ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า นี่เป็นแค่การสังเกตและคาดเดาของผมเท่านั้น จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
จากกการที่ได้มีนโยบาย การยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาวิทยาเขตต่างๆ ในเขตจังหวัดเดียวกัน เพื่อให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ขึ้น เช่น ม.นครพนม ม.นราธิวาสราชนครินทร์ ม.กาฬสินธุ์ และยังมีอีกหลายจังหวัดที่จะพยายามจะสร้างมหาวิทยาลัยของตัวเองขึ้นมาใหม่อีก เช่น จ.สุราษฎร์ธานี ที่รวม ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เข้าไว้ด้วยกัน แต่ถูกต่อต้านเรื่องจึงเงียบไป
และจากนโยบายในปัจจุบัน ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยเริ่มจะออกนอกระบบราชการมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไหนมีความพร้อมก็จะออกนอกระบบก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ได้ออกนอกระบบและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ม.สวนดุสิต และยังคิวต่อไปคือ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อออกนอกระบบ คาดว่าจะใช้อีกชื่อเหมือนกัน
จากนโยบายทั้ง 2 นี้ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏได้หายไปทั้งหมด 3 แห่ง และเตรียมที่เปลี่ยนไปอีก 1 แห่ง และยังมีม.ราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร เตรียมที่จะเปลี่ยนชื่ออีก 2 แห่งโดยสังเกตจากอักษรย่อ คือ ม.ราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นที่จะใช้อักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย มร.แล้วตามด้วยอักษรย่อของชื่อที่ต่อท้าย โดยอักษรย่อนี้ได้เปลี่ยนตั้งแต่เปลี่ยนจากสถาบันเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2547 (อันนี้เกิดจากการคาดเดาของผมเอง ถ้าไม่ใช่แย้งได้นะ)
ม.ราชภัฏเกิดจากการพัฒนาจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ซึ่งแต่เดิมได้เน้นเฉพาะการฝึดหัดครู ซึ่งมีทั้งหมด 36 แห่ง และได้เปลี่ยนมาเป็น สถาบันราชภัฏ เพื่อเพิ่มสาขาวิชาอื่นเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เรียนมากขึ้น โดยมีสภาสถาบันราชภัฏแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่ โดยคณะที่เปิดสอนในช่วงนั้นจะเปิดคล้ายๆ กันไม่แตกต่างกันกันมากนัก โดยมีเพิ่มอีก 5 แห่ง เป็น 41 แห่ง และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้โอนย้ายมาสังกัดสำนักงานคณกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งแต่และแห่งก็จะสามารถดำเนินการในการเพิ่มหลักสูตรต่างๆ และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น และพัฒนาเข้าสู่การยุบรวมและหลอมรวม และออกนอกระบบราชการและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 38 แห่ง
อยากทราบว่าในอนาคต ถ้ายังมีการดำเนินนโยบายเช่นนี้อีก จะมีม.ราชภัฏที่แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยอื่นเพิ่มขึ้นอีกมั้ย ในความคิดผมไม่ได้กังวลกับเรื่องนี้มากเท่าไหร่ เพราะทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่อยากให้เหลือไว้สักที่ก็ยังดี เพื่อให้ทราบว่ายังมีมหาวิทยาลัยนี้อยู่ไม่อยากให้เลือนหายไปพร้อมกับกาลเวลา ทุกคนมีความเห็นว่ายังไง แลกเปลี่ยนได้นะครับ หรือว่าเสนอข้อมูลอะไรผิดหรือคาดเคลื่อนไปบอกได้เลยครับ
ในอนาคต อาจจะไม่มีมหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า "ราชภัฏ" จริงหรือเปล่า
จากกการที่ได้มีนโยบาย การยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาวิทยาเขตต่างๆ ในเขตจังหวัดเดียวกัน เพื่อให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ขึ้น เช่น ม.นครพนม ม.นราธิวาสราชนครินทร์ ม.กาฬสินธุ์ และยังมีอีกหลายจังหวัดที่จะพยายามจะสร้างมหาวิทยาลัยของตัวเองขึ้นมาใหม่อีก เช่น จ.สุราษฎร์ธานี ที่รวม ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เข้าไว้ด้วยกัน แต่ถูกต่อต้านเรื่องจึงเงียบไป
และจากนโยบายในปัจจุบัน ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยเริ่มจะออกนอกระบบราชการมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไหนมีความพร้อมก็จะออกนอกระบบก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ได้ออกนอกระบบและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ม.สวนดุสิต และยังคิวต่อไปคือ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อออกนอกระบบ คาดว่าจะใช้อีกชื่อเหมือนกัน
จากนโยบายทั้ง 2 นี้ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏได้หายไปทั้งหมด 3 แห่ง และเตรียมที่เปลี่ยนไปอีก 1 แห่ง และยังมีม.ราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร เตรียมที่จะเปลี่ยนชื่ออีก 2 แห่งโดยสังเกตจากอักษรย่อ คือ ม.ราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นที่จะใช้อักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย มร.แล้วตามด้วยอักษรย่อของชื่อที่ต่อท้าย โดยอักษรย่อนี้ได้เปลี่ยนตั้งแต่เปลี่ยนจากสถาบันเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2547 (อันนี้เกิดจากการคาดเดาของผมเอง ถ้าไม่ใช่แย้งได้นะ)
ม.ราชภัฏเกิดจากการพัฒนาจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ซึ่งแต่เดิมได้เน้นเฉพาะการฝึดหัดครู ซึ่งมีทั้งหมด 36 แห่ง และได้เปลี่ยนมาเป็น สถาบันราชภัฏ เพื่อเพิ่มสาขาวิชาอื่นเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เรียนมากขึ้น โดยมีสภาสถาบันราชภัฏแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่ โดยคณะที่เปิดสอนในช่วงนั้นจะเปิดคล้ายๆ กันไม่แตกต่างกันกันมากนัก โดยมีเพิ่มอีก 5 แห่ง เป็น 41 แห่ง และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้โอนย้ายมาสังกัดสำนักงานคณกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งแต่และแห่งก็จะสามารถดำเนินการในการเพิ่มหลักสูตรต่างๆ และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น และพัฒนาเข้าสู่การยุบรวมและหลอมรวม และออกนอกระบบราชการและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 38 แห่ง
อยากทราบว่าในอนาคต ถ้ายังมีการดำเนินนโยบายเช่นนี้อีก จะมีม.ราชภัฏที่แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยอื่นเพิ่มขึ้นอีกมั้ย ในความคิดผมไม่ได้กังวลกับเรื่องนี้มากเท่าไหร่ เพราะทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่อยากให้เหลือไว้สักที่ก็ยังดี เพื่อให้ทราบว่ายังมีมหาวิทยาลัยนี้อยู่ไม่อยากให้เลือนหายไปพร้อมกับกาลเวลา ทุกคนมีความเห็นว่ายังไง แลกเปลี่ยนได้นะครับ หรือว่าเสนอข้อมูลอะไรผิดหรือคาดเคลื่อนไปบอกได้เลยครับ