ปตท. เปิดให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าแล้วที่ ถนนชัยพฤษ์
ในขณะที่ก่อนหน้านี้เราได้ยินข่าว รถไฟฟ้าของ Tesla คันแรก มาวิ่งใน กทม. แล้ว
ก็ตามกระแสโลกและนโยบายส่งเสริมรถไฟฟ้าในประเทศไทยครับ ปตท. ก็รับลูกต่อในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับทันที ในขณะที่กระทรวงพลังงาน ก็ได้ประกาศอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าทันทีเมือนกัน โดยกำหนดให้ กลางวันราคา 6 บาท/หน่วย กลางคืน 2.6 บาท/หน่วย (ก็คือส่งเสริมให้ไปชาร์จตอนกลางคืนนั้นเอง)
บลูกเบิร์กคาดการณ์ว่า ความต้องการรถไฟฟ้าในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2020-2030 รถใหม่จะเป็นรถไฟฟ้าเกิน 20-30%
แม้ว่ารถไฟฟ้าของ Tesla คันแรกจะราคาถึง 5 ล้านบาท แต่หากความต้องการเพิ่มมากขึ้นราคาจะลดลงอย่างรวดเร็วตามหลัก Economy of Scale และอีกอย่างรถไฟฟ้า ต้นทุนการผลิตน่าจะต่ำกว่ารถยนต์ทั่วไป เพราะโครงสร้างที่ไม่มีเครื่องยนต์ น่าจะใช้โลหะน้อย ต้นทุนหลักน่าจะไปยู่ที่แบตเตอรี่ ซึ่งหากความต้องการมาก การผลิตมาก ราคาจะลดลงรวดเร็ว
ในด้านพลังงานนั้น ฝ่ายจัดหาพลังงานก็คงมีภารกิจหาพลังงานให้อยู่ดีนะครับเพราะมันแค่การเปลี่ยน Mode การใช้พลังงานจากน้ำมันไปเป็นไฟฟ้า เราก็คงต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้อยู่ดี สุดท้ายทางเลือกเชื้อเพลิงของโลก ก็ยังมีไม่กี่ชนิด คือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานทดแทน (น้ำ ลม แสงแดด คลื่น ชีวมวลฯลฯ) เป็นต้น
แต่รถไฟฟ้าน่าจะใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป ใช้ทรัพยากรในการผลิตต่ำกว่า ราคาน่าจะถูกกว่า แต่ราคาถูกทำให้คนเข้าถึงได้ง่าย จำนวนรถอาจมีเพิ่มขึ้นย่างรวดเร็ว
เคยมีการคาดการณ์ว่าปี 2050 จะมีรถยนต์วิ่งบนโลกประมาณ 2,000 ล้านคัน จำนวนมากอยู่ในจีน และอินเดีย ก็เป็นภาระของฝ่ายจัดหาพลังงานที่จะต้องหามาให้รถยนต์เหลานี้วิ่งครับ
ผมคาดว่าน้ำมันคงยังใช้ในรถยนต์ขนาดหนักอยู่ครับ พวกรถบรรทุกหรือรถทำงานหนักต่างๆ รถยนต์ทางทหารเป็นต้น แต่รถยนต์ส่วนบุคคลที่เดินทางไปทำงาน บ้าน-ที่ทำงาน ไปกลับ น่าจะใช้รถไฟฟ้า
โครงสร้างพื้นฐานคงสร้างเพิ่มเรื่อยๆ และไม่น่าจะยากครับ สำหรับสถานีชาร์จ เพราะไม่ต้องมีถังเก็บใต้ดินแบบสถานี้เติมน้ำมัน ต้นทุนน่าจะถูกกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.prachatalk.com/webboard/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
...................................................................
อีกไม่นานเกินรอเราก็จะได้ใช้รถกันแล้ว แต่สถานีชาร์ตก็ต้องมีให้พอต่อความต้องการ
ไม่ใช่แบบรถใช้ก๊าซต่อแถวกันเป็นชั่งโมงกว่าจะได้เติม
มาไวกว่าที่คิด รถพลังงานไฟฟ้า พร้อมสถานีชาร์ตไฟ
ในขณะที่ก่อนหน้านี้เราได้ยินข่าว รถไฟฟ้าของ Tesla คันแรก มาวิ่งใน กทม. แล้ว
ก็ตามกระแสโลกและนโยบายส่งเสริมรถไฟฟ้าในประเทศไทยครับ ปตท. ก็รับลูกต่อในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับทันที ในขณะที่กระทรวงพลังงาน ก็ได้ประกาศอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าทันทีเมือนกัน โดยกำหนดให้ กลางวันราคา 6 บาท/หน่วย กลางคืน 2.6 บาท/หน่วย (ก็คือส่งเสริมให้ไปชาร์จตอนกลางคืนนั้นเอง)
บลูกเบิร์กคาดการณ์ว่า ความต้องการรถไฟฟ้าในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2020-2030 รถใหม่จะเป็นรถไฟฟ้าเกิน 20-30%
แม้ว่ารถไฟฟ้าของ Tesla คันแรกจะราคาถึง 5 ล้านบาท แต่หากความต้องการเพิ่มมากขึ้นราคาจะลดลงอย่างรวดเร็วตามหลัก Economy of Scale และอีกอย่างรถไฟฟ้า ต้นทุนการผลิตน่าจะต่ำกว่ารถยนต์ทั่วไป เพราะโครงสร้างที่ไม่มีเครื่องยนต์ น่าจะใช้โลหะน้อย ต้นทุนหลักน่าจะไปยู่ที่แบตเตอรี่ ซึ่งหากความต้องการมาก การผลิตมาก ราคาจะลดลงรวดเร็ว
ในด้านพลังงานนั้น ฝ่ายจัดหาพลังงานก็คงมีภารกิจหาพลังงานให้อยู่ดีนะครับเพราะมันแค่การเปลี่ยน Mode การใช้พลังงานจากน้ำมันไปเป็นไฟฟ้า เราก็คงต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้อยู่ดี สุดท้ายทางเลือกเชื้อเพลิงของโลก ก็ยังมีไม่กี่ชนิด คือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานทดแทน (น้ำ ลม แสงแดด คลื่น ชีวมวลฯลฯ) เป็นต้น
แต่รถไฟฟ้าน่าจะใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป ใช้ทรัพยากรในการผลิตต่ำกว่า ราคาน่าจะถูกกว่า แต่ราคาถูกทำให้คนเข้าถึงได้ง่าย จำนวนรถอาจมีเพิ่มขึ้นย่างรวดเร็ว
เคยมีการคาดการณ์ว่าปี 2050 จะมีรถยนต์วิ่งบนโลกประมาณ 2,000 ล้านคัน จำนวนมากอยู่ในจีน และอินเดีย ก็เป็นภาระของฝ่ายจัดหาพลังงานที่จะต้องหามาให้รถยนต์เหลานี้วิ่งครับ
ผมคาดว่าน้ำมันคงยังใช้ในรถยนต์ขนาดหนักอยู่ครับ พวกรถบรรทุกหรือรถทำงานหนักต่างๆ รถยนต์ทางทหารเป็นต้น แต่รถยนต์ส่วนบุคคลที่เดินทางไปทำงาน บ้าน-ที่ทำงาน ไปกลับ น่าจะใช้รถไฟฟ้า
โครงสร้างพื้นฐานคงสร้างเพิ่มเรื่อยๆ และไม่น่าจะยากครับ สำหรับสถานีชาร์จ เพราะไม่ต้องมีถังเก็บใต้ดินแบบสถานี้เติมน้ำมัน ต้นทุนน่าจะถูกกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
...................................................................
อีกไม่นานเกินรอเราก็จะได้ใช้รถกันแล้ว แต่สถานีชาร์ตก็ต้องมีให้พอต่อความต้องการ
ไม่ใช่แบบรถใช้ก๊าซต่อแถวกันเป็นชั่งโมงกว่าจะได้เติม