เคยมีคำกล่าวไว้ "รักแท้เปรียบเหมือนน้ำชา ไม่อาจบรรยายได้ แต่รับรู้ด้วยการลิ้มรส" นั่นจริงแท้ยิ่งกว่าสิ่งใด
จริงๆร้านนี้ผมเคยรีวิวไปครั้งนึงแล้ว เมื่อมาครั้งแรก แต่ด้วยมนต์เสน่ห์ที่ต้องไปทั้งใจ จึงกลับมาเสพอีกหลายครั้ง
เลยอยากนำความสุขมาบอกเล่าสู่เพื่อนๆ ท่านอื่น แม้จะเป็นเพียงโรงน้ำชาเล็กๆ
บนถนนพระอาทิตย์ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์บางลำพูก็เถอะ อีกทั้งได้คุยกับพี่เจ้าของร้านเรื่องการทำละครเวทีด้วยใจรัก
แม้รายได้จากการแสดงจะไม่สามารถเลี้ยงตัวเองและทีมละครได้แต่ก็ทำด้วยใจรัก ในท้ายกระทู้นี้ผมจึงตั้งใจโปรโมท
เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ได้รับทราบกัน โดยกระทู้นี้ผมมิได้ค่าจ้างในการโปรโมท มิได้ขอกินฟรี มิได้อะไรพิเศษจากลูกค้าปกติทั่วไป
เป็นเพียงลูกค้าหนึ่งคนที่เสพติดในอรรถรสและบรรยากาศแห่งสังคมชาที่นี้
สนนราคาก็ไม่แพงนะครับ ราคาพร้อมเซตขนมทานเคียง
ชา 2 ตัวแรกที่ผมจะรีวิว เป็นชาอู่หลงจากไต้หวันทั้งคู่ เราลองมาอ่านประวัติชาอู่หลงกันสนุกๆครับ
ตำนานกำเนิดชาอู่หลง
ต้นกำเนิดของชาอูหลงอยู่ที่ประเทศจีน ในจังหวัดฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ซึ่งภาษาจีนใช้ว่า “วูหลงฉา” อันแปลความหมายได้ว่า มังกรดำ
ตำนานเกี่ยวกับชาอู่หลงนั้นมีมากมายแต่ที่เห็นจะตรงกันหลายตำรากล่าวถึงใน สมัยราชวงศ์ชิง มีขุนศึกชายนายหนึ่งที่ปลดประจำการแล้ว
ชื่อว่าหลง และมีลักษณะผิวดำตัวใหญ่จนชาวบ้านเรียกว่าอู่หลง หรือแปลว่ามังกรดำ ฤดูใบไม้ผลิปีหนึ่งระหว่างอู่หลงกำลังเก็บใบชาอยู่
ได้พบกวางผาเข้า จึงไล่ล่ากวางตัวนั้นโดยลืมไม่สนใจใบชาที่เก็บได้ในตระกร้าสะพายหลังของเขา
หลังจากการไล่ลาได้กวางตัวนั้นมาเป็นอาหารมื้อเย็นแล้ว ใบชาที่ทิ้งไว้ในตระกร้าไม่ได้ถูกนำมาตากแดดผึ่งลมเหมือนเช่นเคย
วันรุ่งขึ้นอู่หลงกลับค้นพบใบชาที่แปรสภาพจากสีเขียวกลายเป้นสีคล้ำเข้มขึ้น ที่สำคัญมีกลิ่นหอมหวลแปลกไปจากที่เค้าเคยรู้จัก
(ซึ่งก็คือผลจากกระบวรการหมักนั่นเอง) อู่หลงจึงค่อยๆพัฒนาชาชนิดนี้ด้วยการหมักและนำไปคั่วและนวดใบชา
จนออกมากเป็นชาอู่หลงที่เราได้รู้จักกันทุกวันนี้
ชาอู่หลง (Oolong; Wulong)
ชาอู่หลงคือชาดั้งเดิมของประเทศจีน ชาอู่หลงเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ
อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำโดยชาอู่หลงผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการผึ่งแห้งใบชาด้วยแสงอาทิตย์เพื่อให้ใบชาคายน้ำ
หลังจากนั้นทำไปผึ่งในที่ร่มภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ขั้นตอนนี้ถือเป็นการหมักบางส่วน เพื่อให้เกิดปฏิกริยาที่เรียกว่า
ออกซิเดชัน (Oxidation) ทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอล (Pholyphenols) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบที่มีประโยชน์อย่างมากในใบชา
เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการรวมตัวของสารชนิดใหม่ที่เรียกว่า สารคาเทชิน(Catechin) อันเป็นสารที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชาอู่หลง
ไม่ว่าจะเป็น สีชาอู่หลง กลิ่นชาอู่หลง และรสชาติชาอู่หลง ซึ่งแตกต่างไปจากชาเขียว (Green Tea) และชาดำ (Black Tea)
หลังจากกระบวนการหมักเสร็จสิ้น จึงนำใบชาอู่หลงไปคั่ว ตามด้วยการนวดใบชาอู่หลง เพื่อขึ้นรูปใบชาอู่หลงเป็นรูปลักษณะเม็ดกลม
ชาอู่หลง เฉกเช่นเดียวกับชาชนิดอื่นๆในโลกนี้ ก็คือต่างก็ผลิตมาจากต้นชา (Camellia sinensis) ซึ่งเป็นพืชตระกูลหนึ่ง
ที่สามารถนำใบและยอดอ่อนไปผลิตเป็นชาได้ สำหรับชาอู่หลงนั้น มีหลากหลายชนิด และหลากหลายรสชาติ สี และกลิ่น
ก็เนื่องมาจากการผลิตจากต้นชาหลากหลายสายพันธุ์ และยังขึ้นกับแหล่งเพาะปลูกอันมีภูมิอากาศตลอดจนภูมิประเทศเป็นตัวกำหนด
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์โดยเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ กระบวนการผลิตและกรรมวิธีการหมักของชาอู่หลง
ยังส่งผลต่อความแตกต่างของชาอู่หลงเช่นกัน ซึ่งกระบวนการหมักมีระดับออกซิเดชันตั้งแต่ 8% ถึง 85%
ขึ้นกับกรรมวิธีและลักษณะความนิยมของแต่ละผู้ผลิต ทำให้เกิดความแตกต่างและความหลากหลายของรสชาติ สี และกลิ่นนั่นเอง
ข้อมูลจาก บ้านชาไฮท์แลนด์
โดยตัวแรกเป็น อู่หลงมิลค์ ชื่อเค้าเป็นอย่างนั้นมิได้เอานมมาใส่ ส่วนประวัติยังงัยนี่ผมก็ไม่ทราบ แต่ตัวรสกลิ่นนั้น หอมละมุนสุดๆ
ถือว่าเป็นชาที่ดื่มง่ายและดึงจิตให้มีสมาธิกับมันได้ดี เซตนี้ราคา 180 บาท ครับ
ส่วนตัวที่สอง หยงชุนโฝโฉว หรือ หัตถ์พุทธองค์ ตัวนี้ละมุนกว่าตัวแรก นึ่งสงบสุดๆ เหมาะสำหรับดื่มแล้วทำสมาธิ
มีความสุขมากครับ ตัวนี้แนะนำสุดๆครับ เซตนี้ราคา 250 บาท ครับ
ตัวที่สาม จะเป็นชาแดง Lapsang Souchong Tea ชาเจิ้งซานเสี่ยวจ่ง(รมควันสน) 1 ใน 10 ชาแดงที่ดีที่สุด ที่เค้าว่าควรเสพสักครั้งก่อนตาย
เราลองอ่านประวัติกันดูก่อน เพลินๆครับ
正山小种 (เจิ้งซานเสียวจ่ง) หรือ Lapsang Souchong (แลปแซงซูชอง) ชาแดงเจิ้งซานนั่นเองครับ
จะเรียกว่าต้นกำเนิดแห่งชาแดงในโลกนี้เลยก็ว่าได้ ชาแดงเจิ้งซานนี้มีแหล่งเพาะปลูกที่มณฑลฝูเจี้ยน
ที่เพาะปลูกในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ที่เป็นเขาสูงในช่วง 1,000-1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลห่างไกลจากมลพิษและการรบกวนจากมนุษย์
พื้นที่ตลอดปีเต็มไปด้วยหมอกหนาน้ำค้างหนักแสงอาทิตย์สาดส่องความชุ่มชื้น
สม่ำเสมอลมหนาวหิมะโปรยสลับวนเวียนหมุนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
ชาชนิดนี้ที่เรียกว่า 正山小种 (เจิ้งซานเสียวจ่ง) นั้นแต่แรกชื่อของมันคือชื่อ 拉普山小种 (ลาผู่ซานเสียวจ่ง)
ซึ่งแผลงไปเป็นภาษาอังกฤษว่า Lapsang Souchong (แล็ปซาง ซูซอง) (น่าจะแผลงไปเป็นภาษาอังกฤษจากสำเนียงถิ่นของฝูเจี้ยน-ผู้เขียน)
เมื่อแรกนั้นใช้ชื่อนี้แต่ที่ต้องเรียกขานกันว่าเจิ้งซานเสียวจ่งนั้นก็ เพราะว่าภายหลังที่ชาแดงชนิดนี้โด่งดังขึ้นมาก็มีอำเภออื่น ๆ
เสาะหาพันธุ์ไปขยายและทำชาแบบเดียวกันนี้ออกมา ชาที่ผลิตออกมาก็ใช้คำว่าลาผู่ซานนี้เช่นกัน
ชาวไร่ชาโรงงานชาที่อยู่ที่ถ่งมู่กวนจึงเรียกขานตัวเองว่าเจิ้งซาน (正山/ภูเขาแท้) เรียกชาที่ปลูกนอกเขตว่าไว่ซาน (外山/เขานอก)
หรือหมายถึงไม่ใช่ของดั้งเดิมนั่นเอง ชาชนิดนี้มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือควรมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิต
เพราะแต่แรกที่ทำชาเขียวนั้นเมื่ออบด้วยไอน้ำแล้วก็นำไปตากให้แห้ง แต่เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง
จึงรับเอาวิธีการรมควันตามสไตล์ของชาอู่อี๋ ซาน เป็นชาสั่งทำก็ว่าได้จึงเพิ่มการรวมด้วยควันไม้สนและใบสนเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง
เป็นการไล่ความชื้นและเพิ่มกลิ่นพิเศษอีกประการหนึ่ง
บทความโดย Steven Liu
เรามาว่าตามความจริงที่ได้ลองดื่มกัน แวปแรกได้กลิ่นรมควันที่อบอวลมาก ชาออกฝาด แต่ไม่ขม
ตลอดการดื่มนั้นกลิ่นของการรมควันมาชัดเจนทุกครั้งที่ยกขึ้นจิบ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่โปรดปรานนัก
ยังติดใจกับอู่หลงไต้หวันสองตัวแรกมากกว่า โดยเซตชาเจิ้งซานเสี่ยวจ้ง(รมควันสน) ราคา 250 บาทครับ
จบเรื่องชา ก็มาเข้าเรื่องละครเวที เป็นการแสดงละครเวทีแบบละครเพลง โดยนำเนื้อเรื่องจากนิทานอีสปมาเล่าตามสไตล์ละครเวที
เพียงแต่การขมวดปมตอนจบ จะถูกตีความใหม่ตามสังคมในยุคปัจจุบัน
เช่น ราชสีห์กับหนู แต่เดิมเคยขมวดปมว่า "อย่าดูถูกคนที่ต่ำต้อยกว่าตน"
แต่ในการตีความใหม่นี้ จะถูกตีความว่า "แม้เราจะเป็นเพียงคนตัวเล็กๆในสังคม ก็สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้"
ยังไงก็ลองดูนะครับ ผมว่าน่าสนใจอีกทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ในสังคมให้กับเยาวชนด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเพจ Mayarith Theatre โรงละครมายาฤทธิ์
https://www.facebook.com/mayariththeatre/?fref=ts
วันนี้ก็ขออนุญาตจบรีวิวแต่เพียงเท่านี้ รีวิวต่อไป จะพูดถึงข้าวหมูแดงในตำนานจอมพเนจรที่ได้ที่ตั้งหลักแล้ว
สามารถติดตามมินิรีวิว และรูปอาหารอื่นๆที่ไม่ได้ลงในพันทิป เพราะขี้เกียจหรืออะไรก็ตามแต่ได้ทางเพจผมเอง
https://www.facebook.com/gazzareview/
[CR] Mitramit Teahouse สังคมเสพสุขนิยมจากกลิ่นกรุ่นรสกำซาบแห่งชา By แก๊ซซ่า
เคยมีคำกล่าวไว้ "รักแท้เปรียบเหมือนน้ำชา ไม่อาจบรรยายได้ แต่รับรู้ด้วยการลิ้มรส" นั่นจริงแท้ยิ่งกว่าสิ่งใด
จริงๆร้านนี้ผมเคยรีวิวไปครั้งนึงแล้ว เมื่อมาครั้งแรก แต่ด้วยมนต์เสน่ห์ที่ต้องไปทั้งใจ จึงกลับมาเสพอีกหลายครั้ง
เลยอยากนำความสุขมาบอกเล่าสู่เพื่อนๆ ท่านอื่น แม้จะเป็นเพียงโรงน้ำชาเล็กๆ
บนถนนพระอาทิตย์ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์บางลำพูก็เถอะ อีกทั้งได้คุยกับพี่เจ้าของร้านเรื่องการทำละครเวทีด้วยใจรัก
แม้รายได้จากการแสดงจะไม่สามารถเลี้ยงตัวเองและทีมละครได้แต่ก็ทำด้วยใจรัก ในท้ายกระทู้นี้ผมจึงตั้งใจโปรโมท
เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ได้รับทราบกัน โดยกระทู้นี้ผมมิได้ค่าจ้างในการโปรโมท มิได้ขอกินฟรี มิได้อะไรพิเศษจากลูกค้าปกติทั่วไป
เป็นเพียงลูกค้าหนึ่งคนที่เสพติดในอรรถรสและบรรยากาศแห่งสังคมชาที่นี้
สนนราคาก็ไม่แพงนะครับ ราคาพร้อมเซตขนมทานเคียง
ชา 2 ตัวแรกที่ผมจะรีวิว เป็นชาอู่หลงจากไต้หวันทั้งคู่ เราลองมาอ่านประวัติชาอู่หลงกันสนุกๆครับ
ตำนานกำเนิดชาอู่หลง
ต้นกำเนิดของชาอูหลงอยู่ที่ประเทศจีน ในจังหวัดฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ซึ่งภาษาจีนใช้ว่า “วูหลงฉา” อันแปลความหมายได้ว่า มังกรดำ
ตำนานเกี่ยวกับชาอู่หลงนั้นมีมากมายแต่ที่เห็นจะตรงกันหลายตำรากล่าวถึงใน สมัยราชวงศ์ชิง มีขุนศึกชายนายหนึ่งที่ปลดประจำการแล้ว
ชื่อว่าหลง และมีลักษณะผิวดำตัวใหญ่จนชาวบ้านเรียกว่าอู่หลง หรือแปลว่ามังกรดำ ฤดูใบไม้ผลิปีหนึ่งระหว่างอู่หลงกำลังเก็บใบชาอยู่
ได้พบกวางผาเข้า จึงไล่ล่ากวางตัวนั้นโดยลืมไม่สนใจใบชาที่เก็บได้ในตระกร้าสะพายหลังของเขา
หลังจากการไล่ลาได้กวางตัวนั้นมาเป็นอาหารมื้อเย็นแล้ว ใบชาที่ทิ้งไว้ในตระกร้าไม่ได้ถูกนำมาตากแดดผึ่งลมเหมือนเช่นเคย
วันรุ่งขึ้นอู่หลงกลับค้นพบใบชาที่แปรสภาพจากสีเขียวกลายเป้นสีคล้ำเข้มขึ้น ที่สำคัญมีกลิ่นหอมหวลแปลกไปจากที่เค้าเคยรู้จัก
(ซึ่งก็คือผลจากกระบวรการหมักนั่นเอง) อู่หลงจึงค่อยๆพัฒนาชาชนิดนี้ด้วยการหมักและนำไปคั่วและนวดใบชา
จนออกมากเป็นชาอู่หลงที่เราได้รู้จักกันทุกวันนี้
ชาอู่หลง (Oolong; Wulong)
ชาอู่หลงคือชาดั้งเดิมของประเทศจีน ชาอู่หลงเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ
อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำโดยชาอู่หลงผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการผึ่งแห้งใบชาด้วยแสงอาทิตย์เพื่อให้ใบชาคายน้ำ
หลังจากนั้นทำไปผึ่งในที่ร่มภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ขั้นตอนนี้ถือเป็นการหมักบางส่วน เพื่อให้เกิดปฏิกริยาที่เรียกว่า
ออกซิเดชัน (Oxidation) ทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอล (Pholyphenols) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบที่มีประโยชน์อย่างมากในใบชา
เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการรวมตัวของสารชนิดใหม่ที่เรียกว่า สารคาเทชิน(Catechin) อันเป็นสารที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชาอู่หลง
ไม่ว่าจะเป็น สีชาอู่หลง กลิ่นชาอู่หลง และรสชาติชาอู่หลง ซึ่งแตกต่างไปจากชาเขียว (Green Tea) และชาดำ (Black Tea)
หลังจากกระบวนการหมักเสร็จสิ้น จึงนำใบชาอู่หลงไปคั่ว ตามด้วยการนวดใบชาอู่หลง เพื่อขึ้นรูปใบชาอู่หลงเป็นรูปลักษณะเม็ดกลม
ชาอู่หลง เฉกเช่นเดียวกับชาชนิดอื่นๆในโลกนี้ ก็คือต่างก็ผลิตมาจากต้นชา (Camellia sinensis) ซึ่งเป็นพืชตระกูลหนึ่ง
ที่สามารถนำใบและยอดอ่อนไปผลิตเป็นชาได้ สำหรับชาอู่หลงนั้น มีหลากหลายชนิด และหลากหลายรสชาติ สี และกลิ่น
ก็เนื่องมาจากการผลิตจากต้นชาหลากหลายสายพันธุ์ และยังขึ้นกับแหล่งเพาะปลูกอันมีภูมิอากาศตลอดจนภูมิประเทศเป็นตัวกำหนด
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์โดยเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ กระบวนการผลิตและกรรมวิธีการหมักของชาอู่หลง
ยังส่งผลต่อความแตกต่างของชาอู่หลงเช่นกัน ซึ่งกระบวนการหมักมีระดับออกซิเดชันตั้งแต่ 8% ถึง 85%
ขึ้นกับกรรมวิธีและลักษณะความนิยมของแต่ละผู้ผลิต ทำให้เกิดความแตกต่างและความหลากหลายของรสชาติ สี และกลิ่นนั่นเอง
ข้อมูลจาก บ้านชาไฮท์แลนด์
โดยตัวแรกเป็น อู่หลงมิลค์ ชื่อเค้าเป็นอย่างนั้นมิได้เอานมมาใส่ ส่วนประวัติยังงัยนี่ผมก็ไม่ทราบ แต่ตัวรสกลิ่นนั้น หอมละมุนสุดๆ
ถือว่าเป็นชาที่ดื่มง่ายและดึงจิตให้มีสมาธิกับมันได้ดี เซตนี้ราคา 180 บาท ครับ
ส่วนตัวที่สอง หยงชุนโฝโฉว หรือ หัตถ์พุทธองค์ ตัวนี้ละมุนกว่าตัวแรก นึ่งสงบสุดๆ เหมาะสำหรับดื่มแล้วทำสมาธิ
มีความสุขมากครับ ตัวนี้แนะนำสุดๆครับ เซตนี้ราคา 250 บาท ครับ
ตัวที่สาม จะเป็นชาแดง Lapsang Souchong Tea ชาเจิ้งซานเสี่ยวจ่ง(รมควันสน) 1 ใน 10 ชาแดงที่ดีที่สุด ที่เค้าว่าควรเสพสักครั้งก่อนตาย
เราลองอ่านประวัติกันดูก่อน เพลินๆครับ
正山小种 (เจิ้งซานเสียวจ่ง) หรือ Lapsang Souchong (แลปแซงซูชอง) ชาแดงเจิ้งซานนั่นเองครับ
จะเรียกว่าต้นกำเนิดแห่งชาแดงในโลกนี้เลยก็ว่าได้ ชาแดงเจิ้งซานนี้มีแหล่งเพาะปลูกที่มณฑลฝูเจี้ยน
ที่เพาะปลูกในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ที่เป็นเขาสูงในช่วง 1,000-1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลห่างไกลจากมลพิษและการรบกวนจากมนุษย์
พื้นที่ตลอดปีเต็มไปด้วยหมอกหนาน้ำค้างหนักแสงอาทิตย์สาดส่องความชุ่มชื้น
สม่ำเสมอลมหนาวหิมะโปรยสลับวนเวียนหมุนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
ชาชนิดนี้ที่เรียกว่า 正山小种 (เจิ้งซานเสียวจ่ง) นั้นแต่แรกชื่อของมันคือชื่อ 拉普山小种 (ลาผู่ซานเสียวจ่ง)
ซึ่งแผลงไปเป็นภาษาอังกฤษว่า Lapsang Souchong (แล็ปซาง ซูซอง) (น่าจะแผลงไปเป็นภาษาอังกฤษจากสำเนียงถิ่นของฝูเจี้ยน-ผู้เขียน)
เมื่อแรกนั้นใช้ชื่อนี้แต่ที่ต้องเรียกขานกันว่าเจิ้งซานเสียวจ่งนั้นก็ เพราะว่าภายหลังที่ชาแดงชนิดนี้โด่งดังขึ้นมาก็มีอำเภออื่น ๆ
เสาะหาพันธุ์ไปขยายและทำชาแบบเดียวกันนี้ออกมา ชาที่ผลิตออกมาก็ใช้คำว่าลาผู่ซานนี้เช่นกัน
ชาวไร่ชาโรงงานชาที่อยู่ที่ถ่งมู่กวนจึงเรียกขานตัวเองว่าเจิ้งซาน (正山/ภูเขาแท้) เรียกชาที่ปลูกนอกเขตว่าไว่ซาน (外山/เขานอก)
หรือหมายถึงไม่ใช่ของดั้งเดิมนั่นเอง ชาชนิดนี้มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือควรมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิต
เพราะแต่แรกที่ทำชาเขียวนั้นเมื่ออบด้วยไอน้ำแล้วก็นำไปตากให้แห้ง แต่เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง
จึงรับเอาวิธีการรมควันตามสไตล์ของชาอู่อี๋ ซาน เป็นชาสั่งทำก็ว่าได้จึงเพิ่มการรวมด้วยควันไม้สนและใบสนเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง
เป็นการไล่ความชื้นและเพิ่มกลิ่นพิเศษอีกประการหนึ่ง
บทความโดย Steven Liu
เรามาว่าตามความจริงที่ได้ลองดื่มกัน แวปแรกได้กลิ่นรมควันที่อบอวลมาก ชาออกฝาด แต่ไม่ขม
ตลอดการดื่มนั้นกลิ่นของการรมควันมาชัดเจนทุกครั้งที่ยกขึ้นจิบ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่โปรดปรานนัก
ยังติดใจกับอู่หลงไต้หวันสองตัวแรกมากกว่า โดยเซตชาเจิ้งซานเสี่ยวจ้ง(รมควันสน) ราคา 250 บาทครับ
จบเรื่องชา ก็มาเข้าเรื่องละครเวที เป็นการแสดงละครเวทีแบบละครเพลง โดยนำเนื้อเรื่องจากนิทานอีสปมาเล่าตามสไตล์ละครเวที
เพียงแต่การขมวดปมตอนจบ จะถูกตีความใหม่ตามสังคมในยุคปัจจุบัน
เช่น ราชสีห์กับหนู แต่เดิมเคยขมวดปมว่า "อย่าดูถูกคนที่ต่ำต้อยกว่าตน"
แต่ในการตีความใหม่นี้ จะถูกตีความว่า "แม้เราจะเป็นเพียงคนตัวเล็กๆในสังคม ก็สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้"
ยังไงก็ลองดูนะครับ ผมว่าน่าสนใจอีกทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ในสังคมให้กับเยาวชนด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเพจ Mayarith Theatre โรงละครมายาฤทธิ์
https://www.facebook.com/mayariththeatre/?fref=ts
วันนี้ก็ขออนุญาตจบรีวิวแต่เพียงเท่านี้ รีวิวต่อไป จะพูดถึงข้าวหมูแดงในตำนานจอมพเนจรที่ได้ที่ตั้งหลักแล้ว
สามารถติดตามมินิรีวิว และรูปอาหารอื่นๆที่ไม่ได้ลงในพันทิป เพราะขี้เกียจหรืออะไรก็ตามแต่ได้ทางเพจผมเอง
https://www.facebook.com/gazzareview/