ทุกวันนี้มีคนสะกดผิดกันเยอะมาก ทั้งการใช้พยัญชนะหรือสระผิดตัว นอกจากนั้นแล้วยังมี วรรณยุกต์ อีกที่ผิดกันเยอะ ๆ จริง ๆ มันมีวิธีง่าย ๆ เลย ถ้าไม่อยากจะท่องอักษรต่ำ กลาง สูงให้มันยุ่งยาก ก็แค่เทียบกับคำง่าย ๆ ที่เราคุ้นเคย
อย่างสมมติเพื่อนผมเคยเจอคำว่า ง่า อยู่ในกาพย์เห่เรือ แน่นอนว่าคำนี้มันไม่ค่อยได้เจอในชีวิตประจำวันหรอก แล้วเพื่อนผมเขาก็อ่านคำนี้ว่า หง่า เพราะความเข้าใจของเขาคือไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรใด ถ้าใส่วรรณยุกต์เดียวกันก็จะออกเสียงแบบเดียวกันหมด เขาก็เลยอ่านออกมาแบบนั้น แต่ถ้าเขาเทียบกับคำว่า โง่ เขาจะรู้ทันทีว่ามันอ่านว่าอะไร
หรือตอนนั้นในรายการคนอวดผี ได้มีการเชิญผู้มีญาณวิเศษคนหนึ่งมาออกรายการ ขอพาดพิงหน่อยแล้วกันว่าชื่อ มุ่ย วันนั้นคนชื่อมุ่ยนี่มาออกรายการเป็นครั้งแรกเลย ในเพจของคนอวดผีก็มีคนมาแสดงความเห็นมากมาย แต่คนส่วนใหญ่เขียนชื่อเขาว่า มุ้ย ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับคำว่า ม้า จะรู้เลยว่ามันอ่านว่าอะไร จริง ๆ ควรรู้โดยไม่ต้องเทียบเลยแหละ เพราะน่าจะเคยเจอคำว่า หมามุ่ย หรือ ท่านมุ้ย มาบ้าง หรือคนที่เขียนแบบนั้นเป็นคนไม่ค่อยอ่านหนังสือก็ไม่อาจรู้ได้
หนักที่สุดก็คือเรื่อง คะ กับ ค่ะ นั่นแหละ จริง ๆ ถ้าจะพูดเรื่องค่ะกับคะ อาจจะต้องมีเรื่องอักษรต่ำ กลาง สูงเข้ามาเกี่ยวข้องนิดหน่อย ค เป็นอักษรต่ำ เมื่อประสมกับสระเสียงสั้น จะออกเสียงเป็นเสียงตรี คำอื่นก็เช่น เงอะงะ,ชะ,โละ อะไรทำนองนั้น ดังนั้น คะ ก็ต้องออกเสียงเป็นเสียงตรี และมักใช้ในประโยคคำถาม เช่น จะกินอะไรไหมคะ ? ส่วน ค่ะ จะต้องออกเสียงเป็นเสียงโท (แต่คำนี้บางคนก็ออกเสียงเป็นเสียงเอก) ก็หลักเดียวกัน คือ ค เป็นอักษรต่ำ เมื่อประสมกับสระเสียงสั้นและใส่วรรณยุกต์เอก จะออกเสียงเป็นเสียงโท แต่ก็มีหลายคำที่คนมักออกเสียงเป็นเสียงเอก
จำได้เลยว่าแค่เรื่อง ค่ะ คะ อาจารย์ที่สอนวิชาการแปลภาษาญี่ปุ่น ต้องขุดเรื่องวรรณยุกต์ภาษาไทยกลับขึ้นมาสอนพวกผมที่ตอนนั้นอยู่ระดับมหาวิทยาลัยกันแล้วเลย เพราะพอแปลภาษาญี่ปุ่นออกมาสะกดภาษาไทยผิดเยอะมาก
อีกอย่างคือ ไม้ตรี มีใช้เฉพาะอักษรกลางเท่านั้น (กะว่าจะไม่พูดเรื่องอักษรต่ำ กลาง สูง ก็ต้องพูดจนได้) คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ นอกนั้นไม่มีการใช้เด็ดขาด สำหรับอักษรอีกกลุ่มที่มีเสียงตรี ขอย้ำว่าเสียงตรีคือ อักษรต่ำ แต่เวลาเขียนจะอยู่ในรูปโท คือใช้ไมโทแทน เช่น ล้า,ค้า,ซี้,ลี้ เป็นต้น
ง่าย ๆ สำหรับคนที่สับสนเรื่องวรรณยุกต์
อย่างสมมติเพื่อนผมเคยเจอคำว่า ง่า อยู่ในกาพย์เห่เรือ แน่นอนว่าคำนี้มันไม่ค่อยได้เจอในชีวิตประจำวันหรอก แล้วเพื่อนผมเขาก็อ่านคำนี้ว่า หง่า เพราะความเข้าใจของเขาคือไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรใด ถ้าใส่วรรณยุกต์เดียวกันก็จะออกเสียงแบบเดียวกันหมด เขาก็เลยอ่านออกมาแบบนั้น แต่ถ้าเขาเทียบกับคำว่า โง่ เขาจะรู้ทันทีว่ามันอ่านว่าอะไร
หรือตอนนั้นในรายการคนอวดผี ได้มีการเชิญผู้มีญาณวิเศษคนหนึ่งมาออกรายการ ขอพาดพิงหน่อยแล้วกันว่าชื่อ มุ่ย วันนั้นคนชื่อมุ่ยนี่มาออกรายการเป็นครั้งแรกเลย ในเพจของคนอวดผีก็มีคนมาแสดงความเห็นมากมาย แต่คนส่วนใหญ่เขียนชื่อเขาว่า มุ้ย ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับคำว่า ม้า จะรู้เลยว่ามันอ่านว่าอะไร จริง ๆ ควรรู้โดยไม่ต้องเทียบเลยแหละ เพราะน่าจะเคยเจอคำว่า หมามุ่ย หรือ ท่านมุ้ย มาบ้าง หรือคนที่เขียนแบบนั้นเป็นคนไม่ค่อยอ่านหนังสือก็ไม่อาจรู้ได้
หนักที่สุดก็คือเรื่อง คะ กับ ค่ะ นั่นแหละ จริง ๆ ถ้าจะพูดเรื่องค่ะกับคะ อาจจะต้องมีเรื่องอักษรต่ำ กลาง สูงเข้ามาเกี่ยวข้องนิดหน่อย ค เป็นอักษรต่ำ เมื่อประสมกับสระเสียงสั้น จะออกเสียงเป็นเสียงตรี คำอื่นก็เช่น เงอะงะ,ชะ,โละ อะไรทำนองนั้น ดังนั้น คะ ก็ต้องออกเสียงเป็นเสียงตรี และมักใช้ในประโยคคำถาม เช่น จะกินอะไรไหมคะ ? ส่วน ค่ะ จะต้องออกเสียงเป็นเสียงโท (แต่คำนี้บางคนก็ออกเสียงเป็นเสียงเอก) ก็หลักเดียวกัน คือ ค เป็นอักษรต่ำ เมื่อประสมกับสระเสียงสั้นและใส่วรรณยุกต์เอก จะออกเสียงเป็นเสียงโท แต่ก็มีหลายคำที่คนมักออกเสียงเป็นเสียงเอก
จำได้เลยว่าแค่เรื่อง ค่ะ คะ อาจารย์ที่สอนวิชาการแปลภาษาญี่ปุ่น ต้องขุดเรื่องวรรณยุกต์ภาษาไทยกลับขึ้นมาสอนพวกผมที่ตอนนั้นอยู่ระดับมหาวิทยาลัยกันแล้วเลย เพราะพอแปลภาษาญี่ปุ่นออกมาสะกดภาษาไทยผิดเยอะมาก
อีกอย่างคือ ไม้ตรี มีใช้เฉพาะอักษรกลางเท่านั้น (กะว่าจะไม่พูดเรื่องอักษรต่ำ กลาง สูง ก็ต้องพูดจนได้) คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ นอกนั้นไม่มีการใช้เด็ดขาด สำหรับอักษรอีกกลุ่มที่มีเสียงตรี ขอย้ำว่าเสียงตรีคือ อักษรต่ำ แต่เวลาเขียนจะอยู่ในรูปโท คือใช้ไมโทแทน เช่น ล้า,ค้า,ซี้,ลี้ เป็นต้น