เช็กสุขภาพ ทีโอที-แคท-ปณท นับถอยหลังก่อนปรับโครงสร้างใหม่
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ในที่สุด ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 3/2559 (11 ก.ค.) ได้มีมติเลือกแนวทางพลิกฟื้น บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ด้วยการปรับโครงสร้างและจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของทั้งคู่ ได้แก่ บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ (NBN CO) บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ (NGN CO) และบริษัทศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC CO) โดยมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำกับให้ทั้ง 2 หน่วยงานทำแผนรายละเอียดการดำเนินกิจการของทั้ง 3 บริษัท
แต่ก่อนที่จะก้าวถึงแผนอนาคต มาย้อนดู สถานะการดำเนินการปีที่ผ่านมาของทั้ง 3 รัฐวิสาหกิจใต้สังกัดกระทรวงไอซีที
วิกฤต-ทีโอที
จากรายงานการประเมินประจำปี 2558 ของ คนร.ระบุว่า บมจ.ทีโอที สถานะการดำเนินงานอยู่ในขั้น "วิกฤต" ด้วยการแข่งขันสูงในอุตสาหกรรม ซึ่งทีโอทีไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
โดย "ทีโอที" เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง ที่ คนร.มีมติให้จัดทำแผนพลิกฟื้นในหลายประเด็น เช่น การแบ่งโครงสร้างองค์กรเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 2.Telecom Tower 3.Submarine Cable 4.Mobile 5.Broadband และ 6.IT เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกับแคท ลดการลงทุนซ้ำซ้อนและสร้างพันธมิตร ซึ่งทีโอทีเริ่มแล้ว
แต่ยังมีอีกหลายเป้าหมายที่ยังไม่ได้ ตามเป้า อาทิ การเร่งลดค่าใช้จ่ายลง 10% การแก้ไขปัญหาข้อพิพาท การเจรจาพันธมิตรธุรกิจ การหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยรายได้สัมปทาน จึงทำให้ทีโอทีขาดทุน
ในปี 2558 รายได้รวมจากการดำเนินงาน ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 87,132 ล้านบาท ในปี 2556 เหลือ 63,199 ล้านบาทในปี 2557 และเหลือ 47,898 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกับผลกำไรสุทธิที่ในปี 2556 อยู่ที่ 4,413.84 ล้านบาท เหลือ 1,947.67 ล้านบาท ในปี 2557 และกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 5,686.01 ล้านบาทในปี 2558
ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานในปี 2557 อยู่ที่ 43,895.05 ล้านบาท ปี 2558 เพิ่มเป็น 44,334.93 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายพนักงาน ปี 2557 อยู่ที่ 13,302 ล้านบาท ปี 2558 อยู่ที่ 15,344 ล้านบาท จากจำนวนพนักงานปัจจุบันราว 15,000 คน (ไม่รวมอัตราจ้าง)
โดยในปี 2559 คนร.มองว่าทีโอทีต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องลดบทบาทในการประกอบธุรกิจด้านไอที ดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ รวมถึง ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ลง โดยให้หาพันธมิตรร่วมทุนและให้บริการขายส่งมากขึ้น
ทั้งยังต้องเร่งจัดทำแผน Quick Win เพื่อลดผลขาดทุนขององค์กรโดยด่วน การเร่งปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โครงสร้างบุคลากร ยกระดับคุณภาพการให้บริการเพื่อให้แข่งขันกับเอกชนได้ รวมถึงแผนรองรับความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถดำเนินงาน ได้ตามแผนที่วางไว้
และยังอยู่ระหว่างการทบทวนการลงทุนในโครงการที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจ ได้แก่ โครงการโครงข่ายอัจฉริยะ (NGN) โครงการบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ต เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของกระทรวงไอซีที
สถานะ "แคท" ต้องระมัดระวัง
หันมามอง บมจ.กสท โทรคมนาคม(แคท) กันบ้าง "คนร." ประเมินว่า สถานะการดำเนินงานอยู่ในระดับ "ต้องระมัดระวัง" เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานมีแนวโน้ม ลดลงจากสัมปทานที่กำลังจะหมดลง โดยเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา สัมปทาน 2 สัญญาแรกที่เคยสร้างรายได้ให้มากกว่า 50% ได้สิ้นสุดลง และในปี 2561 สัมปทานจะสิ้นสุดลงทั้งหมด ทั้งมีปัญหาข้อพิพาทและการฟ้องร้องทางกฎหมายที่มีทุนทรัพย์ ค่อนข้างสูง จึงมีข้อจำกัดและอุปสรรคในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ รวมถึงต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงในตลาดโทรคมนาคม
ขณะที่การสร้างรายได้ใหม่จะมาจากธุรกิจอื่น ๆ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์, ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, เคเบิลใยแก้วใต้น้ำ รวมถึงการดำเนินการตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาล โดย "แคท" ควรมุ่งเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่เป็นผู้ให้บริการเอง โดยสร้างมูลค่าต่อเนื่อง
รายได้ของแคทในช่วง 3 ปีที่ผ่านมายังลดลงต่อเนื่อง จาก 74,008 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 55,601 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 54,155 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกันกับกำไรสุทธิ ที่หล่นลงจาก 7,238 ล้านบาทในปี 2556 เหลือ 3,639 ล้านบาทในปี 2557 และ 3,580 ล้านบาทในปี 2558
อย่างไรก็ตาม กำไรขั้นต้น (EBITDA) ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,124 ล้านบาทหรือ 14.1% จึงเป็นสัญญาณชี้ถึงการสร้างรายได้จากการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งในส่วนที่ทำเองและขายส่ง
เมื่อเทียบรายได้ต่อจำนวนพนักงานของทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปี 2558 สำหรับ "ทีโอที" อยู่ในลำดับที่ 5 คือ 2.61 ล้านบาทต่อคน "แคท" อยู่ที่ 8.53 ล้านบาท ต่อคน ขณะที่เอไอเอสอยู่ที่ 14.22 ล้านบาท ต่อคน ดีแทค 11.44 ล้านบาทต่อคน และทรู 7.46 ล้านบาทต่อคน
ขณะเดียวกันการเร่งดำเนินการตามมติ คนร. ยังติดขัดในเรื่องการลดค่าใช้จ่าย ทางกฎหมาย เช่น เงินเดือนและค่าใช้จ่ายทางบัญชี โดยควรกำหนดแนวทางบริหารจัดการบุคลากรเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและจริงจัง รวมถึงการทบทวนกลยุทธ์และแผนงานตามแผนฟื้นฟูให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นรูปธรรม
"บริหารคน" ปัญหาไปรษณีย์ไทย
ฟาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ในปี 2558 ที่ผ่านมา ในสายตา คนร. สถานะการดำเนินงาน "ยังมีปัญหาบางเรื่อง" เนื่องจากต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก เพื่อให้บริการลูกค้า ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงควรกำหนดแผนงานเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีเพื่อรองรับและทดแทนบุคลากรที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งควรมีแผนรองรับและแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในกรณีที่เกิด ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับบริการ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อภาพลักษณ์ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจขนส่งมีการแข่งขันมากขึ้น จึงควรทำ แผนงานเพื่อรองรับด้วย
สำหรับรายได้รวมของไปรษณีย์ไทยเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง จาก 19,392 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 21,822 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 23,025 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกับกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจาก 1,225 ล้านบาท ในปี 2556 เป็น 1,779 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 2,518 ล้านบาทในปี 2558 แต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานซึ่งเป็น ค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนเกิน 50% ของค่าใช้จ่าย ทั้งหมด ก็เพิ่มขึ้นราว 5% ทุกปี
ส่วนรายได้หลักได้เปลี่ยนจากกลุ่มสื่อสาร (ส่งจดหมาย) มาเป็นธุรกิจขนส่ง โดยเฉพาะไปรษณีย์ด่วนพิเศษ พัสดุ และโลจิสโพสต์ ซึ่งปริมาณงานขนส่งในประเทศเพิ่มขึ้น 13.54% เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ในส่วนของ บริษัทลูก "ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น" (ปณท ดบ.) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ยังมีสถานะขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2558 ขาดทุน 113.09 ล้านบาท จึงต้องมีการทบทวนข้อดีข้อเสียของการจัดตั้งบริษัทในเครือ
ย้อนดูอดีตกันแล้ว อนาคตของ 3 องค์กร จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องจับตา
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 28,26)
เช็กสุขภาพ ทีโอที-แคท-ปณท นับถอยหลังก่อนปรับโครงสร้างใหม่
เช็กสุขภาพ ทีโอที-แคท-ปณท นับถอยหลังก่อนปรับโครงสร้างใหม่
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ในที่สุด ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 3/2559 (11 ก.ค.) ได้มีมติเลือกแนวทางพลิกฟื้น บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ด้วยการปรับโครงสร้างและจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของทั้งคู่ ได้แก่ บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ (NBN CO) บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ (NGN CO) และบริษัทศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC CO) โดยมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำกับให้ทั้ง 2 หน่วยงานทำแผนรายละเอียดการดำเนินกิจการของทั้ง 3 บริษัท
แต่ก่อนที่จะก้าวถึงแผนอนาคต มาย้อนดู สถานะการดำเนินการปีที่ผ่านมาของทั้ง 3 รัฐวิสาหกิจใต้สังกัดกระทรวงไอซีที
วิกฤต-ทีโอที
จากรายงานการประเมินประจำปี 2558 ของ คนร.ระบุว่า บมจ.ทีโอที สถานะการดำเนินงานอยู่ในขั้น "วิกฤต" ด้วยการแข่งขันสูงในอุตสาหกรรม ซึ่งทีโอทีไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
โดย "ทีโอที" เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง ที่ คนร.มีมติให้จัดทำแผนพลิกฟื้นในหลายประเด็น เช่น การแบ่งโครงสร้างองค์กรเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 2.Telecom Tower 3.Submarine Cable 4.Mobile 5.Broadband และ 6.IT เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกับแคท ลดการลงทุนซ้ำซ้อนและสร้างพันธมิตร ซึ่งทีโอทีเริ่มแล้ว
แต่ยังมีอีกหลายเป้าหมายที่ยังไม่ได้ ตามเป้า อาทิ การเร่งลดค่าใช้จ่ายลง 10% การแก้ไขปัญหาข้อพิพาท การเจรจาพันธมิตรธุรกิจ การหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยรายได้สัมปทาน จึงทำให้ทีโอทีขาดทุน
ในปี 2558 รายได้รวมจากการดำเนินงาน ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 87,132 ล้านบาท ในปี 2556 เหลือ 63,199 ล้านบาทในปี 2557 และเหลือ 47,898 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกับผลกำไรสุทธิที่ในปี 2556 อยู่ที่ 4,413.84 ล้านบาท เหลือ 1,947.67 ล้านบาท ในปี 2557 และกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 5,686.01 ล้านบาทในปี 2558
ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานในปี 2557 อยู่ที่ 43,895.05 ล้านบาท ปี 2558 เพิ่มเป็น 44,334.93 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายพนักงาน ปี 2557 อยู่ที่ 13,302 ล้านบาท ปี 2558 อยู่ที่ 15,344 ล้านบาท จากจำนวนพนักงานปัจจุบันราว 15,000 คน (ไม่รวมอัตราจ้าง)
โดยในปี 2559 คนร.มองว่าทีโอทีต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องลดบทบาทในการประกอบธุรกิจด้านไอที ดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ รวมถึง ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ลง โดยให้หาพันธมิตรร่วมทุนและให้บริการขายส่งมากขึ้น
ทั้งยังต้องเร่งจัดทำแผน Quick Win เพื่อลดผลขาดทุนขององค์กรโดยด่วน การเร่งปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โครงสร้างบุคลากร ยกระดับคุณภาพการให้บริการเพื่อให้แข่งขันกับเอกชนได้ รวมถึงแผนรองรับความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถดำเนินงาน ได้ตามแผนที่วางไว้
และยังอยู่ระหว่างการทบทวนการลงทุนในโครงการที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจ ได้แก่ โครงการโครงข่ายอัจฉริยะ (NGN) โครงการบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ต เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของกระทรวงไอซีที
สถานะ "แคท" ต้องระมัดระวัง
หันมามอง บมจ.กสท โทรคมนาคม(แคท) กันบ้าง "คนร." ประเมินว่า สถานะการดำเนินงานอยู่ในระดับ "ต้องระมัดระวัง" เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานมีแนวโน้ม ลดลงจากสัมปทานที่กำลังจะหมดลง โดยเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา สัมปทาน 2 สัญญาแรกที่เคยสร้างรายได้ให้มากกว่า 50% ได้สิ้นสุดลง และในปี 2561 สัมปทานจะสิ้นสุดลงทั้งหมด ทั้งมีปัญหาข้อพิพาทและการฟ้องร้องทางกฎหมายที่มีทุนทรัพย์ ค่อนข้างสูง จึงมีข้อจำกัดและอุปสรรคในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ รวมถึงต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงในตลาดโทรคมนาคม
ขณะที่การสร้างรายได้ใหม่จะมาจากธุรกิจอื่น ๆ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์, ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, เคเบิลใยแก้วใต้น้ำ รวมถึงการดำเนินการตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาล โดย "แคท" ควรมุ่งเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่เป็นผู้ให้บริการเอง โดยสร้างมูลค่าต่อเนื่อง
รายได้ของแคทในช่วง 3 ปีที่ผ่านมายังลดลงต่อเนื่อง จาก 74,008 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 55,601 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 54,155 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกันกับกำไรสุทธิ ที่หล่นลงจาก 7,238 ล้านบาทในปี 2556 เหลือ 3,639 ล้านบาทในปี 2557 และ 3,580 ล้านบาทในปี 2558
อย่างไรก็ตาม กำไรขั้นต้น (EBITDA) ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,124 ล้านบาทหรือ 14.1% จึงเป็นสัญญาณชี้ถึงการสร้างรายได้จากการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งในส่วนที่ทำเองและขายส่ง
เมื่อเทียบรายได้ต่อจำนวนพนักงานของทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปี 2558 สำหรับ "ทีโอที" อยู่ในลำดับที่ 5 คือ 2.61 ล้านบาทต่อคน "แคท" อยู่ที่ 8.53 ล้านบาท ต่อคน ขณะที่เอไอเอสอยู่ที่ 14.22 ล้านบาท ต่อคน ดีแทค 11.44 ล้านบาทต่อคน และทรู 7.46 ล้านบาทต่อคน
ขณะเดียวกันการเร่งดำเนินการตามมติ คนร. ยังติดขัดในเรื่องการลดค่าใช้จ่าย ทางกฎหมาย เช่น เงินเดือนและค่าใช้จ่ายทางบัญชี โดยควรกำหนดแนวทางบริหารจัดการบุคลากรเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและจริงจัง รวมถึงการทบทวนกลยุทธ์และแผนงานตามแผนฟื้นฟูให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นรูปธรรม
"บริหารคน" ปัญหาไปรษณีย์ไทย
ฟาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ในปี 2558 ที่ผ่านมา ในสายตา คนร. สถานะการดำเนินงาน "ยังมีปัญหาบางเรื่อง" เนื่องจากต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก เพื่อให้บริการลูกค้า ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงควรกำหนดแผนงานเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีเพื่อรองรับและทดแทนบุคลากรที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งควรมีแผนรองรับและแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในกรณีที่เกิด ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับบริการ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อภาพลักษณ์ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจขนส่งมีการแข่งขันมากขึ้น จึงควรทำ แผนงานเพื่อรองรับด้วย
สำหรับรายได้รวมของไปรษณีย์ไทยเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง จาก 19,392 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 21,822 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 23,025 ล้านบาทในปี 2558 เช่นเดียวกับกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจาก 1,225 ล้านบาท ในปี 2556 เป็น 1,779 ล้านบาทในปี 2557 และเป็น 2,518 ล้านบาทในปี 2558 แต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานซึ่งเป็น ค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนเกิน 50% ของค่าใช้จ่าย ทั้งหมด ก็เพิ่มขึ้นราว 5% ทุกปี
ส่วนรายได้หลักได้เปลี่ยนจากกลุ่มสื่อสาร (ส่งจดหมาย) มาเป็นธุรกิจขนส่ง โดยเฉพาะไปรษณีย์ด่วนพิเศษ พัสดุ และโลจิสโพสต์ ซึ่งปริมาณงานขนส่งในประเทศเพิ่มขึ้น 13.54% เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ในส่วนของ บริษัทลูก "ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น" (ปณท ดบ.) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ยังมีสถานะขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2558 ขาดทุน 113.09 ล้านบาท จึงต้องมีการทบทวนข้อดีข้อเสียของการจัดตั้งบริษัทในเครือ
ย้อนดูอดีตกันแล้ว อนาคตของ 3 องค์กร จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องจับตา
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 28,26)