. ต้องดำเนินการคือการสำรวจว่า สายไฟและสายสื่อสารในแต่ละพื้นที่อยู่ในความดูแลของใคร การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินจะต้องอยู่ลึกกว่าสายสื่อสารประมาณ2 เมตร ในขณะที่สายสื่อสารสามารถอยู่บนทางเท้าได้แค่ 60 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการนำสายไฟลงใต้ดินต้องผ่านการขออนุญาต กทม.ก่อน
“ปัญหาหลักไม่ได้มาจากสายไฟฟ้า แต่อยู่ที่สายสื่อสารซึ่งอยู่ต่ำกว่า ข้อกังวลเกี่ยวกับสายไฟฟ้าในเรื่องอันตรายจะไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ แต่ถ้าลักษณะการทำงานของสายไฟแล้วไปพ่วงกับสายชนิดอื่นแล้วเกิดรั่วขึ้นมาอันนี้ถือเป็นประเด็น ดังนั้น การนำสายสื่อสารลงใต้ดินต้นทุนจะถูกกว่าสายไฟฟ้า ซึ่งต้องคุยกันว่าจะนำสายชนิดใดลงก่อนหรือลงหลัง”
ดร.ขวัญฤดี กล่าวถึงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งประเทศ ไม่มั่นใจว่าจะทำไหวหรือไม่ ถ้าพุ่งประเด็นไปในเรื่องของงบประมาณ โดยการดำเนินงานควรทำในพื้นที่สำคัญหรือพื้นที่ท่องเที่ยวก่อน เพราะจะได้มีเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเข้ามาเพื่อนำไปขยายผลในการทำ ส่วนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ การวางแผนการดำเนินงานควรเป็นแบบนี้ แต่ถ้าการดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในกรณีที่มีคนร้องเรียนเข้ามา แต่การดำเนินงานกลับไร้ทิศทาง ไม่นานก็ต้องล้มเลิกไป ถ้ารัฐบาลชุดหน้าไม่ถูกใจก็สั่งยกเลิกไป ดังนั้น ควรมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีหน่วยงานที่อนุญาตชัดเจน ส่วนในเรื่องของค่าธรรมเนียม กสทช. ก็เป็นผู้กำหนดอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช. กล่าวด้วยว่า สำหรับการดำเนินงานที่ต้องเลือกทำในพื้นที่ที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนไปจนถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญน้อย ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนระยะยาว เพราะสายไฟฟ้าและสายสื่อสารอาจมีปัญหาเรื่องของต้นไม้เข้ามาเกี่ยวข้อง
"ปัจจุบันหลายพื้นที่ สายไฟฟ้า สายสื่อสาร และต้นไม้ต่างก็มาเบียดกันอยู่บนทางเท้าหมด ซึ่งทางเท้ามีไว้ให้คนเดิน ปัญหาคือ เพราะไม่ได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก รวมทั้งต้นทุนที่สูง จะเอาลงหมดก็ไม่ได้ จะย้ายหมดก็ไม่ได้ ดังนั้น ต้องค่อยๆทำเป็นโซนๆไป และดูเรื่องภูมิทัศน์ในแต่ละพื้นที่ควบคู่กันไปด้วย"
แหล่งข่าว
สำนักข่าวอิศรา
http://isranews.org/isranews-article/item/48622-ground22.html