1 ปีใน 2 นาที: มองโลกหมุนจากระยะ 1.5 ล้านกิโลเมตร ผ่านมุมมองดาวเทียม DSCOVR

กระทู้สนทนา
ย้อนกลับไปเมื่อ 20 กรกฎาคม ปีที่แล้ว..
NASA ได้ปล่อยภาพโลกสีน้ำเงินจากกล้อง EPIC (Earth Polychromatic Imaging Camera)
บนดาวเทียม DSCOVR ออกมาให้เราได้ชมกันเป็นครั้งแรก ซึ่งนั่นก็คือภาพนี้


ล่าสุด 20 กรกฏาคม ปีนี้..
หลังจากดาวเทียม DSCOVR โคจรเคียงคู่โลกที่ระยะห่างประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตร มาครบ 1 ปีเต็ม
NASA ก็ได้หยิบภาพจาก DSCOVR มาให้ชมอีกครั้ง คราวนี้ได้นำภาพที่ดาวเทียมถ่ายไว้ทุก 2 ชั่วโมง ตลอดทั้งปี
มาทำเป็นคลิปวิดีโอ Time-lapse ให้ได้เห็นชัด ๆ ว่าความเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์สีน้ำเงินตลอด 1 ปีจากมุมมองนั้น
มันเป็นอย่างนี้นี่เอง  มาชมกันดูค่ะ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



สำหรับดาวเทียม DSCOVR (Deep Space Climate Observatory) ได้เดินทางนับล้านกิโลเมตรสู่วงโคจรเมื่อปีที่แล้ว
โดยมีภารกิจหลักก็คือสังเกตความเคลื่อนไหวของชั้นบรรยากาศโลก และสังเกตสภาวะลมสุริยะที่อาจส่งผลกระทบต่อโลก
เหตุผลที่มันสามารถจับภาพโลกจากด้านสว่างได้ต่อเนื่องแบบนั้น ก็เพราะมันโคจรอยู่ ณ จุด Lagrange point (L1)
ซึ่งเป็นจุดสมดุลของแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้มันโคจรไปพร้อม ๆ กับโลกในลักษณะนี้..




ปิดท้ายกระทู้นี้ด้วยคลิปอีก 1 คลิป..  รวม 7 ช็อตที่น่าสนใจจากดาวเทียม DSCOVR ค่ะ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

อมยิ้ม17
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่