จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเราจะพบกับการเสนอขายสีทาบ้านในแนวทางรูปแบบใหม่ คือ การขายจากเครื่องผสมสีอัตโนมัติ ของผู้ผลิตสียี่ห้อชั้นนำต่างๆ อาทิ TOA, Dulux, Jotun, Captain, Pammastic, Beger และ Nippon Paint เป็นต้น
ก็มีความคิดเห็น & คำถามในวงการสี (
ช่างสี / ผู้รับเหมา / สถาปนิก / เจ้าของบ้าน) ตามมาเสมอว่า
>> สีที่ผลิตจากโรงงาน กับสีที่ซื้อผ่านเครื่องผสมสีอัตโนมัตินี่ คุณภาพเหมือนกันหรือต่างกันไหม ?
>> ราคาสี จะเท่ากัน หรือถูก / แพงต่างกันอย่างไร ?
>> มีข้อพึงระวังอะไรบ้างหรือไม่ ? ในการเลือกซื้อใช้สีผ่านเครื่องผสมสีอัตโนมัติ
ก่อนอื่นเรามาเข้าใจถึงที่มา / ที่ไปของเจ้า "
เครื่องผสมสีอัตโนมัติ" นี่กันก่อน ....
เดิมสมัยก่อนๆ เมื่อเรามีความต้องการจะซื้อสี เราก็ไปที่ร้านตัวแทนจำหน่ายสี หรือร้านฮาร์ดแวร์ใกล้บ้าน หรือใกล้สถานที่ก่อสร้าง และแจ้งความประสงค์ถึงยี่ห้อ / รุ่น เฉดสี และปริมาณที่ต้องการ แต่มักจะพบว่า ถ้า .... ถ้าเราต้องการรุ่นที่ไม่นิยมในยี่ห้อนั้น หรือเฉดที่ไม่นิยม หรือปริมาณมาก
ทางร้านขายสีก็จะให้เราวางเงินมัดจำ และให้เรามารับในวันถัดๆไป หากเป็นใน กทม.ปริมณฑลก็อาจจะ 1-2 วัน หากเป็น ตจว. ก็อาจจะนานถึง 3-7 วันทีเดียว
เพราะร้านขายสีทั่วไป เป็นอาคารพาณิชย์ (
แล้วแต่อาจจะคูหาเดียว หรือหลายๆคูหา) และไม่ได้ขายสีอย่างเดียว ขายอุปกรณ์ก่อสร่างอีกตั้งหลายสิบอย่าง เฉพาะสีเขาก็มักจะขายหลายยี่ห้อ และแต่ละยี่ห้อยังมีหลายรุ่น อีกทั้งยังมีเฉดสี / หลายสิบเฉดสี (
ตาม Catalogue สียี่ห้อต่างๆ) ซึ่งมีทั้งขนาดกระป๋อง / ขนาดถัง ... ดังนั้นร้านค้ามักจะนิยมสต๊อกเท่าที่จำเป็น และที่เป็นที่นิยมเท่านั้นครับ (
มีข้อจำกัดในพื้นที่สต๊อกสินค้า)
เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว สี Jotun ได้บุกเบิกนำเครื่องผสมสีอัตโนมัติ (
Computerized Tinting System) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพื่อขจัดข้อจำกัดของผู้ซื้อ / ผู้ขายสีออกไป สามารถที่จะรอรับสีที่ต้องการสั่งซื่อได้ทันที > ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน > เฉดสีไหน > ปริมาณมากขึ้นแค่ไหน ทำให้สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย
.... แต่ก็ไม่ค่อยได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อเท่าไหร่นัก จนกระทั่งเมื่อ TOA เข้ามาทำตลาดเรื่องผสมสีอัตโนมัติเมื่อซัก 8-10 ปีที่แล้ว พบว่ามีการตื่นตัวได้รับความนิยม รวมทั้งสียี่ห้อชั้นนำอื่นๆก็ตามมาทำตลาดนี้กันถ้วนหน้า โดยเครื่องประเภทนี้ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมจากประเทศอิตาลีแทบทั้งสิ้น
ก่อนหน้านี้ราคาต่อเครื่องประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ปัจจุบันราคาลดลงบ้างแล้ว และบางยี่ห้อ / บางรุ่น ก็มีแบบ / รุ่นประหยัดให้เลือกใช้ (
ก็ยังหลักหลายๆแสนบาทอยู่)
นอกจากจะรวดเร็ว (
รอรับได้เลย) แล้ว > เครื่องแบบนี้ยังสามารถผสมสีได้ทั้งสีเบอร์ผลิตจากโรงงาน และอีกนับร้อย / นับพันเฉดสีได้อีกด้วย >> ซึ่งทางผู้ผลิต/จำหน่าย จะมีพัดสี (
Fan Deck) ให้ลูกค้าเลือกได้อย่างหลากหลาย ที่หน้าจุดขาย
แต่ไม่แจกจ่ายทั่วไป เพราะ FanDeck ชุดหนึ่งราคาหลักพันบาททีเดียว (
เขาแจกแต่ สถาปนิก / มัณฑนากร, หากสนใจเขาก็มีจำหน่ายครับ)
หลักการของเครื่องผสมสีอัตโนมัตินี้ คือ ใช้สีเบส (
Base) เป็นสินค้าสต๊อกในร้านค้าแทน โดยนำสีเบสนี้ >> ไปเข้าเครื่องฉีดแม่สี ให้ได้เฉดที่ต้องการอีกที >> แล้วย้านไปเข้าเครื่องเขย่า ให้สีผสมเป็นเนื้อเดียวกันออกมาตามที่ต้องการ
โดยแบ่งสีเบสออกเป็น 3-4 ชนิด (
ส่วนใหญ่จะเป็น 4 ชนิด) เรียกกันว่า Base A, B, C และ D ตามลำดับ โดย
สี Base A : คือ เฉดสีขาว และใช้ผสมเป็นเฉดสีสีอ่อนๆด้วย (
ถ้าต้องการเฉดสีขาว/white ก็ไม่ต้องฉีดแม่สีและเขย่า)
สี Base B : ใช้ผสมเป็นสีเฉดค่อนข้างเข้มเล็กน้อย > เข้มปานกลาง
สี Base C : ใช้ผสมเป็นสีเฉดค่อนข้างเข้ม > เข้มมาก
สี Base D : ใช้ผสมเป็นสีเข้มจัด พวกแม่สีต่างๆ ทั้งแดงแจ๋, เหลืองอ๋อย, น้ำเงินเข้ม, ดำ/เทาเข้มจัด, น้ำตาลมืด หรือเขียวสด เป็นต้น
จะเป็น Base ชนิดไหน ทางเครื่องจะกำหนดออกมา เมื่อทางลูกค้าเลือกเฉดที่ต้องการแล้ว (
ห้ามสลับ base กันเด็ดขาด)
สี Base ก็แยกตามรุ่น ตามเกรดสี / รุ่นสีนะครับ (
ไม่ปะปนกัน) เช่น เบสสำหรับสีน้ำอะครีลิค TOA SuperShield ชนิดกึ่งเงา หรือ เบสสำหรับสีน้ำอะครีลิคภายใน TOA 4 Seasons ชนิดด้าน หรือ เบสสำหรับสีน้ำมัน TOA Glipton เป็นต้น
[CR] การเลือกซื้อสีทาบ้าน สีเบอร์(ผลิตจากโรงงาน) หรือสีผสม(ผ่านเครื่องผสมอัตโนมัติ) แตกต่างกันอย่างไร ?
ก็มีความคิดเห็น & คำถามในวงการสี (ช่างสี / ผู้รับเหมา / สถาปนิก / เจ้าของบ้าน) ตามมาเสมอว่า
>> สีที่ผลิตจากโรงงาน กับสีที่ซื้อผ่านเครื่องผสมสีอัตโนมัตินี่ คุณภาพเหมือนกันหรือต่างกันไหม ?
>> ราคาสี จะเท่ากัน หรือถูก / แพงต่างกันอย่างไร ?
>> มีข้อพึงระวังอะไรบ้างหรือไม่ ? ในการเลือกซื้อใช้สีผ่านเครื่องผสมสีอัตโนมัติ
ก่อนอื่นเรามาเข้าใจถึงที่มา / ที่ไปของเจ้า "เครื่องผสมสีอัตโนมัติ" นี่กันก่อน ....
เดิมสมัยก่อนๆ เมื่อเรามีความต้องการจะซื้อสี เราก็ไปที่ร้านตัวแทนจำหน่ายสี หรือร้านฮาร์ดแวร์ใกล้บ้าน หรือใกล้สถานที่ก่อสร้าง และแจ้งความประสงค์ถึงยี่ห้อ / รุ่น เฉดสี และปริมาณที่ต้องการ แต่มักจะพบว่า ถ้า .... ถ้าเราต้องการรุ่นที่ไม่นิยมในยี่ห้อนั้น หรือเฉดที่ไม่นิยม หรือปริมาณมาก
ทางร้านขายสีก็จะให้เราวางเงินมัดจำ และให้เรามารับในวันถัดๆไป หากเป็นใน กทม.ปริมณฑลก็อาจจะ 1-2 วัน หากเป็น ตจว. ก็อาจจะนานถึง 3-7 วันทีเดียว
เพราะร้านขายสีทั่วไป เป็นอาคารพาณิชย์ (แล้วแต่อาจจะคูหาเดียว หรือหลายๆคูหา) และไม่ได้ขายสีอย่างเดียว ขายอุปกรณ์ก่อสร่างอีกตั้งหลายสิบอย่าง เฉพาะสีเขาก็มักจะขายหลายยี่ห้อ และแต่ละยี่ห้อยังมีหลายรุ่น อีกทั้งยังมีเฉดสี / หลายสิบเฉดสี (ตาม Catalogue สียี่ห้อต่างๆ) ซึ่งมีทั้งขนาดกระป๋อง / ขนาดถัง ... ดังนั้นร้านค้ามักจะนิยมสต๊อกเท่าที่จำเป็น และที่เป็นที่นิยมเท่านั้นครับ (มีข้อจำกัดในพื้นที่สต๊อกสินค้า)
เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว สี Jotun ได้บุกเบิกนำเครื่องผสมสีอัตโนมัติ (Computerized Tinting System) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพื่อขจัดข้อจำกัดของผู้ซื้อ / ผู้ขายสีออกไป สามารถที่จะรอรับสีที่ต้องการสั่งซื่อได้ทันที > ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน > เฉดสีไหน > ปริมาณมากขึ้นแค่ไหน ทำให้สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย
.... แต่ก็ไม่ค่อยได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อเท่าไหร่นัก จนกระทั่งเมื่อ TOA เข้ามาทำตลาดเรื่องผสมสีอัตโนมัติเมื่อซัก 8-10 ปีที่แล้ว พบว่ามีการตื่นตัวได้รับความนิยม รวมทั้งสียี่ห้อชั้นนำอื่นๆก็ตามมาทำตลาดนี้กันถ้วนหน้า โดยเครื่องประเภทนี้ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมจากประเทศอิตาลีแทบทั้งสิ้น
ก่อนหน้านี้ราคาต่อเครื่องประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ปัจจุบันราคาลดลงบ้างแล้ว และบางยี่ห้อ / บางรุ่น ก็มีแบบ / รุ่นประหยัดให้เลือกใช้ (ก็ยังหลักหลายๆแสนบาทอยู่)
นอกจากจะรวดเร็ว (รอรับได้เลย) แล้ว > เครื่องแบบนี้ยังสามารถผสมสีได้ทั้งสีเบอร์ผลิตจากโรงงาน และอีกนับร้อย / นับพันเฉดสีได้อีกด้วย >> ซึ่งทางผู้ผลิต/จำหน่าย จะมีพัดสี (Fan Deck) ให้ลูกค้าเลือกได้อย่างหลากหลาย ที่หน้าจุดขาย
แต่ไม่แจกจ่ายทั่วไป เพราะ FanDeck ชุดหนึ่งราคาหลักพันบาททีเดียว (เขาแจกแต่ สถาปนิก / มัณฑนากร, หากสนใจเขาก็มีจำหน่ายครับ)
หลักการของเครื่องผสมสีอัตโนมัตินี้ คือ ใช้สีเบส (Base) เป็นสินค้าสต๊อกในร้านค้าแทน โดยนำสีเบสนี้ >> ไปเข้าเครื่องฉีดแม่สี ให้ได้เฉดที่ต้องการอีกที >> แล้วย้านไปเข้าเครื่องเขย่า ให้สีผสมเป็นเนื้อเดียวกันออกมาตามที่ต้องการ
โดยแบ่งสีเบสออกเป็น 3-4 ชนิด (ส่วนใหญ่จะเป็น 4 ชนิด) เรียกกันว่า Base A, B, C และ D ตามลำดับ โดย
สี Base A : คือ เฉดสีขาว และใช้ผสมเป็นเฉดสีสีอ่อนๆด้วย (ถ้าต้องการเฉดสีขาว/white ก็ไม่ต้องฉีดแม่สีและเขย่า)
สี Base B : ใช้ผสมเป็นสีเฉดค่อนข้างเข้มเล็กน้อย > เข้มปานกลาง
สี Base C : ใช้ผสมเป็นสีเฉดค่อนข้างเข้ม > เข้มมาก
สี Base D : ใช้ผสมเป็นสีเข้มจัด พวกแม่สีต่างๆ ทั้งแดงแจ๋, เหลืองอ๋อย, น้ำเงินเข้ม, ดำ/เทาเข้มจัด, น้ำตาลมืด หรือเขียวสด เป็นต้น
จะเป็น Base ชนิดไหน ทางเครื่องจะกำหนดออกมา เมื่อทางลูกค้าเลือกเฉดที่ต้องการแล้ว (ห้ามสลับ base กันเด็ดขาด)
สี Base ก็แยกตามรุ่น ตามเกรดสี / รุ่นสีนะครับ (ไม่ปะปนกัน) เช่น เบสสำหรับสีน้ำอะครีลิค TOA SuperShield ชนิดกึ่งเงา หรือ เบสสำหรับสีน้ำอะครีลิคภายใน TOA 4 Seasons ชนิดด้าน หรือ เบสสำหรับสีน้ำมัน TOA Glipton เป็นต้น